เทศบาลนครนครราชสีมา ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยที่ตั้งของอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยเทศบาลนครนครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 5 ของประเทศไทย เป็นรองเพียงกรุงเทพมหานคร เทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครปากเกร็ด และเทศบาลนครหาดใหญ่เท่านั้น เมืองโคราชเป็นศูนย์กลางการค้า การพาณิชย์ การคมนาคมทางบก และอุตสาหกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีขนาดใหญ่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อยู่ระหว่างละติจูดที่ 14-16 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101-103 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150-300 เมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ 259 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ 264 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางทางเครื่องบินประมาณ 30 นาที ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลาดเอียงไปทาง ทิศตะวันออกตอนเหนือ ของตัวเมืองเป็นที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ราบสูง
เทศบาลนครนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 37.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,430 ไร่ 2 งาน หรือประมาณร้อย ละ 4.96 ของพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 755.596 ตารางกิโลเมตร) หรือ ประมาณร้อยละ 0.18 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 20,493.9 ตารางกิโลเมตร)
เมืองนครราชสีมา เป็นชุมชนเมืองโบราณเมืองหนึ่งแห่งราชอาณาจักรไทยในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาโปรดฯ ให้ย้ายเมือง 2 เมืองเดิมคือ เมืองโคราช และเมืองเสมา (ในท้องที่อำเภอสูงเนิน) มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นในพื้นที่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2199 โดยสร้างให้มีป้อมปราการ และคูน้ำล้อมรอบ แล้วตั้งชื่อเมืองใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองเก่าทั้ง 2 มารวมกัน มีชื่อว่า "นครราชสีมา"
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงจัดแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น มณฑลเทศาภิบาลซึ่ง มณฑลนครราชสีมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2436 เป็นมณฑลแรกของประเทศสยาม จากนั้น ได้มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลรศ.127 กับ ตำบลโพกลาง (โพธิ์กลาง) ขึ้นใน มณฑลนครราชสีมา จึงกลายเป็น สุขาภิบาลเมืองนครราชสีมา เมื่อที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2451
และในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศจากกระทรวงมหาดไทย ให้รวม ตำบลในเมือง ในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา เข้าอยู่ในสุขาภิบาลเมืองด้วย อีกตำบลหนึ่ง และได้พระราชทาน เงินภาษีโรงร้าน ยานพาหนะ และค่าเช่าที่ดิน ต่าง ๆที่เก็บจากตำบลในเมือง ให้รวมเข้าเป็นผลประโยชน์สำหรับใช้จ่ายในการบำรุงสุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาต่อไปอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีตราพระราชกฤษฎีกาเทศบาลขึ้น จึงมีผลให้มีการพิจารณายกฐานะสุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาขึ้นเป็นเทศบาลเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2478 สุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็น เทศบาลเมืองนครราชสีมา
เทศบาลเมืองนครราชสีมาได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2480 มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4.397 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้ขยายเป็น 37.50 ตารางกิโลเมตร มีผลบังคับใช้มา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา และจัดตั้งเป็น เทศบาลนครนครราชสีมา เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538
ประชากรในฐานข้อมูลทะเบียนท้องถิ่นเขตเทศบาลนครนครราชสีมา (ธันวาคม 2556) มีจำนวน 136,153 คน เป็นหญิง 72,134 คน เป็นชาย 64,019 คน จำนวนบ้านเรือน 33,344 หลังคาเรือน เมื่อ เปรียบเทียบอัตราส่วนความหนาแน่นประชากรต่อพื้นที่รวมทั้งสิ้น ประมาณ 3,684 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่นหรืออพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง บางส่วนใช้ภาษาไทยโคราชซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาพูด
ปัจจุบันจำนวนประชากรมีแนวโน้มลดลงทุกปี เนื่องจากโครงการที่พักอาศัยได้ขยายตัวออกไปนอกเขตเทศบาล และยังมีประชากรแฝง(รวมพื้นที่โดยรอบนอกเขตเทศบาล)ถึงในอนาคต ประมาณ 450,000-500,000 คน หรือเข้ามาใช้บริการในเขตเมืองในเวลากลางวัน แล้วอพยพออกไปในเวลากลางคืนประมาณ 200,000-400,000 คน/วัน
ในนครนครราชสีมา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 98 ที่เหลือร้อยละ 2 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม
นอกเหนือจากศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลแล้ว ในเขตเทศบาลยังมีหน่วยงานทั้งของภาครัฐและ เอกชนที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุข คือ
เป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เนื่องจากเป็นชุมชนเมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณประตูเข้า-ออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงสามารถติดต่อ จังหวัดต่างๆ ที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก (พื้นที่โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกหรืออีเอสบี) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว ถนนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจำแนกออกเป็นถนนสายหลักและสายย่อย ถนนสายหลักยังจำแนกออกเป็นถนนสายประธาน และสายกระจายรูปแบบ โครงข่ายถนนแบ่งได้เป็น 2 ส่วน
สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ให้บริการ ประกอบไปด้วย
ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 730,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 50,000 คน/วัน หรือประมาณ 18,000,000 ล้านคน/ปี
สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประกอบด้วย
ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,300 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 470,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 11,000,000 ล้านคน/ปี
ทั้งสองสถานีมีขบวนรถผ่านขึ้น-ล่อง วันละกว่า 60 ขบวน โดยมีเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่าน 2 สาย คือ