มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา (1 มกราคม พ.ศ. 2419 - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486) นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) ผู้วางรากฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ผู้ร่วมดำริให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก ผู้นำกีฬาฟุตบอลมาเผยแพร่ในประเทศไทย นักประพันธ์ (ใช้นามปากกา "ครูเทพ") ผู้ประพันธ์เพลงกราวกีฬา รวมทั้งเพลงชาติฉบับก่อนปัจจุบัน จากคำให้การของ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ณ ท่าพระจันทร์
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เกิดที่บ้านหลังศาลเจ้าหัวเม็ด ตำบลสะพานหัน จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2419 ตรงกับวันจันทร์ เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีชวดเป็นบุตรคนที่ 18 จากบุตร-ธิดา 32 คนของพระยาไชยสุรินทร์ (หม่อมหลวงเจียม เทพหัสดิน) และคุณหญิงอยู่ พระยาไชยบุรินทร์เป็นบุตรพระยาราชภักดี (หม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน) บุตรหม่อมเจ้าฉิมในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์
เมื่ออายุได้ 8 ขวบ ท่านบิดาก็ถึงแก่อนิจกรรม ชีวิตของท่านจึงผกผันจากการเป็นครอบครัวคนชั้นสูง จากการเป็นบุตรขุนนางชั้นผู้ใหญ่ (พระยาไชยสุรินทร์ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระคลังข้างที่ในต้นรัชกาลที่ 5) ต้องมาช่วยมารดาทำสวน ค้าขายและรับจ้างเย็บรังดุมตั้งแต่ยังเด็ก ความยากลำบากทำให้ท่านมีความอดทนไม่ท้อถอยและมีอุปนิสัยอ่อนโยน มัธยัสถ์ ซึ่งเป็นสิ่งเกื้อหนุนให้ท่านมีความเจริญรุ่งเรืองในการศึกษาและการทำงาน
เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข พระตำหนักสวนกุหลาบ และโรงเรียนสุนันทาลัย แล้วเข้าศึกษาต่อ ณ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ระหว่างปี พ.ศ. 2435 - 2437 ได้รับประกาศนียบัตรครู และสอบไล่ได้เป็นที่ 1 ของผู้สำเร็จวิชาครูชุดแรกและทำหน้าที่สอนประมาณ 2 ปี
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ประกอบกิจการทางการศึกษาอันเป็นคุณูปการไว้แก่ประเทศไว้มากมาย โดยเฉพาะในการวางรากฐานอย่างสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่การเป็นครู ผู้ตรวจการศึกษา เป็นเจ้ากรมราชบัณฑิต เจ้ากรมตรวจ ปลัดทูลฉลองจนถึงเสนาบดี โดยเริ่มนำเอาความรู้แผนใหม่เข้ามาในวงการครู เริ่มพัฒนาด้านพุทธิศึกษาอย่างจริงจัง เขียนตำรา เริ่มตั้งแต่ด้านสุขาภิบาลและสุขศึกษาสำหรับครอบครัว รวมทั้งเน้นด้านปลูกฝังธรรมจรรยาอย่างแท้จริง อบรมสั่งสอนให้คนมีคุณธรรมและจรรยามรรยาท จัดทำแบบสอน-อ่าน-เขียนด้านธรรมจริยาขึ้นใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศ นำพลศึกษาและการกีฬาเข้ามาในโรงเรียนเพื่อสร้างลักษณะนิสัยให้เยาวชนรู้จักรู้แพ้ รู้ชนะ รู้จักอภัยซึ่งกันและกัน
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้จัดให้มีการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วถึงกันโดยท่านเชื่อว่า เมื่อให้มวลชนได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางแล้ว บุคคลที่มีความสามารถก็จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นเอง ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วประเทศรวมทั้งโรงเรียนประชาบาลเพื่อรองรับการจัดการศึกษาภาคบังคับ มีการเริ่มงานด้านหัตถศึกษา คือ นำเอาวิชาอาชีพต่างๆ เข้ามาสอนในโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทั้งด้านวิชาความรู้เพื่อไปรับราชการ และทางด้านวิชาชีพสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปประกอบอาชีพทั่วไป ผลงานของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี อาจสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
