ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เบราน์ชไวก์

เบราน์ชไวก์ (เยอรมัน: Braunschweig; อังกฤษ, ฝรั่งเศส: Brunswick) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐโลว์เออร์แซกโซนี ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นเมืองอิสระ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ ปัจจุบันมีประชากรราว 247,000 คน ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของรัฐโลว์เออร์แซกโซนีรองจากฮันโนเวอร์ เมื่อรวมเขตปริมณฑลของเมืองเข้าด้วยจะมีประชากรราว 1 ล้านคน เบราน์ชไวก์เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศและสหภาพยุโรป

เบราน์ชไวก์เป็นส่วนหนึ่งของ เขตปริมณฑลฮันโนเวอร์-เบราน์ชไวก์-เกิททิงเงน-ว็อลฟส์บูร์ก ซึ่งมีประชากรทั้งหมดราว 3.9 ล้านคน เมืองใหญ่แห่งอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงได้แก่ ว็อลฟส์บูร์ก (ประชากร 123,000) ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 30 กิโลเมตร ฮันโนเวอร์ (ประชากร 518,000) ทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 70 กิโลเมตร และมักเดบูร์ก (ประชากร 230,000) ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 100 กิโลเมตร

ประวัติศาสตร์ของเบราน์ชไวก์ย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9ไฮน์ริชที่ 12 ดยุกแห่งบาวาเรียได้พัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายที่มีอิทธิพลและเข้มแข็งอย่างรวดเร็ว ทำให้ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 เบราน์ชไวก์มีฐานะเป็นเมืองสมาชิกในสันนิบาตฮันเซียติก ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรทางทหารของเมืองการค้าและสมาคมพ่อค้าที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรักษาเอกสิทธิ์ในการค้าขายตามชายฝั่งทะเลของยุโรปเหนือ

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เบราน์ชไวก์มีสถานะเป็นเมืองหลวงของรัฐอิสระเบราน์ชไวก์ ส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไวมาร์ จนกระทั่ง ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) เบราน์ชไวก์กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐโลว์เออร์แซกโซนีจนถึงปัจจุบัน

เมืองเบราน์ชไวก์ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางเหนือของประเทศเยอรมนี มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเรียกว่า ที่ราบเยอรมันเหนือ (Norddeutsches Tiefland) มีแม่น้ำโอเกอร์ (Oker) ยาว 128 กิโลเมตร ไหลจากทิศใต้ขึ้นสู่ทิศเหนือผ่านเขตเมืองเก่า แม่น้ำสายนี้มีลักษณะพิเศษคือเมื่อเริ่มไหลเข้าเขตเมืองเก่าทางทิศใต้จะมีฝายกั้นน้ำแยกแม่น้ำออกเป็นสองส่วน และบรรจบกันอีกครั้งทางตอนเหนือ ทำให้เขตเมืองเก่าของเบราน์ชไวก์มีสภาพคล้ายเกาะกลางน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งในยุคกลางทำหน้าที่เป็นป้อมปราการธรรมชาติของเมือง แม่น้ำโอเกอร์บรรจบกับคลองมิทเทิลลันด์คานาล (Mittellandkanal) ทางทิศเหนือของเมือง แหล่งน้ำแห่งอื่นได้แก่ คลองวาเบ (Wabe, ยาว 26.5 กิโลเมตร) และคลองมิทเทิลรีเดอ (Mittelriede, ยาว 6 กิโลเมตร) ซึ่งคลองทั้งสองสายนี้ตั้งอยู่ห่างกันราว 100 เมตร ไหลจากทิศใต้ขึ้นเหนือ ผ่านตัวเมืองด้านทิศตะวันออก คลองทั้งสองสายไหลบรรจบกับคลองชุนเทอร์ (Schunter) ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง

เมืองเบราน์ชไวก์มีพื้นที่ทั้งสิ้น 192.13 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตเมืองยาวทั้งสิ้น 98 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดระหว่างทิศเหนือ-ใต้ยาว 19.1 กิโลเมตร ระหว่างทิศตะวันออก-ตะวันตกยาว 15.7 กิโลเมตร พื้นที่ใจกลางเมืองมีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 70 เมตร จุดที่สูงที่สุดของเมืองคือเนินเขาไกเทิลเดอร์แบร์ก (Geitelder Berg) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ซึ่งมีความสูง 111 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนจุดที่ต่ำที่สุดเป็นแนวโค้งของแม่น้ำโอเกอร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง มีความสูง 62 เมตรจากระดับน้ำทะเล

เบราน์ชไวก์มีภูมิอากาศก้ำกึ่งระหว่างอากาศแบบชายทะเลทางทิศตะวันตกและอากาศแบบแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออก อุณหภูมิปานกลางเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 8.8 ?C ปริมาณหยาดน้ำฟ้าอยู่ระหว่าง 600 ถึง 650 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นฤดูร้อนอยู่ที่ 17.5 ?C ส่วนในเดือนมกราคมซึ่งเป็นฤดูหนาวมีอุณหภูมิเฉลี่ย 0.2 ?C

เมืองเบราน์ชไวก์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 19 เขต (Stadtbezirk) แต่ละเขตมีสภาเขต (Stadtbezirksrat) และนายกเทศมนตรี (Bezirksb?rgermeister) เป็นของตนเอง เขตทั้ง 19 แห่งมีดังนี้

