เพทาย
เพทายเป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ด้วยสีที่หลากหลาย โดยเฉพาะสีฟ้า และ สีขาว จึงนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ อันที่จริงเพทายพบได้เกือบทุกสี ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง สีน้ำตาล สีส้ม สีแดง สีน้ำตาลแดง และ สีขาว แม้กระทั่งสีม่วง แต่พบน้อย บางสีที่เห็นอาจไม่ใช่สีที่ได้จากธรรมชาติ โดยสีน้ำเงิน และ สีขาว ส่วนมากจะมาจากการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งเดิมเป็นสีน้ำตาล ส่วนสีเขียวเข้ม และ สีน้ำตาลเหลืองเป็นสีที่พบมากในธรรมชาตื ขณะที่ที่ลึกจะพบสีเหลืองทองซึ่งพบได้ยาก ดังนั้นจึงมีราคาแพง สีเหลือง และ สีขาว บางครั้งจะเรียกว่า “Jargoon” ซึ่งได้จากการเผาเพทายสึเหลือง และ สีน้ำตาล ส่วนเพทายสีฟ้าจะเรียกว่า “starlite” เพทายสีแดง และ สีน้ำตาลแดง อาจเรียกกันว่า “hyacinth”หรือ “jacinth” เพทายส่วนมากมาจากประเทศไทย และ ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งเป็นที่ที่มีการปรับปรุงคุณภาพของเพทาย ไม่ว่าจะเป็นการเผา การขัด รวมทั้งการเจียระไน ก่อนที่จะส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ส่วนมากนิยมนำเพทายสีน้ำตาลไปเผาเพื่อให้ได้เพทายสีฟ้า หรือ สีขาว ทั้งนี้เพทายแต่ละอันก็มีการตอบสนองเผาที่แตกต่างกัน เพทายสีฟ้าที่ได้จากการเผาอาจกลับไปเป็นสีเดิมได้หากได้รับการเผาอีกครั้ง การเผาเพทายเพื่อให้ได้เพทายสีฟ้า และ สีขาวนั้นเป็นผลมาจากเพทายสีฟ้า และ สีขาว หาได้ยากในธรรมชาติแต่กลับเป็นที่นิยม จึงได้มีการปรับปรุงคุณภาพของเพทายขั้น แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าเพทายนั้นจะมีสีฟ้า หรือ สีขาว ที่ได้จากธรรมชาติ หรือจาการเผาก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงทำให้เพทายสีฟ้า และ สีขาว มีราคาแพง เพทายนั้นทนทานกัดกร่อนทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นกรด หรือ เบส แต่เพทายอาจเกิดปฏิกิริยากับน้ำได้ ทำให้ความวาวของเพทายเปลี่ยนไปจากวาวแบบแก้วไปเป็นวาวแบบน้ำมัน ซึ่งเห็นได้ชัดหลังจากใส่เพทายที่เจียระไนแล้วไประยะหนึ่ง ความแข็งของเพทายอาจแตกต่างกันในแต่ละบริเวณของเนื้อพลอย โดยอาจเป็นผลมาจากการเจียระไน เพทายที่พบมักปรากฏเป็นรูปผลึก โดยรูปผลึกจะเป็นรูปแท่งปริซึมปิดด้านบน และ ด้านล่างด้วยพีระมิดสี่ด้าน เพทายมีองค์ประกอบทางเคมี คือ เซอร์คอนเนี่ยมซิลิเกต โดยมีแร่เหล็ก แร่ทอเรียม และ แร่ยูเรเนียม ปะปนอยู่ในองค์ประกอบบ้าง ซึ่งเป็นแร่กัมมันตรังสี ทำให้เพทายเกิดการแผ่รังสีออกมาเล็กน้อย เพทายจัดว่าเป็นพลอยหนัก จากการที่มีค่าความถ่วงจำเพาะตั้งแต่ 3.95-4.86 โดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 4.18-4.70 ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้สามารถตรวจสอบได้ง่าย ทั้งนี้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกันไป เช่นจะพบการเปลี่ยนสีคู่ (dichroism) ในเพทายสีฟ้าเท่านั้น และ เพทายสีฟ้าจะมีความแข็งน้อยกว่าเพทายปกติ ประมาณ 7 ? -6 ทำให้เมื่อนำเพทายไปทำเป็นแหวนจึงเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย และ ต้องนำมาแก้ไขอยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้จึงต้องเก็บรักษาอย่างดี โดยแยกเก็บต่างหากจากเครื่องประดับอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วเพทายแบ่งเป็น 3 ชนิด ชนิดแรก คือ เพทายาที่มีสีเขียว สีเหลือง และ สีน้ำตาล บางครั้งอาจรวมถึงสีน้ำเงิน เพทายชนิดนี้มักพบในรูปของเม็ดกลม อีกทั้งยังแสดงลักษณะหักเหเดี่ยว และ ไม่ปรากฏลักษณะเปลี่ยนสีคู่ การเผาจะทำให้สีของเพทายจางลง เพทายชนิดนี้มีความถ่วงจำเพาะในช่วง 3.82-4.14 ความแข็งประมาณ 7 ? มีดัชนีหักเห 1.79-1.84 เพทายชนิดที่สองประกอบด้วยเพทายโทนสีแดง ซึ่งแสดงลักษณะการหักเหคู่ และ การเปลี่ยนสีคู่เล็กน้อย มักพบในรูปของผลึกเพทาย การเผาเพทายชนิดนี้ก็ทำให้สีจางลงเหมือนเพทายชนิดแรก เพทายชนิดนี้มีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ในช่วง 4.67-4.71 และ ความแข็ง 7 ? มีดัชนิหักเหในช่วง 1.92-1.99 เพทายชนิดที่สามเป็นชนิดที่อยู่ระหว่างเพทายสองชนิดแรก ซึ่งหมายรวมถึงเพทายทุกโทนสี เพทายชนิดนี้นิยมนำไปเผาเพื่อให้เพทายเปลี่ยนสี การเผาทำให้สีของเพทายสวยขึ้น รวมถึงค่าความถ่วงจำเพาะ และค่าอื่นๆก็เพื่มขึ้นด้วย โดยค่าความถ่าวจะเพาะจะอยู่ในช่วง 4.30-4.70 ความแข็งประมาณ 7 ? - 7 ? และค่าดัชนิหักเหอยู่ระหว่าง 1.79-1.99 เพทาย หรือคำว่า Zircon อาจมาจากภาษาอะราบิก โดยคำว่า vermilion หรือจากภาษาเปอร์เซีย คำว่า zargoon ที่หมายถึง สีทอง เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อน จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ เช่น ทำอิฐทนไฟและวัตถุดินเผาเคลือบทุกชนิด ใช้เป็นฉนวน สำหรับป้องกันไฟฟ้า ความร้อน ทำผงสีขัด ไส้หลอดไฟฟ้า ผสมยางให้เหนียว หลอดอิเล็กทรอนิกส์ หลอดไฟถ่ายรูป เครื่องควบแน่น X-ray filters ใช้ในการเชื่อมไฟฟ้าเฉพาะแห่ง นอกจากนี้แร่เพทายบริสุทธิ์ยังถูกนำไปใช้ในการสร้างเครื่องกำเนิดปฏิกรณ์ปรมาณูอีกด้วย
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เพทาย
|