เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศ เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเรียกว่า "เครื่องราชอิสริยยศ" เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยยศขึ้นอีกหลายตระกูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เปลี่ยนจากคำว่า "เครื่องราชอิสริยยศ" มาเป็นคำว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์" สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดีให้แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มี ๔ ประเภท ดังนี้
เมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกเริ่มเข้ามาคุกคามประเทศตะวันออกมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นชนวนให้คนรุ่นใหม่ในสยามประเทศเริ่มเคลื่อนไหวไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมปรับรับมือกับสิ่งใหม่ที่บรรดานักล่าอาณานิคมชาวตะวันตกนำเข้ามา ซึ่งก่อให้เกิดพัฒนาการอันเป็นพื้นฐานที่ดีต่อประเทศนานัปการ อาทิ การให้ความสนใจศึกษาเรื่องราวความเป็นมา ทั้งในด้านภาษา ศาสนา และศิลปะวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตกเหล่านั้นอย่างจริงจัง
ผู้ที่เป็นแกนนำสำคัญก็คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ ที่มีพระวิสัยทัศน์กว้างไกล เมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีความพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ที่ดำเนินมาพร้อมกับการแสวงหาประโยชน์ อย่างผู้ที่ถือตนว่ามีพัฒนาการและอำนาจเหนือกว่าชาติทางแถบเอเชีย โดยได้โปรดให้ปรับเปลี่ยนธรรมเนียมแบบแผนหลายๆ อย่างให้เหมาะแก่กาลสมัย และสอดคล้องกับความเป็นสากลนิยม ตามแบบชาติตะวันตกที่เป็นมหาอำนาจอยู่ ณ เวลานั้น
จากเหตุการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่ง อันเป็นจุดกำเนิดของสิ่งประดับตกแต่งกับเสื้อที่เป็นเครื่องแสดงยศศักดิ์และบ่งบอกถึงฐานันดร หรือตำแหน่งหน้าที่ของผู้ที่ใช้ประดับอยู่ได้ โดยเครื่องประดับเสื้อเพื่อแสดงยศศักดิ์นี้ มีแบบอย่างมาจากชาวยุโรปเมื่อหลายร้อยปีก่อนที่มีความเป็นมาว่า แต่เดิมใช้เป็นเครื่องหมายในหมู่คณะพวกผู้ดี ที่ปฏิบัติกิจทางศาสนาเดียวกัน จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามครูเสดเพื่อแย่งชิงดินแดนปาเลสไตน์ ที่ชาวคริสต์ถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดของพระเยซู ให้รอดพ้นจากการครอบครองของชาวมุสลิม บรรดากษัตริย์และผู้มียศศักดิ์ทั้งหลายในยุโรป ได้พากันรับอาสาไปเป็นทหารครูเสดกันหลายประเทศ พระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมจึงคิดทำเครื่องหมาย ให้แก่บรรดาทหารอาสาหรือที่เรียกกันว่า อัศวินนักรบ ผู้มีความกล้าหาญเหล่านั้น ด้วยการใช้รูป “กางเขน” เพื่อแสดงถึงความเป็นพวก ฝ่าย หรือคณะเดียวกันให้ปรากฏ โดยมีการเรียกคณะของแต่ละคณะว่า “Order”
หลังสงครามยุติลง มีการนำเครื่องหมายกางเขนมาตกแต่งให้มีรูปแบบต่างกันไปตามชั้นยศ เป็นเครื่องหมายแสดงตำแหน่งหรือความกล้าหาญ หรือเป็นบำเหน็จความชอบที่กษัตริย์พระราชทานให้ สิ่งเหล่านั้นจึงกลายมาเป็น “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” เพราะได้รับมอบจากกษัตริย์ โดยใช้คำ “Order” แทนความหมายว่า “ตระกูล” ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องประดับอาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน อาทิ The Order of Aviz ของโปรตุเกส ที่เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลแรกและเก่าแก่ที่สุดในยุโรป มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะเริ่มก่อตั้งขึ้น
ในเอเชีย สยามนับเป็นประเทศแรกที่มีการใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามอย่างสากล ด้วยความใฝ่ใจศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น จึงมีพระราชดำริจะสร้างเครื่องหมายแบบชาวตะวันตก จากแบบของสิ่งที่เป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ ได้แก่ ลวดลายของตราพระราชลัญจกรไอราพต ซึ่งเป็นตราประทับบนหนังสือราชการ และจากแบบของสิ่งที่เป็นมงคลเดิมของไทย ได้แก่ พลอย 9 ชนิด หรือที่เรียกว่า นพรัตน์ มาประยุกต์เข้าด้วยกันกับตราประดับเสื้อเพื่อแสดงเกียรติยศ ที่ชาวตะวันตกเรียกว่า Star โดยได้ทรงบัญญัติคำว่า “ดารา” ขึ้นมาใช้เรียกส่วนประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ตั้งแต่ชั้นที่ 2 เป็นต้นไปจนถึงชั้นสายสะพายและใช้มาตราบจนทุกวันนี้ แต่ยังคง ถือว่าเป็น “เครื่องราชอิสริยยศ” เพราะโดยมากสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่พระราชวงศ์ ส่วน “เครื่องสำคัญยศ” ที่เป็นของขุนนางมีไม่มากนัก และถือว่าเป็นต้นเค้าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยปัจจุบัน เช่น ดารานพรัตน เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ดาราช้างเผือก เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ฯลฯ
ราชมิตราภรณ์ • มหาจักรีบรมราชวงศ์ (รายนาม) • นพรัตนราชวราภรณ์ (รายนาม) • จุลจอมเกล้า (รายนาม ป.จ., ท.จ.ว.) • รามาธิบดี (รายนาม) • ช้างเผือก • มงกุฎไทย • ดิเรกคุณาภรณ์ (รายนาม ป.ภ.) • รามกีรติ • รัตนวราภรณ์ (รายนาม) • วัลลภาภรณ์ (รายนาม) • วชิรมาลา
รามาธิบดี (รามมาลา เข็มกล้ากลางสมร • รามมาลา) • กล้าหาญ • ดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ • ชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน • สงครามมหาเอเชียบูรพา • สงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี • การรบ ณ สาธารณัฐเวียดนาม •) • พิทักษ์เสรีชน • ราชนิยม • ปราบฮ่อ • งานพระราชสงครามทวีปยุโรป • พิทักษ์รัฐธรรมนูญ • ศานติมาลา
ดุษฎีมาลา (เข็มราชการแผ่นดิน, เข็มศิลปวิทยา) • ช่วยราชการเขตภายใน • ราชการชายแดน • ช้างเผือก • มงกุฎไทย • ดิเรกคุณาภรณ์ • จักรมาลา • จักรพรรดิมาลา • ศารทูลมาลา • บุษปมาลา • ลูกเสือสรรเสริญ • ลูกเสือสดุดี • ลูกเสือยั่งยืน
สตพรรษมาลา • รัชฎาภิเศกมาลา • ประพาสมาลา • ราชินี • ทวีธาภิเศก • รัชมงคล • รัชมังคลาภิเศก • บรมราชาภิเษก • ชัย • พิธีเฉลิมพระนคร 150 ปี • งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ • การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป • รัชดาภิเษก • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร • สนองเสรีชน • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี • สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี • เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ • รัชมังคลาภิเษก • กาญจนาภิเษก • เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ • ฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี • เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ) • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (5 รอบ 60 พรรษา • 6 รอบ 72 พรรษา ) • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี • กาชาด
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย