เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน
เป็นพระมารดาของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) หรือเจ้าพระยากำแหงสงคราม นามเดิมว่า “ทองอิน” หรือ “ทองอินทร์” ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมานี้ เป็นผลงานที่คุณณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม อดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครได้ค้นคว้ายืนยันเป็นหลักฐานไว้ในหนังสือโอรสลับพระเจ้าตาก จัดพิมพ์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดโอเดียนสโตร์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งผู้ค้นคว้ารวบรวมประวัตินี้ยืนยันว่า เจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอิน หรือ ทองอินทร์) ผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมายุคกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นต้นสกุล “อินทรกำแหง” และสกุลสาขาอื่นๆ ที่แยกออกไปอีกหลายสกุลนี้ว่า เป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นองค์ที่ ๒ ทำนองเดียวกับ เจ้าพระยานครน้อย โดยอ้างหลักฐานชิ้นสำคัญที่พอเชื่อถือและรับฟังได้จาก”จดหมายเหตุนครราชสีมา”อันเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ราชสกุลพระเจ้ากรุงธนบุรีสายราชสีมาที่เจ้าพระยานครราชสีมาแต่ละท่านตลอดจนลูกหลานได้บันทึกไว้ ดังประวัติความเป็นมาซึ่งจะขอย่อความไว้ดังนี้ เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี กู้เอกราชชาติไทยได้จากพม่า และรวบรวมหัวเมืองไทยใหญ่น้อยเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้แล้ว ฝ่ายเมืองนครราชสีมาอันเป็นหัวเมืองเอกด้านตะวันออกเฉียงเหนือนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีได้สถาปนายก ยกกระบัตรเมืองพิมายชื่อ ปิ่น ผู้มีความดีความชอบในการกู้ชาติและรวมชาติของพระองค์โดยเลื่อนยศตำแหน่งขึ้นตามลำดับจนเป็นที่ เจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้ประกอบวีรกรรมครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ คราวที่เจ้านครเวียงจันทน์ได้ส่งกำลังมารุกรานอาณาเขตไทย สมัยพระวอพระตาหนีมาสร้างเมืองอุบลราชธานี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้กรีฑาทัพไปปราบเมืองเวียงจันทน์ และมอบหน้าที่สำคัญให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) เป็นกองหน้า ซึ่งการสงครามปราบปรามเวียงจันทน์ครั้งนั้นได้รับชัยชนะ พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากนครเวียงจันทน์มาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีด้วย และในการออกสงครามนั้นเอง ท่านผู้หญิงของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมลง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระเมตตาและสงสารท่าน จึงพระราชทานเจ้าหญิงยวนหรือจวนกนิษฐาของพระชนนีสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ คือน้องสาวของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หรือเจ้าหญิงฉิม ราชธิดาพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) เรื่องราวช่างบังเอิญคล้ายครึ่งกับคราวพระราชทานเจ้าจอมปราง พระชนนีของเจ้านครน้อยให้แก่เจ้าอุปราชพัฒน์เสียจริงๆ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) เองก็ทราบว่าเจ้าหญิงยวนหรือจวนเป็นพระสนมและกำลังทรงครรภ์อยู่ด้วย แต่จะไม่รับพระราชทานก็ไม่ได้ ก็จำต้องรับไว้ในฐานะแม่เมืองเยี่ยงเดียวกับเจ้าพระยานครพัฒน์รับพระราชทานเจ้าหญิงปราง (แต่เจ้าหญิงปราง กับเจ้าหญิงยวนหรือจวน ใครจะเป็นพี่เป็นน้องยังไม่เป็นที่ชัดแจ้ง) เจ้าหญิงยวนหรือจวนเสด็จไปประทับเป็นแม่เมืองนครราชสีมา พอครบกำหนดทศมาสก็ประสูติพระราชโอรส และเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) บิดาบุญธรรมได้ให้นามว่า “ทองอินทร์” หรือ “ทองอิน” ซึ่ง ณ ที่นี้ก็ใคร่จะถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ควรเชื่อถือได้ว่าเจ้าจอมมารดายวนหรือจวนเป็นพระสนมของพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ ทรงเป็นสกุลสายใหญ่สายหนึ่งทางเมืองนครราชสีมาและแยกออกเป็นหลายสาขา เช่น ณ ราชสีมา
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน
|