เคลต์ หรือ เซลต์ (อังกฤษ: Celts; เสียงอ่าน: /kelts/ หรือ /selts/) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่
เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์
หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "T?in B? C?ailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12
เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ
ที่มาของการเรียกชาวเคลต์มีมาตั้งแต่ยุคคลาสสิกเป็นประวัติที่ไม่มีหลักฐานแน่นอนและเป็นการสันนิษฐานที่ยังคงเป็นที่ขัดแย้งกันอยู่ โดยเฉพาะในการเรียกชื่อกลุ่มมีหลักฐานในการใช้คำว่า "พิกต์" (pict) หลายแห่งในการเรียกผู้ที่ตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์และบริเตนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18
ภาษาละติน "Celtus" (พหูพจน์: "Celti" หรือ "Celtae") กรีก: ?????? (พหูพจน์: ?????? หรือ ??????, พหูพจน์: ??????, "Keltai" หรือ "Keltoi") ดูเหมือนว่าจะมีรากฐานมาจากภาษาท้องถิ่นของเคลต์ แต่หลักฐานแรกที่บันทึกเกี่ยวกับชาวเคลต์ในชื่อ "??????" ("?eltoi") เขียนโดยนักประวัติศาสตร์กรีกเฮคาเชียสแห่งไมเลตัส (Hecataeus of Miletus) ราว 517 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่กล่าวถึงเมือง "Massilia" (มาร์เซย์ ปัจจุบัน) ที่อยู่ใกล้เคลต์ และกล่าวถึงเมืองเคลต์ชื่อ "Nyrex" (อาจจะเป็นเมืองนอร์เรียในออสเตรียปัจจุบัน) เฮโรโดทัสนักประวัติศาสตร์กรีกอีกผู้หนึ่งดูเหมือนจะกล่าวว่าเคลต์ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณต้นแม่น้ำดานูบและ/หรือในไอบีเรีย
คำว่า "เคลต์" ในภาษาอังกฤษเป็นคำใหม่ที่ใช้ในงานเขียนโดยเอดเวิร์ด ลุยด์ (Edward Lhuyd) ในปี ค.ศ. 1707 งานเขียนของลุยด์และผู้อื่นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก่อให้เกิดความสนใจในหมู่นักวิชาการในการศึกษาเกี่ยวกับภาษาและประวัติของผู้ตั้งถิ่นฐานในบริเตนใหญ่ในยุคแรก
ภาษาละตินคำว่า "Gallus" (กอลลัส) เดิมอาจจะมาจากชาวเคลต์หรือชื่อเผ่าพันธ์ที่นำมาใช้ราวต้น 400 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษในช่วงที่ชาวเคลต์ขยายดินแดนไปยังอิตาลี รากของคำอาจจะมาจากภาษาเคลต์ดั้งเดิม "galno" ที่แปลว่า "อำนาจ" หรือ "ความแข็งแกร่ง" ภาษากรีก "Galatai" (กาลาไต) ดูเหมือนว่ามาจากรากเดียวกันที่ขอยืมโดยตรงมาจากที่สันนิษฐานกันว่าเป็นภาษาเคลต์ที่กลายมาเป็นคำว่า "Galli" (กอลไล)
ภาษาอังกฤษคำว่า "Gaul" (กอล) มาจากภาษาฝรั่งเศส "Gaule" และ "Gaulois" ที่มาจากภาษาละติน "Gallia" และ "Gallus, -icus" ตามลำดับ แต่สระประสมสองเสียง "au" ชี้ให้เห็นว่าเป็นคำที่มาจากแหล่งอื่น ที่น่าจะเป็นการแปลงของภาษาโรมานซ์ของคำจากภาษาเยอรมันว่า "Walha-" ภาษาอังกฤษคำว่า "Welsh" เดิมมาจากคำว่า "w?lisc" จากภาษาแองโกล-แซ็กซอนของคำว่า "walhiska-" ที่เป็นคำภาษาเจอร์แมนิกที่ใช้เรียกชาวต่างประเทศ
"ความเป็นเคลต์" (Celticity) โดยทั่วไปมักจะหมายถึงการมีวัฒนธรรมที่ร่วมกันหรือใกล้เคียงกันของกลุ่มชนที่มีรากฐานมาจากความคล้ายคลึงกันทางภาษา, เครื่องใช้สอย, ระบบสังคม และปรัมปราวิทยา (Celtic mythology|mythological]] ทฤษฎีก่อนหน้านี้รวมถึงความคล้ายคลึงทางชาติพันธุ์ด้วยแต่ทฤษฎีในสมัยปัจจุบันจะเน้นแต่เฉพาะความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมและภาษาเท่านั้น อารยธรรมเคลต์มีลักษณะแตกต่างออกไปหลายอย่างแต่สิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างความแตกต่างกันเหล่านี้อยู่ที่ภาษาเคลต์
"ของเคลต์" หรือ "เคลต์" (Celtic) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายตระกูลภาษาและโดยทั่วไปหมายถึงภาษา "ของชาวเคลต์" หรือภาษา "ในรูปแบบของชาวเคลต์" และยังใช้ในการบรรยายถึงวัฒนธรรมทางโบราณคดีที่พบในวัตถุที่ขุดพบ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัตถุที่ขุดพบอยู่ที่คำจารึกบนวัตถุ
ในปัจจุบันคำว่า "เคลต์" โดยทั่วไปใช้ในการบรรยายภาษาและอารยธรรมของไอร์แลนด์, สกอตแลนด์, เวลส์, คอร์นวอลล์, เกาะแมนและบริตตานี หรือที่เรียกว่าชาติเคลต์ทั้งหก (Six Celtic Nations) ในปัจจุบันยังมีบริเวณสี่บริเวณที่ยังใช้ภาษาเคลต์เป็นภาษาแม่อยู่บ้าง: เกลิกไอริช, เกลิดสกอต, เวลส์ และเบรอตง และอีกสองบริเวณที่เพิ่งเริ่มเข้ามาคอร์นิช (หนึ่งในภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages)) และแมงซ์ (หนึ่งในภาษากลุ่มกอยเดล (Goidelic languages)) นอกจากนั้นก็ยังมีการพยายามที่จะฟื้นฟูการใช้ภาษาคัมบริก (Cumbric language) (หนึ่งในภาษากลุ่มบริทอนิกจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษและตะวันตกเฉียงใต้ของสกอตแลนด์)
"เคลต์" บางครั้งก็ใช้ในการบรรยายอาณาบริเวณในแผ่นดินใหญ่ยุโรป ที่มีรากฐานมาจากเคลต์แต่ไม่ได้ใช้ภาษาเคลต์ซึ่งได้แก่บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย (โปรตุเกส) ทางตอนกลางตอนเหนือของสเปน (กาลิเซีย, อัสตูเรียส, กันตาเบรีย, คาสตีลและเลออน, เอกซ์เตรมาดูรา) และบางส่วนของฝรั่งเศส
"เคลต์ยุโรป" (Continental Celtic) หมายถึงผู้ที่พูดภาษาเคลต์บนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ส่วน "ชาวเคลต์เกาะ" (Insular Celts) หมายถึงผู้ที่พูดภาษาเคลต์บนหมู่เกาะอังกฤษ ผู้สืบเชื้อสายเคลต์ในบริตตานีที่มาจากชาวเคลต์เกาะจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษจึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
กลุ่มภาษาเคลต์เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เมื่อผู้ใช้ภาษากลุ่มเคลต์เข้ามามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช (เมื่อเบรนนัส (Brennus) หัวหน้าเผ่าหนึ่งของกอลโจมตีโรม เมื่อ 387 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ก็ได้แยกตัวเป็นกลุ่มภาษาย่อยแล้วและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปตอนกลาง คาบสมุทรไอบีเรีย ไอร์แลนด์ และบริเตน
นักวิชาการบางท่านมีความเห็นว่าเอิร์นฟีลด์ (Urnfield culture) ของทางด้านเหนือของเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์เป็นบริเวณต้นกำเนิดของเคลต์ที่เป็นอารยธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของสาขาอารยธรรมตระกูลอินโด-ยูโรเปียน อารยธรรมนี้มีศูนย์กลางอยู่ตอนกลางของทวีปยุโรป ระหว่างปลายยุคสำริดตั้งแต่ราว 1200 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งถึง 700 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่สืบเนื่องมาจากอารยธรรมอูเญชิตเซ (?n?tice culture) และอารยธรรมทิวมิวลัส (Tumulus cultures) ระหว่างสมัยอารยธรรมเอิร์นฟีลด์ก็มีขยายจำนวนประชากรขึ้นเป็นจำนวนมากในบริเวณที่ว่าซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการปรับปรุงวิธีการเกษตรกรรม นักประวัติศาสตร์กรีกเอโฟรัส (Ephorus) แห่งไซม์ในเอเชียไมเนอร์บันทึกเมื่อสี่ร้อยปีก่อนคริสต์ศักราชว่าชาวเคลต์มาจากเกาะที่ปากแม่น้ำไรน์ผู้ถูก "ขับจากบริเวณนั้นเพราะสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และความรุนแรงเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้น"
การเผยแพร่ของการตีเหล็กเป็นการวิวัฒนาการของอารยธรรมฮัลล์ชตัทท์โดยตรงจากอารยธรรมเอิร์นฟีลด์ (ราว 700 ถึง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ภาษาเคลต์ดั้งเดิมที่เป็นภาษาที่มาก่อนภาษากลุ่มเคลต์เชื่อกันว่าเป็นภาษาที่ใช้พูดในปลายสมัยเอิร์นฟีลด์หรือต้นสมัยฮัลล์ชตัทท์เมื่อต้นพันปีก่อนคริสต์ศักราช การแพร่ขยายของกลุ่มภาษาเคลต์ไปยังไอบีเรีย ไอร์แลนด์ และบริเตนสันนิษฐานกันว่าเกิดขึ้นราวครึ่งแรกของพันปีก่อนคริสต์ศักราช -- จากหลักฐานการฝังรถม้ากับผู้ตายที่พบในอังกฤษที่คาดว่าเกิดขึ้นราว 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลายร้อยปีต่อมากลุ่มภาษาเคลต์ก็แบ่งแยกออกเป็นภาษาเคลต์ไอบีเรีย (Celtiberian language), กลุ่มภาษากอยเดล และภาษากลุ่มบริทอนิก
อารยธรรมฮัลล์ชตัทท์ตามมาด้วยวัฒนธรรมลาแตนของยุโรปตอนกลางและระหว่างปลายสมัยยุคเหล็กก็ค่อย ๆ กลายเป็นอารยธรรมเคลต์ แม่น้ำหลายแม่น้ำที่มีชื่อเป็นภาษาเคลต์พบในบริเวณตอนบนของแม่น้ำดานูบและแม่น้ำไรน์ที่นักวิชาการเกี่ยวกับอารยธรรมเคลต์สันนิษฐานกันว่าเป็นบริเวณที่เป็นบ่อเกิดของชาติพันธุ์ (ethnogenesis) เคลต์
นักประวัติศาสตร์กรีกดีโอโดรุส ซีกูลุส (Diodorus Siculus) และสตราโบ (Strabo) ต่างก็สันนิษฐานว่าศูนย์กลางของอารยธรรมเคลต์อยู่ทางใต้ของฝรั่งเศส ซิคัลลัสกล่าวว่ากอลอยู่ทางเหนือของเคลต์ และโรมันเรียกคนทั้งสองกลุ่มว่า "กอล" ก่อนหน้าที่จะพบอารยธรรมฮัลล์ชตัทท์และวัฒนธรรมลาแตนเป็นที่เชื่อกันว่าศูนย์กลางของอารยธรรมเคลต์อยู่ทางไต้ของฝรั่งเศส (สารานุกรมบริตานิคา ค.ศ. 1813)
อัลมาโกร-กอร์เบอา เสนอว่าที่มาของอารยธรรมเคลต์เริ่มขึ้นเมื่อสามพันปีก่อนคริสต์ศักราชที่เดิมมีต้นตอมาจากอารยธรรมเบล บีคเคอร์ (Bell Beaker culture) ซึ่งเป็นการทำให้อารยธรรมนี้เผยแพร่ไปทั่วยุโรปตะวันตกและสร้างความแตกต่างในหมู่ชาวเคลต์เอง นอกจากนั้นก็ยังเป็นการก่อสร้างประเพณีโบราณต่าง ๆ
ขณะเดียวกันการค้นคว้าทางด้านพันธุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีและนักเขียนสตีเฟน ออปเพนไฮเมอร์ก็เสนอว่าเคลต์เป็นชนเมดิเตอร์เรเนียนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสในปลายยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายราว 11,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และตั้งแต่นั้นมาก็อาจจะรวมตัวกับชนกลุ่มบาสก์ดั้งเดิม และขยายตัวไปยังอิตาลี สเปน เกาะอังกฤษ และเยอรมนี ซึ่งตรงกับตำนานที่มาจากเคลต์ที่บันทึกในสมัยกลางของสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ที่กล่าวเป็นนัยยะถึงต้นตอว่ามาจากอานาโตเลีย และต่อมาไอบีเรียโดยทางอียิปต์ แต่ในหนังสือ "ที่มาของชนบริติช" (The Origins of the British) ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2007 ออปเพนไฮเมอร์กล่าวค้านทฤษฎีเดิมว่าทั้งชาวแองโกล-แซกซันและชาวเคลต์ไม่มีอิทธิพลต่อพันธุกรรมของผู้อยู่อาศัยในหมู่เกาะบริเตนเท่าใดนักและบรรพบุรุษของชนบริติชส่วนใหญ่สืบมาจากชนไอบีเรียของยุคหินเก่าที่ปัจจุบันคือชาวบาสก์
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เคลต์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะเคลต์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แผนที่เกี่ยวกับเคลต์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์