เทศบาลนครเชียงราย (คำเมือง: ) เป็นหนึ่งในเทศบาลนคร 25 แห่ง ของประเทศไทย เป็นเทศบาลนครลำดับที่ 3 ของภาคเหนือ ถัดจากเทศบาลนครเชียงใหม่และเทศบาลนครลำปาง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายและประตูสู่อินโดจีน ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
เทศบาลนครเชียงราย ตั้งอยู่ เลขที่ 59 ถนนอุตรกิจ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองเชียงรายตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 2 หน้า 2029 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2478 มีพื้นที่ 10.2 ตารางกิโลเมตร และเทศบาลได้ดำเนินการขยายเขตเทศบาลครั้งที่ 2 ตามพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 63 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2498 รามมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.6245 ตารางกิโลเมตร
ต่อมาได้ดำเนินการขยายเขตครั้งที่ 3 ตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอน 115 ลงวันที่ 28 กันยายน 2519 รวมมีพื้นที่ 10.65 ตารางกิโลเมตร และเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538 ที่ผ่านมาได้รับการขยายเขตอีกครั้ง ตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2538 ทำให้เขตเทศบาลขยายเพิ่มจากเดิมอีก 6 เท่า เป็นมีพื้นที่ทั้งสิ้น 60.85 ตารางกิโลเมตร ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองเชียงรายเป็นเทศบาลนครเชียงราย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีแนวเขตและแผนที่ตามเดิม
เทศบาลนครเชียงรายตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ระยะทางประมาณ 840 กิโลเมตร มีเนื้อที่จำนวน 60.85 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
พญามังรายมหาราช ทรงประทับบนแท่นที่ประทับ พระหัตถ์ทั้งสองประครองดาบไว้บนพระเพลาทั้งข้างซ้าย - ขวา ซึ่งหมายถึง เป็นผู้ก่อตั้งเมืองเชียงราย และรวบรวมชาวไทให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน เพื่อระงับความทุกข์เข็ญต่าง ๆ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในแคว้นล้านนา ส่วนด้านข้างทั้งสอบและด้านล่างประดับด้วยลายไทยที่มีความอ่อนช้อยสวยงาม เป็นการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเชียงราย
ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลนครเชียงราย ตั้งอยู่ในที่ราบสูง ระหว่างภูเขา พื้นที่มีลักษณะรูปกะทะ มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำกกและแม่น้ำกรณ์ไหลผ่าน อันเป็นประโยชน์เกษตรกรรมและการเดินเรือสำหรับการท่องเที่ยว
ลักษณะภูมิอากาศส่วนใหญ่เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 25 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
นครเชียงรายมีเส้นทางถนนซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินสำคัญ 3 สาย คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือสายเอเชีย จากเชียงรายถึงกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 840 กิโลเมตร, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 จากเชียงรายถึงเชียงใหม่ รวมระยะทาง 182 กิโลเมตร, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือสาย AH2 จากเชียงรายไปอำเภอแม่สาย นอกจากนี้ยังมีทางหลวงจังหวัดเชื่อมโยงระหว่างตัวเมืองกับอำเภอต่าง ๆ
ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เป็นสนามบินพาณิชย์ที่สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารที่บินระหว่างประเทศได้ โดยปัจจุบันเปิดบริการการเดินทางระหว่างเชียงราย-กรุงเทพมหานคร เที่ยวไป-กลับ วันละ 5 เที่ยวบิน รวม 10 เที่ยวบิน และเชียงราย-เชียงใหม่ วันละ 2 เที่ยวบิน รวม 4 เที่ยวบิน นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินไปยังเมืองคุนหมิง ทางตอนใต้ของประเทศจีน
เดินทางโดยล่องจากบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตามแม่น้ำกก ถึงตัวจังหวัดเชียงราย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
ในปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงรายยังไม่มีรถไฟผ่าน แต่โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่มายังเชียงราย โดยแยกจากทางรถไฟสายเหนือ ที่สถานีรถไฟเด่นชัย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สถานีรถไฟที่ใกล้กับเชียงรายมากที่สุดคือ สถานีรถไฟเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องต่อรถโดยสารประจำทางมาเชียงราย
2.การประปา การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย อยู่ในสังกัดสำนักงานประปาเขต 9 จังหวัดเชียงใหม่ มีสำนักงานการประาที่อยู่ในสังกัดที่ให้บริการน้ำประปาแก่ชุมชนในเขตเทศบาล
3.โทรคมนาคม โทรศัพท์ พื้นที่บริการโทรศัพท์ของจังหวัดเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 11,678 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจำนวนประชากร 1,231,121 คน คิดเป็นความหนาแน่นโทรศัพท์เท่ากับ 15 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน
โทรศัพท์สาธารณะท้องถิ่นและทางไกล 138 เลขหมาย โทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท 48 เลขหมาย โทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร 178 เลขหมาย
คนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในอดีตเรียกว่า ไทยยวน หรือลาวพุงดำ ผู้ชายจะมีรูปร่างโปร่งบางกว่าคนไทยภาคกลางเล็กน้อย ผู้หญิงมีรูปร่างผิวพรรณและหน้าตางดงาม มีภาษาพูดแตกต่างไปจากไทยภาคกลางเล็กน้อย มีตัวหนังสือเฉพาะของตนเอง การแต่งกายพื้นเมือง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นยาวเกือบถึงตาตุ่ม ใส่เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมทัดดอกไม้ ชายนิยมนุ่งกางเกงขายาว ใส่เสื้อคอกลมแขนสั้นสีครามเข้ม มีผ้าขาวม้าคาดเอว บ้านเรือนยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วหลังคามีไม้ไขว้กันประดับด้วยลวดลาย เรียกว่ากาแล เครื่องดนตรีที่สำคัญได้แก่ เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ปี่ แน กลอง นาฏศิลป์พื้นบ้านมีการฟ้อนเมือง ฟ้อนม่าน ฟ้อนเงี้ยว ประเพณีที่สำคัญคล้ายไทยภาคกลาง มีบางส่วนที่แตกต่างกันออกไปเช่นปอยหลวง เรียกขวัญ สืบชะตา เป็นต้น
ในเขตเทศบาลนครเชียงรายมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 70,856 คน (ณ เดือนมีนาคม 2558) แยกเป็นชาย จำนวน 33,773 คน หญิง 37,083 คน จำนวนครอบครัว 20,825 ครอบครัว จำนวนบ้าน 30,706 หลังคาเรือน