ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส (ญี่ปุ่น : ??????????????? ; อังกฤษ : The King of Fighters หรือในชื่อย่อว่า KOF) เป็นซีรีส์เกมแนวต่อสู้ของบริษัทเอสเอ็นเค ประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มออกวางจำหน่ายครั้งแรกบนเครื่องนีโอจีโอและเกมตู้ ในปี ค.ศ. 1994 และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์สก็ได้ออกวางจำหน่ายในหลายๆเครื่องเกมด้วยกันเช่น นีโอจีโอ CD, นีโอจีโอ พ็อคเก็ต, เกมบอย และ เกมบอย แอดวานซ์, เอ็นเกจ, เซก้า แซทเทิร์น, ดรีมแคสท์, เพลย์สเตชัน, เพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชัน 3, เอ็กซ์บอกซ์ และ เอ็กซ์บอกซ์ 360 นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ส เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส: แม็กซิมั่ม อิมแพ็ค ซึ่งเป็นซีรี่ยส์ที่แตกแขนงมาจาก KOF ปกติด้วย

KOF เป็นเกมต่อสู้ที่นำตัวละครจากหลายๆซีรีส์เกมของ SNK อาทิเช่น Fatal Fury(ตำนานกาโร่) , Art of Fighting(ริวโกโนะเคน)นอกจากนี้มีตัวละครบางส่วนมาจากเกม Ikari, Psycho Soldier ฯลฯ และมีตัวละครออริจินอลที่ถูกออกแบบมาเป็นครั้งแรกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องจากเกมอื่นๆข้างต้นที่กล่าวมา ระบบการต่อสู้จะเป็นในรูปแบบทีมซึ่งจะมีสมาชิก 3 คนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของเกม กฎกติกาการต่อสู้คือเลือกสมาชิกในทีมลงไปต่อสู้ตามลำดับทีละคนจนหมด ระบบนี้ใช้ตั้งแต่ KOF'94 จนถึง KOF'98, KOF2002 และ KOF NEOWAVE

ต่อมาใน KOF'99 ระบบของเกมได้มีการเปลี่ยนแปลงคือผู้เล่นสามารถเลือกสมาชิกในทีมได้ถึง 4 คนซึ่งคนที่ 4 จะทำหน้าที่ออกมาช่วยต่อสู้ สนับสนุนการโจมตี หรือมีลูกเล่นต่างๆที่มีผลต่อฝั่งของตัวเองหรือฝั่งตรงข้ามซึ่งเรียกว่า สไตรเกอร์(Striker) ระบบนี้ใช้ตั้งแต่ KOF'99 จนถึง KOF2001 ซึ่งในภาค 2001 นี้เราสามารถไม่เลือกตัวละครที่จะทำหน้าที่สไตรเกอร์ก็ได้ซึ่งก็จะได้ตัวละครที่จะออกไปสู้ได้ถึง 4 คนหรือว่าจะเลือกตัวละครที่จะออกไปสู้เพียงคนเดียว และเลือกสไตรเกอร์ถึง 3 คนซึ่งก็สามารถทำได้เช่นกัน

จากนั้นระบบของเกมก็เปลี่ยนไปอีกครั้งใน KOF2003 ระบบสไตรเกอร์ถูกยกเลิกไป สมาชิกในทีมกลับมาเป็น 3 คนเหมือนเดิมและได้ระบบใหม่มาแทนที่คือ มัลติชิฟท์(Multi-Shift)ซึ่งก็คือระบบสลับหรือเปลี่ยนตัวละครในขณะต่อสู้อยู่ และอีกระบบคือ แทคติคอล ลีดเดอร์ ซิสเต็ม(Tactical Leader System) คือการเลือกตัวละครในทีมมาหนึ่งคนให้เป็นหัวหน้าทีมซึ่งจะสามารถใช้ท่าไม้ตายลีดเดอร์ได้ (Leader Desperation Move: LDM) ซึ่งจะมีความรุนแรงมากกว่าท่าไม้ตายสุดยอด (Desperation Move: DM) ระบบนี้ใช้มาจนถึงภาค KOFXI โดยที่เป็นภาค่อจาก KOF2003

อย่างไรก็ตาม KOFXII ระบบมัลติชิฟท์ได้ถูกยกเลิกไปแล้วกลับไปใช้ระบบดั้งเดิมก็คือ 3 ต่อ 3 และใช้เรื่อยมายังภาคล่าสุดก็คือ KOFXIII

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '94 (The King of Fighters '94 ~ KOF94) จุดเริ่มต้นของซีรี่ยส์ KOF เป็นการนำตัวละครจากหลายๆเกมของบริษัทเอสเอ็นเค วางจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 (ค.ศ.1994) ในปีพ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) ทางบริษัทเอสเอ็นเค เพลย์มอร์ มีการปรับปรุงพัฒนาเกมนี้ออกมาใหม่ในชื่อว่า เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '94 รี-เบาต์ (The King of Fighters '94 Re-Bout) เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 10 ปีของภาคนี้ วางจำหน่ายให้กับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 โดยได้ปรับปรุงกราฟิกใหม่และได้เพิ่มตัวละครอีก 2 ตัวคือ รูกัล แบร์นชไตน์ ซึ่งหัวหน้าใหญ่ของภาคนี้และไซซิว คุซานางิ บิดาของ เคียว คุซานางิ พระเอกคนใหม่ของค่ายเอสเอ็นเค ในขณะนั้น KOF94 ได้ถูกออกมาวางจำหน่ายอีกครั้งกับเครื่องวีในปีพ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008)

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '95 (The King of Fighters '95 ~ KOF95) วางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995) จุดเริ่มต้นของไตรภาคโอโรจิ และการปรากฏตัวของ อิโอริ ยางามิ ศัตรูคู่อาฆาตของเคียว รวมไปถึงการกลับมาของรูกัลที่มีพลังโอโรจิ ภาคนี้ได้ปรับปรุงการเลือกสมาชิกในทีมใหม่ตามที่เราต้องการได้ ซึ่งก่อนหน้านี้จะสามารถเลือกได้ตามที่เกมกำหนดมาเท่านั้น

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '96 (The King of Fighters '96 ~ KOF96) วางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ.1996) ภาคที่ 2 ของไตรภาคโอโรจิ การปรากฏตัวของ 1 ใน 3 เทวภัณฑ์ จิสึรุ คางูระ และการปรากฏตัวของ 1 ใน 4 จตุรเทพของโอโรจิรวมถึงเป็นหัวหน้าใหญ่ในภาคนี้ด้วยคือ เกนิตส์ ภาคนี้ได้เพิ่มลูกเล่นให้ระบบเกมมาหลายอย่างเช่น การใช้ท่าไม้ตายสุดยอดแบบ MAX, การกลิ้งตัวหลบหลีกการโจมตี, การวิ่งแทนที่จะเป็นการพุ่งตัวไปข้างหน้า(หรือสเต็ป) กราฟิกก็มีการพัฒนาจาก KOF95 อย่างเห็นได้ชัด

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '97 (The King of Fighters '97 ~ KOF97) วางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) ภาคสุดท้ายของไตรภาคโอโรจิและการปรากฏตัวของชินโง ยาบูกิเพื่อนของเคียว ในภาคนี้เราสามารถที่จะเลือกระบบการเล่นได้ก็คือ ADVANCED(KOF96) และ EXTRA(KOF95) การปรากฏตัวของหัวหน้าใหญ่ประจำเนื้อเรื่องคือโอโรจิ การปรากฏตัวของ 3 ใน 4 จตุรเทพของโอโรจิคือคริส, เชอร์มี่และยาชิโร่ นานาคาเสะ รวมไปถึงการปรากฏตัวของอิโอริและเลโอน่าในร่างคลุ้มคลั่งของเลือดโอโรจิ

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '98 (The King of Fighters '98 ~ KOF98) วางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ.1998)เป็นภาคพิเศษคือไม่มีเนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นการนำตัวละครจากภาค '94 จนถึง '97 มาให้เล่นกัน และในปีพ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008) ทางบริษัท SNK Playmore มีการปรับปรุงพัฒนาเกมนี้ออกมาใหม่ในชื่อว่า เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '98: อัลติเมทแมตช์ (The King of Fighters '98: Ultimate Match ชื่อย่อ KOF98UM) เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 10 ปีของภาคนี้ และได้นำตัวละครจากภาค '94 จนถึง '97 มาครบทุกตัวและปรับสมดุลใหม่ให้เหมาะสมกับภาค 98UM นี้

