ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เจ้าหญิงซีต้าแห่งบูร์บอง-ปาร์มา

เจ้าหญิงซีตาแห่งบูร์บง-ปาร์มา (อังกฤษ: Princess Zita of Bourbon-Parma) (ซีตา มาเรีย เดลเล กราซี อาเดลกอนด้า มิคาเอล่า ราฟาเอลล่า กาเบรียลล่า จูเซปปิน่า อันโตเนีย หลุยซ่า แอ็กเนเซ; 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2532) เป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งในราชวงศ์บูร์บง-ปาร์มา และพระมเหสีในจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย ดังนั้นจึงดำรงพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย (Empress of Austria) สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการี (Queen of Hungary) และสมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย (Queen of Bohemia) โดยทรงมีความเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตกับราชวงศ์ฝรั่งเศส โปรตุเกส และสเปน

เจ้าหญิงซีตา ซึ่งเป็นพระธิดาพระองค์ที่สิบเจ็ดในดยุกโรเบิร์ตที่ 1 แห่งปาร์มา ได้อภิเษกสมรสกับอาร์ชดยุกคาร์ลแห่งออสเตรียในปี พ.ศ. 2454 และต่อมาอาร์ชดยุกคาร์ลได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทในจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย หลังจากการลอบปลงประชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย พระปิตุลา และเสวยราชสมบัติแห่งออสเตรีย-ฮังการี เมื่อปี พ.ศ. 2459 ภายหลังการเสด็จสวรรคของจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2461 ราชวงศ์ฮับส์บูร์กได้ถูกขับไล่ออกไปเมื่อจักรวรรดิออสเตรียล่มสลายกลายเป็นประเทศใหม่ อันได้แก่ ออสเตรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รัฐสโลวีเนีย โครเอเชีย และเซอร์เบีย จักรพรรดิคาร์ลและจักรพรรดินีซีตาได้เสด็จลี้ภัยไปประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และต่อมาไปประทับที่เกาะมาเดร่า ประเทศโปรตุเกส ซึ่งเป็นที่สวรรคตของจักรพรรดิคาร์ลในปี พ.ศ. 2465 หลังจากการสวรรคตของพระสวามี จักรพรรดินีซีตาและเจ้าชายออทโท พระโอรสทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความปรองดองของราชวงศ์ออสเตรียที่ลี้ภัยอยู่ต่างแดน ในฐานะที่เป็นชาวคาทอลิกที่เคร่งครัด พระองค์ทรงแบกรับภาระ ดูแลครอบครัวใหญ่หลังจากเป็นม่ายขณะมีพระชนมายุ 29 พรรษา และยังคงซื่อสัตย์ต่อความทรงจำเกี่ยวกับพระสวามีตลอดพระชนม์ชีพ

เจ้าหญิงซีตาแห่งบูร์บง-ปาร์มาประสูติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 ณ วิลลาปีอานอเร่ เมืองลุกก้า ประเทศอิตาลี พระนามว่า ซีตา (Zita) ตั้งตามชื่อของนักบุญซีตาผู้โด่งดัง ซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นทัสคานีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 พระองค์เป็นพระธิดาพระองค์ที่สามและพระองค์ที่ห้าในดยุกโรเบิร์ตที่ 1 แห่งปาร์มา กับ เจ้าหญิงมาเรีย อันโตเนียแห่งโปรตุเกส พระชายาพระองค์ที่สอง ซึ่งเป็นพระธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีมิเกลที่ 1 แห่งโปรตุเกส และเจ้าหญิงอเดลไฮด์แห่งเลอเว็นชไตน์-แวร์ไธม์-โรเซนแบร์ก พระบิดาของเจ้าหญิงซีตาทรงถูกขับออกจากราชบัลลังก์เมื่อทรงพระเยาว์ เนื่องจากความเคลื่อนไหวในการรวมประเทศอิตาลีเป็นหนึ่งเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2402 พระองค์ทรงเป็นบิดาของพระโอรสและธิดา 12 พระองค์จากการอภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิงมาเรีย ปีอาแห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง (หกพระองค์ทรงมีปัญหาพัฒนาการทางด้านจิตใจและสามพระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์) ดยุกโรเบิร์ตทรงเป็นม่ายในปี พ.ศ. 2425 และอีกสองปีต่อมาทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย อันโตเนียแห่งโปรตุเกส พระมารดาในเจ้าหญิงซีตา การอภิเษกสมรสครั้งที่สองนี้ได้ให้กำเนิดพระโอรสและธิดาเพิ่มอีก 12 พระองค์ โดยเจ้าหญิงซีตาเป็นพระธิดาพระองค์ที่ 17 ในจำนวนพระโอรสธิดาจำนวนทั้งหมด 24 พระองค์ของดยุกโรเบิร์ต พระองค์และครอบครัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับทั้งที่วิลลาปีอานอเร่ (อยู่ระหว่างเมืองปิเอตราซานตาและเมืองวีอาเรจจีโอ) และปราสาทชวาร์เซา ทางตอนใต้ของออสเตรีย เจ้าหญิงซีตาทรงเจริญพระชนม์ในพระราชฐานทั้งสองแห่งนี้ ครอบครัวของเจ้าหญิงประทับในออสเตรียเป็นส่วนใหญ่และจะย้ายไปประทับที่เมืองปีอานอเร่ในช่วงฤดูหนาวและกลับมาในฤดูร้อน ในการเดินทางจะต้องใช้รถไฟขบวนพิเศษที่มีจำนวนสิบหกตู้เพื่อรองรับสมาชิกในครอบครัวและสิ่งของเครื่องใช้ของทุกพระองค์ได้ทั้งหมด

