ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เจ้าอนุวงศ์

สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (ลาว: ?????????????????????????) หรือพระนามที่คนไทยรู้จักทั่วไปว่า เจ้าอนุวงศ์ หรือ เจ้าอนุ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๕ หรือพระองค์สุดท้าย ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหาวีรกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวว่า เป็นพระมหากษัตริย์ผู้พยายามกอบกู้เอกราชชาติลาวจากการเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม ทรงปกครองราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ราว พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑ นักประวัติศาสตร์ลาวและไทยนิยมออกพระนามของพระองค์ว่าพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ ๓ หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านตรวจสอบพระนามตามจารึกต่างๆ โดยละเอียดแล้วได้นับพระองค์เป็นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๕ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารผู้เป็นพระราชบิดา และสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ผู้เป็นพระราชเชษฐาได้เฉลิมพระนามของทั้งสองพระองค์เองว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชด้วยเช่นกัน

สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ทรงได้รับการเฉลิมพระนามตามจารึกประวัติศาสตร์ว่า สมเด็จบรมบพิตรพระมหาขัติยธิเบศไชยเชษฐา ชาติสุริยวงศ์องค์เอกอัครธิบดินทรบรมมหาธิปติราชาธิราช มหาจักรพรรดิ์ภูมินทรมหาธิปตนสากลไตรภูวนาถ ชาติพะโตวิสุทธิมกุตสาพาราทิปุลอตุลยโพธิสัตว์ขัติย พุทธังกุโลตรนมหาโสพัสสันโต คัดชลักขรัตถราชบุรีสีทัมมาธิราช บรมนาถบรมบพิตร จากการเฉลิมพระนามนี้ชี้ให้เห็นว่า นครเวียงจันทน์มีเจ้าผู้ปกครองแผ่นดินในฐานะพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงเอกราชมากกว่าที่จะอยู่ในฐานะเมืองขึ้นหรือเมืองส่วยอย่างที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจ นอกจากนี้ ในจารึกหลายหลักยังออกพระนามของพระองค์แตกต่างกันไป ดังนี้

สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ เอกสารทางประวัติศาสตร์บางแห่งออกพระนามว่า เจ้าอนุรุธราช ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ ของสมเด็จพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ ๓ (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร หรือ เจ้าองค์บุญ ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๔ และพระมหากษัตริย์เอกราชแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์สุดท้าย ก่อนตกเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรี สันนิษฐานว่าพระราชมารดาทรงเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายขวา สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ทรงเป็นพระราชนัดดาในเจ้าองค์ลอง พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๒ (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๗๓-๒๓๒๒) ส่วนเจ้าองค์ลองนั้นทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ หรือพระไชยองค์เว้ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๑ (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๕๐-๒๒๗๓) สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระราชอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกโดยกำเนิด และมีลำดับในการสืบราชสันตติวงศ์ตามระบบเจ้ายั้งขะหม่อมทั้ง ๔ หรือระบบอาญาสี่ของลาวเป็นลำดับที่ ๓ (โดยนับจากพระเชษฐาสู่พระอนุชา) พระยศของพระองค์ต่างจากพระยศของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งกรุงเทพพระมหานครผู้เป็นคู่ปรับของพระองค์ ซึ่งมีพระยศเป็นพระองค์เจ้าโดยกำเนิด ความสัมพันธ์ของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ของสยาม ทรงเป็นไปอย่างสนิทแนบแน่นและเป็นความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ เนื่องจากเจ้าคุณจอมเจ้าหญิงคำแว่น (เจ้าจอมแว่น หรือ คุณเสือ) และเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงคำสุก (ทองสุก) พระราชนัดดาทั้งสองของพระองค์ ทรงเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกและพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) และพระราชธิดาของเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงคำสุก (ทองสุก) คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี หรือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้ายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ด้วย นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และการเมืองบางท่านกล่าวว่า สถานะของพระองค์เมื่อครั้งประทับอยู่ ณ กรุงเทพพระมหานครนั้นเป็นเสมือนองค์ประกันความจงรักภักดีต่อกรุงสยามของกรุงเวียงจันทน์ เสมอสถานะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งประทับในกรุงหงสาวดีของพม่า

พ.ศ. ๒๓๖๘ สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์เสด็จลงมาถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) แห่งสยาม ไทยอ้างว่าพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่ากองทัพไทยอ่อนแอ เนื่องจากแม่ทัพนายกองรุ่นเก่าที่มีฝีมือได้สิ้นชีวิตไปหลายคน ต่อมายังมีข่าวลือไปถึงนครเวียงจันทน์ว่า ไทยกับอังกฤษวิวาทกันจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นี ต่อมา เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้รับการสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าแผ่นดินสยามแล้ว พระองค์จึงทูลขอพระราชทานละครในของเวียงจันทน์ เจ้าหญิงลาว และชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาสยามให้กลับคืนไปเวียงจันทน์ แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพระราชทานพระราชานุญาติ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงช่วยเหลือสยามทำศึกและมีบุญคุณกับสยามมาโดยตลอด เป็นเหตุให้พระองค์ไม่พอพระทัย พระองค์จึงยกทัพลงมากรุงเทพมหานคร โดยวางอุบายหลอกเจ้าเมืองต่างๆ ตามรายทางว่าจะยกทัพลงไปช่วยกรุงเทพมหานครรบกับพวกอังกฤษ ทำให้กองทัพของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์สามารถเดินทัพผ่านมาได้โดยสะดวก แต่เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการแก่เจ้านายหัวเมืองลาวและอีสานทั้งหลายว่า จะลงไปตีนครราชสีมาด้วยเจ้านครราชสีมาล่วงล้ำเขตแดนเข้าไปตีข่าสักเลกไพร่พลในแดนลาว และพระองค์มิได้ลงไปตีกรุงเทพมหานครอย่างที่ไทยกล่าวอ้างแต่ประการใด บรรดาเจ้าเมืองหัวเมืองลาว-อีสานทั้งหลายต่างรังเกียจพฤติกรรมและนิสัยของเจ้าเมืองนครราชสีมาอยู่แล้วจึงร่วมมือกับพระองค์ เจ้าเมืองลาว-อีสานทั้งหลายต่างขันอาสาออกศึกช่วยเหลือพระองค์และกล่าวคำชื่นชมพระบารมีของพระองค์อย่างมาก ฝ่ายสยามกล่าวว่าเมื่อกองทัพลาวยกมาถึงนครราชสีมา สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ได้ฉวยโอกาสที่เจ้านครราชสีมาและพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการที่เมืองขุขันธ์เข้ายึดเมือง และกวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองขึ้นไปเวียงจันทน์ แต่เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า เจ้าเมืองนครราชสีมาทราบข่าวว่าพระองค์ทรงเสด็จมาถึงนครราชสีมาแล้ว เจ้าพระยานครราชสีมาเกรงพระราชบารมีและเกรงว่าตนจะต้องโทษที่ล่วงล้ำเขตแดนเวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ จึงได้ปลอมตัวหนีทิ้งเมืองของตนเองเสีย เอกสารฝ่ายลาวยังกล่าวอีกว่า เมื่อพระองค์เข้าเมืองของเจ้านครราชสีมาได้แล้ว ทรงเห็นว่าวังของเจ้านครราชสีมานั้นใหญ่โตและมีจำนวนมากถึง ๗ หลัง ในเขตวังของเจ้านครราชสีมาสามารถบรรจุทหารของพระองค์ได้มากกว่าพันคน พระองค์จึงทรงตั้งให้พระบรมราชา (มัง ต้นสกุล มังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนมให้กินเมืองนครราชสีมาแทนเจ้าเมืองคนเดิม

ต่อมา ระหว่างทางกองทัพลาวได้พักไพร่พลและเชลยที่ทุ่งสัมฤทธิ์ พวกครัวเรือนเมืองนครราชสีมาได้วางอุบายลวงทหารลาวจนตายใจแล้วฆ่าฟันทหารลาวตายลงจำนวนมาก จากนั้นจึงตั้งค่ายรอกองทัพจากกรุงเทพมหานครขึ้นมาสมทบ ฝ่ายทหารของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์เห็นการณ์ไม่สำเร็จตามคิด จึงถอยทัพกลับไปตั้งมั่นที่กรุงเวียงจันทน์เพื่อรอรับศึกจากกองทัพกรุงเทพมหานคร เอกสารฝ่ายไทยกล่าวว่า เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ของท้าวสุรนารี (โม ณ ราชสีมา) ชายาของเจ้านครราชสีมา และวีรกรรมนางบุญเหลือธิดากรมการเมืองนครราชสีมา ส่วนทางฝ่ายลาวและอีสานไม่มีเอกสารชั้นต้นหรือเอกสารปฐมภูมิแม้แต่ชิ้นเดียว ที่มีการกล่าวถึงวีรกรรมของสตรีทั้งสองคน ตำนานมุขปาฐะฝ่ายลาวกล่าวว่า ท้าวสุรนารีเดิมเป็นชาวลาวแต่มีใจฝักใฝ่กับสยาม จึงได้ร่วมวางแผนกับสยามเข้าตีเวียงจันทน์ และเอกสารฝ่ายลาวยังกล่าวอีกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดวีรกรรมของเจ้าเมือง ๒ ท่าน คือ วีรกรรมพระยานรินทร์สงคราม (เจ้าจอมนรินทร์ หรือ พระยาโนลิน ต้นสกุล ลาวัณบุตร์) เจ้าเมืองจตุรัส (เมืองสี่มุม) และเมืองหนองบัวลุ่มภู (หนองบัวลำภู) กับวีรกรรมพระยาภักดีชุมพล (แล ต้นสกุล ภักดีชุมพล) เจ้าเมืองชัยภูมิ ซึ่งทั้ง ๒ องค์ต่างมีความจงรักภักดีต่อนครเวียงจันทน์

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกรุงเทพมหานครทราบข่าวกองทัพสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ช้ากว่าที่คิด เพราะกองทัพกรุงเทพมหานครทราบข่าวเมื่อกองทัพสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์หลังจากมาตั้งมั่นที่นครราชสีมาแล้ว สยามได้ส่งกองลาดตระเวนหาข่าวมาถึงเมืองสระบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงทราบข่าวศึกจึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์เป็นแม่ทัพใหญ่ยกทัพจากสระบุรีขึ้นไป และให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งเอกสารฝ่ายลาวเรียกว่า พระยามุนินเดช ยกทัพไปทางเมืองปัก (อำเภอปักธงชัย)แล้วตรงไปสมทบกันที่เมืองนครราชสีมา กองทัพทั้ง ๒ ของสยามสามารถตีทัพลาวแตกพ่ายไป ส่วนสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงเสด็จไปปรึกษาราชการศึกที่เวียดนาม และได้รับความคุ้มครองตลอดจนได้รับที่ประทับชั่วคราวจากฝ่ายเวียดนามตามฐานะ เมื่อสยามยึดเวียงจันทน์ได้แล้ว กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์จึงโปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ปราบเวียงขึ้นที่หนองคาย และให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) กวาดต้อนครัวเวียงจันทน์ลงไปกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งอัญเชิญพระบาง พระแทรกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแสน พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ และพระพุทธรูปศิลาเขียว (พระนาคสวาดิเรือนแก้ว) มาประดิษฐานยังกรุงเทพมหานครด้วย แต่ในตำนานพระพุทธรูปและเอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า ยังมีทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ และพระพุทธรูปสำคัญประจำหัวเมืองลาวอีกหลายองค์ที่สยามพยายามอัญเชิญลงมากรุงเทพมหานคร แต่ชาวบ้านได้นำไปซ่อนไว้ในถ้ำเสียก่อน อาทิ พระแสงเมืองนครพนม พระแก้วมรกตที่พระธาตุพนม และพระทองคำที่ถ้ำปลาฝา ถ้ำพระ เมืองท่าแขก เป็นต้น จากนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาราชสุภาวดีเป็นที่เจ้าพระยาราชสุภาวดี ที่สมุหนายก ด้วยมีความชอบในงานราชการศึก

ใน พ.ศ. ๒๓๗๐ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ไม่พอราชหฤทัยที่เจ้าพระยาราชสุภาวดีไม่ยอมทำลายนครเวียงจันทน์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีกลับไปตีนครเวียงจันทน์อีกครั้งเพื่อทำลายนครเวียงจันทน์ให้สิ้นซาก ฝ่ายพระยาพิชัยสงครามได้คุมทหาร ๓๐๐ นาย ข้ามแม่น้ำโขงไปดูลาดเลาได้ความว่า พระจักรพรรดิเวียดนามได้ให้ข้าหลวงพาสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชวงษ์ (เหง้า ต้นสกุล สีหาราช) กลับมาขออภัยโทษจากฝ่ายไทยและขอสวามิภักดิ์อีกครั้ง แต่เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า พระองค์ไม่พอพระทัยพระจักรพรรดิเวียดนามที่คิดแต่จะแสวงหาส่วยเงินทองจากพระองค์ และพระองค์ก็มิได้ดำริว่าจะทรงเสด็จมาสวามิภักดิ์ฝ่ายไทย แต่ทรงเสด็จกลับมานครเวียงจันทน์เพื่อเสวยราชย์อีกครั้ง เมื่อทรงเห็นทหารไทยเข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองของพระองค์โดยพละการ จึงทรงไม่พอพระทัยและสั่งให้ฆ่าฟันขับไล่ทหารไทยพวกนั้นออกไปจากเวียงจันทน์เสีย เอกสารฝ่ายไทยกล่าวว่า รุ่งขึ้นสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) กลับยกพลเข้าโจมตีทำร้ายทหารไทยล้มตายเป็นอันมาก เจ้าพระยาราชสุภาวดีเห็นพวกนครเวียงจันทน์ตามมาไล่ฆ่าฟันถึงชายหาดหน้าเมืองพันพร้าวก็ทราบว่าเกิดเหตุร้ายขึ้น จึงขอกำลังเพิ่มเติมจากฝ่ายเมืองยโสธร สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์โปรดฯ ให้เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) นำกำลังพลข้ามตามมาและปะทะกับกองทัพไทยที่ค่ายบกหวาน บ้านบกหวาน เมืองหนองคาย และเกิดการต่อสู้กันถึงขั้นตะลุมบอน แม่ทัพทั้งสองฝ่ายได้รบกันตัวต่อตัวจนถึงขั้นบาดเจ็บ ผลปรากฏว่าฝ่ายเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ได้รับชัยชนะ ส่วนเจ้าพระยาราชสุภาวดีนั้นพ่ายแพ้อย่างราบคาบเพราะถูกฟัน ทหารไทยยิงปืนต้องเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย กองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีจึงได้เร่งติดตามกองทัพลาวไปจนถึงเมืองพันพร้าวก็ปรากฏว่ากองทัพลาวข้ามแม่น้ำโขงไปแล้ว ฝ่ายลาวได้หามเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ไปรักษาพระองค์และไม่ปรากฏเรื่องราวของพระองค์อีกเลยตลอดรัชกาล

ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ทรงเห็นเหตุการณ์ดังนั้น จึงพาครอบครัวและพระบรมวงศานุวงศ์หนีไปพึ่งพระจักรพรรดิเวียดนามอีกครั้ง แต่พระเจ้าสุททะกะสุวันนะกุมารเจ้านครเชียงขวาง หรือ เจ้าน้อยเมืองพวน ได้ทรงจับกุมสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์พร้อมครอบครัวส่งพระองค์ลงมาที่กรุงเทพมหานคร เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า สยามได้หลอกลวงเจ้าน้อยเมืองพวนให้บอกที่ซ่อนสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ เจ้าน้อยเมืองพวนไม่ทราบเรื่องจึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ถูกจับ เอกสารฝ่ายลาวยังกล่าวอีกว่า สงครามครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ทรงสูญเสียพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า ท้าวหมื่นนาม ซึ่งประสูติแต่พระนางสอนราชเทวี ราชธิดาในพระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนม ส่วนพระนางสอนราชเทวีนั้นทางสยามได้นำพระองค์ไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดเกล้าฯ ให้นำพระองค์สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ใส่กรงเหล็กประจานไว้หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พร้อมด้วยนำเครื่องทรมานต่างๆ มาทรมานพระองค์อย่างเหี้ยมโหด โปรดให้อดข้าว น้ำ ทั้งพระมเหสี พระชายา พระสนม ตลอดจนพระราชโอรสพระราชนัดดาหลายพระองค์ หลังจากนั้นไม่นานสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยความทุกข์ทรมาน สิริพระชนมายุรวม ๖๑ พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ในนครเวียงจันทน์ได้ ๒๓ ปี หลังจากนั้นเป็นต้นมาทางสยามก็ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดในราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ ขึ้นมาเป็นกษัตริย์เวียงจันทน์ ฝ่ายกรุงเวียงจันทน์ได้ถูกทำลายจากการปล้นและเผาจนไม่เหลือสภาพของเมืองหลวงและกลายเป็นเมืองร้างในที่สุด คงเหลือไว้แต่วัดสำคัญเพียงไม่กี่วัด ได้แก่ วัดพระแก้ว และวัดสีสะเกดเท่านั้น

หลังจากสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์สิ้นพระชนม์แล้วอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ก็ถึงกาลอวสานสิ้นสุดลงในที่สุด เอกสารสยามไม่กล่าวถึงพระราชพิธีพระบรมศพของพระองค์ ส่วนเอกสารฝ่ายลาวได้กล่าวถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์ว่า จัดอย่างพิธีลาวใหญ่โตและงดงามกลางกรุงเทพมหานคร ทางสยามไม่ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิถวายเป็นพระเกียรติยศของพระองค์เยี่ยงกษัตริย์ทั่วไปแต่ประการใด ภายหลังมีข่าวลือว่า พระบรมอัฐิของพระองค์ถูกเก็บไว้ใต้บันไดวัดอรุณราชวราราม ส่วนเอกสารวรรณกรรมพื้นเมืองเวียงจันทน์กล่าวว่า พระองค์ทรงสั่งให้พระมเหสีนำง้วนสารหรือยาพิษมาเสวยจนสิ้นพระชนม์ ทางสยามได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ใต้ฐานพระธาตุดำกลางกรุงเวียงจันทน์ ต่อมาสยามได้ลดฐานะนครเวียงจันทน์ให้เป็นเพียงหัวเมืองชั้นจัตวา และโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยไปรักษาราชการเมือง แล้วยกฐานะเมืองหนองคายเป็นเมืองชั้นเอกให้เมืองเวียงจันทน์ขึ้นแก่เมืองหนองคาย ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระองค์ปรารถนาจะชุบเลี้ยงเจ้านายในราชวงศ์เวียงจันทน์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเจ้าจอมมารดาดวงคำ พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์มาเป็นเจ้าจอมพระสนม และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชนัดดาทั้ง ๒ พระองค์ของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ คือ เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดี (หนู ต้นสกุล จันทนากร) ขึ้นไปกินเมืองมุกดาหารบุรี และโปรดฯ ให้ให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมาอุบลราชธานีบาล (หน่อคำ ต้นสกุล เทวานุเคราะห์, พรหมโมบล, พรหมเทพ) ขึ้นไปกินเมืองอุบลราชธานีในฐานะเมืองประเทศราชทั้ง ๒ เมือง

อย่างไรก็ตาม เหตุผลข้างต้นที่กล่าวมานี้ยังคงมีหลายประเด็นที่ขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ลาว-อีสาน และเหตุผลจากหลักฐานเอกสารไทยนั้นเชื่อว่าถูกเขียนขึ้นหลังเอกสารทางฝ่ายลาว-อีสาน หลายเหตุผลของสยามไม่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการสมัยใหม่

๑. เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นคนไม่มีคุณธรรม มีนิสัยตลบแตลงตอแหล นิยมทูลสับส่อต่อเจ้านายสยาม ชอบยุยงส่งเสริมให้เจ้านายทั้งหลายทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่เป็นนิจ มักใหญ่ใฝ่สูง พูดจาโอหังสามหาวต่อเจ้านายด้วยกัน อยากได้หน้า และติดสินบาดคาดสินบนต่อเจ้านายสยามจนตนได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา

๒. เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นผู้ยุยงให้เจ้าหัวสาภูเกียดโง้ง (ภูเขียดโง้ง) ก่อการวุ่นวาย นำกำลังชาวข่าระแดตอนใต้ของลาวเข้าเผานครจำปาศักดิ์ จนเดือดร้อนถึงเจ้าอนุวงศ์ต้องเสด็จลงไปตีให้สงบราบคาบ ขณะเดียวกันเจ้านครจำปาศักดิ์องค์ก่อนก็ถูกเจ้าพระยานครราชสีมาบริภาษหยาบคายว่าเป็นคนขี้ขลาดหวาดกลัวต่อศึกศัตรูจนต้องละทิ้งเมือง

๓. เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นผุ้ยุยงน้องชายพระยาไกรภักดีเจ้าเมืองภูขัน (เมืองขุขันธ์) ให้ต่อสู้กับพี่ชายของตนเพื่อแย่งชิงตำแหน่งเจ้าเมือง แล้วยุยงให้เผาเมืองภูขันธ์จนวอดวาย

๔. เจ้าพระยานครราชสีมาทูลต่อเจ้านายสยาม (ของหลวง) ว่าจะเข้าไปตีข่าในเขตแดนหัวเมืองลาวอีสานภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวามาถวายเจ้าแผ่นดินสยาม สยามรู้เห็นเป็นใจเนื่องจากว่าได้ผลประโยชน์ด้วยกัน

๕. เจ้าพระยานครราชสีมากล่าวคำยโสโอหังอวดดีต่อเจ้าราชบุตร์ (โย้) เจ้านครจำปาศักดิ์ พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ และไม่ฟังคำทัดทานของเจ้าราชบุตร์ (โย้) รวมทั้งไม่ฟังคำสั่งห้ามตีข่าในเขตแขวงแดนลาวของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ด้วย

๖. เจ้าพระยานครราชสีมามีใจกำเริบเสิบสานกระทำผิดต่อโบราณราชประเพณีกษัตริย์ลาว ด้วยการบังอาจนำนายกองเข้าไปสักเลกข้าโอกาสพระมหาธาตุเจ้าพระนม จากการสนับสนุนของเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์และพระราชบรรพบุรุษของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์เคยถวายไว้เป็นข้าพระมหาธาตุเจ้าพระนมมาแต่โบราณกาล ความเดือนร้อนครั้งนี้ลุกลามไปถึงประชาชนที่อาศัยอยู่บนภูเขาด้วย (ไทภู)

เหตุการณ์สงครามครั้งนี้ถูกเรียกชื่อแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละฝ่าย สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ถูกฝ่ายลาวใช้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อปลดแอกจากการปกครองของไทย จึงเรียกชื่อเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น สงครามกู้เอกราช ทั้งยังยกย่องให้เจ้าอนุวงศ์เป็นวีรบุรุษของชาติมาตลอด ไม่ว่าจะในสมัยยุคการปกครองรูปแบบพระราชอาณาจักรลาวหรือยุคสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวก็ตาม เอกสารทางประวัติศาสตร์ฝ่ายลาวและอีสานนั้น พระองค์ได้รับการกล่าวขวัญในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้พยายามปลดแอกชนชาติลาวสู่เอกราช อีกทั้งทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกที่สำคัญ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมทางการปกครอง ทรงเป็นพระหน่อพุทธเจ้าผู้เปี่ยมด้วยพระราชอำนาจและพระราชบารมี ทรงเป็นที่ครั่นคร้ามและนิยมนับถือของบรรดาเจ้านายหัวเมืองลาวทั้งหลาย ในเอกสารพื้นเวียงแสดงให้เห็นว่า พระราชอำนาจของพระองค์ทำให้เป็นที่หวั่นเกรงไปถึงเมืองนครราชสีมาและหัวเมืองชายพระราชอาณาเขตของสยาม ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายไทยมองการบุกรุกของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ว่าเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของอาณาจักรไทย จึงเรียกชื่อเหตุการณ์นี้ว่า กบฏเจ้าอนุวงศ์ ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ฝ่ายสยามนั้น พระองค์ได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะพระเจ้าแผ่นดินประเทศราชผู้ก่อการขบถต่อแผ่นดิน ในประชุมพงศาวดารบางฉบับของไทยดูหมิ่นพระเกียรติยศของพระองค์ด้วยการออกนามของพระองค์ว่า อ้ายอนุ อย่างไรก็ ตามมีบันทึกอย่างชัดเจนจากทั้งทางไทยว่าสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระราชประสงค์แน่ชัดที่จะมาทำลายเมืองบางกอกหรือกรุงเทพมหานคร เพื่อยึดประเทศไทยไว้เป็นเมืองขึ้น โดยหากไม่สามารถยึดได้หมด ก็จะเผาทำลายกรุงเทพมหานครเสีย และยึดประเทศไทยเพียงบางส่วนที่สามารถปกครองได้ เหตุการณ์นี้จึงมองได้ว่ามิใช่การทั้งการกอบกู้เอกราชและการกบฏ แต่เป็นสงครามช่วงชิงอำนาจตามปกติเหมือนประเทศต่างๆ ในยุคนั้นช่วงชิงอำนาจกัน หากสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ต้องการกอบกู้เอกราชเพียงแต่ตั้งแข็งเมืองก็เพียงพอแล้ว

หลังเหตุการณ์เผานครเวียงจันทน์ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางสำคัญของการปกครองหัวเมืองลาว และหลังความพยายามทำลายราชวงศ์เวียงจันทน์ให้สิ้นซากของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งสยามนั้น ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์กบฏหัวเมืองลาว-อีสานยืดเยื้อตามมาอีกหลายครั้งสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ กบฎเจ้าแก้ว ผู้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าราชบุตร์ (โย้) เจ้านครจำปาศักดิ์ พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ กบฏผีบุญอีสานและฝั่งซ้าย ซึ่งนำโดยกลุ่มองค์มั่นและกลุ่มต่างๆ ตามหัวเมืองลาว-อีสาน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ตลอดจนกบฏท่านเตียง ศิริขันธ์และกลุ่มรัฐมนตรีอีสาน ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นต้น บ่อยครั้งชาวลาวและชาวอีสานต่างก็นิยมอ้างถึงเหตุการณ์เผานครเวียงจันทน์ในอดีต มาเป็นเหตุผลในการต่อสู้กับอำนาจสยามและอำนาจรัฐ เรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ไม่เพียงแต่เป็นฉนวนเหตุความขัดแย้งของประชาชนชาวลาวกับชาวไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นฉนวนเหตุให้ชาวลาวในภาคอีสานขัดแย้งกับชาวไทยสยาม เป็นฉนวนเหตุให้ชาวลาวในอีสานที่นิยมสยามกับชาวลาวในอีสานที่นิยมลาวขัดแย้งกันเอง และเป็นฉนวนเหตุให้เกิดการปลุกระดมการแบ่งแยกดินแดนของชาวลาวอีสาน ไม่เพียงเท่านี้ เหตุการณ์สงครามสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ยังสามารถถือเป็นทั้งจุดเปราะบางและจุดแตกหักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทยอีกด้วย

ราวปี พ.ศ. ๒๕๕๔ (ค.ศ. ๒๐๑๑) ในจังหวัดนครพนมของประเทศไทยซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนไทย-ลาว ได้เคยเกิดเหตุการแจกใบปลิวปริศนา ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาลาวระบุข่าวเกี่ยวกับเหตุน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ว่ามีความสัมพันธ์กับสงครามเจ้าอนุวงศ์และการผิดคำสาบานต่อพระแก้วมรกตของศักดินาสยามในอดีต ใบปลิวนี้ได้ถูกแจกจ่ายแพร่สะพัดในตลาดโต้รุ่ง ร้านคาเฟ่อินเทอร์เน็ต และยังมีการแปลข้อความในใบปลิวจากภาษาลาวเป็นภาษาไทยด้วย เนื้อความในใบปลิวนั้นกล่าวว่า ภายหลังสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ได้เสียชัยให้กับสยามแล้ว ศักดินาสยามก็พยายามจะเอาพระแก้วมรกตไปสถิตไว้อยู่ประเทศไทย พวกเขาได้ใช้ความพยายามหลายวิธี แต่ไม่สามารถยกพระแก้วมรกตขึ้นได้ ฉะนั้น ศักดินาสยามจึงให้หมอดูลาว ๕ คน เพื่อไปอ้อนวอนช่วย โดยมีเหตุผลอ้างอิงว่า ปัจจุบันนั้นเมืองลาวเกิดความวุ่นวายไม่สงบ ฉะนั้น จึงขออัญเชิญพระแก้วมรกตนี้ย้ายไปสถิตที่กรุงเทพฯ ถ้าหากว่าวันใดเมืองลาวมีความสงบ จะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปสถิตสถานไว้ที่เมืองลาวเหมือนเดิม ข้อความยังระบุต่อไปว่า เพื่อเป็นการยืนยันศักดิ์ศรีของศักดินาสยามในเวลานั้น พวกเขาได้สาบานไว้ว่า ถ้าหากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามคำสาบานดังกล่าวนี้ ขอให้มีมหันตภัย ๕ อย่างเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยดังนี้

...ขอให้น้ำท่วมบ้านท่วมเมือง ขอให้ประเทศไทยไม่มีความสงบ เจริญรุ่งเรือง การเมืองให้มีความสับสนวุ่นวาย อาณาจักรเดียวขอให้แบ่งเป็นหลายชาติ ความเป็นเอกราชขอให้พังทลาย ราชบัลลังก์ขอให้ถูกโค่นล้ม ดินส่วนหนึ่งขอให้จมลงทะเล...

เมื่อศักดินาสยามได้ยืนยันคำสาบานดังกล่าวแล้ว หมอดูลาวทั้ง ๕ คนจึงพร้อมกันอัญเชิญพระแก้วมรกตตามจุดประสงค์ของไทย จากนั้นศักดินาสยามจึงสามารถยกเอาพระแก้วมรกตของลาวไปประดิษฐานอยู่ที่กรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ในท้ายข้อความของใบปลิวยังอ้างว่า หนังสือฉบับนี้เอามาจากหอสมุดของแขวงหลวงพระบาง ต้นฉบับเป็นภาษาลาว ลงวันที่ ๑๒/๒/๒๐๑๐ ผู้สื่อได้ข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้มีข่าวลือสะพัดต่อเนื่องว่า มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของไทย อาจเกี่ยวข้องกับคำสาปหรือคำสาบานของไทยและลาว จนกระทั่งมีผู้นำใบปลิวจากฝั่งลาวมาเผยแพร่ ผู้นำใบปลิวมาเผยแพร่ยังระบุอีกว่า ชาวลาวมีใบปลิวข้อความเนื้อหาข้างต้นแทบทุกครัว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันที่อ้างว่ามีบันทึกอยู่ในหอสมุดแห่งชาติลาว และยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากใบปลิวนี้แต่ประการใด

พ.ศ. ๒๓๔๙ (จ.ศ. ๑๑๖๘) ปีฮวายยี่หรือปีขาล เสด็จไปสร้างโฮงหลวงหรือพระราชวังหลวงในนครเวียงจันทน์ เพื่อใช้เป็นที่ประทับและเพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในการสถาปนาเป็นพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ จากนั้นเสด็จไปสร้างสะพาน (ขัวตะพาน) ปูลานอิฐจากท่าแม่น้ำโขงสู่หน้าลานพระมหาธาตุเจ้าพนมแห่งเมืองพนม (ธาตุพนม) พร้อมกับพระบรมราชากิติศัพท์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง (ท้าวสุตตา) เจ้าเมืองนครพนม และพระยาจันทรสุริยวงศา ดำรงมหาราชการ (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหาร นอกจากนี้ยังทรงเสด็จไปวัดพระธาตุศรีโคตรบอง เมืองเก่าท่าแขก ทรงบูรณะซ่อมแซมพระมหาธาตุเจ้าศรีโคตรบองร่วมกับเจ้าขัตติยะราช เจ้าเมืองมรุกขนคร (เมืองเก่าท่าแขก) จนแล้วเสร็จ พระธาตุศรีโคตรบองนี้เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยเมืองศรีโคตรบูรโบราณ โดยพระเจ้าสุบินราชหรือพระเจ้าสุมินทราชแห่งเมืองมรุกขนคร ต่อมาได้รับการบูรณะอีกครั้งโดยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งนครเวียงจันทน์

พ.ศ. ๒๓๕๐ (จ.ศ. ๑๑๖๙) ปีเมิงเม่าหรือปีเถาะ เสด็จไปฉลองสะพานหน้าวัดพนมพร้อมเจ้าเมืองนครพนมและเจ้าเมืองมุกดาหาร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างสร้างเทพทวารบาล ๒ ตน อุ้มบาตรประทับนั่งทับส้นเท้าประดิษฐานบริเวณปากสะพานต่อลานพระมหาธาตุเจ้าพนมเรียกว่า ท้าวเทวา-นางเทวา ตนหนึ่งมีรูปเป็นยักษ์ตนหนึ่งมีรูปเป็นเทดา ทรงสร้างแผงเชิงเทียนหรือฮาวใต้เทียนไม้ปิดทองประดับแก้วสี ทำเป็นรูปสัตตะบูลิพันมีหน้าลาหูเสพจันทร์ (ราหูอมจันทร์) ขนาดใหญ่มาก ประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดพนม (วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) ปัจจุบันได้มีการเก็บชิ้นส่วนไว้ที่พิพิธภัณฑ์รัตนโมลีศรีโคตรบูร วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม นอกจากนี้ยังทรงถวายคณะมโหรีหลวงในราชสำนักลาวเวียงจันทน์ไว้บรรเลงถวาย (งันถวายหรือเสพถวาย) พระมหาธาตุเจ้าพนมเป็นพุทธบูชา ทรงถวายเครื่องดนตรี เช่น ฆ้องสำริด เป็นต้น พร้อมทรงตั้งบรรดาศักดิ์ขุนนางท้องถิ่นตำแหน่งที่พระละคร ไว้เป็นหัวหน้าควบคุมคณะมโหรีหลวงด้วย นอกจากนี้ ในตำนานประวัติวัดหัวเวียงรังสี ซึ่งเป็นวัดอรัญวาสีประจำทิศหัวเวียงของเมืองธาตุพนมโบราณกล่าวว่า พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดสระน้ำมงคลขนาดใหญ่ถึง ๓ แห่ง ไว้ในบริเวณวัดหัวเวียงรังสีและรอบวัดหัวเวียงรังสีทางทิศเหนือเลียบแม่น้ำโขง ปัจจุบันสระมงคลได้ถูกถมแล้ว ๒ แห่ง ยังคงเหลืออยู่ ๑ แห่ง สระน้ำที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดลอกขึ้นนี้เชื่อกันว่า เป็นแหล่งน้ำที่ทรงขุดไว้สระสรงชำระพระวรกายเมื่อครั้งเสด็จมานมัสการพระธาตุพนม และใช้ในการประกอบพิธีมุทธาพิเสกฮดสรง (มุรธาภิเษก) ขุนโอกาสเพื่อขึ้นปกครองเมืองธาตุพนมและปกครองกองข้าโอกาสอุปัฏฐากพระธาตุพนมด้วย

พ.ศ. ๒๓๕๑ (จ.ศ. ๑๑๗๐) เสด็จไปสร้างวัดสีบุนเฮืองหรือวัดศรีบุญเรืองที่เมืองหนองคาย (เมืองลาหนองคายเดิม) เสด็จไปบูรณะปฏิสังขรณ์พระมหาธาตุเจ้าพนม พร้อมทรงประกอบพระราชพิธียกฉัตรทองคำ (สุวันนะสัตร) ๗ ชั้น ประดับยอดพระมหาธาตุเจ้าพนม ทรงยกช่อฟ้าประดับหลังคาสิม (พระอุโบสถ) วัดพนม พร้อมทั้งอุทิศถวายข้าโอกาสแด่พระมหาธาตุเจ้าพนมตามโบราณราชประเพณีแห่งกษัตริย์ลาว

พ.ศ. ๒๓๕๓-๒๓๕๕ (จ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๗๔) เสด็จไปสร้างวัดหอพระแก้วที่เมืองศรีเชียงใหม่หรือเมืองพันพร้าวฝั่งเก่าตรงข้ามนครเวียงจันทน์ ปัจจุบันคืออำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ทรงหล่อพระพุทธปฏิมาไว้เป็นพระประธานในสิม (พระอุโบสถ) ของวัด ทรงรับสั่งให้สร้างพระพุทธรูปปูนปั้นจำนวน ๑๑๓ องค์ประดิษฐานรอบกมมะละเลียน (พระระเบียง) ของวัด แล้วยังโปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนเขียนฮูปแต้มหรือจิตกรรรมฝาผนังเป็นภาพพระพุทธเจ้าหรืออดีตพุทธจำนวนมากถึง ๑,๐๐๐ พระองค์ ประดิษฐานไว้ที่วัดช้างเผือก จากนั้นทรงสร้างขัว (สะพาน) ข้ามแม่น้ำโขงระหว่างเมืองศรีเชียงใหม่ไปยังนครเวียงจันทน์ ณ บริเวณที่สร้างวัดหอพระแก้วนั้น พร้อมทรงโปรดเกล้าฯ ให้เมืองพันพร้าวเป็นเมืองที่ประทับของเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) พระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของพระองค์ ในจารึกวัดหอพระแก้วนั้นมี ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ จารึก จ.ศ. ๑๑๗๒ (พ.ศ. ๒๓๕๓) ด้านที่ ๒ จารึก จ.ศ. ๑๑๗๔ (พ.ศ. ๒๓๕๕) ด้านที่ ๑ กล่าวว่า ทรงสร้างวัดหอพระแก้ว อุทิศที่ดิน ถวายข้าโอกาสไว้ให้วัด รวมทั้งถวายรายการสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างวัด ส่วนด้านที่ ๒ กล่าวว่า ทรงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ทรงฉลองวัดหอพระแก้ว ถวายรายการเครื่องของไทยทานทั้งหลายแก่ภิกษุและพระราชทานรายการสิ่งของบริจาคไว้เป็นทานในการสร้างหอแจกหรือศาลาโรงทานของวัดด้วย

พ.ศ. ๒๓๕๕ (จ.ศ. ๑๑๗๔) ทรงเสด็จมาฉลองหอพระวัดพระมหาธาตุพนม จากนั้นราว พ.ศ. ๒๓๕๖ (จ.ศ. ๑๑๗๕) ปีกาเฮ้าหรือปีระกา เดือนเจียง แรม ๔ ค่ำ ก็ทรงเสด็จมาทำบุญฉลองที่วัดพระมหาธาตุพนม ต่อมาราว พ.ศ. ๒๓๕๙ (จ.ศ. ๑๑๗๘) ทรงตั้งบุญหลวงหรือกองบุญใหญ่ฉลองหอพระแก้วและหอไตรนครเวียงจันทน์ ทรงสร้างหอพระแก้วและสร้างพระพุทธรูปผาบแพ้มารหรือปางมารวิชัยประดิษฐานภายในหอพระแก้ว นครเวียงจันทน์

พ.ศ. ๒๓๖๒ (จ.ศ. ๑๑๘๐-๑๑๘๑) ทรงบูรณะพระอุโบสถและหอไตรวัดสีสะเกด นครเวียงจันทน์ เป็นการครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จ ปรากฏในจารึกวัดสีสะเกด บนผนังระเบียงข้างประตูทางเข้า ด้านทิศตะวันตกของวัด จารึกข้อความด้านเดียวได้ความว่า ทรงมีพระราชโองการนี้ไว้กับวัดสัตตสหัสวิหารามหรือวัดแสน อันเป็นนามเดิมของวัดสีสะเกด ทรงบูรณะและก่อสร้างระเบียงคด สร้างพระพุทธรูปและพระพิมพ์ประดิษฐานที่ช่องผนัง ทรงสร้างจุลวิหารและถวายสิ่งของเครื่องใช้เป็นจำนวนมากแก่พระอารามแห่งนี้ และยังทรงพระราชอุทิศส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายถวายแด่พระราชบิดา พระราชมารดา พระญาติวงศ์พงศา พร้อมอุทิศบุญกุศลให้สรรพสัตว์ทั้งปวงด้วย วัดสีสะเกดนี้ปัจจุบันเป็นวัดที่มีสภาพสมบูรณ์มิได้ถูกทำลายจากภัยสงครามสยาม และได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อมาจากสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศเมืองฮานอย วัดนี้เป็นวัดที่มีแผนผังผิดแผกจากวัดต่างๆ ในนครเวียงจันทน์ เนื่องจากมีพระระเบียงล้อมพระอุโบสถไว้หรือมีจงกม (กมมะเลียน) อ้อมสิมไว้ เช่นเดียวกันกับวัดช้างเผือกเมืองพันพร้าว รายรอบพระระเบียงประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดเท่ากันแบบเดียวกันทั้งหมด คือมีขนาดเท่าคนจริงจำนวน ๑๒๐ องค์ มีประตูเข้าออกทั้งสี่ทิศ พระระเบียงตอนบนทุกด้านทำเป็นช่องกุดเล็กๆ สำหรับบรรจุพระพุทธรูปองค์น้อย เช่น พระบุเงิน พระบุทอง (บุคำ) และพระพิมพ์จำนวนมาก ปรากฏหลักฐานในแผ่นศิลาจารึก (หลักศิลาเลก) ข้างประตูด้านหน้า ความว่า "...ส้างพระใส่ช่องกุดฝาผนังวัด พระเงินบุ ๒๗๖ องค์ พระพิมพ์ ๒๐๕๒ องค์... พระพิมพ์ใส่ช่องกุดฝาผนังจงกม ๖๘๔๐ องค์..." บนผนังระเบียงใกล้ประตูเข้าออกทั้ง ๔ ทิศ มีฮูปแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถเหนือผนังระดับหน้าต่าง เจาะเป็นช่องกุดเล็กๆ ๗ แถว เรียงกันทั้ง ๓ ด้าน มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องชาดกและทศชาติเต็มทุกด้าน สันนิษฐานว่าเจ้าอนุวงศ์ทรงให้ช่างฝีมือดีจากกรุงเทพมหานครเดินทางขึ้นมาเป็นช่างร่วมสร้างด้วย บานประตูมีการเขียนลายคำฮดน้ำ (ลายรดน้ำ) เป็นรูปทวารบาลหรือเสี้ยวกางคล้ายไทยจีน หัตถ์ขวาจับเครายาวหัตถ์ซ้ายทรงกริช ผสมลายดอกพุดตาน บานหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำบานด้านในเขียนรูปเทวดาประนมหัตถ์ยืนประทับแท่นคล้ายวัดดุสิตารามหรือวัดสุวรรณารามกรุงธนบุรี มีจารึกความว่า "...จ้างช่างเขียนฝาผนังวัดและจงกม เป็นนิทานหลายประการต่างๆ เป็นเงินช่าง ๒ ตำลึงเฟื้อง เบี้ย ๕ แหว้น ๑๕ หน่วย..." ภายในพระอุโบสถนอกจากจะสร้างพระประธานปูนปั้นปะทายเพ็ด (ซะทายเพ็ชร) ขนาดใหญ่แล้ว ยังโปรดให้สร้างพระพุทธรูปสำริดปางประทับยืน ๒ องค์ ขนาดเท่าพระองค์จริงประดิษฐานหน้าพระประธานทั้ง ๒ ด้าน ดังจารึกความว่า "...ส้างรูปพระทองหล่อค่าพระองค์ ๒ องค์ หนัก ๔ แสน ๙ หมื่น ๘ พัน..." ฝ่ายหอไตรของวัดสีสะเกดนั้น โปรดให้สร้างเป็นทรงคล้ายมณฑปมีเสาหานรายรอบรองรับปีกพาไล หลังคาซ้อนชั้นวิจิตร อาคารและเสาก่ออิฐถือปูนมีบันไดทางขึ้น ภายในมีซุ้มประตูสี่ทิศมีตู้พระไตรปิฎกลงรักเขียนลายพอกคำหรือลายแต้มคำ (ปิดทอง) ขอบประตูฐานหอไตรมีลายปูนปั้นประดับ ตัวอาคารประดับลายเครือเถา กระจกสี (ดวงแว่นสี) ดอกกกาละกับ บานประตูด้านนอกมีรูปรดน้ำเสี้ยวกาง มีคันทวยเป็นลายดอกก้านดกแปว (กระหนกไทย) และตีนเสาประดับกาบพรหมศร เชื่อว่าพระองค์ได้รับอิทธิพลแลกเปลี่ยนทางศิลปกรรมบางส่วนมาจากราชสำนักสยามราวรัชกาลที่ ๑-๒

พ.ศ. ๒๓๖๒-๒๓๖๕ (จ.ศ. ๑๑๘๑-๑๑๘๔) ราวช่วงปีเดียวกันกับที่บูรณะวัดสีสะเกดหรือหลังจากนั้นไม่กี่ปี ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานเขตที่ดินเขตบ้านเหนือและบ้านใต้แก่วัดป่านันทวัน โดยมีพระยาหลวงจันทบุรีและพระยายศเสถียรฝ่ายฆราวาสเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการใส่เกล้า ปรากฏความตามจารึกวัดป่านันทวัน ปัจจุบันจารึกนี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสีอำพอน กำแพงนครเวียงจันทน์ เป็นจารึกด้านเดียวไม่ระบุศักราช นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชโองการพระราชทานเขตที่ดินค่านาและค่าที่แก่วัดมณีเชษฐาราม เพื่อสืบต่อพระวรพุทธศาสนาตราบห้าพันวรรษา ปรากฏความตามจารึกวัดมณีเชษฐารามหรือวัดจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จารึกมี ๓ ด้าน อ่านได้เฉพาะด้านที่ ๒ และด้านที่ ๓ บางส่วนของจารึกนั้นชำรุด

พ.ศ. ๒๓๖๓ (จ.ศ. ๑๑๘๒) ทรงสร้างจารึกวัดสีสะเกด (ศีรษะเกศ) นครเวียงจันทน์หลังจากบูรณะวัดเสร็จแล้ว พ.ศ. ๒๓๖๔ (จ.ศ. ๑๑๘๓) ทรงเสด็จไปสร้างเมืองนครจำปาศักดิ์ใหม่ และมีพระบรมราชโองการให้พระราชโอรสคือ เจ้าราชบุตร์ (โย้หรือโย่) คณะอาชญาสี่นครเวียงจันทน์ เสด็จไปครองนครจำปาศักดิ์ ปรากฏในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ว่า "...ศักราชได้ ๑๘๓ ปีฮวดไส้ เดือนยี่ ขึ้น ๙ ค่ำ วันอังคาร... เจ้าแผ่นดินเสด็จจากเมืองไปสร้างปาศักดิ์ เจ้าราชบุตรไปนั่งแล..." พ.ศ. ๒๓๖๗ (จ.ศ. ๑๑๘๖) ทรงตั้งบุญหลวงฉลองวัดสีสะเกด หลังจากที่ทรงบูรณะวัดนี้สำเร็จแล้ว ทรงสร้างหอพระบางเพื่อประดิษฐานพระบางเจ้า ซึ่งพระเจ้านันทเสนพระราชเชษฐาทรงขออัญเชิญคืนจากกรุงเทพพระมหานครมาประดิษฐาน ณ นครเวียงจันทน์เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๖

พ.ศ. ๒๓๖๙ (จ.ศ. ๑๑๘๘) ทรงยกหอพระบางทิศตะวันออก (ตะเว็นออก) สองหลังที่นครเวียงจันทน์ และทรงสร้างพระพุทธรูปสำริดพระแก้วมรกตองค์เทียมหรือองค์จำลอง สูง ๓๖.๕ ซม. พร้อมทรงจารึกพระนามที่ฐานพระพุทธรูปองค์นั้น ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จารึกด้านล่างฐานพระพุทธรูปนี้มี ๕ บรรทัด ความว่า "...สมเด็จพระราชเชษฐาอาปณคามาธิราชชาติสายสุริยวงศ์ ทรงมีกุศลเจตนาในบวรพุทธศาสนาเป็นอันยิ่ง ให้หล่อพระพุทธรูปเจ้าน้ำหนัก ๒ หมื่น ๕ พัน เทียมพระแก้วมรกตเจ้า เพื่อให้มั่นคงแก่พระพุทธศาสนาตราบเท่า ๕๐๐๐ พระวัสสา..." พระพุทธรูปองค์นี้ประวัติกล่าวว่า พระองค์ทรงหล่อในปีเดียวกันกับที่เสด็จกรีฑาทัพเข้าตีและยึดเมืองนครราชสีมาสำเร็จ เชื่อว่าทรงมีพระราชประสงค์ให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นตัวแทนพระแก้วมรกตที่ถูกสยามชิงไปครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ หอพระแก้วเมืองนครเวียงจันทน์ ในปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเป็นแม่ทัพตีนครเวียงจันทน์ได้ คงนำพระพุทธรูปสำคัญองค์นี้และองค์อื่นๆ กลับมาพระมหานครด้วย ภายหลังพระพุทธรูปนี้ตกเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๓๒ จึงย้ายมาแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๐ (จ.ศ. ๑๑๘๘-๑๑๘๙) เกิดสงครามต่อสู้ระหว่างนครเวียงจันทน์กับสยาม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หัวเมืองต่างๆ เช่น เมืองคำเกิด คำม่วน ท่าแขก มหาไชยกองแก้ว ฯลฯ นำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองทั้งหลาย ไปประดิษฐานหลบซ่อนในถ้ำลึกตามเทือกเขาหินปูน และโปรดฯ ให้ชาวเมืองนำเงินทองไปฝังดินไว้ตามที่ต่างๆ เพื่อให้รอดพ้นจากการชิงปล้นของทหารไทย แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปสำคัญและมีชื่อเสียงหลายองค์ก็ถูกชิงปล้นไปประดิษฐานที่สยามมาจนกระทั่งปัจจุบัน

พ.ศ. ๒๓๗๐ (จ.ศ. ๑๑๘๙) ทรงอัญเชิญพระแสง พระพุทธรูปสำคัญของนครเวียงจันทน์ไปประดิษฐาน ณ ถ้ำเมืองมหาไชยกองแก้ว ในตำนานว่าพระแสงสร้างพร้อมกันกับพระสุก พระเสริม และพระใส พระแสงสร้างโดยเจ้านางคำแสงพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ต่อมา หลังสงครามเจ้าอนุวงศ์สยามได้สั่งให้เจ้าเมืองนครพนมเชิญขึ้นไปประดิษฐาน ณ กรุงเทพมหานคร แต่พระแสงสำแดงปาฏิหาริย์ไม่ยอมเสด็จจนเกวียนอัญเชิญหัก เจ้าเมืองจึงนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดป่า ต่อมาจึงนำมาประดิษฐาน ณ วัดศรีคุณเมืองกลางเมืองนครพนม ปัจจุบันคือวัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม นอกจากนี้ ในตำนานเมืองหินบูนหรือเมืองฟองวินห์เก่า ยังกล่าวว่า เมื่อครั้งเสด็จลี้ภัยไปประทับ ณ ถ้ำผาช่างหรือถ้ำผาช้าง เขตเมืองอรันรัตจานาโบราณและเมืองเวียงสุรินทร์โบราณ ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของเมืองหินบูน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทรงโปรดให้บูรณะปัดกวาดพระอุโบสถโบราณ (สิมเก่า) ในเมืองนี้มากถึง ๑๒ แห่ง และโปรดให้บูรณะกะตืบ (กุฏิหรืออาคารตึกดิน) ด้วยกันอีก ๑ แห่ง รวมเป็น ๑๓ แห่ง ฝ่ายตำนานเมืองมหาชนไชยก่องแก้วหรือเมืองมหาชัยของลาวนั้นกล่าวว่า เมื่อครั้งเสด็จมาสู้ศึกทหารไทยที่ถ้ำผานางเมืองมหาไชย ทรงตั้งทัพที่วัดแถนอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปทองแดง และพระพุทธรูปเงิน ทรงโปรดเกล้าให้พระสงฆ์และชาวเมืองนำพระพุทธรูปมีค่าทั้งหลายไปประดิษฐานซุกซ่อนไว้ในถ้ำผานางใกล้น้ำสร้างแก้ว

นอกจากนี้ในตำนานเมืองร้อยเอ็ดยังกล่าวว่า พระองค์ยังทรงเสด็จไปสร้างสิมหลวงกลางเมืองร้อยเอ็ดและโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปฮาตเวียงจันทน์เสด็จไปควบคุมดูแลการก่อสร้างด้วย ในการณ์นี้พระยาขัติยวงศา (สีลัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็จ ได้ถวายธิดาผู้หนึ่งพระนามว่า อาชญานางนุ้ย ให้เป็นหม่อมหรือบาทบริจาริกาในพระองค์ด้วย

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชากิตติศัพท์เทพฤๅยศ (มัง มังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองละคร) สร้างเมืองท่าแขกขึ้นฝั่งตรงข้ามกับเมืองนครพนม เพื่อกวาดต้อนผู้คนให้หนีศึกจากสยามเข้ามาอาศัยอยู่ พร้อมทั้งสั่งให้เจ้านายจากเวียงจันทน์มาช่วยควบคุมการก่อสร้าง หลังจากสยามยกทัพขึ้นมาแล้วทำให้การสร้างเมืองท่าแขกหยุดชะงักลง ดังปรากฏโดยละเอียดในเอกสารเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ ความว่า

...แต่นั้น เคืองพระทัยเจ้าองค์ยั้งขม่อมหลวง พระก็จัดไพร่พร้อมดาห้างแต่งตัว เฮาจงคืนเมืองตั้งหนองบัวขนันอยู่ ภายพุ้น แต่ว่าครัวขี้ฮ้ายอย่าต้านต่อซน ท่านเอ๋ย พระก็ฮับสั่งให้เจ้าแห่งเมืองลคร เจ้าจงพาพลคืนอย่านานคาค้าง คันว่าเมือเถิงห้องอย่านานเฮ็วฮีบ จริงเทอญ จัดไพร่ข้ามของแท้อย่านาน หั้นท่อน แล้วจึงพาพลตั้งแปลงเวียงขนันอยู่ แฝงฝ่ายน้ำทางพุ้นแวดระวัง เที่ยวเทอญ ฯ แต่นั้น หัวเมืองเจ้าชาวลครไวฮีบ อ่วยหน้าช้างคืนแท้บ่นาน ทั้งวันแท้ทั้งคืนเขียวถีบ ย่านแต่เศิกลัดต้อนตันฆ่าหว่างทาง เศิกเหล่าเลยถีบม้าเต้นไล่ตามหลัง เจ้าก็อวนกำลังต่อเลวหนีแท้ ตั้งแต่ครราชเท่าเถิงเขตต์ขงละมุม เขาก็นำไปลัดที่โพนทันม้า ตันขนันต้อนครัวไทยยายอยู่ เขาก็ฮัดเฮ่งต้อนตันหน้าสู่ทาง ม้มจากหั้นเถิงท่งเชียงไต เขาก็ไหลพลนำผ่าเลวฟันฆ่า ก็จึงเถิงแห่งห้องขงเขตต์เมืองพิมาย กลายแดนไทยด่วนเมือทั้งฟ้าว วันคืนแท้บ่มีนานยามยีบ ก็จึงเถิงแห่ห้องลครแท้ที่ตน หั้นแล้ว เจ้าก็ใช้ถีบม้าไปป่าวขงลคร จัดครัวไปข้ามของอย่าช้า ไผอย่าดลคาค้างจักคนลูกอ่อน จริงเทอญ ปัดกวาดข้ามของแท้สู่คน เทียวเทอญ ย่านแต่ครัวจิ่มใกล้ลุกขึ้นเป็นเศิก บ่ฮู้ เห็นแต่ครัวเต็มเมืองสู่ภายจริงแท้ โตหากไปเทม้างเมืองเขาปัดกวาดมานั้น มันก็ดูมากล้มกลัวย่านหมู่เขา แท้แล้ว เขาหากอยู่ครราชพู้นติดต่อตามมา ไผบ่อาจมืนตาฮบต่อซนเขาแพ้ แต่ภูเขาขั้นเท่าที่ศรีคอนเตา ศีร์ษะเกษเขาก็มาอยู่เต้าเต็มแท้สู่ภาย แล้วเหล่าเอาตัวข้ามแคมของปัดขอด ลาวหมู่นั้นแทนบ้านสู่ภาย หั้นแล้ว ฯ แต่นั้น เจ้าก็จัดคนสร้างแปลงเวียงท่าแขก ลวงกว้างได้สามฮ้อยชั่ววา เวียงจันทร์เจ้าเวียงแกเป็นแก่ มาแนะให้เขาตั้งก่อเวียง ลวงสูงได้พอประมาณเจ็ดศอก ใหญ่แลน้อยเวียนอ้อมสี่กำฯ...

...เถิงเมื่อเดือนหกขึ้นสิบสองค่ำ มาเถิง เจ้าก็แปลงตราขัดฮอดละครมิช้า เจ้าให้หาเกณฑ์คนกล้าไปตีเหมราษฐ เสียเทอญ เหตุว่าเหมราฐนั้นเขาเกิดเป็นเศิกขึ้นแล้ว ให้เจ้าไปตีเสียอย่ากลายเดี๋ยวนี้ อันว่าปลูกเวียงนั้นเซาดูหยุดก่อน หั้นเทอญ จักว่าดีแลฮ้ายเมือหน้าบ่เห็น ฯ แต่นั้น นายคุมเจ้าเวียงแกแจ้งเหตุ เจ้าก็ฮัดเฮ่งขึ้นทั้งฟ้าวบ่เซา เจ้าก็กลับเมือเฝ้าบาทายั้งขม่อม เห็นแต่เฮือตั้งเต้าเต็มน้ำกึ่งกอง...แต่นั้น เมืองละครพร้อมมหาไชยฟ้าวฟั่ง ไปฮอดท่าแขกแล้วบ่เห็นแท้ที่ใด เห็นแต่ลาวเต็มเต้าเมืองลครของเก่า ภายพุ้น เขาก็คืนคอบไหว้องค์เจ้าสู่อัน หั้นแล้ว แกวก็เลยเคียดคล้อยป้อยด่าคำแข็ง สูอย่าเลิงๆ ตัวะล่ายกูฉันนี้ อันว่าของฟากนั้นบ้านอยู่เดิมเขา แท้นา สูว่าเศิกมาเต็มฝ่ายเฮาภายนี้ สูจงไปตั้งค่ายเป็นด่านหนองหลาง หั้นเทอญ กูจักเอากำลังเคลื่อนไปในหั้น หน่วยหนึ่งตั้งท่าแขกแคมของ ที่พุ้น ผุงหมู่ไทยเมืองสูอยู่ตระเวนภายหั้น คันว่าเศิกหากข้ามยามใดให้มาคอบ กูเทอญ กูก็บ่หย่อนย้านเสียมนั้นท่อใย แท้แล้ว ให้สูจัดมาเฝ้ายังกูให้มันมาก จริงเทอญ กูนี้คนเจ้าฟ้าหาญแท้อยู่กลาง หั้นแล้ว ฯ...

ในภายหลังพระราชประวัติของเจ้าอนุวงศ์ได้รับการเรียบเรียงและแต่งเติมจากนักปราชญ์ทางวรรณกรรมลาว ในฐานะวรรณกรรมประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาก ๒ เรื่องแต่ไม่เป็นที่รับรู้ของชาวไทยนัก เรื่องแรกคือพื้นเวียงจันทน์หรือเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปรู้จักในนามพื้นเวียง ซึ่งออกพระนามของพระองค์ว่าเจ้าอนุรุธราช และเรื่องที่สองคือวรรณกรรมประวัตินครเวียงจันทน์หรือพื้นเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งออกพระนามของพระองค์ว่าพระยาอนุราชบัพพาวันดี วรรณกรรมเรื่องแรกกล่าวถึงเรื่องราวการพยายามประกาศเอกราชของพระองค์อย่างตรงไปตรงมา ว่าไม่ได้ขัดแย้งกับสยามแต่ทรงขัดแย้งกับเมืองนครราชสีมา เอกสารชิ้นนี้ไม่มีการกล่าวถึงวีรกรรมท้าวสุรนารี (โม ณ ราชสีมา) และหลังจากตีเมืองนครราชสีมาแตกแล้วทรงตั้งพระบรมราชา (มัง มังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนมให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาและสร้างเมืองท่าแขกของประเทศลาวด้วย เอกสารชิ้นนี้กล่าวเนื้อความตรงกันข้ามกับทรรศนะของสยามโดยสิ้นเชิง และถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในไทยโดยนายทรงพล ศรีจักร์ บุตรชายของท้าวเพ็ชรราชหลานชายของเพียวรจักรี ชาวตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม วรรณกรรมเรื่องที่สองได้รับการปรุงแต่งออกจากวรรณเรื่องแรก แต่มีการต่อเติมเรื่องราวอื่นๆ แทรกไว้โดยคงเค้าเรื่องเดิมไว้อยู่ เช่น ความขัดแย้งกับกรุงศรีหรือบางกอก การขอกำลังจากญวณมาช่วยทัพ พร้อมทั้งแต่งตำนานคำสาปพระยาศรีโคตรบองสาปเวียงจันทร์แทรกไว้ที่ต้นเรื่อง และยังกล่าวถึงพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระองค์พระนามว่า ท้าวเหลาคำ หรือเจ้าราชวงษ์ ว่ามีความสามารถมากและเป็นชนวนเหตุแห่งสงคราม เอกสารชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ในไทยจากหนังสือประเพณีอีสานของ ส. ธรรมภักดี ในสมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ นั้นวรรณกรรมทั้งสองเรื่องเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชนอีสานและชาวลาว นิยมอ่านกันในงันเฮือนดีหรืองานศพทำนองเดียวกันกับวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง หรือพื้นนิสสัยบาเจือง

นอกจากวรรณกรรมทั้งสองแล้ว ยังมีข้อสันนิษฐานว่ามีวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเชื่อว่าแต่งในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ และอาจแต่งในช่วงก่อนสงครามกับสยาม คือ วรรณกรรมเรื่องกาละนับมื้อส่วยหรือวรรณกรรมสาส์นลึบพสูน นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ทรงแต่งเองหรืออาจใช้ให้เสนามนตรีในพระราชสำนักแต่งขึ้น เพื่อระบายความในใจเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองของพระองค์ ในยามถูกรุกรานและกดขี่ข่มเหงจากสยาม วรรณกรรมชิ้นนี้ถูกยกย่องว่าเป็นเพ็ชรน้ำเอกแห่งวรรณกรรมลาวในด้านวรรณกรรมปรัชญาหรือวรรณกรรมแฝงการเมือง พื้นเวียง พื้นเมืองเวียงจันทน์ และกาละนับมื้อส่วย ไม่ถูกนำมาศึกษาในระดับมัธยมของไทยแต่ในระดับอุดมศึกษานั้นก็มีการศึกษาอยู่บ้างแต่ไม่เป็นที่โดดเด่นในประเทศไทย อาจเนื่องจากปัญหาความมั่นคงและปัญหาการแบ่งแยกดินแดน ทว่าในประเทศลาวนั้นวรรณกรรมทั้ง ๓ เรื่องเป็นที่ยกย่องเชิดชูและใช้ในการศึกษาโดยปกติ ต้นฉบับของวรรรกรรมทั้ง ๓ เรื่อง ปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์ใบลานของวัดหลายแห่งในอีสานและลาว

สมเด็จเจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระราชนัดดาและพระราชปนัดดาที่ไม่ทราบว่าประสูติแต่พระราชโอรสพระราชธิดา หรือพระราชนัดดาพระองค์ใด ดังนี้

สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร หรือ สมเด็จบรมบพิตรมหาบุรีไชยเสฏฐาธัมมิกราช หรือ สมเด็จบรมบพิตรพระโพสาธรรมิกราชาไชยจักรพรรดิภูมินทราธิราช พระเป็นเจ้านครเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ บ้างออกพระนามว่าเจ้าธรรมเทวงศ์ หรือ เจ้าองค์บุญ พระราชบิดาในสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดา ได้แก่

สมเด็จพระเจ้านันทเสน หรือ พระเจ้านันทะเสนราชพงษมะลาน เจ้าพระนครเวียงจันทบุรี พระนามเดิมว่าเจ้านัน มีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ

สมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ หรือ พระไชยเชษฐาธิราชชาติสุริยวงศ์องค์อัคธิบดีนทระณรินทรามหาจักรพรรดิราช บรมนาถบพิต สถิดเปนพระเจ้ากรุงจันทบุรีย ศรีสัตะนาคณหุตวิสุทธิอุดมบรมรัตนธานีศรีมหาสถาน พระนามเดิมว่าเจ้าอิน นักวิชาการทั่วไปออกพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๔ ทรงมีพระอัครมเหสีปรากฏพระนามว่า พระนางคำมูลราชเทวี ทรงมีพระราชธิดาด้วยกัน คือ

สมเด็จเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) ทรงเป็นอุปราชแห่งนครเวียงจันทน์ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ แต่มิทรงเข้าร่วมต่อต้านอำนาจสยามกับสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ ฝ่ายสยามจึงทรงอุปการะบุตรหลานของพระองค์ไว้ สมเด็จเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ

เจ้ามหาอุปฮาต (สีถาน) เป็นพระราชพระอนุชาต่างพระราชมารดากับสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ บ้างก็กล่าวว่าอาจเป็นองค์เดียวกับเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) เคยร่วมกับเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ช่วยทัพสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์เข้าตีหัวเมืองอีสานที่กระด้างกระเดื่องเมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชจากสยาม ทรงมีหม่อมปรากฏนามอยู่ ๓ นาง ซึ่งได้รับการถวายจากเจ้าเมืองร้อยเอ็ดเมื่อครั้งเดินทางไปทำศึก ทั้งหมดล้วนเป็นพระธิดาของพระยาขัติยวงศ์พิสุทธิธิบดี (สีลัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ต้นสกุล ธนสีลังกูร หม่อมทั้ง ๓ นาง ปรากฏนามดังนี้

พระนามเต็มว่า เจ้าพระยาบุตรโคตรแวงบ่าวบูรพา ถูกเชิญเสด็จไปกรุงอังวะพร้อมกับเจ้าหน่อเมืองหรือเจ้าองค์นาง เป็นพระบิดาของเจ้าพระยานาเหนือหรือพระยาศรีสุวรรณปุคคะโล (คำบุกหรือคำมุก) ต้นตระกูล บุคคละ เป็นพระปัยกาของเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) เจ้าพระยาเมืองฮามนามฮู่งศรี (คำอยู่) มีชายาและหม่อมคือ

๑. ขุนรามราชรามางกูร (เจ้ารามราช) เจ้าเมืองหรือขุนโอกาสเมืองธาตุพนมองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ เป็นต้นตระกูล รามางกูร, รามางกูร ณ โคตะปุระ มีชายาชื่อเจ้านางสิริบุญมาธิดาเจ้าอุปละ (สีสุมังค์) กรมการเมืองธาตุพนม นัดดาในพระยากางสงคราม (คำวิสุด) แห่งเมืองนครจำปาศักดิ์ ขุนรามราชรามางกูรและเจ้านางสิริบุญมามีพระโอรสคือ หลวงกลางน้อยศรีมงคลหรือเจ้าศรีมุงคุณ (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองหรือขุนโอกาสเมืองธาตุพนมคนที่ ๒ และเจ้านางคำกองเกิดหล้า สมรสกับเจ้าอุปฮาตจันทร์ละคร (จันทน์ทองทิพย์ มังคละคีรี) เจ้าเมืองท่าแขก มีโอรสคือ หลวงปราณีพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) เจ้าเมืองหรือขุนโอกาสเมืองธาตุพนมองค์ที่ ๓ ฝ่ายหลวงกลางน้อยศรีมงคล (ศรี รามางกูร) นั้นอภิเษกกับอาชญานางบุษดีธิดาหมื่นนำรวง ทายาทท้าวคำสิงห์โอรสท้าวหม่อมบ่าวหลวงเจ้าเมืองหลวงโพนสิม และนางสิมพะลี นอกจากนั้นหลวงกลางน้อยศรีมงคล (ศรี รามางกูร) ยังมีหม่อมอีกหลายท่านคือ เจ้านางจันทุมมา๑ เจ้านางคำดวง๑ นางเทพ๑ อัญญานางลือดี๑ นางอรดี๑ นางแก้วคำพา๑ นางหมอก๑ อัญญานางจันทราช๑ นางคำแก้ว๑ หม่อมนาคำ๑ นางคำลุน๑ อัญญานางวอระพัน๑ นางลาดสุวรรณ๑ หม่อมคำนาลี๑ นางมนมณี๑ หม่อมยอดคำทิพย์๑ มีพระโอรสพระธิดาคือ

สายนี้เป็นสายที่มีปัญหามากที่สุดในการนับลำดับวงศ์สกุล เจ้าแสนปัจจุทุม รับราชกาลที่เมืองธุรคมหงส์สถิต แขวงนครเวียงจันทน์ ตำนานพื้นเมืองกล่าวว่าเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระเจ้าสิริบุญสาร แต่ขัดแย้งกันกับเอกสารพื้นเมืองหลายฉบับ เจ้าแสนปัจจุทุมมีพระราชโอรสคือ

๑. เพียเมืองแพน (พันหรือศักดิ์) เจ้าเมืองรัตนนคร ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์พระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นองค์แรก บ้างก็ว่าเป็นหลานท้าวจารย์แก้ว เป็นต้นตระกูล เสนอพระ, อุปฮาด, นครศรีบริรักษ์ มีโอรสธิดาคือ

นอกจากนี้ เพียเมืองแพนยังมีหลานอีกผู้หนึ่งไม่ทราบว่าเกิดแต่บุตรธิดาท่านใดคือพระราชวงษา ต่อมาได้เป็นราชวงศ์เมืองขอนแก่น

๒. เจ้าแสนแก้วบูฮม (แก้วมงคลหรือแก้วบรม) เอกสารบางฉบับออกนามว่า ท้าวจารย์แก้ว ตำนานเมืองมุกดาหารกล่าวว่าเป็นพี่น้องกับท้าวจารย์จันทรสุริยวงศ์ เจ้าเมืองหลวงโพนสิม ตำนานเมืองร้อยเอ็จกล่าวว่าเป็นพี่น้องกับท้าวจารย์หวด เจ้าเมืองโขง ส่วนเมืองขอนแก่นตำนานหนึ่งเห็นว่าเป็นพี่น้องกับเพียเมืองแพน อีกตำนานหนึ่งเห็นว่าเพียเมืองแพนเป็นหลานท้าวจารย์แก้ว ท้าวจารย์แก้วเป็นเจ้าเมืองท่งศรีภูมิหรือเมืองท่ง (เมืองสะพังสี่แจเก่า) บ้างก็ว่าพระองค์ทรงเป็นราชโอรสในเจ้าศรีวิชัยหรือเจ้าศรีวรมงคล เป็นราชนัดดาในเจ้าวรวังโสหรือเจ้าศรีวรวังโสราชโอรสในพระเจ้าโพธิสาลราชแห่งนครหลวงพระบาง กับเจ้านางยอดคำทิพย์แห่งนครเชียงใหม่ เจ้าจารย์แก้วเป็นต้นตระกูล ธนสีลังกูร, ณ ร้อยเอ็จ, ขัติยวงศ์, เรืองสุวรรณ บุตรหลานของพระองค์แยกอออกไปตั้งเมืองร้อยเอ็ด สุวรรณภูมิ มหาสารคาม กันทรวิชัย ชลบถวิบูลย์ ศีรษะเกศ หนองหาร พุทไธสงค์ ฯลฯ ทรงมีพระโอรสคือ เจ้าหน่อคำเจ้าผู้ครองนครน่าน๑ พระรัตนวงศา (เจ้ามืดกำดล) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์ราชบุรี๑ พระขัตติยะวงศา (เจ้าสุทนต์มณี) เจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด๑ พระนครศรีบริรักษ์ (คำบังหรือคำบ้ง) เจ้าเมืองขรแก่น๑ พระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) เจ้าเมืองขรแก่น๑

พระขัตติยะวงศา (เจ้าสุทนต์มณี) มีพระโอรสคือ พระยาขัตติยวงษา (สีลัง) เจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด๑ พระรัตนะวงษา (ภู) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์๑ พระรัตนวงษา (อ่อนหล้า) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์๑ ฝ่ายพระยาขัตติยวงษา (สีลัง) มีบุตร์ธิดา ๑๔ คนคือ

๔. นางแก้วนพรัตน์ หม่อมของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์ (คูประทายสมันต์)

๑๑. นางแหน้น หม่อมของพระปทุมวิเสส เจ้าเมืองคันธวิไชย์หรือเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) ต้นตระกูล สุวรรณเลิศ

๑๒. ท้าวมหาราช (ทองคำ) นายอำเภอเมืองมหาสารคาม มีบุตรคือ นายมหาราช (พิมพา)๑ นายไชยวงศา (พรหมา)๑ นายโพธิราช (สีนุย)๑ นายเจริญรัตนะ (บุญมี)๑ ขุนพิไลย์ (หนู)๑ ฝ่ายนายเจริญรัตน์หรือนายเจริญรัตนะ (บุญมี) มีบุตรเกิดจากนางเอี่ยม ๖ คนคือ

พระนครศรีบริรักษ์ (คำบัง) บ้างออกนามว่า ท้าวคำบ้งหรือท้าวคำบุ่ง เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นและเป็นบุตร์เขยเมืองแพนหรือพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีบุตร์คือ

๒. พระนครศรีบริรักษ์ (มุ่งหรือมุง) เจ้าเมืองขอนแก่นฝ่ายบ้านโนนทัน เดิมเป็นที่ราชวงศ์ ต่อมาเลื่อนเป็นอุปฮาตรักษาราชการเมืองขอนแก่น มีบุตรคือ ท้าวราชวงษ์

๓. พระนครศรีบริรักษ์ (อินหรืออินธิวงศ์) เจ้าเมืองขอนแก่น เดิมเป็นราชวงศ์ต่อมาเลื่อนเป็นอุปฮาต มีหลานคนหนึ่งยกเป็นบุตรบุญธรรมคือ พระยานครศรีบริรักษ์ (ท้าวอู๋ นครศรี) และพระนครศรีบริรักษ์ (อิน) มีบุตรคนสุดท้ายคือ พระพิทักษ์สารนิคม (หล่าหรือหนูหล้า) ต้นสกุล สุนทรพิทักษ์ เดิมเป็นอุปฮาตต่อมาเป็นปลัดเมืองขอนแก่นคนแรกและเลื่อนเป็นผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น

สกุลสายตรงที่สืบเชื้อสายจากสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์อันสืบทอดทายาทจากพระราชโอรสพระองค์โตคือ เจ้าสิทธิสาร หรือ เจ้าสุทธิสาร (โป้) เป็นสกุลสายหลักที่สามารถมีสิทธิ์ในการเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ได้ สกุลนี้ถือเป็นราชตระกูลที่ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ว่า สิทธิสาริบุตร (Siddhisariputra) เลขทะเบียนพระราชทานที่ ๑๔๗๔ ทรงพระราชทานแก่นายนาวาตรี หลวงพรหมประชาชิต (ฟื้น) ผู้ช่วยหัวหน้ากองพัศดุ กระทรวงทหารเรือ กับหลวงภาษาปริวัตร (เต๋อ) เลขานุการชั้นที่ ๒ กระทรวงการต่างประเทศ ปู่ทวดชื่อเจ้าสิทธิสาร เมืองเวียงจันทน์ ๑๕/๖/๑๔


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301