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '99 (The King of Fighters '99 ~ KOF99) วางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ.1999) จุดเริ่มต้นของไตรภาคองค์กร N.E.S.T.S. ภาคนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบของเกมคือการเลือกสมาชิกในทีมได้ 4 คนและระบบสไตรเกอร์ รวมไปถึงการใช้โหมดพิเศษเมื่อเก็บสะสมเพาเวอร์เกจเต็มได้ทั้ง 2 แบบคือ Counter Mode และ Armor Mode ในภาคนี้มีการเปิดตัวพระเอกคนใหม่คือ K' (เคแดช) และการเผชิญหน้ากับโคลนนิ่งของตัวเองแถมเป็นบอสของภาคนี้ด้วยคือคริซาลิด

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2000 (The King of Fighters 2000 ~ KOF2000) วางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ภาคที่ 2 ของเนื้อเรื่ององค์กร N.E.S.T.S. การต่อสู้กับซีโร่ ผู้ซึ่งเป็นบุคลากรคนหนึ่งในองค์กรก่อนที่เขาจะทรยศองค์กรซะเอง ระบบ Striker ภาคนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นกว่าภาคก่อนอย่างเห็นได้ชัด เพิ่มลูกเล่นที่หลากหลายมากขึ้น และการเพิ่ม Striker พิเศษเข้าไปได้แก่ Another Striker ให้กับแต่ละตัวละครและ Maniac Striker ให้กับบางตัวละคร ภาคนี้เป็นภาคสุดท้ายที่ทำโดย SNK ดั้งเดิมก่อนที่จะล้มละลายและถูกบริษัทจากเกาหลีซื้อกิจการไปในปีพ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2001 (The King of Fighters 2001 ~ KOF2001) วางจำหน่ายช่วงปีพ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ภาคสุดท้ายของเนื้อเรื่ององค์กร N.E.S.T.S. การต่อสู้กับออริจินอล ซีโร่ ซึ่งเป็นร่างที่แท้จริงของซีโร่และอิกนิสผู้ที่เป็นบอสใหญ่สุดของภาคนี้ซึ่งเป็น CEO ขององค์กร ภาคนี้ได้พัฒนาระบบการจัดทีมที่ต่างออกไปคือไม่จำเป็นที่จะเลือก Striker คนเดียว สามารถเพิ่มจำนวน Striker เป็น 2-3 คนได้แต่ก็ต้องลดจำนวนของตัวละครที่จะออกไปสู้แทน อย่างไรก็ตามตัวละครที่น้อยลงก็จะได้ความอึดเพิ่มขึ้นด้วย แถมภาคนี้ยังสามารถเลือกตัวละครออกไปสู้ได้ 4 คนโดยที่ไม่มี Striker ก็ได้ ระบบ Counter Mode และ Armor Mode จากภาค 99 และ 2000 ถูกตัดออกไป อนึ่งภาคนี้ได้ถูกบริษัท Eolith นำไปพัฒนาพร้อมทั้งทีมงานของ SNK บางส่วนด้วย

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2002 (The King of Fighters 2002 ~ KOF2002) วางจำหน่ายในช่วงปลายปีพ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ภาคนี้มีคอนเซ็ปต์เช่นเดียวกับ KOF98 คือไม่มีเนื้อเรื่อง เป็นการนำตัวละครจากภาค '96 ถึง 2001 มาให้เล่นกัน ระบบ Striker จากภาคก่อนถูกตัดออกไป และระบบก็กลับไปเป็นทีมแบบ 3-3 เท่าเดิม บอสของภาคนี้คือรูกัล ภาคนี้ยังคงได้บริษัท Eolith มาพัฒนาตัวเกมเช่นเดิมก่อนที่ทาง SNK จะซื้อกิจการกลับมาได้และเปลี่ยนชื่อเป็น Playmore ในเวลาต่อมา และในปีพ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) ทาง SNK Playmore ได้ประกาศมาว่าจะปรับปรุงและพัฒนาภาคนี้ออกมาใหม่และลงให้กับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ในชื่อว่า เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2002 อันลิมิเต็ดแมชต์ (The King of Fighters 2002: Unlimited Match) เป็นการนำตัวละครจาก KOF99 - KOF2002 มารวมกันและปรับสมดุลของตัวละคร มีการปรับปรุงฉากหลัง เกจพลังต่างๆ และได้เพิ่มตัวละครใหม่คือ Nameless (เนมเลส) ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ K9999 รวมไปถึงมีตัวละครให้เล่นถึง 66 คน กำหนดการวางจำหน่ายคือในปีพ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ซึ่งเป็นการครบรอบ 15 ปีของของซีรีส์ส KOF พอดี

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2003 (The King of Fighters 2003 ~ KOF2003) วางจำหน่ายในปีพ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ภาคนี้ทางบริษัท SNK Playmore (เปลี่ยนจาก Playmore) ได้พัฒนาภาคนี้อย่างเพียงผู้เดียว เป็นการเริ่มเนื้อเรื่องใหม่ของตัวเอกคนใหม่คือ แอช คริมสัน ผู้ใช้เปลวเพลิงสีเขียวซึ่งเต็มไปด้วยปริศนา เนื้อเรื่องในภาคนี้กลับเข้ามาสู้เนื้อเรื่องของโอโรจิกับการต่อสู้กับกลุ่มคนลึกลับที่ต้องการให้โอโรจิคืนชีพหนึ่งในนั้นคือมุไค ระบบการต่อสู้เป็นแบบทีม 3 คนและได้ระบบใหม่คือ มัลติชิฟท์ ซึ่งก็คือระบบเปลี่ยนตัวในขณะต่อสู้ และแทคติคอล ลีดเดอร์ ซิสเต็ม การเลือกตัวละครในทีมมาหนึ่งคนเป็นหัวหน้าทีมซึ่งจะสามารถใช้ท่าไม้ตายลีดเดอร์ได้ ภาคนี้เป็นภาคสุดท้ายที่พัฒนาในบอร์ดเกม MVS หรือ NeoGeo ซึ่งทาง SNK Playmore ใช้บอร์ดเกมนี้พัฒนาเกมมากว่า 10 ปีก่อนที่จะพัฒนาระบบมาใช้บอร์ดเกม Atomiswave ของบริษัท Sammy แทน

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XI (The King of Fighters XI (อิเลฟเว่น,11) ~ KOFXI) วางจำหน่ายเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ภาคที่ 2 ของเนื้อเรื่องของแอช คริมสันซึ่งได้เปิดเผยมาแล้วว่าต้องการพลังของสามเทวภัณฑ์ (เคียว, อิโอริ และ จิสึรุ) ไว้เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ระบบเกมของภาคนี้ได้เพิ่มหลายสิ่งหลายอย่างเข้าไปเช่น Quick Shift (การเปลี่ยนตัวทันทีในขณะที่กำลังโจมตีคู่ต่อสู้) Saving Shift (การเปลี่ยนตัวทันทีเมื่อถูกคู่ต่อสู้โจมตี) Dream Cancel (การใช้ท่าไม้ตายลีดเดอร์ต่อเนื่องจากการใช้ท่าไม้ตายสุดยอด) สกิลเกจ(เกจพิเศษที่จะใช้ในเงื่อนไขต่างๆของภาคนี้และทำ Super Cancel ด้วย) และ Judgement Indicator (วงแหวนที่เวลาที่เกจพลังชีวิตที่จะแสดงความได้เปรียบของฝ่ายที่โจมตีคู่ต่อสู้ได้ ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินแพ้ชนะเมื่อเวลาหมดแทนที่จะดูเกณฑ์จากจำนวนพลังชีวิตที่เหลือเหมือนภาคก่อนๆ) ชื่อของภาคนี้ได้เปลี่ยนจากการนับปีที่แล้วๆมา เป็นนับจำนวนของภาคที่ออกแทน (ภาคนี้เป็นภาคที่ 11 ที่ออกมา)

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XII (The King of Fighters XII (ทเวลฟ์,12) ~ KOFXII) ภาคที่ 12 ของซีรีส์นี้ ได้ถูกพัฒนาในบอร์ดเกม Type-X2 ของบริษัท Taito ภาคนี้ได้รับการเปิดเผยจากทีมงานของ SNK Playmore แล้วว่าจะมีตัวละครเพียงแค่ 20 ตัว(ซึ่งน้อยที่สุดตั้งแต่ '94) เดิมทีได้รับการคาดหมายไว้ว่าจะเป็นภาคสุดท้ายของเนื้อเรื่องของแอช คริมสัน อย่างไรก็ตามทางทีมงานของ SNK Playmore ระบุมาแล้วว่าภาคนี้จะไม่มีเนื้อเรื่อง ไม่มีทีมและไม่มีฉากจบพิเศษ ภาคนี้ได้ปฏิวัติในตัวของ KOF ก็คือได้ทำการยกเลิก Sprite เก่าของตัวละครทั้งหมดที่ใช้มากว่า 10 ปีและได้ทำการวาด Sprite ใหม่ที่มีความละเอียดสูง ระบบของภาคนี้ได้ยกเลิกระบบ Shift หรือเปลี่ยนตัวออกไป และกลับไปเป็นแบบทีม 3-3 เหมือนเดิม KOF ภาคนี้ได้กำหนดวันวางจำหน่ายของระบบอาเขตไว้ที่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ซึ่งตรงกับการฉลองครบรอบ 15 ปีของซีรี่ยส์ KOF ในเวอร์ชันของเครื่องคอนโซลของภาคนี้ ได้มีการเพิ่มตัวละครไปอีก 2 ตัวคือ มาชัวร์ และ อลิซาเบธ ออกวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XIII (The King of Fighters XIII (เทอร์ทีน,13) ~ KOFXIII) KOF ภาคที่ 13 ของซีรีส์นี้ยังคงได้รับการพัฒนาตัวเกมในบอร์ด Type-X2 เช่นเคย SNK Playmore ได้ประกาศว่านี้คือภาคจบของเนื้อเรื่องของแอชที่ต่อยอดมาจาก KOF2003 และ KOFXI องค์ประกอบของเกมจะต่อยอดจาก KOFXII ตัวละครจากภาค KOFXII ทั้งหมด 22 คนจะมาอยู่ในภาค XIII นอกจากนี้ยังได้นำตัวละครที่ได้รับความนิยมจากภาคก่อนกลับมาให้ได้ใช้ด้วย ระบบของภาคนี้ยังคงเป็นการจัดทีมแบบ 3-3 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 บริษัท SNK Playmore ประกาศว่าจะปรับปรุงและพัฒนาภาคนี้ออกมาใหม่ในรูปแบบของเกมตู้โดยเป็นการนำองค์ประกอบจากเครื่องคอนโซลและปรับสมดุลของรายละเอียดในเกม พร้อมด้วยชื่อใหม่คือ "เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XIII: ไคลแม็กซ์" (The King of Fighters XIII: Climax) ซึ่งได้เปิดบริการให้ได้เล่นกันแล้วในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XIV (The King of Fighters XIV (โฟร์ทีน,14) ~ KOFXIV) KOF ภาคล่าสุดของซีรีส์ซึ่งเป็นภาคลำดับที่ 14 ภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของซีรีส์ KOF คือการเปลี่ยนแปลงกราฟิกของเกมจาก 2 มิติที่ใช้มาร่วม 20 ปีเป็น 3 มิติเต็มรูปแบบ SNK Playmore ประกาศว่า KOF ภาคนี้จะมีตัวละครให้เล่นถึง 50 ตัว ระบบต่างๆนั้นจะเป็นการปรับปรุงมาจากภาคก่อนๆของซีรีส์ และมีเนื้อเรื่องใหม่ไม่ใช่เป็นดรีมแมตช์แต่อย่างใด กำหนดการวางจำหน่ายจะจำหน่ายภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ในระบบ เพลย์สเตชัน 4

วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) KOF ภาคนี้เป็นภาคแรกที่ได้เปลี่ยนฮาร์ดแวร์ที่ใช้พัฒนาตัวเกมจาก NEOGEO มาเป็น ATOMISWAVE ของบริษัท SAMMY ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าของ NEOGEO ระบบของภาคนี้ได้เอามาจากภาค KOF2002 เป็นหลักแต่ได้เพิ่มระบบใหม่ๆเข้าไปเช่น การที่มีปุ่มโจมตีเพิ่มเป็น 5 ปุ่ม (จากเดิมที่มี 4 ปุ่ม) ซึ่งปุ่มใหม่นั้นคือ Heat Mode นอกจากนี้ยังมีระบบให้ได้เลือกใช้ถึง 3 แบบคือ ซูเปอร์แคนเซิล (Super Cancel), การ์ดเบรก (Guard Break) และ แม็กซ์ทู (MAX2)

KOF ภาคนี้วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) KOF ภาคนี้เป็นการดัดแปลงมาจากภาค KOF'99 และลงให้กับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ ภาคนี้มีตัวละครใหม่เป็นนักสู้สาวนามว่า โมเอะ ฮาบานะ บอสคนสุดท้ายของภาคนี้คือกีส ฮาวเวิร์ดและมีอิโอริ ยางามิเป็นรองบอสของเกม

KOF ภาคนี้วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) KOF ภาคนี้ได้ดัดแปลงตัวเกมมาจากภาค KOF2000 และลงให้กับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์เช่นเดียวกับภาคก่อน (KOFEX) ภาคนี้มีตัวละครใหม่ได้แก่ เรย์จิ โอคามิ, จุน คางามิ, มิอุ คุโรซากิ บอสใหญ่ของเกมคือ ซิโนบุ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406