ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เพลงชาติอินเดีย

"ชนะ คณะ มนะ" (เบงกาลี: ?? ?? ??, J?no G?no Mono; แปลว่า "จิตใจแห่งปวงชน") เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอินเดีย บทเพลงนี้เขียนขึ้นด้วยภาษาเบงกาลีสันสกฤตและประพันธ์ทำนองโดยรพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนรางวัลโนเบลชาวเบงกาลี โดยบทที่นำมาใช้เป็นเพลงชาตินี้นำมาจากบทแรกของเพลงเดิมซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญแบบพฺราหฺมะ (???????, Brahmo) ของแคว้นเบงกอล มีเนื้อหาทั้งหมด 5 บท เพลงดังกล่าวได้มีการขับร้องอย่างเป็นทางการครั้งแรกในที่ประชุมคองเกรสแห่งชาติของอินเดีย (Indian National Congress) ที่เมืองกัลกัตตา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ภายหลังเพลง "ชนะ คณะ มนะ" ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นเพลงชาติอินเดียอย่างเป็นทางการโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1950

บทกวีต้นฉบับของรพินทรนาถ ฐากูร ได้ถูกแปลออกเป็นภาษาฮินดูสตานี (ฮินดี-อูร์ดู) โดย อะบิด อะลี บทเพลงต้นฉบับภาษาฮินดีของเพลงชนะ คณะ มนะ ซึ่งแปลโดยอะลี และอิงจากบทกวีของฐากูรนั้น มีความแตกต่างจากต้นฉบับเดิมอยู่บ้าง โดยเนื้อเพลงขึ้นต้นว่า "ศุภ สุข ไจน กี พรขา พรเส, ภารต ภาค ไห ชาคา..."

การบรรเลงเพลงชาติอินเดียเต็มเพลงอย่างเป็นทางการใช้เวลา 52 วินาที ส่วนการบรรเลงแบบสังเขปในบางโอกาส ใช้เวลาบรรเลง 20 วินาที โดยตัดเอาโน้ตท่อนแรกและท่อนสุดท้ายมาบรรเลง รพินทรนาถ ฐากูรได้เขียนบทแปลภาษาอังกฤษของเพลงนี้ด้วยตนเอง โดยมีมากาเร็ต เคาซินส์ (ภรรยาของ เจมส์ เฮนรี เคาซินส์ กวีชาวไอริช ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญดนตรีแบบยุโรป) ช่วยวางบทเพลงลงเป็นโน้ตดนตรีสากล ที่เมืองมฑนปัลเล รัฐอานธรประเทศ ซึ่งต้องร้องอย่างช้าๆ ตามต้นฉบับเท่านั้นจึงจะถูกต้องต้องนามโน้ตเพลงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขับร้องบทเพลงในฉบับที่เป็นเพลงชาติ มักจะบรรเลงโดยโน้ตเพลงที่ปรับใช้สำหรับวงออร์เคสตร้าและการขับร้องประสานเสียงโดยเฮอร์เบิร์ต เมอร์ริล นักประพันธ์ดนตรีชาวอังกฤษ ซึ่งดำเนินการภายใต้คำขอของชวาหระลาล เนห์รู

บทเพลงอีกบทหนึ่งของฐากูร คือ อามาร์ โชนาร์ บังกลา ซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นก่อนหน้าเพลงชนะ คณะ มนะ ต่อมาได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติบังกลาเทศในปี ค.ศ. 1972

ตัวบทของเพลงชนะ คณะ มนะ ถึงแม้จะเป็นภาษาเบงกาลี แต่ก็มีลักษณะของภาษาสันสกฤตอยู่สูงมาก เนื่องจากประพันธ์ด้วยภาษาหนังสือ (ภาษาเขียน) ที่เรียกว่า "สาธุภาษา" เนื้อเพลงนั้นเกือบทั้งหมดเขียนด้วยคำนามซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นคำกริยาได้ด้วยเช่นกัน คำนามที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นคำที่ใช้ในภาษาหลักๆ ที่ใช้ในประเทศอินเดีย ด้วยเหตุนี้ ตัวบทเพลงดั้งเดิมจึงสามารถเข้าใจได้ค่อนข้างชัดเจน และโดยข้อเท็จจริงแล้ว ยังคงเกือบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยในหลายๆ ภาษาที่ใช้แตกต่างกันออกไปในอินเดีย ด้วยความที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤตมากเช่นนี้ เพลงนี้จึงเป็นที่ยอมรับได้ในตระกูลภาษาอินดิกสมัยใหม่หลายภาษา แต่การออกเสียงย่อมจะผิดแผกกันไปตามแต่ละภาษาทั่วประเทศอินเดีย เหตุผลเบื้องต้นนั้นคือ ตระกูลภาษาอินดิกส่วนมากใช้อักษรสระประกอบ (Abugida) ซึ่งพยัญชนะที่ไม่มีเครื่องหมายใดๆ กำกับจะถือว่ามีเสียงสระกำกับอยู่ในตัวด้วย แต่ข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องนี้จะแตกต่างกันไปในระหว่างภาษาต่างๆ ของอินเดีย รูปอักษรที่ปรากฏเบื้องล่างต่อไปนี้สะท้อนถึงการออกเสียงตามภาษาเบงกาลี ทั้งในรูปอักษรเบงกาลีและอักษรโรมัน ข้อความต่อไปนี้เป็นบทร้องเพลงชาติฉบับที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลอินเดีย ในภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการบางภาษา

สำหรับคำแปลภาษาไทยที่ให้ไว้ในที่นี่เป็นคำแปลแบบวรรคต่อวรรค ซึ่งถอดความจากคำแปลภาษาอังกฤษของ Sitansu Sekhar Mittra อีกชั้นหนึ่ง

??????-???????? ??? ?? ???????????????! ?????? ?????? ?????? ????? ???????? ???? ???? ??????? ?????? ????? ????? ?????????????? ?? ??? ???? ????, ?? ??? ???? ????, ???? ?? ???????? ?????????????? ??? ?? ???????????????! ??? ??, ??? ??, ??? ??, ??? ??? ??? ??? ?? ??

J?n?g?n?m?n?-odhinay?k? j?y? he Bhar?t?bhagy?bidhata P?njab? Sindhu Guj?rat? M?ra?ha Drabi?o Utk?l? B?ngg? Bindhy? Himach?l? J?muna G?ngga Uchh?l?j?l?dhit?r?ngg? T?b? shubh? name jage T?b? shubh? ashish? mange Gahe t?b? j?y?gatha J?n?g?n?m?ngg?l?day?k? j?y? he Bhar?t?bhagy?bidhata J?y? he, j?y? he, j?y? he, j?y? j?y? j?y?, j?y? he

Jana ga?a mana adhin?yaka jaya he Bh?rata bh?gya vidh?t? Punj?ba Sindha Gujar?ta Mar??h? Dr?vi?a Utkala Banga Vindhya Him?chala Yamun? Gang? Ucchala jaladhi taranga Tava ?ubha n?me j?ge Tava ?ubha ??i?a m?ge G?he tava jaya g?th? Jana ga?a mangala d?yaka jaya he Bh?rata bh?gya vidh?ta Jaya he jaya he jaya he Jaya jaya jaya jaya he!

??????-??????? ?? ?? ???????????????! ????? ????? ?????? ????? ???????? ????? ??? ?????? ?????? ????? ???? ????????????? ?? ??? ???? ????, ?? ??? ???? ????, ???? ?? ??????? ???????????? ?? ?? ???????????????! ?? ??, ?? ??, ?? ??, ?? ?? ?? ?? ????

ชนคณมน-อธินายก ชย เห ภารตภาคฺยวิธาตา! ปํชาพ สินฺธ คุชราต มราฐา ทราวิฑ อุตฺกล พํค วินฺธฺย หิมาจล ยมุนา คํคา อุจฺฉลชลธิตรํค ตว ศุภ นาเม ชาเค, ตว ศุภ อาศิษ มาเค, คาเห ตว ชยคาถา? ชนคณมํคลทายก ชย เห ภารตภาคฺยวิธาตา! ชย เห, ชย เห, ชย เห, ชย ชย ชย ชย เห??

พระผู้เป็นนายเหนือจิตใจปวงชนจงมีชัย พระผู้ลิขิตชะตาแห่งภารตวรรษ (ประเทศอินเดีย)ปัญจาบ สินธุ คุชราต มราฐา (มหาราษฏระ)ทราวิฑ (อินเดียใต้) อุตกัล (โอริสสา) พังคะ (เบงกอล)เขาวินธัย เขาหิมาลัย แม่น้ำยมุนา แม่น้ำคงคา คลื่นชลธีอันซัดสาดเป็นระลอกน้อยใหญ่ ตื่นขึ้นมาสดับศุภนามของพระองค์ วอนขอพรประเสริฐจากพระองค์ ขับขานชัยคาถาของพระองค์ พระผู้ประทานสวัสดิมงคลแก่ปวงชนจงมีชัย พระผู้ลิขิตชะตาแห่งภารตวรรษ จงมีชัย จงมีชัย จงมีชัย ชโย ชโย ชโย จงมีชัย

รพินทรนาถ ฐากูร ได้แปลเพลงนี้ออกเป็นภาษาอังกฤษด้วยตนเอง เมื่อ ค.ศ. 1919 ซึ่งรัฐบาลอินเดียยังคงเผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน (แก้ไขในปี ค.ศ. 1950 โดยเปลี่ยนคำว่า Sindhu (สินธุ) เป็น Sindh (สินธ์) เนื่องจากแคว้นสินธุได้ตกเป็นของปากีสถานหลังจากการแบ่งแยกประเทศและได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดสินธ์) มีใจความดังนี้

Thou art the ruler of the minds of all people, Dispenser of India's destiny. Thy name rouses the hearts of Punjab, Sindh, Gujarat and Maratha, Of the Dravida, Utkala and Bengal; It echoes in the hills of the Vindhyas and Himalayas, mingles in the music of Yamuna and Ganga and is chanted by the waves of the Indian Ocean. They pray for thy blessings and sing thy praise. The saving of all people waits in thy hand, Thou dispenser of India's destiny. Victory, victory, victory to thee.

ท่านคือผู้ครองใจชนทั้งผอง ผู้ประสาทโชคชะตาแก่ภารตะ (ประเทศอินเดีย) ชื่อของท่านปลุกเร้าหัวใจแห่งปัญจาบ สินธุ คุชราต และมราฐา (มหาราษฏระ)ทราวิฑ อุตกัล (โอริสสา) และพังคะ (เบงกอล) ย่อมสะท้อนในขุนเขาวินธัยและหิมาลัย ผสานในดนตรีแห่งยมุนาและคงคา ที่พร่ำท่องโดยกระแสคลื่นแห่งทะเลภารตะ ชนทั้งผองร้องสรรเสริญและอวยชัย จงปลอดภัยอยู่ในหัตถ์ของท่านเทอญ ท่านผู้ประสาทชะตาแก่ภารตะ ชโย ชโย ขอท่านจงมีชัยเทอญฯ

รพินทรนาถ ฐากูร แปลเพลง "ชนะ คณะ มนะ" จากภาษาเบงกาลีเป็นภาษาอังกฤษ และปรับเนื้อร้องในเข้ากับดนตรีที่มฑนปัลเล เมืองขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ในเขตจิตตูระ (Chittoor district) รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย

ถึงแม้เพลงที่เป็นภาษาเบงกาลีนี้จะได้เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 แต่คนส่วนมากไม่รู้จักเพลงนี้นอกจากผู้อ่านนิตยสาร "ตัตวะ โพธะ ประกาศิกะ" (Tatva Bodha Prakasika) ซึ่งมีฐากูรเป็นบรรณาธิการอยู่เท่านั้น

ระหว่างปี ค.ศ. 1919 ฐากูรได้ตอบรับคำเชิญจากเพื่อนและกวีชาวไอริชชื่อ เจมส์ เอช. เคาซินส์ (James H. Cousins) ในการไปเยือนวิทยาลัยเทววิทยาเบแซนต์ (Besant Theosophical College) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมฑนปัลเลเป็นเวลา 2-3 วัน โดยฝ่ายเคาซินส์เป็นเจ้าภาพ ในเย็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักศึกษาที่มารวมตัวกัน และร้องเพลงชนะ คณะ มนะ ด้วยภาษาเบงกาลี ตามคำขอของเคาซินส์ ผู้บริหารของวิทยาลัยดังกล่าวหลายคนรู้สึกประทับใจอย่างยิ่งในอุดมคติอันสูงส่งของบทเพลงและการสรรเสริญพระเจ้า จึงได้เลือกเอาเพลงนี้เป็นเพลงสวดอธิษฐานพระเจ้าของวิทยาลัยนั้น หลายวันถัดมา ด้วยความหลงใหลในภูมิทัศน์ของหุบเขาเมืองมฑนปัลเล ฐากูรจึงได้เขียนคำแปลของเพลงดังกล่าว และวางบทเพลงลงเป็นโน้ตดนตรีซึ่งยังใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีมากาเร็ต เคาซินส์ (ภรรยาของ เจมส์ เฮนรี เคาซินส์ กวีชาวไอริช) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญดนตรีแบบยุโรป ช่วยในการนี้ เพลงชนะ คณะ มนะ ได้แพร่หลายไปไกลเกินกว่าพรมแดนของอินเดียโดยบรรดานักศึกษาระดับวิทยาลัย และกลายเป็น "เพลงยามเช้าของอินเดีย" (The Morning Song of India) และเพลงชาติอินเดียดามลำดับ

ปัจจุบัน ต้นฉบับของบทแปลเพลงชนะ คณะ มนะ ภาคภาษาอังกฤษในชื่อ "The Morning Song of India" ได้จัดเก็บใส่กรอบรูปและจัดแสดงไว้ในหอสมุดวิทยาลัยเทววิทยาเมืองมฑนปัลเล

รัฐบาลอินเดีย โดยกระทรวงวัฒนธรรม เยาวชน และกีฬา เคยมอบหมายให้ เอ. อาร์. ระห์มาน นำเพลงนี้เรียบเรียงทำนองใหม่และจัดทำเป็นวิดีโอเพื่อฉลองเอกราชครบ 50 ปี ของอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ออกอากาศครั้งแรกทางโทรทัศน์อินเดียเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยมีนักร้องที่มีชื่อเสียงของอินเดียร่วมในวิดีโอนี้จำนวน 35 คน

กัมพูชา ? กาตาร์ ? เกาหลีเหนือ ? เกาหลีใต้ ? คาซัคสถาน ? คีร์กีซสถาน ? คูเวต ? จอร์เจีย ? จอร์แดน ? สาธารณรัฐประชาชนจีน ? สาธารณรัฐจีน: เพลงชาติ, เพลงธงชาติ ? ซาอุดิอาระเบีย ? ซีเรีย ? ไซปรัส ? ญี่ปุ่น ? ติมอร์-เลสเต ? ตุรกี ? เติร์กเมนิสถาน ? ทาจิกิสถาน ? ไทย ? เนปาล ? บังกลาเทศ ? บาห์เรน ? บรูไน ? ปากีสถาน ? พม่า ? ฟิลิปปินส์ ? ภูฏาน ? มองโกเลีย ? มัลดีฟส์ ? มาเลเซีย ? เยเมน ? รัสเซีย ? ลาว ? เลบานอน ? เวียดนาม ? ศรีลังกา ? สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ? สิงคโปร์ ? อัฟกานิสถาน ? อาเซอร์ไบจาน ? อาร์เมเนีย ? อินเดีย ? อินโดนีเซีย ? อิรัก ? อิสราเอล ? อิหร่าน ? อุซเบกิสถาน ?

เคอร์ดิสถาน (อิรัก, ตุรกี, อิหร่าน, ซีเรีย) ? นากอร์โน-คาราบัค (อาเซอร์ไบจาน) ? ปาเลสไตน์ (ยังเป็นที่ถกเถียง) ? Deg o Tegh o Fateh (ชาวซิกข์) สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (ยังเป็นที่ถกเถียง) ? ตูวา (รัสเซีย) ? รัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบต ? เซาท์ออสซีเชีย (ยังเป็นที่ถกเถียง) ?


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301