ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 จัดตั้งชุมชนบางส่วนของตำบลบางเสาธงและตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นเป็น สุขาภิบาลบางเสาธง เนื่องจากประชากรและขนาดของชุมชนเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นที่ตั้งโครงการเมืองใหม่บางพลีของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งได้รับการจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ตามนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นที่มีวัตถุประสงค์ให้สร้างเมืองใหม่ในเขตปริมณฑลเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และแหล่งพาณิชยกรรม และเพื่อลดจำนวนการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าไปในกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2538 ได้มีการแบ่งเขตการปกครองโดยจัดตั้งกิ่งอำเภอบางเสาธงขึ้นในอำเภอบางพลี สุขาภิบาลบางเสาธงจึงเปลี่ยนไปอยู่ในเขตกิ่งอำเภอบางเสาธงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2542 รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการกระจายอำนายสู่ท้องถิ่นมากขึ้น จึงได้ตราพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ในปี พ.ศ. 2542 จึงมีผลให้สุขาภิบาลบางเสาธงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลตำบลบางเสาธง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (ถนนบางนา-บางปะกง) ฟากใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนเข้าวัดมงคลนิมิตรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ระยะ 100 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นเลียบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ฟากใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางคลองกระเทียม ไปทางทิศตะวันตกตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ระยะ 250 เมตร
ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสำโรงฝั่งใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางสะพานข้ามคลองสำโรงไปทางทิศตะวันออกตามแนวริมฝั่งคลองสำโรงฝั่งใต้ระยะ 100 เมตร จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบคลองสำโรงฝั่งใต้ ไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสำโรงฝั่งตะวันตก ตรงจุดที่คลองสำโรงฝั่งตะวันตกบรรจบคลองหัวเกลือฝั่งตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเลียบริมคลองหัวเกลือฝั่งตะวันตก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมลำรางสาธารณประโยชน์ (ไม่ปรากฏชื่อ) ฝั่งเหนือ ตรงจุดที่ลำรางสาธารณประโยชน์บรรจบคลองหัวเกลือฝั่งตะวันตก
ด้านใต้ จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสกัด 100 ฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่คลองสกัด 100 ฝั่งตะวันออกบรรจบกับลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งเหนือ จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นเลียบริมคลองสกัด 100 ฝั่งตะวันออกและฝั่งเหนือ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองลาดหวายฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่บรรจบคลองสกัด 100 ฝั่งเหนือ
ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นเลียบริมคลองลาดหวายฝั่งตะวันออก ไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสกัด 75 ฝั่งใต้ ตรงจุดคลองสกัด 75 ฝั่งใต้บรรจบกับคลองลาดหวายฝั่งตะวันออก จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นเลียบริมคลองสกัด 75 ฝั่งใต้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองเจริญราษฎร์ฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่คลองเจริญราษฎร์ฝั่งตะวันออกบรรจบคลองสกัด 75 ตามแนวเส้นตรงฝั่งใต้ จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นเลียบริมคลองเจริญราษฎร์ฝั่งตะวันออก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ตรงคอสะพานข้ามคลองเจริญราษฎร์ฝั่งตะวันออก ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268 (ถนนเทพารักษ์) ฟากใต้ จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นเลียบริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268 ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268 ฟากใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากถนนเข้าวัดมงคลนิมิตรไปทางทิศตะวันตกตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268 ระยะ 100 เมตร และจากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านคลองสำโรง จนบรรจบหลักเขตที่ 1