การคมนาคมเข้าสู่เมืองเบราน์ชไวก์ประกอบด้วย ทางรถยนต์ ซึ่งมีทางพิเศษหลักของประเทศสองสายวิ่งผ่าน ได้แก่ ออโตบาห์นหมายเลข 2 (เชื่อมเบอร์ลิน–ฮันโนเวอร์–ดอร์ทมุนด์) และหมายเลข 38 (ซัลส์กิทเทอร์–ว็อลฟส์บูร์ก) ทางรถไฟของเมืองสายหลักเชื่อมระหว่างแฟรงก์เฟิร์ตกับเบอร์ลิน และมีรถไฟความเร็วสูงอินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรส (ICE) ให้บริการ สถานีรถไฟประจำเมืองคือ สถานีรถไฟกลางเบราน์ชไวก์ (Braunschweig Hauptbahnhof) ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองชั้นในไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 3 กิโลเมตร สนามบินเบราน์ชไวก์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือออกไปนอกเมือง สร้างตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930

การคมนาคมภายในเมือง นอกจากทางรถยนต์แล้วยังมีโครงข่ายทางจักรยานกระจายอยู่ทั่วเมือง ระบบขนส่งมวลชนประกอบด้วยรถรางและรถโดยสารประจำทาง ดำเนินการโดยบริษัท Braunschweiger Verkehrs-GmbH ส่วนระบบขนส่งมวลชนในเขตปริมณฑลและพื้นที่ใกล้เคียงดำเนินการโดยบริษัท Verbundtarif Region Braunschweig (VRB) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Braunschweiger Verkehrs-GmbH ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันรถรางของเมืองมี 5 สาย ความยาวทั้งสิ้น 51 กิโลเมตร หล่อเลี้ยงด้วยระบบไฟฟ้า เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1897 ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงยกระดับความทันสมัยและก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติม เช่น การก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติมในปี 2007 ความยาว 3.2 กิโลเมตร ส่วนรถโดยสารประจำทางมีให้บริการทั้งสิ้น 38 สาย ความยาวรวมทั้งสิ้น 489 กิโลเมตร เส้นทางรถรางที่ให้บริการในปัจจุบันทั้ง 5 สายได้แก่

เบราน์ชไวก์มีพื้นที่สีเขียวในตัวเมืองหลายแห่ง ได้แก่ สวนพฤกษศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเทคนิคเบราน์ชไวก์ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1840 โดยโยฮันน์ ไฮน์ริช บลาซิอุส นอกจากนี้ยังมีสวนเบือร์เกอร์พาร์ก (B?rgerpark) ทางทิศใต้ของเมืองเก่า สวนเลอเวินวัลล์ (L?wenwall ) ซึ่งภายในมีเสาโอเบลิสก์ต้นหนึ่งตั้งอยู่ สวนพรินซ์อัลเบรคท์พาร์ก (Prinz-Albrecht-Park) ทางทิศตะวันออกของเมือง สวนอินเซิลวัลล์ (Inselwallpark) สวนมูเซอุมพาร์ก (Museumpark) สวนหลายแห่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกันกลายเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองชั้นใน

บุคคลสำคัญที่เกิดในเมืองเบราน์ชไวก์คนหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากคือ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (1777–1855) นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" และนักคณิตศาสตร์อีกท่านที่เกิดในยุคหลังคือ ริชาร์ด เดเดคินด์ (1831–1916) นักเขียนคนสำคัญได้แก่ แอร์นสท์ เอากุสท์ คลิงเงอมันน์ และริการ์ดา ฮูค (1864–1947) นักแสดง กุสตาฟ คนุท นักการทูตและนักการเมือง กึนเทอร์ เกาส์ (1929–2004) และวิลเฮล์ม บรัคเคอ (1842–1880) ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคการเมือง Sozialdemokratische Arbeiterpartei (SDAP) ซึ่งเป็นพรรคดังเดิมของพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) ในปัจจุบัน สถาปนิก คาร์ล เทโอดอร์ อ็อทเมอร์ นักล่องบอลลูน วิลเฮลมีเนอ ไรช์อาร์ด (1788–1848) นักประพันธ์เพลงและนักดนตรี ลูอีส สพอร์ (1784–1859) นักประพันธ์เพลง นอร์แบร์ท ชุลท์เซอ (1911–2002) สำหรับบุคคลที่มีชื่อเสียงในยุคปัจจุบัน เช่น นักบาสเกตบอลเอ็นบีเอ เดนนิส ชเรอเดอร์ กรรมการตัดสินฟุตบอล ฟลอเรียน เมเยอร์

สำหรับบุคคลสำคัญที่ไม่ได้เกิดในเบราน์ชไวก์ แต่เคยใช้ชีวิตในเมืองหรือมีส่วนเกี่ยวข้องทางใดทางหนึ่ง ได้แก่ ไฮน์ริชที่ 12 ดยุกแห่งบาวาเรีย (มีชีวิตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12) ทิลล์ ออยเลนชปีเกล บุคคลในตำนานผู้สร้างความขบขันพอใจให้กับผู้คนทั่วไป นักการปฏิรูปศาสนา โยฮันเนส บูเกินฮาเกิน (1485–1558) นักภาษาศาสตร์และกวี ฮอฟมัน ฟอน ฟัลเลอร์สเลเบิน (1798–1874) ผู้ประพันธ์เพลงชาติเยอรมนี ดัสลีดแดร์ดอยท์เชิน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301