เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (อังกฤษ: The Ratana Varabhorn order of Merit) เรียกอย่างย่อว่า ตรารัตนาวราภรณ์ และมีอักษรย่อว่า ร.ว. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์ สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2454 เพื่อเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเชิดชูเกียรติคุณแก่ข้าราชการผู้ที่ตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดีและมีความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา โดยเมื่อแรกสถาปนานั้นจะพระราชทานสำหรับฝ่ายหน้าเท่านั้น ต่อมา ในปี พ.ศ. 2465 พระองค์จึงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรย์รัตนวราภร์สำหรับพระราชทานฝ่ายในด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติเป็นลำดับที่ 5 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ปัจจุบัน พ้นสมัยพระราชทานแล้ว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์สำหรับฝ่ายหน้า กลางดวงตราเป็นรูปวงกลม กรอบประดับเพชร ขนาด 2.5 เซนติเมตร มีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ "ร.ร." กับเลข "๖" ประดับเพชร หมายความว่า สมเด็จพระรามราชาธิบดีที่ 6 อยู่ภายในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาบที่กรอบวงกลมทั้ง 4 ทิศ เป็นรูปพระวชิราวุธ มีรูปพระแสงศรกำลังรามทำด้วยทองไขว้ คันศรยื่นออกในระหว่างพระวชิราวุธทั้ง 4 ทิศ และมีรูปคมศรเพชรแทรกระหว่างพระวชิราวุธกับพระแสงศรกำลังราม 8 แสก เบื้องบนมีพระมหาพิชัยมงกุฎประดับเพชร ด้านหลังมีตลับแก้วสำหรับบรรุเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ร้อยด้วยแพรแถบสีเหลืองขอบดำริมเหลือง กว้าง 3 เซนติเมตร ใช้สำหรับคล้องคอ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์สำหรับฝ่ายในนั้น ดวงตรามีเรือนทองกลมขนาด 3 เซนติเมตร ขอบประดับเพชร พื้นกลางลงยาสีขาบ มีอักษรพระนามาภิไธยย่อ ร.ร.๖ ประดับเพชร มีห่วงเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎขนาด 2 เซนติเมตร ประดับเพชร ข้างขอบเป็นรูปนาคสลับกับเพชราวุธ 4 มุม ด้านหลังมีตลับแก้วสำหรับบรรจุเส้นพระเจ้า (เส้นผม) เหนือพระมหาพิชัยมงกุฎมีอุณาโลมประดับเพชรและห่วงห้อยดวงตรา กับมีสังวาลย์อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ราม.ร.๖ ทองลงยา ขั้นสลับกับพระมหาพิชัยมงกุฎ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้ตามพระราชประสงค์ แต่จะพระราชทานสำหรับข้าราชการและประพฤติตนเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย โดยห้ามมิให้ผู้ใดกราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อตนเองหรือกราบบังคมทูลแนะนำเพื่อพระราชทานแก่ผู้อื่นเป็นอันขาด
ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ จะได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรกำกับไว้ด้วย โดยถ้าผู้ได้รับพระราชทานเสียชีวิตลง สามารถมอบตรารัตนวราภรณ์ให้แก่ผู้รับมรดกเพื่อไว้เป็นเครื่องสักการบูชาต่อไป โดยไม่ต้องส่งคืน แต่จะไม่สามารถประดับตรานี้ได้
ราชมิตราภรณ์ • มหาจักรีบรมราชวงศ์ (รายนาม) • นพรัตนราชวราภรณ์ (รายนาม) • จุลจอมเกล้า (รายนาม ป.จ., ท.จ.ว.) • รามาธิบดี (รายนาม) • ช้างเผือก • มงกุฎไทย • ดิเรกคุณาภรณ์ (รายนาม ป.ภ.) • รามกีรติ • รัตนวราภรณ์ (รายนาม) • วัลลภาภรณ์ (รายนาม) • วชิรมาลา
รามาธิบดี (รามมาลา เข็มกล้ากลางสมร • รามมาลา) • กล้าหาญ • ดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ • ชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน • สงครามมหาเอเชียบูรพา • สงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี • การรบ ณ สาธารณัฐเวียดนาม •) • พิทักษ์เสรีชน • ราชนิยม • ปราบฮ่อ • งานพระราชสงครามทวีปยุโรป • พิทักษ์รัฐธรรมนูญ • ศานติมาลา
ดุษฎีมาลา (เข็มราชการแผ่นดิน, เข็มศิลปวิทยา) • ช่วยราชการเขตภายใน • ราชการชายแดน • ช้างเผือก • มงกุฎไทย • ดิเรกคุณาภรณ์ • จักรมาลา • จักรพรรดิมาลา • ศารทูลมาลา • บุษปมาลา • ลูกเสือสรรเสริญ • ลูกเสือสดุดี • ลูกเสือยั่งยืน
สตพรรษมาลา • รัชฎาภิเศกมาลา • ประพาสมาลา • ราชินี • ทวีธาภิเศก • รัชมงคล • รัชมังคลาภิเศก • บรมราชาภิเษก • ชัย • พิธีเฉลิมพระนคร 150 ปี • งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ • การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป • รัชดาภิเษก • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร • สนองเสรีชน • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี • สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี • เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ • รัชมังคลาภิเษก • กาญจนาภิเษก • เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ • ฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี • เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ) • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (5 รอบ 60 พรรษา • 6 รอบ 72 พรรษา ) • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี • กาชาด
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์