นอกจากปราชญ์ด้านการศึกษาแล้ว เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้รับการยกย่องเป็นนักประพันธ์คนสำคัญท่านหนึ่งของประเทศไทย ท่านได้แต่งตำราและหนังสือเป็นจำนวนมากซึ่งมีทั้งความเรียงร้อยแก้ว และบทร้อยกรอง ซึ่งอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
ได้เป็นผู้ประพันธ์ “เพลงกราวกีฬา” ในนาม “ครูเทพ” เพื่อจูงใจให้นักกีฬารู้จักการแพ้ชนะและรู้จักการให้อภัย ทั้งนี้สืบเนื่องจากการการรณรงค์ให้มีการออกกำลังกายและการแข่งขันกีฬาในโรงเรียนทั่วประเทศ รวมทั้งการริเริ่มให้มีการแข่งขันฟุตบอลซึ่งเป็นกีฬาที่รุนแรง ซึ่งในเวลาต่อมาที่มักเกิดการวิวาทกันอยู่เนืองๆ เพลง กราวกีฬา มีเนื้อร้องดังนี้
(สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล
(สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล
(สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล
(สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล
(สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล ”
“...จันทร์กระจ่างฟ้า นภาประดับด้วยดาว โลกสวยราวเนรมิตประมวลเมืองแมน ลมโชยกลิ่นมาลากระจายดินแดน เรียมนี้แสนคะนึงถึงน้องนวลจันทร์
.....งามใดหนอ จะพอทัดเทียบเปรียบน้อง เจ้างามต้องตาพี่ ไม่มีใครเหมือน ถ้าหากน้องอยู่ด้วยและช่วยชมเดือน โลกจะเหมือนเมืองแมนแม่นแล้วนวลเอย....”
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีมีพี่น้องร่วมมารดาที่ได้ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายท่านและหลายด้าน มีที่ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษาสองท่านคือมหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และพระยาวิทยาปรีชามาตย์ (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รวมทั้งผู้มีศักดิ์เป็นหลานแต่อ่อนอายุกว่าเพียงปีเดียวที่ทำคุณประโยชน์ด้านการทหารคือพลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1
ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงถวิล ธิดาของมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) กับคุณหญิงพึ่ง และมีภริยาอีก 4 คน มีบุตร-ธิดารวม 20 คน ได้อบรมสั่งสอนให้บุตร-ธิดาทุกคนให้มีความอดทนและมัธยัสถ์ สนับสนุนให้ทุกคนเรียนถึงชั้นสูงสุดเท่าที่มีความสามารถ และด้วยการมีส่วนผลักดันการศึกษาด้านการช่างและได้สนับสนุนให้มีการเปิดสอนวิชาสถาปัตยกรรมขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านจึงแนะนำให้บุตรี 2 คน สอบเข้าเรียนเป็นนิสิตรุ่นแรกในคณะนี้เป็นรุ่นแรกเพื่อแสดงให้เห็นว่าสตรีก็สามารถเป็นช่างได้ ซึ่งบุตรีทั้งสองท่านคือคุณปรียา ฉิมโฉมและคุณธารี เทพหัสดิน ณ อยุธยา ก็ได้เป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกและได้เป็นกำลังสำคัญของกรมโยธาเทศบาลในสมัยนั้น โดยเฉพาะคุณปรียาได้เป็นผู้บุกเบิกด้านการผังเมืองและได้เป็นผู้อำนวยการ (อธิบดี) สำนักผังเมืองคนแรกในสมัยนั้น
หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ถวายบังคมลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2469 มาอยู่ที่บ้านพักตำบลนางเลิ้ง หลานหลวง ถนนนครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร และช่วยบุตรีคือคุณไฉไลเปิดโรงเรียนสตรีจุลนาค และได้ช่วยสอนโดยวิธีใหม่ที่ท่านพยายามเผยแพร่ด้วย ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเขียนบทความ หนังสือและบทประพันธ์ต่างๆ รวมทั้งบทเพลงดังที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันบ้านพักของท่านที่ถนนนครสวรรค์ดังกล่าวซึ่งสร้างขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับพระที่นั่งอนันตสมาคม แม้จะมีขนาดเล็กและเรียบง่ายแต่ก็มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์โดยกรมศิลปากร
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ที่บ้านพักถนนนครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร สิริอายุรวม 67 ปี 1 เดือน
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี