พระยศเจ้านาย ในราชสกุลมี 2 ประเภทคือ สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้าชั้นใดในเบื้องต้น เจ้านายที่เกิดในสกุลยศชั้นใด ก็อยู่ในชั้นยศชั้นนั้น เป็นยศที่ได้โดยเกิด และ "อิสริยยศ" คือยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ทางราชการในภายหลัง
สกุลยศของเจ้านายนั้น บรรดาผู้ที่เกิดในราชตระกูลจะเป็นราชบุตร ราชธิดา หรือราชนัดดาก็ตาม จะเรียกว่า เจ้า สกุลยศนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
หมายเหตุ เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม(พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไหม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์
สกุลยศลำดับที่ 4 และ 5 เป็นเพียงราชนิกุล และเป็นสามัญชน จะไม่นับเป็นเจ้าและเป็นสกุลยศที่ถือกำเนิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ตามลำดับ
อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายให้มีศักดิ์สูงขึ้น อิสริยยศชั้นสูงสุด คือ พระราชกุมารที่จะรับราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์สืบต่อไป โดยในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตั้งในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2001 บัญญัติไว้ว่า พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระอัครมเหสี (มียศ) เป็นสมเด็จหน่อพุทธเจ้า พระราชกุมารอันเกิดแต่พระแม่หยั่วเมืองเป็นพระมหาอุปราชและอิสริยยศยังรวมถึง พระยศที่ได้มาหลังจากประสูติด้วย ในราชวงศ์จักรี มีการสถาปนาเจ้านาย ชั้นหม่อมเจ้า เป็นพระองค์เจ้า ,หรือ พระมเหสีเทวี อาทิ หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สกุลยศ หม่อมเจ้า อิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า หรือ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิตติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และ พระบรมราชินีนาถ ตามลำดับ สกุลยศ หม่อมราชวงศ์ อิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมราชินีนาถ
อิสริยยศสำหรับราชตระกูลรองแต่พระมหาอุปราชลงมา พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาให้มีพระนามขึ้นต้นด้วยคำว่า "พระ" ซึ่งสันนิษฐานว่าจะนำแบบของขอมมาอนุโลมใช้เป็นราชประเพณีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เช่น พระราเมศวร พระนเรศวร พระมหินทร์ พระเอกาทศรถ พระอาทิตยวงศ์ พระศรีศีลป์ เป็นต้น
ประเพณีเรียกพระนามเจ้านายเป็นกรมต่างๆ อย่างในทุกวันนี้ ปรากฏขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่ทรงสถาปนาพระน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ เป็นเจ้ากรมหลวงโยธาทิพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี เป็นเจ้ากรมหลวงโยธาเทพ นับเป็นครั้งแรกที่เรียกการพระนามอิสริยยศเจ้านายตามกรมใช้เป็นแบบแผนนับแต่นั้นมา สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงการสถาปนาอิสริยยศเจ้านายขึ้นเป็น "พระ" ตามประเพณีเดิมนั้น เนื่องจากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นอริกับเจ้าฟ้าชายหลายพระองค์ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมเด็จพระเจ้าประสาททอง จึงมิได้ทรงยกย่องเจ้าฟ้าผู้ใดให้มียศสูงขึ้นตลอดรัชกาล จากจดหมายเหตุของมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส กล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยกย่องพระราชธิดาให้มีข้าคนบริวารและมีเมืองส่วยขึ้นเท่ากับพระอัครมเหสี ดังนั้น การสถาปนาเจ้าหญิงทั้งสองพระองค์นี้ ในแต่เดิม ไม่ได้เป็นการสถาปนาพระอิสริยยศ แต่เป็นการรวบรวมกำลังคนในระบบไพร่ ตั้งกรมใหม่ขึ้นสองกรม คือ กรมที่มีหลวงโยธาทิพ และหลวงโยธาเทพ เป็นเจ้ากรม และโปรดให้ไปขึ้นกับ เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์นั้น และคนไทยโบราณ ไม่นิยมเรียกชื่อ เจ้านาย ตรงๆ จึงเรียกเป็น กรมหลวงโยธาทิพ หรือ กรมหลวงโยธาเทพเป็นต้น การทรงกรม จึงเทียบได้กับ การกินเมือง (การกินเมือง คือ การมีเมืองส่วยขึ้นในพระองค์เจ้านาย ประชาชนในอาณาเขตของเมืองนั้นๆ ต้องส่งส่วยแก่เจ้านาย) ในสมัยโบราณ คือแทนที่จะส่งเจ้านายไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ก็ทรงให้อยู่ในพระนคร และให้มีกรมขึ้นเพื่อเป็นรายได้ ของเจ้านายนั้นๆ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีการเลื่อนชั้น อิสริยยศเจ้านาย จากที่ได้รับแต่เดิมแต่ประการใด (ยกเว้นการเลื่อนกรมพระราชมารดา หรือผู้ที่ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชขึ้นเป็น กรมพระ) ประเพณี การเลื่อนอิสริยยศเจ้านายเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชการที่ 2 ให้เรียก กรมของสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "กรมสมเด็จพระ" ต่อมาในรัชกาลที่ 3 โปรดให้ พระองค์เจ้าทรงกรมชั้นผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นไปได้เป็น "กรมสมเด็จพระ" สูงกว่า "กรมพระ" เดิม และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้แก้ไข "กรมสมเด็จพระ" เป็น "กรมพระยา" ดังนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทธิ์ อิสริยยศเจ้านายจึงมี 5 ชั้นคือ
เจ้าทรงกรม จะมีขุนนางเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี โดยบรรดาศักดิ์ของเจ้ากรม คือบรรดาศักดิ์สูงสุดของอิสริยยศนั้น เช่น กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ มี เจ้ากรม บรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงค์ราชานุภาพ ศักดินา 1,000 ไร่ ปลัดกรม คือ พระปราบบรพล ศักดินา 800 ไร่ สมุห์บัญชี คือ หลวงสกลคณารักษ์ ศักดินา 500 ไร่
ประเพณีการเฉลิมพระยศ เจ้านายแต่โบราณ ถือเอาการสองอย่างเป็นหลัก คือ การอภิเษกอย่างหนึ่ง และ การจารึกพระสุพรรณบัฎอย่างหนึ่ง
การอภิเษก คือ ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง(คือพระเจ้าแผ่นดิน) รดน้ำให้บนศีรษะ คือ สัญลักษณ์ของการมอบหมายทั้งยศและหน้าที่
พระสุพรรณบัฎ คือ แผ่นทองจารึกพระนามของเจ้านายพระองค์นั้น และจะพระราชทานจากพระหัตถ์ ให้แก่เจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศ
การเฉลิมพระยศเจ้านายนั้น ถือเอาการ จารึกพระสุพรรณบัฏ เป็นสำคัญ โดยจะต้องทำพิธีสำคัญดังต่อไปนี้
ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากทรงยกเลิกระบบไพร่แล้ว การ "ทรงกรม" ของเจ้านาย จึงเป็นเพียงแต่การให้พระเกียรติยศ แก่เจ้านายพระองค์นั้น แต่ไม่มีไพร่สังกัดกรมแต่อย่างใด ส่วนพระนามของเจ้านายที่ทรงกรมได้แบบธรรมเนียมมาจากยุโรป โดยทรงตั้งพระนามเจ้านายที่ทรงกรมตามชื่อเมืองต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ เป็นต้น
เจ้านายที่ทรงกรมพระองค์ล่าสุด คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ในการบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 6 รอบ (72 พรรษา) แต่ไม่มีประเพณี เจ้ากรม ปลัดกรม ตามโบราณ เนื่องจากไทยได้ยกเลิกระบบไพร่ซึ่งสังกัดกรมเจ้านายไปแล้วรัชกาลที่ 5 และเลิกบรรดาศักดิ์ของขุนนางไปแล้วในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม