ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เจ-ป็อป

เจป็อป (อังกฤษ: J-pop; Japanese Pop) หมายถึงแนวดนตรีของประเทศญี่ปุ่น ที่มีลักษณะดนตรีผสมผสานจากทางตะวันตก ซึ่งรวมถึงดนตรีในลักษณะ ป็อป ร็อก แดนซ์ ฮิปฮอป และ โซล

เจป็อป เป็นหนึ่งใน 4 แนวดนตรีที่มีการจำแนกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้แก่ เจป็อป, เอ็งกะ (ลักษณะคล้ายบัลลาด), ดนตรีคลาสสิก และ ดนตรีต่างประเทศ

เจป็อป เป็นแนวดนตรีที่มีรากฐานมาจากเพลงแจซซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นช่วงโชวะตอนต้น (สมัยราชวงศ์ของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ) แจซเป็นแนวเพลงที่นำเอาเครื่องดนตรีใหม่ ๆ หลายชิ้น ที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในการแสดงเพลงคลาสสิกและเพลงมาร์ชของทหาร มาแนะนำให้ชาวญี่ปุ่นได้รู้จัก และมาช่วยแต่งแต้มสีสัน “ความสนุก” ให้กับวงการเพลงของญี่ปุ่นให้มากขึ้น เครื่องดนตรีต่าง ๆ เหล่านั้น ได้ถูกนำไปใช้ตามคลับและบาร์ในญี่ปุ่นหลาย ๆ ที่ โดยที่ที่โด่งดังและมีชื่อในเรื่องการแสดงเพลงแจซมากที่สุดก็คือ องงากุ คิซซะ (ญี่ปุ่น: ???? Ongaku Kissa ?) (แปลว่า คาเฟ่ดนตรี)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การแสดงดนตรีแจซในญี่ปุ่นได้หยุดชะงักลงชั่วคราวเนื่องด้วยการกดดันจากฝ่ายทหารของจักรพรรดิญี่ปุ่น แต่พอสงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว แนวดนตรีจากต่างประเทศ ทั้งบูกี-วูกี แมมโบ บลูส์ และคันทรี ก็ต่างตบเท้าทยอยเข้ามาสู่ดินแดนอาทิตย์อุทัยอย่างไม่ขาดสาย โดยผู้ที่นำเข้าดนตรีเหล่านี้ก็คือทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปทำงานในญี่ปุ่นและกลุ่มเครือข่ายตะวันออกไกล

จากการไหลเข้ามาของแนวเพลงอันหลากหลายในช่วงนั้น ได้ทำให้นักดนตรีสากลชาวญี่ปุ่นหลาย ๆ คนถือกำเนิดขึ้นและสร้างผลงานที่โด่งดังออกมาหลายเพลง ตัวอย่างเช่น โตเกียว บูกี-วูกี ของชิซูโกะ คาซางิ (พ.ศ. 2491), เท็นเนซซี วอลทซ์ ของเอริ จิเอมิ (พ.ศ. 2494), โอมัตสึริ แมมโบ ของมิโซระ ฮิบาริ และ โอโมยเดะ โนะ วอลทซ์ ของอิซูมิ ยูกิมูระ เป็นต้น นอกจากนั้น กลุ่มศิลปินและศิลปินแจซชื่อดังจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น เจเอทีพี หรือ หลุยส์ อาร์มสตรอง ก็ยังเคยไปเปิดการแสดงในญี่ปุ่นช่วงนั้นด้วย

ปีที่ถือว่าเป็น "ปีแห่งการเฟื่องฟูของเพลงแจส” (Year of the Jazz Boom) ที่สุดในญี่ปุ่นคือปีพ.ศ. 2495 โดยในปีนั้น เพลงแจซเริ่มที่จะเพิ่มระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคให้สูงขึ้น ส่งผลให้การเล่นเพลงแจซในสมัยนั้นเริ่มยากขึ้นตามไปด้วย นักดนตรีชาวญี่ปุ่นหลายคนจึงต้องหันไปเล่นดนตรีสไตล์คันทรีที่สามารถเรียนรู้และนำไปแสดงได้ง่ายกว่าแทน ทำให้เพลงหลาย ๆ เพลงในช่วงนั้นมีกลิ่นไอของคันทรีเป็นพื้นฐาน

ในปีพ.ศ. 2499 กระแสคลั่งเพลงร็อก แอนด์ โรลในญี่ปุ่นได้เริ่มต้นขึ้น ผู้ที่ปลุกกระแสนี้ขึ้นมาคือกลุ่มวงดนตรีคันทรีที่ชื่อ โคซากะ คาซูยะ แอนด์ เดอะ แวกอน มาสเตอร์ส และเพลง ฮาร์ทเบรก โฮเทล ของเอลวิส เพลสลีย์ จุดสูงสุดของความนิยมร็อก-แอนด์-โรลในญี่ปุ่นอยู่ที่ปีพ.ศ. 2502 โดยในปีนั้นได้มีภาพยนตร์ญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่งได้นำเอาวงดนตรีร็อก-แอนด์-โรลหลาย ๆ วงมาร่วมแสดงด้วย ทำให้เกิดเป็นการตอกย้ำกระแสร็อก แอนด์ โรล ในญี่ปุ่นให้อยู่ยงมากขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแสความคลั่งไคล้เพลงแนวร็อก แอนด์ โรล ในอเมริกาถึงจุดสิ้นสุด กระแสเดียวกันที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นก็เป็นอันต้องยุติลงไปด้วย เนื่องจากว่าวงดนตรีของญี่ปุ่นหลาย ๆ วงนั้นได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีของอเมริกาค่อนข้างมาก ถ้าหากกระแสดนตรีของอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปในญี่ปุ่นก็จะเปลี่ยนตามทันที

ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้เอง ได้มีนักดนตรีบางคนพยายามจะนำเอาแนวเพลงป็อปดั้งเดิมของญี่ปุ่นมาผสมรวมกับร็อก-แอนด์-โรล โดยผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการกระทำเช่นนี้คนหนึ่งก็คือ คีว ซากาโมโตะ กับเพลงที่ชื่อ อูเอะ โวะ มุยเตะ อารูโก้ (เพลงนี้รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า สุกียากี้) เพลงนี้เป็นเพลงภาษาญี่ปุ่นเพลงแรกที่เข้าไปอยู่อันดับ 1 ในชาร์ตจัดอันดับเพลงยอดนิยมของสหรัฐอเมริกา (ติดอันดับหนึ่งสี่สัปดาห์ในนิตยสารแคชบ็อกซ์ กับอีกสามสัปดาห์ในนิตยสารบิลบอร์ด) และยังได้รับรางวัล โกลด์ เร็คคอร์ด จากการที่สามารถขายแผ่นเสียงได้หนึ่งล้านแผ่นอีกด้วย

ขณะเดียวกัน ก็มีนักร้องนักดนตรีญี่ปุ่นกลุ่มอื่น ๆ ที่ตัดสินใจหันมาใช้วิธีนำเอาเพลงดัง ๆ จากอเมริกามาแปลเนื้อให้เป็นภาษาญี่ปุ่นและนำมาร้องจนโด่งดัง (วิธีการดังกล่าวนี้ถือเป็นจุดกำเนิดของการโคเวอร์เพลง ซึ่งเป็นอีกลูกเล่นหนึ่งที่วงการเพลงปัจจุบันยังใช้กันอยู่) แต่พอถึงยุคที่ทุก ๆ ครัวเรือนในญี่ปุ่นเริ่มมีโทรทัศน์หรือวิทยุเป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้พวกเขาได้มีโอกาสฟังหรือชมภาพการแสดงและเพลงของต้นฉบับจากอเมริกาจริง ๆ ความนิยมที่จะบริโภคผลงานโคเวอร์เช่นนี้ก็เริ่มลดลงเรื่อย ๆ

ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ถึงกลางทศวรรษที่ 80 กระบวนการการสร้างเพลงเริ่มมีความซับซ้อนในด้านการเรียบเรียงและการใช้เครื่องดนตรีมากขึ้น คนส่วนใหญ่จะเรียกเพลงที่เกิดจากกระบวนเช่นนี้ว่า นิว มิวสิก เพลงนิว มิวสิก หลาย ๆ เพลงจะมีเนื้อหาที่สนองความต้องการของสังคมอย่างเรื่องความรักหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างนักร้องญี่ปุ่นแนวนิว มิวสิก ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ ทากูโระ โยชิดะ และ โยซูอิ อิโนอูเอะ

ในช่วงทศวรรษที่ 80 (พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2532) เพลงแนว ซิตี ป็อป ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในญี่ปุ่น เพลงแนวนี้จะเป็นเพลงที่ให้ผู้ฟังได้สัมผัสกับกลิ่นไอบรรยากาศของเมืองใหญ่ ในญี่ปุ่น กรุงโตเกียวถือเป็นเมืองหลักที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดเพลงแนวนี้ขึ้นมาหลายต่อหลายเพลง

ทั้งเพลงแนวนิว มิวสิก และเพลงแนวซิตี ป็อป ต่างก็มีความคล้ายคลึงกัน ไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน เพลงหลาย ๆ เพลงที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงนั้นก็มักจะมีทั้งความเป็นนิว มิวสิก และซิตี ป็อบ ผสมอยู่ในตัว ดังนั้น ในเวลาต่อมาจึงได้เกิดชื่อ วาเซ ป็อป (เจแปน-เมด ป็อป / เพลงป็อปที่สร้างโดยญี่ปุ่น) ขึ้น เพื่อมาใช้อธิบายเพลงแนวนิว มิวสิก และซิตี ป็อป รวมกัน

จนกระทั่งในทศวรรษที่ 90 คำว่า เจป็อป ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อนำมาใช้อธิบายลักษณะเพลงป็อปดัง ๆ หลาย ๆ เพลงในช่วงนั้นแทนคำว่าวาเซ ป็อป

ศิลปินเจป็อบที่มีชื่อในช่วงนั้น ส่วนมากจะเป็นนักร้องที่เป็นผู้หญิง ตัวอย่างเช่น แดนซ์ ควีน (โยโกะ โองิโนเมะ) หรือจิซาโตะ โมริตากะ เป็นต้น ส่วนนักร้องเจป็อปที่เป็นผู้ชายก็มีอยู่เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ฮิการุ เก็นจิ กลุ่มบอยแบนด์ติดโรลเลอร์สเก็ตที่ตอนนี้สมาชิกในกลุ่มต่างก็แยกย้ายไปมีชื่อเสียงในทางของตัวเองแล้ว และอีกคนหนึ่งก็คือ เอกิจิ ยาซาวะ ร็อกเกอร์หนุ่มที่ผันแนวมาร้องเพลงป็อป และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อเขาได้เซ็นสัญญากับบริษัทบันทึกเสียงวอรเนอร์ ไพโอเนียร์ ในปีพ.ศ. 2523 (เขาได้ย้ายไปอาศัยอยู่ ณ แถบชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา และได้สร้างอัลบั้มเพลงที่นี่ไว้ 3 อัลบั้มด้วยกัน ได้แก่ ยากาซาวะ, อิทส์ จัสท์ ร็อก เอ็น’ โรล, และ แฟลช อิน เจแปน อัลบั้มทั้งหมดได้ส่งไปจำหน่ายในหลายประเทศ แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในด้านการโฆษณานัก)

นักร้องเจป็อปที่น่าจดจำอีกคนหนึ่งก็คือ เซโกะ มัตสึดะ เธอคนนี้เป็นนักร้องหญิงชาวญี่ปุ่นที่โด่งดังอย่างมากในช่วงทศววรษที่ 80 โดยเพลงที่นำความสำเร็จมาให้เธอเพลงหนึ่งคือเพลงภาษาอังกฤษที่เธอร้องเอาไว้ในอัลบั้ม อีเทอนัล (อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายเมื่อปีพ.ศ. 2534) และความโด่งดังของเธอยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีกเมื่อหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ของอเมริกาได้ลงข่าวว่าเธอมีความสัมพันธ์กับดอนนี วอห์ลเบิร์ก (สมาชิกกลุ่มนิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก) ที่เคยมาร้องเพลง เดอะ ไรท์ คอมไบเนชัน คู่กับเธอมาก่อนหน้าที่จะมีข่าว

ผลงานเพลงของเซโกะยังเคยครองอันดับ 1 ในชาร์ตเพลงของนักร้องหญิงญี่ปุ่นติดต่อกันอย่างยาวนานที่สุด แต่สถิตนั้นก็ถูกทำลายไปโดยผลงานของอายูมิ ฮามาซากิ

หลังจากผ่านพ้นยุคของเซโกะไปแล้ว นักร้องเจป็อปหลาย ๆ คนก็ได้แจ้งเกิดขึ้นมาในวงการเพลงของญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น มิโฮะ นะกะยะมะ, นากาโมริ อากินะ, โมริตากะ จิซาโตะ และคูโดะ ชิซูกะ เป็นต้น

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ได้มีการกำเนิดขึ้นของวงร็อกที่ชื่อ จาเงะ แอนด์ อัสกะ ซึ่งถือเป็นวงร็อกระดับตำนานของญี่ปุ่นและเอเชีย และยังครองใจแฟนเพลงได้ถึงปัจจุบัน สมาชิกของวงประกอบไปด้วยนักร้องสองคนได้แก่ จาเงะ (ชูจิ ชิบาตะ) และ เรียว อัสกะ (ชิเงอากิ มิยาซากิ – ปัจจุบันนี้เขาได้กลายมาเป็นนักประพันธ์เพลงชั้นเซียนคนหนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว) พวกเขาได้ร่วมกันสร้างผลงานเพลงที่ดังแบบถล่มทลายเรื่อยมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 จนมาถึงทศวรรษที่ 90 (พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2542) นอกจากนั้นแล้ว การทัวร์คอนเสิร์ต เอเชียน ทัวร์ II / มิซชัน อิมพอสซิเบิล ของพวกเขาก็ยังเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตรายการใหญ่ที่สุดของนักร้องญี่ปุ่นเท่าที่เคยมีมาอีกด้วย (คอนเสิร์ตครั้งนั้นเปิดแสดงทั้งหมด 61 รอบใน 4 แห่งด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยทุกรอบนั้น บัตรจะขายหมดตั้งแต่วันแรกที่เปิดจำหน่ายเสมอ)

แต่ต่อมา ในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 90 กระแสความนิยมแนวเพลงก็เริ่มเปลี่ยนไปจากร็อกกลายมาเป็นป็อปแดนซ์ จึงส่งผลให้วงร็อกแบบจาเงะ แอนด์ อัสกะ เป็นอันต้องตกรุ่นไปในที่สุด

ทศวรรษที่ 90 ถือเป็นช่วงเวลาที่วงการเพลงญี่ปุ่นได้ผลิตนักร้องเจป็อปออกมาเป็นจำนวนมาก โดยในรอบสิบปีนี้ แต่ละปีจะมีศิลปินหรือกลุ่มศิลปินเจป็อปต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมามีชื่อเสียงและครองใจตลาดใหญ่เอาไว้ เริ่มตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2533 ถึงพ.ศ. 2536 ศิลปินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนั้นก็คือ ซาร์ด, Wands, Deen, บีซ และ เซาวเธอร์น ออล สตาร์ส ต่อจากนั้นในปีพ.ศ. 2537 ถึงพ.ศ. 2540 ผู้ที่ครองตลาดเจป็อปกลุ่มต่อมาก็คือศิลปินในตระกูล ทีเค TK (เท็ตซึยะ โคมุโระ), นามิเอะ อามูโระ, แม็กซ์ (เดอะ ซูเปอร์ มังกีส์) และสปีด นอกจากนั้นในช่วงปลายของยุคนี้ มอร์นิงมูซูเมะซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มนักร้องหญิงเจป็อปที่โด่งดังมากในปัจจุบันก็เพิ่งจะเริ่มก่อตั้งกลุ่มครั้งแรกในปีพ.ศ. 2540

(กลุ่มมอร์นิงมูซูเมะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในช่วงปลายของยุคนี้ และยังคงสานต่อความโด่งดังของกลุ่มเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันด้วยการค้นสมาชิกใหม่ ๆ เข้ามาหมุนเวียนในกลุ่มตลอดเกือบทุกปี และยังได้นำเอารูปแบบ “การแตกกลุ่มนักร้องย่อย” จากอนยังโกะ คลับ กลุ่มนักร้องหญิงที่โด่งดังในช่วงทศวรรษที่ 80 มาใช้ด้วย / ทั้งกลุ่มมอร์นิงมูซูเมะ และสปีดต่างก็สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เนื่องจากผลงานของพวกเธอสามารถขายได้เกินล้านก๊อปปี้ และนอกจากนั้นทั้งสองกลุ่มนี้ยังมีแนวเพลงแบบป็อป-เทคโนที่คล้ายกันอีกด้วย)

ต่อมาในปีพ.ศ. 2541 อันดับที่ 1 ของชาร์ตเพลงเจป็อป ก็เปลี่ยนมือมาเป็นของวิชวล เค และชัซนะ และในปีพ.ศ. 2542 ก็เป็นการปิดท้ายยุค 90 ด้วยความนิยมในตัวนักร้องที่เป็นผู้หญิง อย่างอูทาดะ ฮิคารุ หรืออายูมิ ฮามาซากิ

โดยเฉพาะอูทาดะ เธอคนนี้เป็นทั้งนักร้อง และนักประพันธ์เพลงสาว ที่ทรงอิทธิพลของวงการเพลงญี่ปุ่นผู้หนึ่ง เธอคือผู้ที่นำเอากระแสอาร์แอนด์บีเข้ามาสู่เจป็อปผ่านทางเพลงซิงเกิลแรกของเธอที่ชื่อ ออโตแมติก/ไทม์วิลเทลล์ นอกจากนั้นแล้วผลงานอัลบั้ม เฟิสต์เลิฟ ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกของเธอ ก็สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 9,500,000 ก๊อปปี้ ซึ่งถือเป็นสถิติของอัลบั้มเพลงที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาลของญี่ปุ่น และเป็นยอดขายที่ไม่เคยมีผลงานอัลบั้มแรกของศิลปินญี่ปุ่นคนใดเคยทำได้สูงเท่านี้มาก่อนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเพลงอาร์&บีของอูทาดะ จะถูกหูผู้จำนวนมหาศาล แต่แนวเพลงกระแสหลักที่คนส่วนใหญ่ยังนิยมกันอยู่ในขณะนั้น ก็ยังคงเป็นเพลงป็อปเช่นเดิม ทำให้เกิดศิลปินแนวป็อปคนอื่น ๆ อย่าง ไม คุรากิ และอามิ ซูซูกิ ขึ้นมาประดับวงการเรื่อยมา

ส่วนศิลปินที่ดูเหมือนจะโด่งดังและมีชื่อเสียงเกือบตลอดทั้งทศวรรษนั้นเลย ก็คือ SMAP ศิลปินกลุ่มนี้เป็นกลุ่มบอยแบนด์ที่นำเอาเพลงของตัวเองและการโชว์ พรสวรรค์ ผ่านทางโทรทัศน์มารวมเข้าไว้ด้วยกัน (ในช่วงปีหลัง ๆ ของทศวรรษนี้ ทาคุยะ คิมุระ หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม ได้กลายมาเป็นนักแสดงที่เป็นที่นิยมไป โดยจะใช้ชื่อ คิมูตากุ เป็นชื่อเรียกแทนตัวเขาในวงการการแสดง)

เมื่อเข้าสู่ คริสต์ทศวรรษ 2000 (พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2552) โดยเฉพาะช่วงกลางทศวรรษ แนวเพลงอาร์&บี และฮิพฮ็อพ ต่างก็เข้ามามีอิทธิพลต่อวงการเพลงของญี่ปุ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เนื้อหาของเพลงที่สร้างออกมาในช่วงนี้ ก็เริ่มที่จะประเดียดไปในทางล่อแหลม ลามกอนาจาร และยุยงในเรื่องที่ไม่ดีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ศิลปินหลาย ๆ คนที่เคยร้องแต่เพลงที่มีเนื้อหาพื้น ๆ ธรรมดา ต้องปรับมาร้องเพลงที่มีเนื้อหาที่กล้า และหยาบกร้านเช่นนี้กันเกือบหมด

ในขณะเดียวกัน เจป็อปบางส่วน ยังได้รับอิทธิพลจากแนวเพลงอินดี้ด้วย เช่น ผลงานของโคอิโกะ นักร้องหญิงแนวป็อป อาร์&บี จากค่ายเพลงอินดี้ในเมืองมิยาซากิ เป็นต้น

ชาร์ตอันดับเพลงเจป็อปในช่วงนี้ ก็ถูกปกคลุมไว้ด้วยรายชื่อของนักร้องชาย ทั้งเดี่ยวและกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ ส่วนนักร้องที่เป็นผู้หญิงนั้น ก็เริ่มเสื่อมความนิยมไปตั้งแต่สิ้นสุดทศวรรษที่ 90 แต่อย่างไรก็ตาม นักร้องหญิงอย่าง อายูมิ ฮามาซากิ, คุมิ โคดะ, ฮิคารุ อุทาดะ, ไอ อตสึกะ และ มิกะ นะกะชิมะ ก็ยังคงเป็นอันดับหนึ่งในชาร์ตของนักร้องหญิงอยู่ดี

ในประเทศญี่ปุ่น การที่จะกลายเป็นศิลปินแนวเจป็อปที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วมีอยู่สองหนทางด้วยกัน หนทางแรกคือ เริ่มต้นด้วยการเข้าไปสมัครคัดเลือกเป็นนักแสดงหรือนักร้องในบทบาทรองเสียก่อน อย่างเช่นร้องเพลงประกอบโฆษณา หรือเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณา เป็นต้น แล้วค่อยขยับฝีมือไปแสดงหรือร้องเพลงในงานที่ใหญ่กว่าเดิม เช่น แสดงละครโทรทัศน์หรือร้องเพลงประกอบละคร เป็นต้น ส่วนหนทางที่สองคือ เข้าไปร่วมประกวดบนเวทีที่เปิดคัดเลือกนักร้องสมัครเล่นให้เข้ามาอยู่ในวงการ วิธีนี้ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมมาแล้วหลายตัวอย่าง อย่างเช่นมอร์นิงมูซูเมะ กลุ่มนักร้องหญิงที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ สมาชิกทุกคนที่ทั้งเป็นและเคยเป็น ต่างก็ต้องผ่านการประกวดบนเวทีเช่นนี้มาแล้ว

เจป็อปเป็นแนวเพลงที่มีการบูรณาการให้เข้ากับวัฒนธรรมสมัยนิยมของญี่ปุ่นทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอะนิเมะ ร้านค้า โฆษณา ภาพยนตร์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และวิดีโอเกม

ในการ์ตูนอะนิเมะและรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่เป็นละคร เพลงประกอบไตเติ้ลทั้งเปิดและปิดของรายการเหล่านี้เกือบทุกเรื่องก็เป็นเพลงเจป็อปทั้งสิ้น โดยในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี อะนิเมะและละครแต่ละเรื่องจะมีการเปลี่ยนเพลงประกอบเหล่านี้ประมาณสี่ครั้งด้วยกัน ทำให้เพลงประกอบทั้งหมดในหนึ่งเรื่องหรือหนึ่งฤดูกาลเฉลี่ยแล้วมีประมาณ 8 เพลง และถ้าหากเปรียบเทียบเรื่องจำนวนเพลงประกอบกับของละครซีรีส์อเมริกันที่ออกฉายมาอย่างยาวนานที่สุดเรื่อง บัฟฟี เดอะ แวมไพร์ สเลเยอร์ ซึ่งมีทั้งหมดเจ็ดฤดูกาลตั้งแต่พ.ศ. 2540 ถึงพ.ศ. 2546 เพลงประกอบรายการของญี่ปุ่นแต่ละเรื่องก็ยังมีจำนวนมากกว่า โดยในเรื่องบัฟฟีฯนั้นมีเพลงประกอบทั้งหมด 30 เพลง แต่ในอะนิเมะญี่ปุ่นหนึ่งเรื่องที่ออกฉายด้วยจำนวนเวลาเดียวกัน กลับมีเพลงประกอบเต็ม ๆ ทั้งหมดถึง 56 เพลงและอย่างน้อยจะต้องมีเพลงซิงเกิลของเรื่องอีก 1 เพลงด้วย

นอกจากอะนิเมะและรายการโทรทัศน์แล้ว แม้กระทั่งรายการข่าวของญี่ปุ่นบางรายการ ก็ยังนำเอาเพลงเจป็อปมาเปิดประกอบในเครดิตช่วงท้ายเหมือนกัน

ส่วนในวงการวิดีโอเกม เพลงเจป็อปก็ยังได้เข้าไปมีส่วนเป็นเพลงประกอบด้วย อย่างในเกมขายดีของค่ายสแควร์ที่ชื่อ คิงดอม ฮาร์ทส ทั้งภาคหนึ่งและสอง ก็ได้เพลงของอูทาดะ ฮิคารุ มาใช้เป็นเพลงประกอบ และนอกจากนั้น เพลง อีซีย์ บรีซีย์ ของอูทาดะเองก็ยังนำไปใช้โปรโมทเครื่องเกมพกพาอย่างนินเท็นโด ดีเอส ด้วย

ผลงานของศิลปินเจป็อปคนหนึ่ง ๆ ส่วนมากจะมีอัลบั้มเพียงหนึ่งชุดและเพลงซิงเกิลอีกจำนวนหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นมาพวกเขาก็จะหมดชื่อเสียงและหายเข้ากลีบเมฆไป ซึ่งก็เป็นเรื่องยากอยู่เช่นกันที่ศิลปินเจป็อปจะมีชีวิตอยู่ในวงการเพลงได้มากกว่านี้ เพราะฉะนั้นถ้าหากศิลปินเจป็อปคนไหนหรือกลุ่มใดสามารถคงความนิยมและดำรงตนเองอยู่เป็นเวลาสิบปีขึ้นไปได้ ก็ถือว่าเป็นศิลปินที่ยอดเยี่ยมมาก

ตัวอย่างของศิลปินเจป็อปที่ยังคงสร้างผลงานเพลงออกมาได้เกิน 15 ปีก็ได้แก่ นกโกะ, เซโกะ มัตสึดะ, จิซาโตะ โมริตากะ,ฮายาชิบาระ เมกุมิ,โอกุโระ มากิ และยาซาวะ เอกิจิ ส่วนที่เป็นนักร้องกลุ่มก็ได้แก่ ดรีมส์ คัม ทรู, จาเงะ & อัซกะ, บีซ, เซาว์เธิน ออล สตาร์ส, เดอะ พิลโลว์ส, สพิทซ์ และทิวบ์

ในประเทศไทย เจป๊อป เริ่มเข้ามาในราวปี พ.ศ. 2545 โดยศิลปินไทยในแนวเจป๊อป นี้ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ กอล์ฟ-ไมค์, เนโกะ จัมพ์ เป็นต้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406