เจ้าหญิงซีตาและพระเชษฐา พระเชษฐภคินี พระอนุชาและพระขนิษฐาได้รับการอภิบาลให้ตรัสภาษาอิตาลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ พระองค์ทรงเล่าว่า "พวกเราเติบโตมาแบบนานาชาติ เสด็จพ่อคิดว่าท่านเป็นฝรั่งเศสอย่างแรกเลย พระองค์ทรงประทับอยู่กับพวกพี่ๆ ที่เมืองชอมบอร์ด พระราชฐานริมแม่น้ำลัวร์ ข้าพเจ้าเคยถามเสด็จพ่อครั้งหนึ่งว่าพวกเราจะแนะนำตัวเองอย่างไรดี ท่านตอบว่า 'พวกเราเป็นเจ้านายชาวฝรั่งเศสซึ่งปกครองดินแดนในอิตาลี' อันที่จริงแล้ว มีเพียงข้าพเจ้าและพี่น้องอีกสองคนที่เกิดในอิตาลี"

เมื่อมีพระชนมายุสิบพรรษา เจ้าหญิงซีตาทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประจำแห่งหนึ่งในเมืองซานแบร์ก แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ซึ่งเน้นการศึกษาและการสอนศาสนาที่เคร่งครัด พระองค์ต้องเสด็จกลับพระราชฐานอย่างกะทันหันในฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ. 2450 อันเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา พระอัยกาจึงส่งพระองค์และเจ้าหญิงฟรันซิสก้า พระเชษฐภคินีไปประทับในสำนักชีบนเกาะไว้ท์ ประเทศอังกฤษ จนจบการศึกษา เหล่าพระโอรสธิดาในราชวงศ์ซึ่งเป็นคาทอลิกที่เคร่งครัด ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการแก่คนยากจน ส่วนในเมืองชวาร์เซา ครอบครัวของเจ้าหญิงซีตาได้นำผ้าที่เหลือมาทำฉลองพระองค์ พระองค์และเจ้าหญิงฟรันซิสก้าทรงแจกจ่ายอาหาร เสื้อผ้าและยารักษาโรคแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากในเมืองปือานอเร่ พระเชษฐภคินีสามพระองค์ทรงเป็นแม่ชี และครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเคยคิดที่จะดำเนินรอยตาม แต่ด้วยพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรง พระองค์จึงทรงเข้ารับการรักษาแบบดั้งเดิมในสปาของทวีปยุโรปเป็นเวลาสองปี

บริเวณใกล้เคียงของปราสาทชวาร์เซาเป็นคือ วิลลาวอร์ทโฮลซ์ ที่ประทับของอาร์ชดัชเชสมาเรีย เธเรซ่าแห่งออสเตรีย พระมาตุจฉาของเจ้าหญิงซีตา พระองค์เป็นพระมารดาเลี้ยงของอาร์ชดยุกออทโทแห่งออสเตรีย ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2449 และพระอัยยิกาเลี้ยงของอาร์ชดยุกคาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสเต ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัชทายาทลำดับที่สองแห่งราชบัลลังก์ออสเตรีย-ฮังการี พระธิดาสองพระองค์ของอาร์ชดีชเชสมาเรีย เทเรซ่าแห่งออสเตรียเป็นพระญาติของเจ้าหญิงซีตา และอาร์ชดยุกคาร์ล ทั้งสองพระองค์ทรงพบกันเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และไม่ได้เจอกันอีกเป็นเวลาเกือบสิบปี เนื่องจากต่างก็ไปศึกษาเล่าเรียน ในปี พ.ศ. 2452 กองร้อยดรากูนของอาร์ชดยุกคาร์ลได้ประจำการที่เมืองบรันไดส์ บนแม่น้ำเอลเบ ซึ่งพระองค์เสด็จไปเยี่ยมพระมาตุจฉาที่เมืองฟรันเซนบาด ในช่วงนี้เองที่อาร์ชดยุกคาร์ลและเจ้าหญิงซีตาทรงสร้างความคุ้นเคยกันอีกครั้ง พระองค์ทรงอยู่ภายใต้ความกดดันเรื่องการอภิเษกสมรส (เพราะว่าอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์ พระปิตุลา ทรงอภิเษกสมรสต่างฐานันดรศักดิ์กับสามัญชนและพระโอรสธิดาหมดสิทธิสืบราชสมบัติ) และเจ้าหญิงซีตาทรงมาจากสายราชตระกูลที่เหมาะสม เจ้าหญิงทรงเล่าต่อมาในภายหลังว่า "เราสองคนดีใจมากที่พบกันอีกครั้งและกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน ความรู้สึกส่วนของข้าพเจ้าพัฒนาขึ้นเป็นลำดับตลอดเวลาสองปี พระองค์ดูเหมือนจะตัดสินใจได้เร็วมากกว่า และชัดเจนมากขึ้นเมื่อในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2453 ได้มีข่าวลือแพร่สะพัดออกไปว่าข้าพเจ้าได้หมั้นกับเจ้าชายไฆเม ดยุกแห่งมาดริด ซึงเป็นญาติสายห่างจากสเปน เมื่อทราบเรื่องนี้ อาร์ชดยุกคาร์ลได้รีบเสด็จมาจากกองร้อยที่ประจำการอยู่ที่เมืองบรันไดส์และพบแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เธเรซา พระอัยยิกา ซึงเป็นเสด็จป้าของข้าพเจ้าและทีปรึกษาเรื่องการอภิเษกสมรส พระองค์ตรัสถามว่าข่าวลือเป็นจริงหรือไม่และเมื่อทรงทราบว่าไม่เป็นจริง จึงตรัสตอบว่า 'งั้นหม่อมฉันควรจะช้าไม่ได้เสียแล้ว มิเช่นนั้นซีตาจะหมั้นกับคนอื่นแทน'"

อาร์ชดยุกคาร์ลเสด็จไปยังวิลล่าพีอานอเร่เพื่อสู่ขอเจ้าหญิงซีตา และราชสำนักออสเตรียได้ประกาศพิธีหมั้นเมื่อในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2454 และอีกหลายปีต่อมาเจ้าหญิงซีตาทรงเล่าว่าหลังจากพิธีหมั้นแล้ว พระองค์ทรงแสดงความกังวลกับอาร์ชดยุกคาร์ลเกี่ยวกับโชคชะตาของจักรวรรดิออสเตรีย รวมทั้งความท้าท้ายของพระราชวงศ์ด้วย ทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ณ ปราสาทชวาร์เซา ประเทศออสเตรีย โดยมีจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ ขณะนั้นพระชนมพรรษา 81 พรรษา เสด็จมาเข้าร่วมพิธีด้วยความโล่งพระทัยเมื่อเห็นรัชทายาทอภิเษกสมรสกับเจ้าสาวที่เหมาะสม และยังคงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ ถึงกับสามารถกล่าวนำดื่มอวยพรในงานเลี้ยงพระกระยาหารเช้าของวันอภิเษกสมรสได้ จากนั้นไม่นานเจ้าหญิงซีตาทรงพระครรภ์พระโอรสและอาร์ชดยุกออทโท ประสูติในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 และตามมาด้วยพระโอรสธิดาอีกเจ็ดพระองค์ในอีกทศวรรษต่อมา

ในเวลานั้น อาร์ชดยุกคาร์ลมีพระชนมายุยี่สิบเศษและไม่ทรงคาดคิดว่าจะได้เป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ โดยเฉพาะขณะที่อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์ ยังมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แต่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เมื่อพระองค์และเจ้าหญิงโซฟี พระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว โดยกลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บในแคว้นบอสเนีย อาร์ชดยุกคาร์ลและอาร์ชดัชเชสซีตาทรงทราบข่าวจากโทรเลขในวันเดียวกัน พระองค์ตรัสถึงพระสวามีว่า "แม้ว่าจะเป็นวันที่อากาศแจ่มใส ข้าพเจ้าเห็นพระพักตร์ของพระองค์ซีดขาวในแสงแดด"

การลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 อาร์ชดยุกคาร์ลทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นนายพลแห่งกองทัพออสเตรียบัญชาการกองร้อยที่ 20 เตรียมพร้อมรบในเมืองไทรอล สงครามสร้างความลำบากใจแก่อาร์ชดัชเชสซีตา เนื่องจากพระเชษฐาและพระอนุชาสู้รบในฝ่ายตรงข้ามกัน (เจ้าชายเฟลิกซ์ และเจ้าชายเรอเน่ ทรงเข้าร่วมกองทัพออสเตรีย ในขณะที่เจ้าชายซิกซ์ตัส และเจ้าชายเซเวียร์ ประทับอยู่ในประเทศฝรั่งเศสและเข้าร่วมกองทัพเบลเยียม) นอกจากนี้ ประเทศอิตาลีซึ่งเป็นบ้านเกิดของอาร์ชดัชเชสซีตา ได้เข้าร่วมสงครามต่อต้านออสเตรียในปี พ.ศ. 2458 และเป็นเหตุให้ข่าวลือของอาร์ชดัชเชสซีตา"ที่เป็นอิตาลี" เริ่มเป็นที่ซุบซิบกัน แม้แต่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เค้านท์ออทโท ฟอน เวเดิล ทูตเยอรมันประจำกรุงเวียนนา เขียนจดหมายไปยังราชสำนักในกรุงเบอร์ลินว่า "จักรพรรดินีทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์อิตาลี... ประชาชนไม่เชื่อชาวอิตาลีและเหล่าญาติของพระนางสักเท่าใดนัก"

ตามพระราชโองการของจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ อาร์ชดัชเชสซีตาและพระโอรสธิดาเสด็จออกจากพระราชฐานในเมืองเฮ็ทเซ็นดอร์ฟไปประทับในพระราชวังเชินบรุนน์ พระองค์ปฏิบัติพระราชภารกิจอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการร่วมกับจักรพรรดิเป็นเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งพระองค์ตรัสเล่าถึงเรื่องความกลัวต่อเหตุการณ์ในอนาคตแก่อาร์ชดัชเชสซีตา จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ เสด็จสวรรคตด้วยโรคหลอดพระวาโยอักเสบและพระปัปผาสะบวมเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ขณะมีพระชนมพรรษา 86 พรรษา อาร์ชดัชเชสซีตาทรงเล่าในภายหลังว่า "ข้าพเจ้าจำรูปร่างพ่วงพีของเจ้าชายล็อบโควิตซ์ก้าวเข้ามาหาสวามีของข้าพเจ้า และด้วยน้ำตาที่เอ่อเต็มสองตา ได้ทำสัญลักษณ์รูปไม้กางเขนบนหน้าผากของคาร์ล แล้วพูดว่า 'ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดประทานพรแก่ฝ่าพระบาท' นับเป็นครั้งแรกที่ได้ยินการใช้พระอิสริยยศกษัตริย์กับเราทั้งสอง"

จักรพรรดิคาร์ลและจักรพรรดินีซีตาทรงทำพีระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ต่อจากนั้นมีพิธีพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารฉลองการครองราชสมบัติ แต่ไม่นานงานสังสรรค์ได้สิ้นสุดลง ด้วยสองพระองค์ทรงตระหนักว่าไม่ควรจัดงานเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริกในช่วงสงครามอันเลวร้าย เมื่อเริ่มต้นรัชกาลแล้ว จักรพรรดิคาร์ลไม่ได้เสด็จออกนอกกกรุงเวียนนาบ่อยนัก จึงได้มีรับสั่งให้ติดตั้งสายโทรศัพท์จากเมืองบาเดิน (ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการทหารในพระองค์) มายังพระราชวังฮอฟบูร์ก พระองค์ทรงโทรศัพท์หาพระจักรพรรดินีซีตาหลายครั้งเมื่อใดที่ประทับห่างไกลกัน จักรพรรดินีทรงมีอิทธิพลต่อพระราชสวามีอยู่บ้างและมีโอกาสร่วมในการเข้าเฝ้าของอัครมหาเสนาบดีหรือการประชุมทางการทหารอย่างไม่โจ่งแจ้งมากนัก และพระองค์ยังทรงมีความสนพระทัยในนโยบายด้านสังคมเป็นพิเศษ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องของกิจการทหารยกให้เป็นสิทธิของจักรพรรดิคาร์ลแต่เพียงผู้เดียว ด้วยความแข็งขันและแน่วแน่ พระองค์ได้โดยเสด็จพระราชสวามีไปยังมณฑลต่างๆ และแนวรบ รวมทั้งอุทิศพระวรกายให้กับพระราชกรณียกิจการกุศลและการเสด็จเยี่ยมโรงพยาบาลของผู้ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม

ในขณะนี้ สงครามโลกได้ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่สี่ และเจ้าชายซิกซ์ตัส พระเชษฐาในจักรพรรดินีซีตา ซึ่งร่วมรบในกองทัพเบลเยียม เป็นผู้เสนอญัตติสำคัญเบื้องหลังแผนการให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีสร้างสันติภาพกับฝรั่งเศส จักรพรรดิคาร์ลทรงเริ่มติดต่อกับเจ้าชายซิกซ์ตัสผ่านทางเส้นสายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นกลาง และจักรพรรดินีซีตามีพระราชหัตถเลขาเชิญพระเชษฐามายังกรุงเวียนนา โดยมีเจ้าหญิงมาเรีย อันโตเนีย พระมารดาเป็นผู้ส่งจดหมายให้ด้วยพระองค์เอง

เจ้าชายซิกซ์ตัสเสด็จมาพร้อมด้วยเงื่อนไขที่เห็นชอบจากประเทศฝรั่งเศสเพื่อการเจรจา เช่น การคืนเมืองอัลซาสและลอร์แรนให้กับฝรั่งเศส (ซึ่งผนวกกับประเทศเยอรมนีภายหลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียเมื่อปี พ.ศ. 2413) การคืนเอกราชให้กับประเทศเบลเยียม และราชอาณาจักรเซอร์เบีย และการมอบเมืองคอนสแตนติโนเปิลให้แก่ประเทศรัสเซีย จักรพรรดิคาร์ลทรงเห็นชอบด้วยในหลักการกับประเด็นสามข้อแรกและมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าชายซิกซ์ตัสลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2460 ให้แจ้ง "ข้อความที่เป็นความลับและไม่เป็นทางการซึ่งเราจะดำเนินการทุกวิถีทางและอิทธิพลของเราเองทั้งหมด" แก่ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ในที่สุดความพยายามในการทูตระดับพระราชวงศ์ไม่ประสบผลสำเร็จ ประเทศเยอรมนีปฏิเสธการเจรจาเรื่องดินแดนอัลซาสและลอร์แรน และลังเลที่จะยุติสงครามเมื่อเห็นว่าการล่มสลายของจักรวรรดิรัสเซียรออยู่ตรงหน้า เจ้าซิกซ์ตัสทรงพยายามต่อไป โดยเข้าพบกับนายลอยด์ จอร์จ นายกรัฐมนตรีอังกฤษในกรุงลอนดอน เกี่ยวกับเรื่องความต้องการดินแดนออสเตรียของประเทศอิตาลีตามสนธิสัญญาลอนดอน แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษไม่สามารถโน้มน้าวให้นายทหารอังกฤษสร้างสันติภาพกับออสเตรียได้ จักรพรรดินีซีตาสามารถสร้างความสำเร็จด้วยพระองค์เองในช่วงเวลานี้ โดยหยุดยั้งแผนการของเยอรมันที่จะส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดยังพระราชฐานของสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียมในวันเฉลิมพระนามของทั้งสองพระองค์

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 หลังจากการลงนามสนธิสัญญาเบรสต์-ลิทอฟสก์ระหว่างเยอรมนีกับรัสเซีย เค้านท์ออทโทคาร์ แซร์นิน รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรียได้กล่าวปราศรัยโจมตีนายจอร์จ เคลม็องโซ นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสที่กำลังเข้ามาร่วมประชุมว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างสันติภาพระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลาง นายเคลม็องโซรู้สึกโมโหอย่างมากและได้นำจดหมายลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2460 ของจักรพรรดิคาร์ล ที่ค้นเจอออกมาตีพิมพ์ ในไม่ช้า พระชนม์ชีพของเจ้าชายซิกซ์ตัสดูเหมือนจะตกอยู่ในอันตรายและเกิดความกลัวกันว่าเยอรมนีอาจจะเข้ายึดครองออสเตรีย เค้านท์แซร์นินได้เร่งให้จักรพรรดิส่ง "คำมั่นสัญญา" ไปยังเหล่าพันธมิตรของออสเตรียว่า เจ้าชายซิกซ์ตัสมิได้ทรงรับพระบรมราชานุญาตให้แสดงจดหมายฉบับนั้นต่อรัฐบาลฝรั่งเศส ไม่มีการกล่าวถึงประเทศเบลเยียมเลย และนายเคลม็องได้โกหกการพูดถึงเรื่องดินแดนอัลซาส เค้านท์แซร์นินได้ติดต่อกับสถานทูตเยอรมันมาโดยตลอดระยะที่เกิดวิกฤตการณ์ครั้งนี้ และพยายามโน้มน้าวให้จักรพรรดิสละราชสมบัติเนื่องจากเรื่องที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เขาจึงได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศไป

ในชาวงเวลานี้ สงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังจะสิ้นสุดลงกับจักรพรรดิที่ทรงพร้อมรบ สหภาพคณะมนตรีเช็กได้สาบานตนในการตั้งเป็นรัฐเอกราชเชคโกสโลวัก ภายใตัจักรวรรดิฮับส์บูร์กเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2461 แต่กองทัพเยอรมันยังคงแสดงแสนยานุภาพก่อความรุนแรงในสงครามอาเมียงส์ และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 สมเด็จพระราชาธิบดีแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย ได้แยกตัวออกจากพันธมิตรในฝ่ายมหาอำนาจกลางและฟ้องร้องเพื่อสันติภาพด้วยตนเอง จักรพรรดินีซีตาประทับอยู่กับจักรพรรดิคาร์ลเมื่อทรงได้รับโทรเลขเรื่องการล่มสลายของราชอาณาจักรบัลแกเรีย พระองค์ทรงเล่าว่า "ทำให้มีความเร่งด่วนมากขึ้นในการเจรจาเพื่อสันติภาพกับมหาอำนาจตะวันตกในขณะที่ยังมีเรื่องให้เจรจากันอยู่" ในวันที่ 16 ตุลาคม จักรพรรดิทรงออก "แถลงการณ์ประชาชน" เสนอให้มีการปรับโครงสร้างจักรวรรดิบนแนวทางตามแบบสหพันธรัฐโดยแต่ละเชื้อชาติจะมีรัฐเป็นของตนเอง แต่แต่ละประเทศพยายามแยกตัวออกไปและจักรวรรดิจึงล่มสลายโดยสิ้นเชิง

เมื่อทรงปล่อยให้พระราชโอรสธิดาอยู่ทีพระราชวังเกอเดลโล ประเทศฮังการีแล้ว จักรพรรดิคาร์ลและจักรพรรดินีซีตาเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังเชินบรุนน์ ในเวลานี้รัฐมนตรีๆ ต่างได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐใหม่ "เยอรมัน-ออสเตรีย" และในวันที่ 11 พฤศจิกายน คณะรัฐมนตรีพร้อมกับโฆษกประจำองค์จักรพรรดิได้เตรียมแถลงการณ์เพื่อให้พระองค์ลงพระปรมาภิไธย เมื่อทอดพระเนตรเห็นครั้งแรก จักรพรรดินีซีตาเข้าพระทัยว่าเป็นแถลงการณ์เพื่อสละราชสมบัติและมีพระราชดำรัสอันเป็นที่เลื่องลือว่า "พระประมุขจะสละราชสมบัติไม่ได้ พระองค์อาจถูกปลดออกราชสมบัติได้... ไม่เป็นไร เพราะเป็นอำนาจบังคับ แต่จะให้สละราชสมบัติอย่างนั่นหรือ ไม่มีวัน ไม่มีวัน ไม่มีวันอย่างเด็ดขาด ข้าพเจ้าจะยอมตายข้างพวกท่านเสียดีกว่า แล้วก็ยังคงมีออทโทอยู๋อีก หากพวกท่านสังหารพวกเราทั้งหมด จะยังคงมีสมาชิกราชวงศ์ฮับส์บูร์กคนอื่นเหลืออยู่ดี" จักรพรรดิพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตีพิมพ์เอกสารเผยแพร่สู่สาธารณชน และพระองค์พร้อมทั้งครอบครัวและข้าราชบริพารในราชสำนักเสด็จออกจากตำหนักล่าสัตว์ในเมืองเอ็กคาร์ทเซา ซึ่งใกล้กับชายแดนประเทศฮังการีและสโลวาเกีย หลังจากนั้นได้มีการประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐเยอรมัน-ออสเตรียในวันต่อมา

