ในยุคนั้น รถถังถือว่ามีบทบาทมากในเฉพาะสมรภูมิทางด้านยุโรปและในแอฟริกาเหนือ ซึ่งรถถังที่สำคัญในสมัยนั้นก็มี รถถังไทเกอร์,แพนเซอร์ ของกองทัพนาซีเยอรมัน รถถัง T-34 ของสหภาพโซเวียต รถถัง M69A3 ของกองทัพสหรัฐฯ โดยที่อัตราการผลิตรถถังนั้นทางสหภาพโซเวียตได้มีการผลิตรถถังรุ่น T-34 ที่สูงมาก ซึ่งในแต่ละวันนั้นผลิดได้ 60-70 คัน และมีอานุภาพการทำลายล้างสูง จนกระทั่งสงครามสิ้นสุด ก็ยังมีประจำการอยู่ประมาณ 50,000 คัน ส่วนของกองทัพสหรัฐฯ เองแม้จะมีอัตราการผลิตสูงก็ตาม แต่อานุภาพการทำลายล้างยังด้อยกว่ารถถังไทเกอร์กับรถถังแพนเซอร์ เพราะจำนวนมากนี่เอง ที่ทำให้กองทัพสหรัฐฯและฝ่ายพันธมิตรสามารถเอาชนะกองทัพเยอรมันได้ ส่วนกองทัพเยอรมันแม้ว่าจะมีรถถังที่ทรงอานุภาพมากก็ตาม แต่อัตราการผลิตยังถือว่าน้อยมาก เพราะผลิตออกมาเพียงรุ่นละไม่เกิน 4,500 คันเมื่อเทียบกับ 2 ประเทศยักษ์ใหญ่แล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธของเยอรมันในสมัยนั้นยังเป็นการผลิตในระยะสั้น จึงทำให้สามารถผลิตรถถังออกมาได้ไม่มาก ส่วนทางญี่ปุ่นนั้น จะไม่ค่อยเน้นการผลิตรถถังเสียเท่าไหร่เนื่องจากทุกๆแนวรบไม่จำเป็นจะต้องใช้รถถัง การรบในจีน รถถังของญี่ปุ่นเป็นต่อกองกำลังรถถังของจีน เนื่องด้วยความทันสมัยของรถถังจำนวน และ ความสามารถของพลขับรถถังที่เก่งกว่า ซึ่งได้รับการพิสูจน์ในหลายๆที่แล้วว่า พลรถถังของจีนยังถูกฝึกให้มีความสามารถสู้พลขับรถถังของญี่ปุ่นไม่ได้ จึงไม่นิยมผลิตรถถังจำนวนมาก การรบในแปซิฟิค ด้วยสภาพภูมิประเทศส่วนมากในแปซิฟิคเป็นป่า ยานขนส่งทำการรบในป่าได้ลำบาก และส่วนมากจะรบในป่ามากกว่าที่โล่ง จีงเห็นได้ชัดว่าญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้รถถังในภูมิภาคนี้มากสักเท่าไหร่ การต่อสู้กับรถถังอเมริกัน ญี่ปุ่นเห็นควรว่าน่าจะใช้ปืนยิงใหญ่ยิงใส่มากกว่าใช้รถถังเข้าสู้ เพราะรถถังญี่ปุ่นสู้ไม่ได้ และจำนวนยังน้อยกว่า เหล็กส่วนมากมักนำไปผลิตเครื่องบินกับเรือเสียส่วนมาก แต่ก็เหมาะสมต่อกองทัพญี่ปุ่นอยู่แล้ว
เรือรบถือว่าเป็นอาวุธสำคัญมากทั้งในสมรภูมิทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก โดยด้านแปซิฟิกนั้นสิ่งที่สำคัญนั่นคือเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือพิฆาต ส่วนด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ก็มีเรืออู ซึ่งเป็นเรือดำน้ำของกองทัพเยอรมันที่คุกคามกองทัพเรือของฝ่ายพันธมิตรอย่างหนักหลังการปราบฝรั่งเศสได้แล้ว พอหลังปี 1943 ภัยคุกคามจากเรืออูเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเข้าร่วมของสหรัฐอเมริกา ทางแปซิฟิคนั้น กองเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นเป็นต่อกองเรือผิวน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก เนื่องด้วยเทคโนโลยีของกองเรือญี่ปุ่นที่ทันสมัยเทียบเท่ากองเรือของสัมพันธมิตรและเทคโนโลยีการต่อเรือที่ทำให้เรือมีขนาดใหญ่แต่มีประสิทธิภาพมากคือไม่อุ้ยอ้ายเชื่องช้า ถ้าเทียบขนาดความใหญ่ของเรือในขนาดที่เท่ากันแล้ว เรือของญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพในเรื่องของความคล่องตัวที่มากกว่า ปืนประจำเรือที่เน้นความใหญ่ของกระบอกปืนมากกว่าทำให้ยิงได้ไกลกว่าอนุภาพก็แรงกว่าและเรือญี่ปุ่นยังมีการปืนปืนใหญ่ตามลำเรือมากกว่าเพราะเรือที่มีขนาดกว้างกว่านั่นเอง ในประวัติศาสตร์การรบโดยใช้เรือปืนมาประจันบานกัน พบว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้เปรียบเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก ด้วยยุทธวิธีการแปรขบวนทางทะเล การยิงที่เน้นให้ทั้งกองเรือระดมยิงไปที่เรือลำเดียวกันและเรือลำนั้นก็คือเรือธง อีกทั้งเรือลาดตระเวนผิวน้ำของญี่ปุ่นยังเน้นการโจมตีในเวลากลางคืน แม้ว่าจะน้อยกว่าแต่กลับได้เปรียบกว่า เคยมีการรบครั้งหนึ่งที่กองเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นเพียง4ลำถล่มกองเรือของอเมริกันในเวลากลางคืนจนได้รับความเสียหายอย่างพังพินาศ แต่เรือญี่ปุ่นกลับไม่มีเรือลำใดโดนยิงเลย(สถิติการยิงโดนเมื่อเทียบกันแล้ว ญี่ปุ่นยิงได้แม่นกว่าและไกลกว่าอย่างมาก) ถ้าเปรียบแล้วละก็กองเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นก็เปรียบได้ดังกับกองพลยานเกราะแพนเซอร์อันทรงพลังของเยอรมันนั่นเอง แต่พออเมริกันเริ่มรู้ถึงจุดแข็งอันแท้จริงของราชนาวีญี่ปุ่นแล้วละก็ อเมริกันก็ไม่กว่าเอาเรือรบไปประจันบานกับเรือปืนของญี่ปุ่นอีกต่อไป โดยใช้เครื่องบินเข้าสู้แทน ซึ่งได้ผลมากกว่าการใช้เรือรบจริง แม้ว่าภายหลังญี่ปุ่นจะเสียเรือไปมาก แต่เมื่อเรืออเมริกันเจอเรือรบญี่ปุ่น ก็ยังพยายามเลี่ยงการประจันบานกันแบบจังๆอยู่ดี และในที่สุดเรือก็ต้องพ่ายแพ้ต่อกองทัพเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุด เนื่องด้วยการรบทางอากาศที่เข้ามามีบทบาทแทน
มีความสำคัญอย่างมากในทุกสมรภูมิทั้งในยุโรป แอฟริกาหรือแม้กระทั่งแปซิฟิกก็ตาม เพราะถ้าจะทำให้กองทัพบกเข้มแข็งก็ต้องมีกองบินที่แข็งแกร่งก่อน เครื่องบินรบที่สำคัญก็มี สปิตไฟท์ของ อังกฤษ แมสเซอร์สมิตซ์ 109 ของเยอรมัน เครื่องบินซีโร่ของญี่ปุ่น พี-51 มัสแตง ของสหรัฐ โดยในแปซิฟิคเครื่องบินรบจะมีบทบาทมากว่าเรือรบอย่างเห็นได้ชัด ในสมรภูมิยุโรปเครื่องบินก็เป็นส่วนสำคัญในปฏิบัติการสายฟ้าแลบของเยอรมันในช่วงต้นของสงคราม อาจพูดได้ว่าเครื่องบินรบนั้นสำคัญที่สุด เป็นตัวแปรที่สำคัญในสงครามอย่างยิ่ง
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง