เฟรนช์เกียนา (อังกฤษ: French Guiana) หรือ กุยยานฟร็องแซซ (ฝรั่งเศส: Guyane fran?aise, ออกเสียง) เป็นจังหวัดโพ้นทะเล (d?partement d'outre-mer) ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ทิศเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศบราซิล และทางทิศตะวันตกติดกับประเทศซูรินาม เช่นเดียวกับจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสจังหวัดอื่น ๆ เฟรนช์เกียนายังมีฐานะเป็นแคว้นโพ้นทะเล (r?gion d'outre-mer) ซึ่งเป็น 1 ใน 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศสด้วย โดยถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับประเทศฝรั่งเศสในทวีปยุโรปและใช้สกุลเงินยูโรเช่นกัน
เฟรนช์เกียนาเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองอเมริกันจำนวนมาก มีชาวฝรั่งเศสเข้ามาตั้งถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของนักโทษซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่าเกาะเดวิลส์ (Devil's Island) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395)-ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) ต่อมาข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับบราซิลเกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในพื้นที่ป่าอันกว้างขวางทางภาคใต้ นำไปสู่การประกาศรัฐเอกราชนิยมฝรั่งเศสที่มีชื่อว่ากูนานี (Counani) ในเขตที่เกิดเป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกิดการต่อสู้ระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานด้วยกันเอง ก่อนที่ข้อพิพาทจะยุติลงโดยตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ให้บราซิลได้รับผลประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ จากนั้นเฟรนช์เกียนาได้กลายเป็นจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) ในคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยชาวม้งจากประเทศลาว การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองมากขึ้นจากฝรั่งเศสเริ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 การต่อต้านโดยกลุ่มที่เรียกร้องการปกครองตนเองนั้นก็มีเสียงเรียกร้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่การเดินขบวนในปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) และ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ทั้งหมดจบลงด้วยความรุนแรง
เฟรนช์เกียนาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป (เนื่องจากมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส) เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปนอกทวีปยุโรป โดยมีหนึ่งในเขตแดนภายนอกของสหภาพยุโรปที่ยาวที่สุด และเป็นหนึ่งในดินแดน 3 แห่งนอกทวีปยุโรปของสหภาพยุโรปที่ไม่ได้เป็นเกาะ (อีก 2 แห่งคือเมืองเซวตาและเมืองเมลียาของสเปนในทวีปแอฟริกา)
ประมุขแห่งรัฐคือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งจะแต่งตั้งผู้ว่าการ (prefect - ผู้สำเร็จราชการที่ประจำอยู่ที่ศาลากลางแคว้นในเมืองกาแยน) เป็นผู้แทนของตน เฟรนช์เกียนามีองค์กรนิติบัญญัติ 2 ส่วน คือ สภาทั่วไป (General Council) มีสมาชิก 19 คน และสภาแคว้น (Regional Council) มีสมาชิก 34 คน มาจากการเลือกตั้งทั้ง 2 สภา
เฟรนช์เกียนาจะส่งผู้แทน 2 คนไปยังสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส โดยคนแรกจะเป็นตัวแทนจากเทศบาลเมืองกาแยนและเทศบาลเมืองมากูรียา ส่วนอีกคนหนึ่งจะเป็นตัวแทนจากพื้นที่ที่เหลือทั้งหมดของเฟรนช์เกียนา ซึ่งเขตหลังนี้ถือเป็นเขตเลือกตั้งที่มีเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐฝรั่งเศส นอกจากนี้เฟรนช์เกียนายังมีสมาชิกวุฒิสภา 1 คนในวุฒิสภาฝรั่งเศสด้วย