หลังจากช่วงหลายเดือนที่ยากลำบากในเมืองเอ็กคาร์ทเซา เหล่าพระราชวงศ์ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ที่ไม่เคยคาดคิด เจ้าชายซิกซ์ตัสทรงเข้าพบกับสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร และขอให้พระองค์ทรงช่วยเหลือสมาชิกราชวงศ์ฮับส์บูร์ก สมเด็จพระเจ้าจอร์จทรงรู้สึกเห็นใจกับคำขอร้องนี้ (นับเป็นเพียงไม่กี่เดือนตั้งแต่พวกปฏิวัติสังหารสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย พระญาติสนิท) และให้สัญญาว่า "ข้าพเจ้าจะทำทุกอย่างที่จำเป็นโดยทันที"

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงส่งทหารอังกฤษหลายนายไปช่วยเหลือจักรพรรดิคาร์ลและพระราชวงศ์ นำโดยร้อยโทเอ็ดเวิร์ด ลิสเล สตรัทท์ ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2462 ได้มีคำสั่งจาก กระทรวงกลาโหมให้ "นำจักรพรรดิออกจากออสเตรียโดยด่วน" แม้มีความยุ่งยากบางประการ สตรัทท์ได้จัดรถไฟพระที่นั่งไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสามารถให้พระองค์เสด็จออกนอกประเทศอย่างสมพระเกียรติและไม่มีการสละราชสมบัติ จักรพรรดิคาร์ล จักรพรรดินีซีตา พระราชโอรสธิดาและเหล่าข้าราชบริพารเสด็จออกจากประเทศออสเตรียในวันที่ 24 มีนาคม

ที่ประทับแห่งแรกระหว่างการลี้ภัยของครอบครัวเป็นปราสาทวาร์เท็กในเมืองรอสชาช ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของราชวงศ์บูร์บง-ปาร์มา แต่องค์กรรัฐบาลของสวิส ซึ่งกังวลเกี่ยวกับนัยแอบแฝงของราชวงศ์ฮับส์บูร์กที่ประทับอยู่ใกล้กับชายแดนออสเตรีย ได้บังคับให้สมาชิกทุกพระองค์ย้ายไปประทับทางด้านฝั่งตะวันตกของประเทศแทน ในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ครอบครัวจักรพรรดิจึงได้ย้ายไปประทับที่วิลลาพรันกินส์ ใกล้กับทะเลสาบเจนีวา โดยดำรงพระชนม์ชีพอย่างเงียบสงบ ชีวิตอันสงบมีอันต้องสิ้นสุดลงโดยทันทีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2463 เมื่อนายมิคลอส ฮอร์ธี ได้รับเลือกให้เป็นผู้สำเร็จราชการ หลังจากช่วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพในประเทศฮังการี จักรพรรดิคาร์ลยังคงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฮังการีโดยทางปฏิบัติ (สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4) แต่ฮอร์ธีได้ส่งผู้แทนมาเข้าเฝ้าพระองค์ที่วิลลาพรันกินส์ เพื่อกราบทูลไม่ให้เสด็จไปยังฮังการีจนกว่าเหตุการณ์ต่างๆ จะสงบลงแล้ว หลังจากสนธิสัญญาทรีอานง ความทะเยอทะยานของฮอร์ธีก็เพิ่มมากขึ้น จักรพรรดิคาร์ลทรงเป็นกังวลและขอความช่วยเหลือจากร้อยโทสตรัทท์ให้พาพระองค์เสด็จไปยังฮังการี พระองค์ทรงพยายามเข้าควบคุมสถานการณ์อยู่สองครั้ง โดยครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 และอีกครั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2465 แต่ล้มเหลวหมดทุกครั้ง แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากจักรพรรดินีซีตา (พระองค์ได้โดยเสด็จจักรพรรดิคาร์ลด้วยรถไฟพระที่นั่งเป็นครั้งสุดท้ายไปยังกรุงบูดาเปสต์ด้วย)

จักรพรรดิคาร์ลและจักรพรรดินีซีตาประทับอยู่ที่ปราสาทตาต้า ซึ่งเป็นที่พำนักของเค้านท์เอสเตอร์ฮาซี จนกว่าจะสามารถหาที่ลี้ภัยถาวรที่เหมาะสมได้ มีการแนะนำให้ประทับลี้ภัยที่เกาะมอลตาแต่ได้รับการปฏิเสธจากลอร์ด เคอร์ซัน รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ และดินแดนฝรั่งเศสก็ได้ถูกห้ามเนื่องจากความเป็นไปได้ในการสมคบคิดวางแผนร้ายของพระเชษฐาและพระอนุชาในจักรพรรดินีซีตาในนามจักรพรรดิ ในที่สุดสถานที่ลี้ภัยถาวรจึงเป็นเกาะมาเดราของโปรตุเกส ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2464 ทั้งสองพระองค์เสด็จโดยรถไฟพระที่นั่งจากเมืองทิฮานีไปที่เมืองบอยอ ซึ่งมีเรือตรวจการณ์ HMS Glow-worm รอรับเสด็จอยู่ และได้เสด็จมาถึงเมืองฟุงฌาล ประเทศโปรตุเกส ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ส่วนพระราชโอรสธิดายังคงประทับที่ปราสาทวาร์เท็กในประเทศสวิตเซอร์แลนด์กับอาร์ชดัชเชสมาเรีย เธเรซา พระอัยยิกาในจักรพรรดิคาร์ล แต่จักรพรรดินีซีตาได้เสด็จไปพบกับพระโอรสธิดาทุกพระองค์ในเมืองซูริค เมื่ออาร์ชดยุกโรเบิร์ต พระโอรสทรงเข้ารับการผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบ พระโอรสธิดาทุกพระองค์เสด็จไปประทับร่วมกับพระราชชนกและพระราชชนนีที่เกาะมาเดราในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465

จักรพรรดิคาร์ลมีพระพลานามัยไม่ดีมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากเสด็จไปซื้อของเล่นให้กับอาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิก พระโอรสในวันที่อากาศเย็นจัดในเมืองฟุงฌาล พระองค์ประชวรด้วยโรคหลอดพระวาโยอักเสบ และลุกลามกลายเป็นโรคพระปัปผาสะบวมอย่างรวดเร็ว ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการรักษาด้วยการแพทย์สมัยใหม่ได้ พระโอรสธิดาและข้าราชบริพารหลายคนล้มป่วยด้วยเช่นกัน และจักรพรรดินีซีตา (ซึ่งในขณะนั้นมีพระครรภ์แปดเดือน) ทรงรักษาพยาบาลทุกพระองค์ จักรพรรดิมีพระอาการแย่ลงเป็นลำดับและเสด็จสวรรคคเมื่อวันที่ 1 เมษายน โดยมีพระราชดำรัสสุดท้ายกับจักรพรรดินีว่า "เรารักเจ้ามากเหลือเกิน" หลังจากงานพระศพเสร็จสิ้น ผู้ร่วมงานคนหนึ่งได้กล่าวถึงจักรพรรดินีซีตาว่า "สตรีผู้นี้ควรเป็นที่ชื่นชมจริงๆ พระองค์ไม่สูญเสียความสุขุมเยือกเย็นแม้แต่สักวินาทีเดียวเลย พระองค์ทรงทักทายผู้คนรอบด้านและพูดคุยกับคนทีมาช่วยเหลืองานพระศพด้วย ทุกคนประทับใจเสน่ห์ของพระองค์กันทุกคน" จักรพรรดินีซีตาทรงฉลองพระองค์สีดำไว้ทุกข์ให้กับพระราชสวามีตลอดระยะ 67 ปีของการเป็นม่าย

หลังจากการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิคาร์ล อดีตราชวงศ์ออสเตรียจะต้องย้ายอีกครั้งในไม่ช้า สมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟองโซที่ 13 แห่งสเปนได้พยายามติดต่อกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษผ่านทางเอกอัครราชทูตสเปนในกรุงลอนดอน ซึ่งอนุญาตให้จักรพรรดินีซีตาและพระโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ (จะเป็นแปดในอีกไม่นาน) ประทับในประเทศสเปนได้ สมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟองโซทรงส่งเรือบรบหลวง Infanta Isabel ไปยังเมืองฟุงเฌาเพื่อรับทุกพระองค์มายังเมืองคาดิซ เมื่อมาถึงแล้วได้เสด็จไปยังพระราชวังปาร์โดในกรุงมาดริด ซึ่งอีกต่อมาไม่นานจักรพรรดินีซีตาได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์สุดท้ายคือ อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธ สมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟองโซที่ 13 พระราชทานพระราชวังอูรีบารเร็นในเมืองเลกิติโอบนอ่าวบิสเคย์ให้เป็นที่ลี้ภัยแก่พระญาติในราชวงศ์ฮับส์บูร์ก สรังความซาบซึ้งแก่จักรพรรดินีซีตาซึ่งไม่ประสงค์จะเป็นภาระอันหนักอึ้งแก่ประเทศที่ให้ที่หลบภัยแก่พระองค์ จักรพรรดินีประทับอยู่ในเมืองเลกิติโออีกเป็นระยะเวลาหกปี และได้เริ่มต้นการเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่พระโอรสธิดาอย่างเต็มที่ ทุกพระองค์ดำรงพระชนม์ชีพด้วยการเงินที่จำกัด โดยมีรายได้หลักจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ในออสเตรีย ไร้องุ่นในเมืองโยฮันนิสแบร์ก และเงินที่เรี่ยไรได้ด้วยความสมัครใจ แต่ส่วนสมาชิกในราชวงศ์ฮับส์บูร์กที่ลี้ภัยพระองค์อื่นๆ อ้างสิทธิในเงินจำนวนมาก และมีการยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือจากอดีตข้าราชการในราชสำนักด้วย

