ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เจ้านายฝ่ายเหนือ

เจ้านายฝ่ายเหนือ หมายถึง เจ้านายผู้สืบเชื้อสายในราชวงศ์ที่เคยปกครองอาณาจักรหัวเมืองเหนือ ซึ่งเข้ามาเป็นประเทศราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อันได้แก่ ราชวงศ์ทิพย์จักร ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน ราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครน่าน และราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครแพร่

พระเจ้าประเทศราชและเจ้าประเทศราชล้านนามีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองดินแดนของตน แต่มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องบรรณาธิการถวายราชสำนักสยามเพื่อแสดงความจงรักภักดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามราชสำนักสยามได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในราชสำนักประเทศราชหลายครั้ง และต่อมาได้เริ่มเข้าแทรกแซงเพื่อรวมศูนย์กลางอำนาจโดยเฉพาะในห้วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อเจ้าดารารัศมีได้เข้ามาถวายตัวแล้ว ได้ทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราช ถือให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าประเทศราชพระองค์นั้นถึงพิราลัย

ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือในราชวงศ์ทิพย์จักรยังคงมีการสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น และยังมีการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี พ.ศ. 2501 ในนาม มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ

เจ้านายฝ่ายเหนือ มีการกำหนดฐานันดรศักดิ์เป็น 17 ชั้น โดยมีฐานันดรศักดิ์หลัก 5 ชั้น ที่เรียกว่า เจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ

ฐานันดรศักดิ์ 5 ชั้น ที่เรียกว่า เจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ เป็นระบบการปกครองแบบคณาธิปไตย โดยเจ้าห้าขัน เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ที่มีอำนาจและอิทธิพลสูง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การสืบตำแหน่งเจ้าห้าขันนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในวงศ์ตระกูลของเจ้านาย จะต้องเป็นเชื้อสายเจ้านายสำคัญ มีอิทธิพล มั่งคั่ง มีข้าทาสบริวารจำนวนมาก เป็นที่เคารพนับถือของราษฎร และมีราชสำนักสยามเป็นผู้รับรองการแต่งตั้ง ประกอบด้วย

นอกเหนือจากฐานันดรศักดิ์เจ้าห้าขันแล้ว ยังมีการสถาปนาฐานันดรศักดิ์อื่นขึ้นอีก 12 ฐานันดรศักดิ์ ได้แก่

ในการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศ ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้แก่เจ้านายฝ่ายเหนือ ตามที่เจ้าประเทศราชกราบบังคมทูลเสนอมา

มีบทบาทที่ชัดเจนแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

ราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นวงศ์ตระกูลในชนชั้นกษัตริย์ปกครองมาตั้งแต่ยุคของพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งปกครองนครลำปางในฐานะนครรัฐอิสระในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในชั้นพระราชนัดดาหรือเจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้อง (เจ้าเจ็ดตน) ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกองทัพสยามสู้รบกับกองทัพพม่า และช่วยขยายพระราชอาณาเขตทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน ปี พ.ศ. 2275 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราช ภายหลังการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักสยาม พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้จัดพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติเข้าขึ้นครองอาณาจักรล้านนาตามราชประเพณีในราชวงศ์มังราย ในการนี้เจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้องได้ทรงร่วมกันวางระบบการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือ โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือออกเป็น 4 ระดับ (พ.ศ. 2275 - 2442) ดังนี้

เจ้านายเชื้อพระวงศ์เจ้าเจ็ดตนได้แยกย้ายกันเข้าปกครองหัวเมืองประเทศราช ในส่วนเมืองประเทศราชและเมืองบริวารหัวเมืองขึ้นชั้น 1 และ ชั้น 2 ที่โปรดให้เจ้านายราชวงศ์เดิมปกครองหรือตั้งสามัญชนขึ้นปกครองก็มักจะส่งพระธิดาหรือเจ้านายสตรีไปเสกสมรสหรือทูลขอพระธิดาและเจ้านายสตรีฝ่ายนั้นมาผูกสัมพันธ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติเและผดุงความมั่นคงในราชอาณาจักรฝ่ายเหนือ

ในการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือในช่วงแรกตอนที่เจ้าเจ็ดพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ราชสำนักล้านนายังได้รับความเกรงพระทัยจากราชสำนักสยามอยู่มาก เนื่องจากเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระอนุชาธิราช การตั้งเจ้าฟ้า เจ้าเมือง พระราชทานยศบรรดาศักดิ์ พระยา ท้าว อำมาตย์ เป็นไปตามที่พระเจ้าประเทศราชเห็นควร ไม่มีการเข้าแทรกแซงจากราชสำนักสยามทั้งสิ้น นอกจากบางครั้งราชสำนักล้านนาเห็นควร จะทูลเสนอราชสำนักสยามเพื่อขอให้พระราชทานสัญญาบัตรในกรณีตั้งเมืองใหม่ซึ่งไม่ใช้ข้อบังคับแต่อย่างใด การปกครองล้านนาเป็นไปโดยเอกสิทธิ์ความเป็นพระเจ้าประเทศราชนั้น แต่ต่อมาด้วยความขัดแย้งภายในราชสำนักล้านนาเอง โดยเฉพาะเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครประเทศราชเอง มักขออ้างอาญาสิทธิ์จากราชสำนักสยามเข้ามาเป็นเครื่องชี้ขาด จึงเป็นเหตุหนึ่งให้ราชสำนักล้านนาอ่อนแอลง กอปรกับในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราช คิดการกบฎ ทำให้ราชสำนักสยามเริ่มหวั่นเกรงพระทัยในราชสำนักล้านนา จึงพยายามทรงลดบทบาทของราชสำนักล้านนาลง ได้ทรงให้มีการจารึกราชอาณาเขตสยามขึ้น อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเห็นถึงคุณูปการณ์ของราชวงศ์ฝ่ายเหนือตั้งแต่อดีตกาลจึงทรงโปรดเกล้าฯ ถวายพระเกียรติสูงสุดอีกครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก ทุกประเทศรอบสยามล้วนโดนคุกคาม พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ปฏิรูปการปกครองสยามขึ้นใหม่ กอปรกับความทราบถึงพระเนตรพระกรรณที่พระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษจะมาทูลขอเจ้าดารารัศมีราชธิดาในพระเจ้าเชียงใหม่ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม เพื่อแทรกแซงอาณาจักรฝ่ายเหนือของสยาม จึงทรงทูลขอเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ มารับราชการฝ่ายใน เมื่อเจ้าดารารัศมี ได้เข้ามาถวายตัวแล้ว ได้ทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราช ถือให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าประเทศราชพระองค์นั้นถึงพิราลัย กล่าวได้ว่าเจ้านายฝ่ายเหนือและกลุ่มพระประยูรญาติดำรงตนอยู่ในสถานะชนชั้นปกครองตลอดมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2442 รัฐบาลสยามได้เข้ามาแทรกแซงกิจการในนครเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาอย่างเต็มรูปแบบ โดยดำเนินนโยบายผนวกดินแดนและปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เจ้านายฝ่ายเหนือจึงดำรงสถานะเป็นเสมือนข้าราชการที่มีเงินประจำตำแหน่งเท่านั้น

สายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทิพจักราธิวงศ์กับพระบรมราชจักรีวงศ์ มีมาตั้งแต่ครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพราะได้ช่วยขยายพระราชอาณาเขต และเจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีบทบาทสำคัญยิ่งครั้งยังเป็นท่านผู้หญิง ในการช่วยหงายเมือง โดยได้ช่วยพระยาสุริยอภัยปราบพระยาสรรค์ช่วงเกิดความไม่สงบในปลายสมัยกรุงธนบุรี ขณะที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปสู้รบกับเขมรปี พ.ศ. 2324 ในการปราบพระยาสรรค์ เจ้าศรีอโนชาได้เกณฑ์ชาวลาวที่ปากเพรียว สระบุรี เข้าผสมกับกองกำลังของพระยาสุริยอภัยจากนครราชสีมา รวมประมาณ 1,000 คน ยกเข้ามาต่อสู้กับฝ่ายพระยาสรรค์ที่ธนบุรี การปะทะกันครั้งแรกฝ่ายพระยาสุริยอภัยได้เพลี่ยงพล้ำ เจ้าศรีอโนชาจึงบัญชากองทัพเรือชาวมอญเข้าช่วยตีขนาบจนฝ่ายพระยาสรรค์พ่ายแพ้ และในตำนานเจ้าเจ็ดตนเองก็กล่าวถึงบทบาทของเจ้าศรีอโนชาว่า "เจ้าครอกศรีอโนชาหงายเมืองได้ไว้แล้ว ก็ใช้ไปเชิญเอาเจ้าพระยาจักรี พระยาสุรสีห์ 2 องค์พี่น้องเข้ามาผ่านพิภพขึ้นเสวยราชย์ เจ้าพระยาจักรีเป็นพี่กษัตริย์องค์หลวง... พระยาสุรสีห์ คนน้องปรากฏว่า ล้นเกล้าล้นกระหม่อมกรมพระราชวังบวรสถานมงคลวังหน้า"

สายสัมพันธ์ระหว่างสองราชสำนักแน่นแฟ้นอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเจ้าทิพเกสร ณ เชียงใหม่ มารับราชการฝ่ายในประสูติพระราชโอรส คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี และที่สำคัญคือการทรงทูลขอพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ มารับราชการฝ่ายในต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระราชชายา ซึ่งพระราชชายาทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองราชสำนัก นอกจากนั้นยังมีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือหลายท่าน ได้สมรสกับเจ้านายเชื้อพระวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน จึงทำให้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือเข้าไปมีบทบาทในราชสำนักสยามและราชการส่วนกลาง มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ

เดิมสิทธิ์ในการถือครองแผ่นดินและทรัพย์สินในแผ่นดินทั้งหมดถืออยู่ในพระราชอำนาจของพระเจ้าประเทศราช ที่จะพระราชทานให้เจ้านายหรือราษฎรใดก้ได้ อย่างไรก็ตามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชสำนักสยามได้พยายามเข้ามามีบทบาทเพื่อควบคุมการปกครองฝ่ายเหนือ จึงได้มีการกำหนดศักดินาพระราชทานแก่เจ้านาย พระยา ท้าวแสน หัวเมืองประเทศราชขึ้น ดังนี้

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการตราบัญญัติใช้นามสกุลขึ้น ได้ทรงพระราชทานนามสกุลให้ผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครลำพูน เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเจ้าผู้ครองนครน่าน ให้ใช้นามสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตราบัญญัติให้ใช้นามสกุลมีขึ้นภายหลัง 180 ปี จึงทำให้ปรากฏเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือโดยเฉพาะเชื้อสายเจ้านายที่ไปปกครองเมืองบริวารใช้นามสกุลนอกเหนือจากพระราชทานอีกหลายนามสกุล

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทตามสถานการณ์บ้านเมือง หลายท่านได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยเกื้อกูลเครือญาติ อาทิ เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (โอรสในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน) พันเอก นายวรการบัญชา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตรักษาการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ช่วงกบฎแมนฮัตตัน (บุตรในเจ้ากาบแก้ว ณ ลำพูน) และ จอมพลประภาส จารุเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (บุตรในเจ้าบัวตอง ณ ลำปาง) เป็นต้น ในส่วนเมืองเชียงใหม่เชื้อสายหลายท่านได้เข้าสู่การเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการเมืองท้องถิ่น ส่งผลให้ตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นตระกูลที่มีบทบาททางการเมืองของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อาทิเช่น เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตแกนนำพรรคความหวังใหม่ และร้อยเอกหญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ทั้งนี้รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (หลานในเจ้าจันทร์ทิพย์ ณ เชียงใหม่) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเมืองไทย ในส่วนเมืองน่านมีเชื้อสายที่เข้าสู่การเมือง คือ นายคำรณ ณ ลำพูน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ สมรสกับ เจ้าสุกัญญา ณ น่าน (ธิดาในเจ้าผู้ครองนครน่าน) ทั้งสองท่านมีบทบาทสำคัญในฐานะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้มาเข้ามีบททางสังคมและทางวัฒนธรรม ในฐานะชนชั้นนำ อาทิ การสืบสานศิลปวัฒนธรรมฝ่ายเหนือในนามของมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ และการเข้าร่วมกิจกรรมกับจังหวัดเชียงใหม่ และองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงงานรัฐพิธี ราชพิธีต่างๆ ด้วย และบทบาทในสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เป็นประธานสภาวัฒนธรรม

นอกจากบทบาททางสังคมในเมืองเชียงใหม่ ยังมีบทบาทในสังคมชั้นนำซึ่งมีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายหลายคนเข้าไปมีบทบาทในวงธุรกิจ และวงสังคมชนชั้นนำในระดับชาติ อาทิ เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี คุณหญิงหม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ คุณหญิงเจ้าระวีพันธ์ สุจริตกุล คุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน คุณหญิงเจ้าวิจันทรา บุนนาค และ คุณหญิงจิราภา สูตะบุตร

เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้รับการยกย่องจากระบบราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ตลอดจนการรับเสด็จเพื่อแสดงความจงรักภักดี โดยเฉพาะการผูกข้อพระกรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีบายศรีทูลพระขวัญ นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเจ้านายฝ่ายเหนือ โปรดให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศ รวมทั้งพระราชทานดอกไม้เยี่ยมไข้เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่คุ้มวงศ์ตวัน ของเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) และฉายพระรูปร่วมกับเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเป็นการส่วนพระองค์ ในครานั้นเองทรงรับสั่งว่า “ถึงแม้บ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรให้สามัคคีกัน ให้รวมกลุ่มกันรักษาความดีไว้ ในฐานะทายาทผู้ครองนคร” นับเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ แต่นั้นมา

มีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเข้าไปมีบทบาทหลายคนในด้านเศรษฐกิจ อาทิ เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่ อดีตรองประธานกรรมการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และ นายรพี สุจริตกุล อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ นายไชยณรงค์ ณ ลำพูน ประธานบริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด เป็นต้น ในส่วนเมืองเชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้ริเริ่มธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่หลายประเภท อาทิ ธุรกิจโรงแรมแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ ธุรกิจโรงภาพยนตร์แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ ของเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301