ประเด็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อเฟรนช์เกียนาได้แก่ การทะลักของผู้อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและผู้ลักลอบสำรวจทองคำจากประเทศบราซิลและประเทศซูรินาม และยังมีปัญหาเกี่ยวกับแม่น้ำมาโรนี (Maroni) ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างเฟรนช์เกียนากับซูรินามก็ไหลผ่านป่าดงดิบ ทำให้ยากเข้าไปสำรวจของทหารฝรั่งเศส ดังนั้น แนวพรมแดนระหว่างประเทศทั้งสองจึงยังเป็นที่ขัดแย้งอยู่
เฟรนช์เกียนาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 เขต (arrondissements), 19 อำเภอ (cantons - ไม่แสดงในที่นี้) และ 22 เทศบาล (communes) ได้แก่
แม้เฟรนช์เกียนาจะมีความเกี่ยวดองทางวัฒนธรรมกับดินแดนที่พูดภาษาฝรั่งเศสในแถบแคริบเบียน แต่ก็ไม่สามารถจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคแห่งนั้นได้ เนื่องจากทะเลแคริบเบียนนั้นตั้งอยู่ห่างเฟรนช์เกียนาไปทางทิศตะวันตกหลายร้อยกิโลเมตร และอยู่ถัดจากส่วนโค้งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีสเข้าไปอีก
เฟรนช์เกียนาประกอบด้วยเขตภูมิศาสตร์สองเขต คือ เขตชายฝั่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่ และเขตป่าดงดิบหนาทึบและเข้าถึงได้ยากซึ่งค่อย ๆ ไล่ระดับความสูงขึ้นไปถึงยอดเขาต่าง ๆ ของทิวเขาตูมัก-อูมักตามแนวพรมแดนที่ติดกับบราซิล จุดสูงสุดของเฟรนช์เกียนาคือ แบลวูว์เดอลีนีนี (Bellevue de l'Inini) มีความสูง 851 เมตร ภูเขาอื่น ๆ ได้แก่ มงมาชาลู (782 เมตร) ปิกกูโดร (711 เมตร) และมงแซ็งมาร์แซล (635 เมตร) มงฟาวาร์ (200 เมตร) และมงตาญดูว์มาอูว์รี (156 เมตร) มีเกาะ 3 เกาะตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่ง ได้แก่ อีลดูว์ซาลูว์ หรือหมู่เกาะแซลเวชันซึ่งเป็นที่ตั้งของเกาะเดวิลส์ และที่อาศัยของนกบนอีลดูว์กอเนตาบล์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งไปทางบราซิล
เขื่อนเปอตี-โซ (Barrage de Petit-Saut) ทางตอนเหนือของเฟรนช์เกียนาก่อให้เกิดทะเลสาบเทียมขึ้นและแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ มีแม่น้ำหลายสายในเฟรนช์เกียนา
เฟรนช์เกียนาพึ่งพิงฝรั่งเศสอย่างมากทั้งในด้านเงินอุดหนุนและด้านสินค้า อุตสาหกรรมหลักได้แก่ อุตสาหกรรมการประมง (มีส่วนแบ่ง 3 ใน 4 ส่วนของสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ) การทำเหมืองทองคำ และการป่าไม้ นอกจากนี้ ศูนย์อวกาศเกียนาที่เมืองกูรูยังสามารถว่าจ้างคนได้ประมาณ 1,700 คนและมีส่วนแบ่งร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อุตสาหกรรมการผลิตมีน้อยมากและเกษตรกรรมส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนา การท่องเที่ยว (โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ) กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การว่างงานเป็นปัญหาสำคัญ โดยมีอัตราประมาณร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 30
ท่าอากาศนานาชาติหลักของเฟรนช์เกียนาคือ ท่าอากาศยานกาแยน-โรช็องโบ (Cayenne-Rochambeau) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมาตูรี ชานเมืองทางทิศใต้ของเมืองกาแยน มีเที่ยวบินหนึ่งเที่ยวต่อวันไปกรุงปารีส (ท่าอากาศยานออร์ลี) และมีเที่ยวบินหนึ่งเที่ยวต่อวันมาจากกรุงปารีสเช่นกัน เที่ยวบินจากจากเมืองกาแยนไปกรุงปารีสใช้เวลา 8 ชั่วโมง 25 นาที ส่วนจากกรุงปารีสมาที่เมืองกาแยนใช้เวลา 9 ชั่วโมง 10 นาที และนอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินสู่เมืองฟอร์-เดอ-ฟร็องส์ ปวงตาปิทร์ ปอร์โตแปรงซ์ ไมแอมี มากาปา เบเลง และฟอร์ตาเลซาอีกด้วย
ท่าเรือหลักของเฟรนช์เกียนาคือท่าเรือของเมืองเดกราเดกาน (D?grad des Cannes) ตั้งอยู่บนชะวากทะเลของแม่น้ำมาอูว์รี ในเขตเทศบาลเรอมีร์-มงฌอลี ชานเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกาแยน ท่าเรือเดกราเดกานสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เพื่อใช้แทนท่าเรือเก่าของกาแยนซึ่งคับแคบและไม่สามารถรับมือกับการจราจรในสมัยใหม่ได้ ปัจจุบันสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกเกือบทั้งหมดของเฟรนช์เกียนาจะต้องผ่านท่าเรือแห่งนี้
