มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ (คำเมือง: ) (29 กันยายน พ.ศ. 2405 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482) เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร และองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่
เจ้าแก้วนวรัฐประสูติเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2405 เป็นราชโอรสในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองเชียงใหม่องค์ที่ 7 ประสูติแต่แม่เจ้าเขียว และเป็นเจ้านัดดา (หลานปู่) ในเจ้าราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่
ครั้นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2452 แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงทราบความที่เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ถวายบังคมลาไปประทับที่นครเชียงใหม่ก่อนแล้ว จึงมีพระราชดำรัสกับเจ้าดารารัศมีให้เลือกผู้แทนเจ้าอินทวโรรส ที่ว่า
ในการเลือกเจ้านครเชียงใหม่แทนเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ตามกฎต้องให้ทายาทผู้สืบตระกูลรับตำแหน่งนี้ ซึ่งควรจะต้องได้แก่เจ้าราชบุตร (เลาแก้ว) ทายาทแต่ผู้เดียว แต่ในตำแหน่งนี้จะต้องเป็นพระอภิบาลเจ้าดารารัศมี พระราชยายาในรัชกาลที่ 5 ด้วย ในขณะนี้เจ้าราชบุตรยังอายุน้อยอยู่ ฉะนั้นพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจึงขอเลือกเจ้าอุปราชแก้ว รับหน้าที่นี้ก่อน...
ดังนั้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าอุปราชแก้ว ขึ้นเป็นเจ้าแก้วนวรัฐ ประพัทธอินทนันทพงษ์ ดำรงนพีสีนครเขตต์ ทศลักษณเกษตรอุดม บรมราชสวามิภักดิ์ บริรักษปัจฉิมานทิศ สุจริตธรรมธาดา มหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่ ขึ้นครองนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2453 (หากนับวันขึ้นศักราชเป็นวันที่ 1 เมษายน จะนับเป็น พ.ศ. 2452)
เจ้าแก้วนวรัฐ ได้เริ่มป่วยตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2481 แม้ว่าท่านจะมีอาการป่วยแต่ก็ยังเดินทางไปกรุงเทพมหานคร เพื่อรับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อครั้งเสด็จนิวัติพระนคร ต่อมาปรากฏว่าอาการไตและตับอักเสบที่เป็นอยู่ยังไม่ทันจะหายดี ก็พบอาการปอดบวมขึ้นอีก จนท่านถึงแก่พิราลัย เมื่อเวลา 21.40 น. ของวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 28 ปี สิริพระชันษา 76 ปี
ครั้นข่าวการถึงแก่พิราลัยแพร่ออกไป บรรดาบุคคลสำคัญก็ได้มีโทรเลขและจดหมายแสดงความเสียใจมาเป็นจำนวนมาก เช่น คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ดังความว่า
เจ้าราชบุตร
เชียงใหม่
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทราบข่าวด้วยความเศร้าสลดใจว่า เจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้ถึงแก่พิราลัยเสียแล้ว จึงขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งมายังบรรดาบุตรและธิดาโดยทั่วกัน..
เรียน พ.ท.เจ้าราชบุตร
เชียงใหม่
ผมได้รับโทรเลขของเจ้า แจ้งว่า พล.ต.เจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้ถึงแก่พิราลัยแล้ว ในนามของรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในนามของผมเอง ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งมายังเจ้าและญาติทั้งหลายด้วย..
ในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ มีนาวาอากาศเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้แทนของรัฐบาลและได้มาเป็นประธานในงานพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โดยรถไฟกระบวนพิเศษ พร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมพระราชพิธี มีพระยาราชโกษา เป็นหัวหน้านำโกศ ฉัตร แตร และกลองชนะ ไปพระราชทานเป็นเกียรติยศ แต่พระราชทานลองมณฑปมีเฟืองประกอบโกศเป็นเกียรติยศพิเศษ และโปรดเกล้าฯ ให้มีการประโคม
สำหรับการพระราชกุศล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไตรบังสกุล และพระสวดพระอภิธรรมกำหนด 7 วัน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบครึ่งยศไว้ทุกข์ และทางราชการได้สั่งให้ข้าราชการฝ่ายเหนือ ไว้ทุกข์มีกำหนด 7 วัน
เจ้าแก้วนวรัฐ มีพระโอรสและพระธิดา รวม 6 พระองค์ อยู่ในตระกูล ณ เชียงใหม่ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
ใน แม่เจ้าจามรี (มีราชโอรส 2 ราชธิดา 1) - ธิดาในเจ้าราชภาคินัย (น้อยแผ่นฟ้า) (โอรสใน"เจ้าราชบุตร (สุริยฆาต)")
เจ้าแก้วนวรัฐ เริ่มเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2420 ขณะมีพระชันษาได้ 15 ปี ในสมัยที่พระบิดาของท่าน คือ เจ้าอินทวิชยานนท์ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ซึ่งมีสิทธิ์ในการปกครองอย่างเจ้าประเทศราชที่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นเครื่องราชบรรณาการทุก 3 ปี
เจ้าแก้วนวรัฐ มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ท่านได้สนับสนุนให้เจ้าน้อยศุขเกษมไปบวชในพระพุทธศาสนา และได้ทะนุบำรุงศาสนาอีกจำนวนมาก เช่น
เจ้าแก้วนวรัฐ ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ เชียงใหม่ (อักษรโรมัน: na Chiengmai) ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 1,161 จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 โดยพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า "ณ" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด ต่อมาภายหลังตระกูล ณ เชียงใหม่ ยังคงเป็นตระกูลที่มีบทบาทและได้รับการยกย่องจากระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีบทบาทสำคัญในฐานะส่วนหนึ่งของพิธีการต่างๆ เพื่อรับรองนโบายการปกครองที่ดำเนินมานับแต่ พ.ศ. 2442 อาทิ เป็นหนึ่งในสิบตระกูลที่ได้เข้าเฝ้าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การเตรียมการรับเสด็จราชอาคันตุกะทุกๆ คราว และการถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี
เจ้าราชบุตร (สุริยฆาต) • พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ • เจ้าหนานมหาวงศ์ • เจ้าสำใส • เจ้าหนานไชยเสนา
เจ้าศรีปิมปา • พระเจ้ามโหตรประเทศ • เจ้าหลวงน้อยคำแสน • เจ้าอุปราช (หน่อคำ) • เจ้าน้อยพรหมา • เจ้าหนานอินตา • เจ้าสุธรรมมา • เจ้าปทุมมา • เจ้าคำทิพย์ • เจ้าบัวคำ • เจ้าองค์ทิพย์ • เจ้ากาบแก้ว • เจ้าบุญปั๋น • เจ้าเกี๋ยงคำ • เจ้าจันทร์เป็ง • เจ้าแก้วยวงคำ
เจ้าหนานไชยเสนา • เจ้าหนานมหายศ • พระยาอุปราชพิมพิสาร • เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ • เจ้าหลวงหนานธรรมลังกา • เจ้าบัวคำ • เจ้าเกี๋ยงคำ • เจ้าคำค่าย • พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) • เจ้าบุญนำ • เจ้าคำเกี้ยว • แม่เจ้าเขียวก้อมเทวี • เจ้าฟองสมุทร • เจ้าเปาพิมาลย์ • เจ้าคำเมา • เจ้าลังกา • เจ้าคำปวน • เจ้าหนานมหาวงศ์ • เจ้าบัวถา • เจ้ากัณหา • เจ้ามณีวรรณ • เจ้าธรรมเสนา • เจ้าบุรีรัตน์ (ภูเกียง) • เจ้าอุปราช (ธรรมปัญโญ) • เจ้าน้อยธรรมกิติ • เจ้าหนานธรรมปัญญา • เจ้าหนานพรหมจักร • เจ้าหนานคำวัง • เจ้าน้อยจักรคำ • เจ้าน้อยมโนรส • เจ้าหนานสุยะ • เจ้าคำตื้อ • แม่เจ้ากันธิมาเทวี • เจ้ากัลยา • เจ้ามุกดา • เจ้าสนธยา • เจ้าบัวบุศย์ • เจ้าหนานกาวิละ • เจ้าบัวศรี • เจ้าพิมพา • เจ้าคำนาง • เจ้าเบ็ญจ๋าย • เจ้าบัวไข • เจ้ากรรณิกา
เจ้าราชบุตร (หนานธนัญไชย) • เจ้าหนานปัญญา • เจ้าน้อยขี้วัว • เจ้าน้อยขี้ควาย • เจ้าน้อยขี้ช้าง • เจ้าเฮือนคำ • เจ้าน้อยหน่อแก้ว • เจ้าศิริวรรณา • เจ้าสุนันทา สุริยโยดร
เจ้าอุตรการโกศล (มหาพรหม) • เจ้าราชบุตร (สุริยวงศ์) • เจ้าน้อยเทพวงศ์ • เจ้าหนานไชยวงศ์ • เจ้ามหันต์ยศ • เจ้าหนานไชยเทพ • เจ้าหนานมหาเทพ • เจ้าน้อยคำกิ้ง • เจ้าอุปราช (ปัญญา) • เจ้าบุญปั๋น • เจ้าน้อยก้อนแก้ว • เจ้าคำปวน • เจ้ายอดเรือน • เจ้าอุษา • เจ้าบัวทิพย์ • เจ้าคำหลอ • เจ้าปิมปา • เจ้าอโนชา • เจ้าตุ่นแก้ว
เจ้าจันทรโสภา • เจ้าดารารัศมี พระราชชายา • เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ • เจ้าแก้วนวรัฐ • เจ้าจอมจันทร์ • เจ้าน้อยโตน • เจ้าแก้วปราบเมือง • เจ้าน้อยมหาวัน • เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ) • เจ้าคำข่าย • เจ้าคำห้าง
เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) • เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ • เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) • เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ • เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ • เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่