ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เม็กซิโก

เม็กซิโก (แม่แบบ:Lang-atz; สเปน: M?xico) หรือ สหรัฐเม็กซิโก (แม่แบบ:Lang-atz; สเปน: Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงมีเนื้อที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 111 ล้านคน

หลังจากได้รับเอกราชจากประเทศสเปน ก็มีการตกลงว่าจะตั้งชื่อประเทศใหม่แห่งนี้ตามชื่อเมืองหลวงคือ กรุงเม็กซิโกซิตี ซึ่งมีชื่อดั้งเดิมในสมัยก่อตั้งว่า "เม็กซิโก-เตนอชตีตลัน" (Mexico-Tenochtitlan) มีที่มาจากชื่อของชนเผ่าเม็กซิกา (Mexica) ซึ่งเป็นชนกลุ่มหลักในอารยธรรมอัซเตกอีกทอดหนึ่ง ส่วนต้นกำเนิดของชื่อเม็กซิกานั้นยังไม่ทราบชัดเจน มีการตีความไปหลาย ๆ ทาง มีข้อสันนิษฐานว่า มาจากคำในภาษานาอวตล์ว่า "เมชตลี" (Mextli) หรือ "เมชิตลี" (M?xihtli) ซึ่งเป็นชื่อลับของเทพเจ้าวิตซีโลโปชตลี (Huitzilopochtli) เทพเจ้าแห่งสงครามและผู้คุ้มครองชาวอัซเตก (หรือชาวเม็กซิกา) ในกรณีนี้ M?xihco [เมชิโก] จึงอาจจะแปลว่า "สถานที่ซึ่งเมชตลีทรงสถิตอยู่"

อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่า M?xihco ประกอบขึ้นจากคำว่า m?tztli ("พระจันทร์"), xictli ("สะดือ", "ศูนย์กลาง" หรือ "ลูกชาย") และคำปัจจัย -co (สถานที่) ซึ่งโดยรวมแล้วแปลได้ว่า "สถานที่ใจกลางพระจันทร์" หรือ "สถานที่ใจกลางทะเลสาบพระจันทร์" ทะเลสาบพระจันทร์นี้หมายถึงทะเลสาบเตซโกโก (Lake Texcoco) ระบบทะเลสาบที่เชื่อมถึงกัน (โดยมีทะเลสาบเตซโกโกตั้งอยู่ตอนกลาง) ในบริเวณนี้มีรูปร่างเหมือนกระต่าย ซึ่งเป็นรูปเดียวกับที่ชาวอัซเตกเห็นจากพระจันทร์ และกรุงเตนอชตีตลันนั้นก็ตั้งอยู่บนเกาะใจกลาง (หรือสะดือ) ของทะเลสาบ (หรือกระต่าย/พระจันทร์) เหล่านี้พอดี นอกจากนี้ยังมีข้อสมมุติฐานที่กล่าวว่าชื่อนี้มาจากคำว่า "เมกตลี" (M?ctli) ซึ่งเป็นชื่อของเทพธิดาประจำดอกโคม (maguey) อีกด้วย

ชื่อของเมืองเมชิโกได้รับการถอดเสียงในภาษาสเปนเป็น M?xico พร้อมกับเสียงของตัว x ในภาษาสเปนยุคกลางซึ่งในขณะนั้นแทนเสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง /?/ แต่ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เสียงนี้รวมทั้งเสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ก้อง /?/ ซึ่งแทนด้วยตัว j ได้เกิดการวิวัฒนาการกลายเป็นเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง /x/ การเปลี่ยนแปลงเสียงตัวอักษรดังกล่าวนี้ได้ทำให้มีการสะกดชื่อประเทศนี้เป็น M?jico ในสิ่งพิมพ์ภาษาสเปนจำนวนมากโดยเฉพาะในประเทศสเปน แต่ในประเทศเม็กซิโกและประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาสเปนยังคงใช้การสะกดแบบเดิมคือ M?xico จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้ ราชบัณฑิตยสถานสเปน ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมการใช้ภาษาสเปนในประเทศสเปนได้ตัดสินว่า การสะกดทั้งสองแบบเป็นที่ยอมรับได้ในภาษาสเปน แต่การสะกดที่เป็นแบบแผนกว่าก็คือ M?xico ปัจจุบันสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่ในประเทศที่ใช้ภาษาสเปนทั้งหมดก็ถือตามกฎใหม่นี้ แม้ว่าจะยังมีการใช้รูป M?jico อยู่บ้างก็ตาม สำหรับในภาษาอังกฤษ ตัว x ในคำว่า Mexico ไม่ได้แทนทั้งเสียงดั้งเดิมหรือเสียงปัจจุบันตามที่ปรากฏในภาษาสเปน แต่จะแทนเสียงควบกล้ำ /ks/

เม็กซิโกตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ นอกจากบนทวีปดังกล่าวแล้ว เม็กซิโกยังมีกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเล็ก ๆ ในอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน อ่าวแคลิฟอร์เนีย และมหาสมุทรแปซิฟิก (ได้แก่เกาะกวาดาลูเปและหมู่เกาะเรบียาคีเคโดที่อยู่ห่างไกลออกไป) อีกด้วย พื้นที่เกือบทั้งหมดของเม็กซิโกแผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ โดยมีบางส่วนของคาบสมุทรบาฮากาลิฟอร์เนียตั้งอยู่บนแผ่นแปซิฟิกและแผ่นโกโกส ในทางธรณีฟิสิกส์ นักภูมิศาสตร์บางกลุ่มจัดให้ดินแดนของประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกของคอคอดเตอวนเตเปกอยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง แต่ในทางภูมิศาสตร์การเมือง เม็กซิโกเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคอเมริกาเหนือร่วมกับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา

เม็กซิโกมีเนื้อที่ทั้งหมด 1,972,550 ตารางกิโลเมตร นับมีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 14 ของโลก เม็กซิโกมีพรมแดนทางทิศเหนือร่วมกับสหรัฐอเมริกายาว 3,141 กิโลเมตร โดยใช้แม่น้ำบราโบที่คดเคี้ยวเป็นพรมแดนธรรมชาติตั้งแต่เมืองซิวดัดคัวเรซไปทางทิศตะวันออกจนถึงอ่าวเม็กซิโก และตั้งแต่เมืองซิวดัดคัวเรซไปทางทิศตะวันตกจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีทั้งแม่น้ำและสิ่งก่อสร้างเป็นแนวแบ่งเขตสองประเทศไว้ ส่วนทางทิศใต้ เม็กซิโกมีพรมแดนร่วมกับกัวเตมาลายาว 962 กิโลเมตร และมีพรมแดนร่วมกับเบลีซยาว 250 กิโลเมตร

เทือกเขาขนาดใหญ่ในเม็กซิโก ได้แก่ เทือกเขาเซียร์รามาเดรโอเรียนตัล ซึ่งพาดผ่านพื้นที่ประเทศในแนวเหนือ-ใต้ เกือบจะขนานกับชายฝั่งภาคตะวันออก และเทือกเขาเซียร์รามาเดรออกซีเดนตัล ซึ่งขนานไปกับชายฝั่งภาคตะวันตก (เทือกเขานี้เป็นส่วนต่อเนื่องทางด้านใต้ของระบบเทือกเขาร็อกกีจากตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ) นอกจากนี้ ทางภาคกลางตอนล่างของประเทศยังมีแนวภูเขาไฟทรานส์เม็กซิกัน หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า "เซียร์ราเนบาดา" พาดผ่านจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ส่วนทางภาคใต้ก็มีเทือกเขาเซียร์รามาเดรเดลซูร์ที่ขนานไปกับชายฝั่งตั้งแต่รัฐมิโชอากังไปจนถึงรัฐโออาซากา ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ดินแดนทางภาคกลางและภาคเหนือของเม็กซิโกจึงตั้งอยู่บนพื้นที่ระดับสูง โดยกลุ่มยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศ ได้แก่ ยอดเขาโอรีซาบา (5,700 เมตร) โปโปกาเตเปตล์ (5,426 เมตร) อิซตักซีอวตล์ (5,230 เมตร) และเนบาโดเดโตลูกา (4,680 เมตร) ล้วนตั้งอยู่บริเวณแนวภูเขาไฟทรานส์เม็กซิกัน และเขตเมืองใหญ่ของเม็กซิโก ได้แก่ เขตมหานครเม็กซิโกซิตี โตลูกา และปวยบลา ต่างก็ตั้งอยู่ในหุบเขาระหว่างยอดเขาเหล่านี้