ถนนยางมะตอยจากเมืองเรชีนาไปยังเมืองแซ็ง-ฌอร์ฌ-เดอ-ลัวยาป็อก (Saint-Georges-de-l'Oyapock) เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2547 ถือเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางจากกาแยนไปสู่ชายแดนที่ติดกับประเทศบราซิลได้อย่างสมบูรณ์ โดยปัจจุบันนี้เราสามารถขับรถบนถนนลาดยางอย่างดีจากเมืองแซ็ง-โลร็อง-ดูว์-มารอนีที่ชายแดนซูรินามไปยังเมืองแซ็ง-ฌอร์ฌ-เดอ-ลัวยาป็อกที่ชายแดนบราซิล และจากสัญญาที่มีการลงนามระหว่างฝรั่งเศสกับบราซิลเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 สะพานข้ามแม่น้ำออยาพ็อก (Oyapock) ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติด้านตะวันออกของเฟรนช์เกียนากำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยมีกำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2553 โดยสะพานแห่งนี้จะเป็นที่ข้ามดินแดนแห่งแรกที่เคยเปิดใช้ขึ้นระหว่างฝรั่งเศสกับบราซิลและระหว่างเฟรนช์เกียนากับดินแดนส่วนอื่น ๆ ของโลก เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีสะพานแห่งอื่นที่สร้างข้ามแม่น้ำออยาพ็อก และยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำมาโรนีซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติด้านตะวันตกด้วย โดยมีเพียงเรือข้ามฟากไปยังเมืองอัลบีนาของซูรินามเท่านั้น เมื่อสะพานที่เปิดใช้ เราก็จะสามารถขับรถได้อย่างต่อเนื่องจากกาแยนไปยังเมืองมากาปา เมืองหลักของรัฐอามาปาของบราซิล
แอ็ง ? แอน ? อาลีเย ? อาลป์-เดอ-โอต-พรอว็องส์ ? อาลป์-มารีตีม ? อาร์แด็ช ? อาร์แดน ? อาเรียฌ ? โอบ ? โอด ? อาแวรง ? บา-แร็ง ? บุช-ดูว์-โรน ? กาลวาโดส ? ก็องตาล ? ชาร็องต์ ? ชาร็องต์-มารีตีม ? แชร์ ? กอแรซ ? กอร์ส-ดูว์-ซูด ? โกต-ดาร์มอร์ โกต-ดอร์ ? เคริซ ? เดอ-แซฟวร์ ? ดอร์ดอญ ? ดู ? โดรม ? เอซอน ? เออร์ ? เออเรลัวร์ ? ฟีนิสแตร์ ? การ์ ? แฌร์ ? ฌีรงด์ ? โอตซาลป์ ? โอต-กอร์ส ? โอต-การอน ? โอต-ลัวร์ ? โอต-มาร์น ? ? โอต-ปีเรเน ? โอ-แร็ง ? โอต-โซน ? โอต-ซาวัว ? โอดแซน ? โอต-เวียน ? เอโร ? อีเลวีแลน ? แอ็งดร์ ? แอ็งเดรลัวร์ ? อีแซร์ ? ฌูว์รา ? ล็องด์ ? ลัวร์ ? ลัวเรแชร์ ? ลัวรัตล็องติก ? ลัวแร ? ล็อต ? ลอเตการอน ? ลอแซร์ ? แมเนลัวร์ ? ม็องช์ ? มาร์น ? มาแยน ? เมอร์เตมอแซล ? เมิซ ? มอร์บีอ็อง ? มอแซล ? เนียฟวร์ ? นอร์ ? อวซ ? ออร์น ? ปารีส ? ปาดกาแล ? ปุย-เดอ-โดม ? ปีเรเน-อัตล็องติก ? ปีเรเน-ออรีย็องตาล ? โรน ? โซเนลัวร์ ? ซาร์ต ? ซาวัว ? แซเนมาร์น ? แซน-มารีตีม ? แซน-แซ็ง-เดอนี ? ซอม ? ตาร์น ? ตาร์เนการอน ? แตรีตัวร์เดอแบลฟอร์ ? วาล-เดอ-มาร์น ? วาล-ดวซ ? วาร์ ? โวกลูซ ? ว็องเด ? เวียน ? โวฌ ? อียอน ? อีฟว์ลีน
กัวเดอลุป ? เกาะกลีแปร์ตอน ? แซงปีแยร์และมีเกอลง ? แซ็ง-บาร์เตเลมี ? แซ็ง-มาร์แต็ง ? นิวแคลิโดเนีย ? เฟรนช์เกียนา ? เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนส์ (เกาะแซ็ง-ปอล ? เกาะอัมสเตอร์ดัม ? หมู่เกาะกระจายในมหาสมุทรอินเดีย ? หมู่เกาะแกร์เกแลน ? หมู่เกาะครอแซ ? อาเดลีแลนด์) ? เฟรนช์โปลินีเซีย ? มายอต ? มาร์ตีนิก ? เรอูว์นียง ? วาลลิสและฟุตูนา
เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ? เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา ? บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี ? บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี ? เบอร์มิวดา ? มอนต์เซอร์รัต ? หมู่เกาะเคย์แมน ? หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส ? หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ? หมู่เกาะพิตแคร์น ? หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ? แองกวิลลา