สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ หรือ สงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัย เป็นสงครามครั้งแรกระหว่างราชวงศ์ตองอูแห่งพม่ากับอาณาจักรอยุธยา และเป็นสงครามพม่า–ไทยครั้งแรกซึ่งจะดำเนินมาจนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 สงครามนี้ขึ้นชื่อว่านำมาซึ่งการสงครามสมัยใหม่ตอนต้นในภูมิภาค และขึ้นชื่อในประวัติศาสตร์ไทยว่าสมเด็จพระสุริโยทัยสมเด็จพระราชินีสวรรคตในยุทธหัตถี
เหตุแห่งสงครามมีว่าพม่าพยายามขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออกหลังมีความวุ่นวายทางการเมืองในอยุธยา ตลอดจนพยายามหยุดการรุกล้ำเข้าชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนของอยุธยา พม่าว่า สงครามนี้เริ่มในเดือนมกราคม 2090 เมื่อกำลังของอยุธยาพิชิตเมืองชายแดนทวาย ในปีเดียวกัน กองทัพพม่านำโดยแม่ทัพเจ้าลครอิน ยึดฝั่งตะนาวศรีตอนบนลงไปถึงทวายคืนได้ ในปีถัดมา คือ ตุลาคม 2091 กองทัพพม่าสามกองโดยมีพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้และอุปราชบุเรงนองเป็นผู้นำบุกครองอยุธยาทางด่านเจดีย์สามองค์ (เส้นทางการบุกในภาพ) กองทัพพม่าเจาะลึกถึงพระนครอยุธยาแต่ไม่อาจหักเอานครที่มีป้อมปราการหนาแน่นนั้นได้ หนึ่งเดือนหลังเริ่มล้อม การตีโต้ตอบของอยุธยาแก้การล้อมได้ และขับกำลังฝ่ายบุกครอง แต่พม่าเจรจาการถอยทัพอย่างปลอดภัยโดยแลกกับการคืนองค์เจ้านายสำคัญสองพระองค์ คือ พระราเมศวร พระรัชทายาท และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชแห่งพิษณุโลก ที่ถูกจับเป็นเชลย (อ่านต่อ...)
บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง – กระจุกดาวทรงกลม – ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน
วิกิพีเดียดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร ผู้ดำเนินการอีกหลายโครงการ ได้แก่
นอกจากภาษาไทยแล้ว วิกิพีเดียยังมีรุ่นภาษาอื่นอีก 290 ภาษา โดยวิกิพีเดียขนาดใหญ่แสดงรายการด้านล่างนี้