ทางน้ำและแม่น้ำต่าง ๆ ในเม็กซิโกจัดอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำ 3 บริเวณ คือ บริเวณลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก และไหลสู่แอ่งภายในแผ่นดิน แม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของประเทศคือ แม่น้ำบราโบ อยู่ในบริเวณลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกา แม่น้ำสายอื่นในบริเวณลุ่มน้ำเดียวกัน ได้แก่ แม่น้ำอูซูมาซินตา (พรมแดนธรรมชาติระหว่างเม็กซิโกกับกัวเตมาลา) แม่น้ำกรีคัลบา แม่น้ำปานูโก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีแม่น้ำหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำน้อยและใช้เดินเรือไม่ได้ โดยทางน้ำในประเทศที่ใช้เดินเรือได้มีระยะทางรวมประมาณ 2,900 กิโลเมตร

เม็กซิโกมีทะเลสาบขนาดย่อมหลายแห่งในพื้นที่ ทะเลสาบที่สำคัญที่สุดคือ ทะเลสาบชาปาลา ในรัฐฮาลิสโก แต่เนื่องจากมีการน้ำน้ำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมาก เกินไป ทะเลสาบแห่งนี้จึงเกิดภาวะมลพิษและเสี่ยงที่จะเหือดแห้ง ทะเลสาบที่สำคัญแห่งอื่น ๆ ได้แก่ ทะเลสาบปัตซ์กวาโร ซีราอูเอน และกวิตเซโอ ทั้งหมดตั้งอยู่ในรัฐมิโชอากัง

เมื่อเกือบสามพันปีก่อน ดินแดนประเทศเม็กซิโกเป็นแหล่งอารยธรรมของชาวพื้นเมืองอเมริกันที่ยิ่งใหญ่หลายกลุ่ม เช่น โอลเมก เป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมสมัยแรกเริ่มสุด ประมาณ 2,300 ปีก่อนคริสตกาล อยู่ทางภาคกลางของค่อนไปทางใต้ของเม็กซิโกปัจจุบัน มายา มีอำนาจอยู่ประมาณระหว่างปี ค.ศ. 200 ถึง ค.ศ. 900 ตั้งถิ่นฐานอยู่บนคาบสมุทรยูกาตันในนครรัฐที่ปกครองโดยกษัตริย์ มายามีอายุร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมเตโอตีอัวกัน หลังจากเมืองเตโอตีอัวกันเสื่อมอำนาจทางการเมืองลงไป พวกโตลเตกก็ขึ้นมามีอำนาจแทนในราวปี ค.ศ. 700 อิทธิพลของอารยธรรมโตลเตกพบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาลงไปจนถึงคอสตาริกาในปัจจุบัน ผู้ปกครองโตลเตกที่มีชื่อเสียงคือ เกตซัลโกอัตล์ ภายหลังอารยธรรมโตลเตกก็ล่มสลายลงไปและสืบทอดต่อมาโดยพวกอัซเตกที่เรียกจักรวรรดิของตนเองว่า "เม็กซิกา"

กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของอัซเตกได้แก่ พระเจ้ามอกเตซูมาที่ 2 เมื่อถึงปี ค.ศ. 1519 เตนอชตีตลัน เมืองหลวงของจักรวรรดิอัซเตก (เม็กซิกา) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรถึงประมาณ 350,000 คน ซึ่งกรุงลอนดอนในขณะนั้นมีประชากรเพียง 80,000 คนเท่านั้น เตนอชตีตลันเป็นที่ตั้งของกรุงเม็กซิโกซิตีในปัจจุบัน

นักสำรวจชาวสเปนมาถึงเม็กซิโกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยฟรันซิสโก เอร์นันเดซ เด กอร์โดบาได้สำรวจชายฝั่งทางใต้ของเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1517 ตามมาด้วยการสำรวจของควน เด กรีคัลบาในปี ค.ศ. 1518 ผู้พิชิตดินแดนในสมัยแรกคนสำคัญคือ เอร์นัน กอร์เตส ซึ่งเข้ามาถึงในปี ค.ศ. 1519 จากทางเมืองชายฝั่งที่เขาตั้งชื่อให้ว่า "บียารีกาเดลาเบรากรุซ"

ด้วยความเชื่อว่ากอร์เตสเป็นเกตซัลโกอัตล์ (กษัตริย์เทพเจ้าในตำนานอัซเตก ซึ่งมีคำทำนายไว้ว่าพระองค์จะทรงกลับมาในปีเดียวกับที่กอร์เตสมาถึงพอดี) ชาวอัซเตกจึงไม่ได้ต่อต้านเขาและยังต้อนรับเป็นอย่างดี แต่อีกสองปีต่อมา (ค.ศ. 1521) กรุงเตนอชตีตลันก็ถูกพิชิตโดยกองทัพผสมระหว่างสเปนกับตลัชกัลเตกซึ่ง เป็นศัตรูสำคัญของอัซเตก การที่สเปนยึดเมืองหลวงของจักรวรรดิอัซเตกได้นั้นเป็นจุดเริ่มต้นยุค อาณานิคมที่นานเกือบ 300 ปีของเม็กซิโกในฐานะเขตอุปราชแห่งนิวสเปน อย่างไรก็ตาม กว่าสเปนจะยึดดินแดนเม็กซิโกได้ทั้งหมดนั้นก็ยังต้องใช้เวลาอีก 2 ศตวรรษหลังจากการตีกรุงเตนอชตีตลันได้ เนื่องจากต้องสู้รบกับชนพื้นเมืองกลุ่มอื่น ๆ ที่ยังคงก่อการจลาจลและโจมตีดินแดนของสเปนอยู่

ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1810 นักบวชชาวเม็กซิโกชื่อ มีเกล อีดัลโก ได้ประกาศเอกราชจากสเปนที่เมืองโดโลเรส รัฐกวานาวาโต เป็นตัวเร่งให้เกิดสงครามประกาศเอกราชเม็กซิโก ซึ่งในที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1821 ชาวสเปนได้ออกไปจากประเทศและทำให้เม็กซิโกกลายมาเป็นประเทศเอกราช ผู้นำคนแรกของเม็กซิโก อากุสติน เด อีตูร์บีเด ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิที่ 1 แต่ด้วยเหตุที่ว่าประชาชนไม่พอใจ อีก 2 ปีต่อมาเม็กซิโกจึงเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ โดยมีกวาดาลูเป บิกโตเรีย เป็นประธานาธิบดีคนแรก

บุคคลที่มีความสำคัญอีกคนหนึ่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือ นายพลอันโตเนียว โลเปซ เด ซานตา อันนา ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโกอยู่หลายสมัย เขาได้ประกาศยกเลิกระบบสหพันธรัฐและรวมอำนาจกลับเข้าสู่ศูนย์กลาง รัฐต่าง ๆ ถูกลดฐานะลงเป็นจังหวัดและไม่มีสิทธิ์ในการปกครองตนเอง ก่อให้เกิดความไม่สงบไปทั่วประเทศ รัฐต่าง ๆ ได้แก่ ยูกาตัง ตาเมาลีปัส และนวยโวเลอองได้ประกาศเอกราช ในที่สุดรัฐโกอาวีลาและเทกซัสก็ได้ประกาศแยกตัวออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1836 ยุทธการที่แอละโมที่มีชื่อเสียงได้เกิดขึ้นในสงครามครั้งนี้ ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ผนวกสาธารณรัฐเทกซัสเข้าเป็นรัฐหนึ่งของตน ทำให้เกิดความขัดแย้งเรื่องพรมแดนกับเม็กซิโกและเกิดสงครามระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกาขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1846-1848 เม็กซิโกเป็นฝ่ายแพ้สงครามและต้องเสียดินแดนอีกถึง 1 ใน 3 ให้สหรัฐอเมริกาตามสนธิสัญญาสงบศึก ส่วนซานตา อันนาถูกเนรเทศไปอยู่ในประเทศต่าง ๆ ในลาตินอเมริกา (แต่กลับเม็กซิโกในบั้นปลายชีวิต)

ระหว่างปี ค.ศ. 1858 และ ค.ศ. 1861 เกิดสงครามภายในขึ้นระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายอนุรักษนิยม ในที่สุด เบนีโต คัวเรซ ผู้นำจากฝ่ายเสรีนิยมก็เป็นฝ่ายชนะและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในทศวรรษ 1860 ฝรั่งเศสได้เข้ารุกรานเม็กซิโกและสถาปนามักซีมีเลียนแห่งฮับสบูร์ก ขึ้นเป็นจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมาพระองค์ทรงถูกสำเร็จโทษประหารหลังจากที่กองกำลังสาธารณรัฐสามารถยึดเมืองหลวงได้ในปี ค.ศ. 1867 และคัวเรซก็กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งจนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1872

ผู้สืบทอดอำนาจของคัวเรซอยู่ฝ่ายเสรีนิยมเช่นกันจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1876 ฝ่ายอนุรักษนิยมนำโดยปอร์ฟีรีโอ ดีอัซ (ซึ่งเป็นนายพลผู้เคยได้ชัยชนะในการรบกับฝรั่งเศสมาก่อน) ได้ก่อกบฏขึ้นอีกและขับไล่รัฐบาลเสรีนิยมที่มาจากการเลือกตั้งออกไปได้ ปอร์ฟีรีโอได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีปกครองประเทศอยู่กว่า 30 ปี เขาทำให้ประเทศมั่งคั่งขึ้น แต่คนจนในประเทศกลับยิ่งจนลง ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมได้นำไปสู่การปฏิวัติเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1910 นำโดยฟรันซิสโก อี. มาเดโร ดีอัซประกาศลาออกในปี ค.ศ. 1911 และมาเดโรได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1913 เกิดรัฐประหารนำโดยนายพลฝ่ายอนุรักษนิยมชื่อว่าบิกโตเรียโน อวยร์ตา มาเดโรถูกล้มล้างอำนาจและถูกฆาตกรรม ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองซึ่งมีผู้เข้าร่วมอีกจำนวนหนึ่ง เช่น เอมีเลียว ซาปาตา และปันโช บียา โดยทั้งสองจัดตั้งกองกำลังของตนเอง แต่กองทัพภายใต้รัฐธรรมนูญที่นำโดยเบนุสเตียโน การ์รันซา ก็สามารถยุติสงครามลงได้ในที่สุดและได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อปี ค.ศ. 1917 แต่การ์รันซาก็ถูกทรยศและลอบสังหารในปี ค.ศ. 1920 อัลบาโร โอเบรกอน วีรบุรุษอีกคนหนึ่งจากสงครามการปฏิวัติได้ขึ้นดำรงตำหน่งประธานาธิบดีแทน และปลูตาร์โก เอลีอัส กาเยส ก็ได้สืบต่ออำนาจ อย่างไรก็ตามโอเบรกอนได้ชัยชนะในการเลือกตั้งอีกครั้งในปี ค.ศ. 1928 แต่กลับถูกลอบสังหารก่อนจะได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ในปี ค.ศ. 1929 กาเยสได้จัดตั้งพรรคปฏิวัติแห่งชาติขึ้น และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคปฏิวัติสถาบัน ซึ่งจะกลายเป็นพรรคที่มีอำนาจมากที่สุดในช่วงเวลาอีก 70 ปีถัดมา

ระหว่างปี ค.ศ. 1940 และ ค.ศ. 1980 เป็นช่วงที่เม็กซิโกมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเรียกว่า "มหัศจรรย์เม็กซิโก" (El Milagro Mexicano) การที่รัฐเข้าครอบครองสิทธิที่จะทำผลประโยชน์จากแร่และโอนอุตสาหกรรมน้ำมันเข้าสู่บริษัทปิโตรเลียมเปเมกซ์ ซึ่งเป็นกิจการของรัฐในช่วงที่ลาซาโร การ์เดนัส เดล รีโอ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมจากประชาชนมาก แต่ก็เป็นการจุดปัญหาทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ ที่พลเมืองของตนต้องสูญเสียธุรกิจซึ่งถูกยึดหรือบังคับซื้อไปโดยรัฐบาลของกา ร์เดนัส

แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมก็ยังคงเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองยังไม่สงบ สุขนัก นอกจากนี้ นักการเมืองที่มีตำแหน่งบริหารของพรรคปฏิวัติสถาบันก็เริ่มลุแก่อำนาจ ไม่ฟังเสียงประชาชน และบางครั้งก็ดำเนินการกดขี่อย่างรุนแรง ตัวอย่างของพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ได้แก่ กรณีสังหารหมู่ตลาเตลอลโก ในปี ค.ศ. 1968 ที่กำลังตำรวจและทหารได้กราดกระสุนใส่กลุ่มนักศึกษาที่เดินขบวนต่อต้านรัฐบาล

ในทศวรรษ 1970 การบริหารของประธานาธิบดีลุยส์ เอเชเบร์รีอา ไม่เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก เนื่องจากเขาตัดสินใจก้าวเดินผิดทั้งในเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติ แต่กระนั้น ในทศวรรษนี้เองที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงขึ้นเป็นครั้งแรกในกฎหมาย การเลือกตั้งของเม็กซิโก นำไปสู่ความเคลื่อนไหวเพื่อทำให้ระบบการเลือกตั้งที่แต่เดิมเป็นแบบอำนาจ นิยมมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันขึ้นไปอยู่ที่จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์และอัตราดอกเบี้ย ก็ค่อนข้างต่ำนั้น รัฐบาลก็ได้สร้างการลงทุนอย่างมาดในบริษัทน้ำมันที่ตนเองเป็นเจ้าของด้วย ความพยายามจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมา อย่างไรก็ตาม การกู้ยืมที่มากเกินไปและการจัดการรายได้จากน้ำมันอย่างไม่ถูกต้องนั้นได้นำ ไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อและก่อให้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเมื่อปี ค.ศ. 1982 ในปีนั้น ราคาน้ำมันตกฉับพลัน อัตราดอกเบี้ยถีบตัวสูงขึ้น และรัฐบาลก็ยังผิดนัดชำระหนี้อีกด้วย ประธานาธิบดีมีเกล เด ลา มาดริด ต้องใช้วิธีการลดค่าเงินตราทางอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้ยอดคงเหลือในบัญชีปัจจุบันมีเสถียรภาพ

แม้ว่าในระดับเทศบาล นายกเทศมนตรีคนแรกที่ไม่ได้มาจากพรรคปฏิวัติสถาบันจะได้รับการเลือกตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 แต่ก็ต้องรอจนถึงปี ค.ศ. 1989 ที่ผู้ว่าการรัฐคนแรกที่ไม่ได้มาจากพรรคปฏิวัติสถาบันจะได้รับการเลือกตั้ง เข้าทำหน้าที่ อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลหลายแห่งอ้างว่าในปี ค.ศ. 1988 ทางพรรคได้ทุจริตการเลือกตั้งเพื่อป้องกันไม่ให้กูเวาเตม็อก การ์เดนัส ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากฝ่ายซ้ายชนะการเลือกตั้งระดับชาติครั้งนี้ โดยคะแนนเสียงส่วนมากเป็นของการ์โลส ซาลีนัส ซึ่งนำไปสู่การต่อต้านขนานใหญ่ในเมืองหลวง ซาลีนัสเริ่มลงมือปฏิรูปเสรีนิยมใหม่ (ทุนนิยม) โดยได้มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ควบคุมเงินเฟ้อ และลงเอยด้วยการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) กับสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งมีผลบังคับในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนี้เอง กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา (Ej?rcito Zapatista de Liberaci?n Nacional) ซึ่งมีสมาชิกเป็นชนพื้นเมืองอินเดียนก็ได้เริ่มก่อการกบฏต่อต้านรัฐบาลสหพันธรัฐขึ้นที่รัฐเชียปัส (หนึ่งในรัฐที่ยากจนที่สุดของประเทศ) ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และยังคงดำเนินการเพื่อต่อต้านลัทธิเสรีนิยมใหม่และโลกาภิวัตน์โดยไม่ใช้ ความรุนแรงต่อมาถึงปัจจุบัน อนึ่ง เนื่องจากเป็นปีที่จะมีการเลือกตั้ง (ในกระบวนการซึ่งภายหลังถือว่ามีความโปร่งใสที่สุดในประวัติศาสตร์เม็กซิโก นั้น) เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างไม่เต็มใจที่จะลดค่าเงินเปโซ อันจะทำให้เกิดการสูญสิ้นเงินสำรองแห่งชาติอย่างรวดเร็ว และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 หนึ่งเดือนหลังจากที่ประธานาธิบดีเอร์เนสโต เซดีโย ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากอดีตประธานาธิบดีซาลีนัส ก็เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศ

ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน รวมทั้งการปฏิรูปเศรษฐกิจในระดับมหภาคที่เริ่มโดยประธานาธิบดีเซดีโย เศรษฐกิจก็กระเตื้องขึ้นอย่างรวดเร็วและการเจริญเติบโตก็อยู่ที่เกือบร้อยละ 7 เมื่อถึงสิ้นปี พ.ศ. 2542 การปฏิรูปเลือกตั้งแบบเบ็ดเสร็จเพื่อเพิ่มการเป็นผู้แทนของพรรคในสมัยการ บริหารของเซดีโย รวมทั้งความไม่พอใจพรรคปฏิวัติสถาบันหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ทำให้ ทางพรรคเสียคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภาไปเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 หลังจากที่บริหารประเทศอยู่ 71 ปี พรรคปฏิวัติสถาบันก็ได้พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับบีเซนเต ฟอกซ์ จากพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคภารกิจแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2548 ฟอกซ์ได้ลงนามในการเป็นหุ้นส่วนทางความมั่นคงและความรุ่งเรืองแห่งอเมริกาเหนือ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2549 ฐานะของพรรคปฏิวัติสถาบันก็ยิ่งอ่อนแอลงและกลายเป็นพรรคที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันดับที่ 3 รองจากพรรคภารกิจแห่งชาติและพรรคปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันนั้น เฟลีเป กัลเดรอน จากพรรคภารกิจแห่งชาติได้ประกาศชัยชนะโดยได้รับคะแนนเสียงเฉือนขาดอันเดรส มานวยล์ โลเปซ โอบราดอร์ ตัวแทนจากพรรคปฏิวัติประชาธิปไตยไปเพียงนิดเดียว อย่างไรก็ตาม โลเปซ โอบราดอร์ได้ประท้วงการเลือกตั้ง และประกาศจัดตั้ง "รัฐบาลทางเลือก"