ในปี พ.ศ. 2472 พระโอรสธิดาหลายพระองค์เจริญพระชนมายุใกล้จะเข้ามหาวิทยาลัยและครอบครัวได้พยายามจะย้ายไปประทับที่อื่นซึงมีบรรยากาศทางการศึกษาที่น่าอภิรมย์มากกว่าสเปน ในเดือนกันยายนปีนั้น ทุกพระองค์ทรงย้ายไปประทับที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองสตีน็อคเคอร์ซีล ใกล้กับกรุงบรัสเซลส์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสมาชิกหลายพระองค์ในราชวงศ์ จักรพรรดินีซีตายังคงดำเนินการล็อบบี้ทางการเมืองในนามราชวงศ์ฮับส์บูร์ก แม้แต่หยั่งเชิงสายสัมพันธ์กับมุสโสลินีในประเทศอิตาลี นอกจากนี้ยังมีหนทางในการฟื้นฟูราชวงศ์ฮับส์บูร์กภายใต้นายกรัฐมนตรีออสเตรียสองคนคือ เอ็งเกลแบร์ต ดอลฟุส และเคิร์ท ชุสชนิก และด้วยการเสด็จเยือนออสเตรียหลายครั้งของมกุฎราชกุมารออทโทอีกด้วย การเริ่มต้นทั้งหมดมีอันต้องสิ้นสุดลงทันทีด้วยการผนวกออสเตรียเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีในปี พ.ศ. 2481 ในฐานะผู้ลี้ภัย ราชวงศ์ฮับส์บูร์กเป็นผู้นำการต่อต้านทหารนาซีในออสเตรีย แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างผู้นิยมระบอบกษัตริย์และระบอบสังคมนิยม

หลังจากนาซีเยอรมนีบุกเข้ายึดประเทศเบลเยียมในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 จักรพรรดินีซีตาและครอบครัวทรงกลายเป็นผู้ลี้ภัยสงคราม ทุกพระองค์ทรงรอดจากการถูกสังหารอย่างฉิวเฉียดจากการโดนระเบิดที่ปราสาทอย่างจังโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันและเสด็จหนีไปยังปราสาทที่ประทับของเจ้าชายซาเวียร์ในเมืองบอสซ์ เมือรัฐบาลที่คบคิดกับฝ่ายศัตรูของนายฟิลิปป์ เปแตงขึ้นมามีอำนาจ สมาชิกราชวงศ์ฮับส์บูร์กต้องเสด็จไปยังชายแดนเมื่อวันที 18 พฤษภาคม จากนั้นเสด็จต่อไปยังโปรตุเกสซึ่งรัฐบาลสหรัฐได้ออกหนังสือตรวจลงตราให้ออกนอกประเทศในวันที่ 9 กรกฎาคม หลังจากการเดินทางที่เสี่ยงภัย ทุกพระองค์เสด็จถึงนครนิวยอร์กในวันที่ 27 กรกฎาคม และประทับอยู่ในลองไอส์แลนด์ และเมืองนูอาร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ในช่วงหนึ่งจักรพรรดินีซีตาและพระโอรสธิดาหลายพระองค์ประทับในฐานะอาคันตุกะระยะยาวที่เมืองซัฟเฟิร์น รัฐนิวยอร์ก

หลังจากการฉลองวันประสูติครบรอบ 90 พรรษา พระองค์ทรงเป็นที่รักของพระราชวงศ์ทั่วไป แต่สุขภาพที่แข็งแรงของพระองค์เริ่มไม่สู้ดีแล้ว ซึ่งขณะนั้น พระราชวงศ์จัดงานฉลองวันประสูติครบรอบ 95 พรรษาที่เมืองซีเซอร์ ประเทศออสเตรีย คณะแพทย์ได้แจ้งว่า จักรพรรดินีทรงเริ่มเป็นโรคปอดบวม โดยเป็นเชื้อโรคสะสมในร่างกายของพระองค์ตั้งแต่ลี้ภัยอยู่ในเกาะมาไดร่าแล้ว ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ พระราชวงศ์ทั้งหมดได้เสด็จเข้ามาเฝ้าพระอาการเรื่อยมา จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ จักรพรรดินีซีตาทรงสิ้นพระชนม์ ณ วันที่14 มีนาคม พ.ศ. 2532 สิริอายุได้ 97 พรรษา ถือว่าเป็นพระราชวงศ์ที่พระชนม์ชีพยืนยาวที่สุด...

งานพระศพถูกจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติในกรุงเวียนนา ในวันที่ 1 เมษายน โดยรัฐบาลได้เข้ามาช่วยในการจัดพระราชพิธีศพด้วย โดยมีพระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการี และ พระราชวงศ์บูร์บง-ปาร์มา เข้ามาร่วมในพระราชพิธีพระศพด้วย พระราชพิธีได้รับความสนใจเป็นอย่างมากของสื่อ โดยเฉพาะการเมือง เพราะอาจเป็นแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศก็เป็นได้ พระศพถูกฝังที่วิหารฮับส์บูร์ก อิมพีเรียล คริปต์ในกรุงเวียนนา ซึ่งเป็นสถานที่ฝังพระศพพระราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน

จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย และเจ้าหญิงซีตาแห่งบูร์บง-ปาร์มา มีพระราชโอรสและธิดารวมทั้งสิ้น 8 พระองค์ ดังนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301