เม็กซิโกเป็นประเทศสหพันธรัฐที่ประกอบด้วยเสรีรัฐอธิปไตย (estado libre y soberano) 31 แห่ง แต่ละแห่งมีรัฐธรรมนูญ รัฐสภา รวมทั้งฝ่ายตุลาการประจำท้องถิ่นของตนเอง ประชาชนในรัฐสามารถเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐได้โดยตรง ซึ่งจะดำรงตำแหน่งวาระละ 6 ปี และยังสามารถเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปประจำในรัฐสภาของรัฐทุก ๆ 3 ปี

รัฐต่าง ๆ ในเม็กซิโกจะแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาล (municipio) ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองอย่างเป็นทางการที่เล็กที่สุดของประเทศ แต่ละแห่งมีนายกเทศมนตรีที่ได้รับเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากจากประชาชนในท้อง ถิ่นเป็นผู้บริหาร เทศบาลขนาดใหญ่บางแห่งอาจแบ่งพื้นที่ย่อยลงไปอีกเป็นเขตเล็ก ๆ ซึ่งมีทั้งแบบกึ่งปกครองตนเองและแบบที่ไม่ได้ปกครองตนเอง

ตามรัฐธรรมนูญแล้ว กรุงเม็กซิโกซิตีในฐานะเมืองหลวงและที่ตั้งอำนาจฝ่ายบริหารของสหพันธรัฐยังมีสถานะเป็นเฟเดอรัลดิสตริกต์หรือ "เขตของสหพันธ์" (distrito federal) ด้วย ทั้งสองถือเป็นหน่วยการปกครองเดียวกัน มีอาณาเขตเดียวกัน และมีลักษณะเป็นเขตการปกครองรูปแบบพิเศษที่ไม่ได้ขึ้นกับรัฐใดรัฐหนึ่งโดย เฉพาะ แต่เป็นของทุกรัฐในประเทศ ดังนั้นจึงมีอำนาจและกฎสำหรับท้องถิ่นค่อนข้างจำกัดกว่ารัฐต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เขตสหพันธ์แห่งนี้ก็ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันประชาชนในเขตสหพันธ์มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งหัวหน้าคณะรัฐบาลประจำ เขตและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำรัฐสภาของเขตได้โดยตรงเช่นเดียวกับประชาชน ในรัฐต่าง ๆ และถึงแม้เขตสหพันธ์จะไม่มีรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีบทกฎหมายเป็นของตนเอง

(ข้าวโพด ถั่วแดง เมล็ดพืชให้น้ำมัน พืชสำหรับเลี้ยงสัตว์ ผลไม้ ฝ้าย กาแฟ อ้อย พืชผักเมืองหนาว)

นโยบายเศรษฐกิจหลัก ส่งเสริมการค้าเสรี จัดตั้งเขตการค้าเสรีทวิภาคี ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

สินค้านำเข้าหลัก สินค้าวัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าประเภททุน ผลิตภัณฑ์เคมี ปิโตรเคมี

ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารอ่านและเขียนได้ 92.2% ของประชากรทั้งหมด (ชาย 94% หญิง 90.5%) โดยมีมหาวิทยาลัยของรัฐที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดคือ National Autonomous University of Mexico (NAUM) ซึ่งก่อตั้งในปี 2094 (1551) และ มีนักศึกษาได้ 269,000 คน

ประชากร : 107,449,525 คน โครงสร้างอายุ : 0-14 ปี -- 30.6% (ชาย 16,770,957/หญิง 16,086,172) 15-64 ปี -- 63.6% (ชาย 33,071,809/หญิง 35,316,281) 65 ปี และสูงกว่า -- 5.8% (ชาย 2,814,707/หญิง 3,389,599) อัตราการเจริญเติบโตของประชากร : 1.16%


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301