เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (อังกฤษ: The Most Illustrious Order of Chula Chom Klao) สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ก็ด้วยความจงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระราชทานสามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ "จุลจอมเกล้า" เป็นนามของเครื่องราชอิสรยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชันษาครบ 20 พรรษาบริบูรณ์ พระองค์ทรงสละราชสมบัติเพื่อเสด็จออกผนวชตามประเพณีเป็นระยะเวลา 15 วัน เมื่อจะเสด็จคืนครองสิริราชสมบัติจึงโปรดฯ ให้ทำการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้ พระองค์มีพระราชดำริว่า นับแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีพระมหากษัตริย์ครองสิริราชสมบัติมาถึง 5 พระองค์นับระยะเวลารวมได้ประมาณ 90 ปี โดยไม่มีเหตุการแก่งแย่งชิงอำนาจจนเกิดศึกกลางพระนครเมื่อมีการผลัดแผ่นดินดังเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแม้พระองค์จะทรงครองสิริราชสมบัติเมื่ออายุยังน้อย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวงก็มิได้รังเกียจและยังคงรับสนองพระเดชพระคุณเหมือนเช่นที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นความดีความชอบพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ พระองค์จึงมีจิตคิดบำรุงวงศ์ตระกูลของท่านเหล่านี้ ดังนั้น พระองค์จึงทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยพระราชทานนามว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า" เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงอิสริยยศและเพื่อระลึกถึงความดีความชอบของท่านผู้ใหญ่ที่ได้รักษาแผ่นดินมาแต่ก่อนและผู้ที่ได้ทำนุบำรุงแผ่นดินในปัจจุบัน
เมื่อแรกสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ปฐมจุลจอมเกล้า) ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ, ทุติยจุลจอมเกล้า) และชั้นที่ 3 ตติยาจุลจอมเกล้า (ตติยจุลจอมเกล้า , ตติยานุจุลจอมเกล้า) ซึ่งจะพระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายหน้าเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2443 พระองค์มีพระราชดำริเห็นสมควรเพิ่มชั้นพิเศษสำหรับชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเกียรติยศและประโยชน์แก่ผู้รับราชการยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ และในปี พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นที่ 3 ขึ้นเป็นพิเศษ เรียกว่า ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายหน้าเพิ่มขึ้นอีกชั้น
สำหรับฝ่ายในนั้น พระองค์ทรงสร้างกล่องหมากและหีบหมากเป็นเครื่องยศสำหรับพระราชทานฝ่ายในทำนองเดียวกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า ไม่จำกัดจำนวน แต่ไม่ได้พระราชทานโดยทางสืบสกุล สามารถแบ่งเป็น 3 ชั้น 4 ชนิด มีลักษณะดังนี้
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2436 พระองค์พระราชดำริสมควรที่จะทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในขึ้น เพื่อให้สมาชิกผู้ได้รับพระราชทานได้ประดับตนเป็นที่แสดงเกียรติยศเพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า และชั้นที่ 4 จตุตถจุลจอมเกล้า และเมื่อปี พ.ศ. 2442 ทรงพระราชดำริให้เพิ่มเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายในในชั้นที่ 2 ขึ้นอีก 1 ชนิด เรียกว่า ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เพื่อให้มีจำนวนชนิด 5 ชนิด (ในขณะนั้น) เช่นเดียวกับสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า
กฎหมายได้บัญญัติจำแนกเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทฝ่ายหน้าสำหรับบุรุษ และประเภทฝ่ายในสำหรับสตรี คำว่าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เรียกตามตำแหน่งที่เคยจัดให้เฝ้าแต่สมัยโบราณ ทั้งยังได้กำหนดจำนวนเครื่องราชฯ ในตระกูลนี้ในแต่ละชั้นตราไว้เป็นการแน่นอน หากชั้นตราใดมีผู้ได้รับพระราชทานเต็มตามจำนวนแล้ว ก็จะไม่พระราชทานชั้นตรานั้นแก่ผู้อื่นอีก ชั้นตราจะว่างก็ต่อเมื่อผู้ได้รับพระราชทานอยู่เดิมสิ้นชีวิตหรือได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นตราสูงขึ้น โดยญาติผู้เสียชีวิตหรือผู้ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นตราสูงขึ้น ต้องมีหน้าที่ส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจุลจอมเกล้าที่ได้รับพระราชทานหรือชั้นรองตามกฎหมายแก่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
เมื่อครั้งดั้งเดิม มีพระราชดำริจะพระราชทานแต่เฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายขอบเขตการพระราชทานไปยังผู้ทำประโยชน์อื่น ๆ ทั้งในราชการแผ่นดินและในราชการส่วนพระองค์ด้วย เช่น พ่อค้าวาณิช และคู่สมรสของผู้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง เป็นต้น ปัจจุบันจะพระราชทานในโอกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี
ในการพระราชทานจะพระราชทานชั้นตราเรียงตามลำดับจากชั้นเริ่มต้นไปสู่ชั้นสูงสุดในแต่ละฝ่าย ดังนี้
การใช้คำนำหน้าสตรีในอดีตนั้นมีการระบุเกี่ยวพันกับบรรดาศักดิ์ของสามีที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันรัฐบาลจะไม่มีนโยบายขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ข้าราชการแล้ว แต่คำนำหน้าสตรีสำหรับผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ก็ยังสมควรได้รับคำยกย่องอยู่ เนื่องจากประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อเป็นการเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ ดังนั้น จึงสมควรยกย่องสตรีผู้ได้รับเกียรติจากองค์พระมหากษัตริย์ด้วย โดยอนุโลมไม่ต้องยึดถือบรรดาศักดิ์ของสามีเป็นเกณฑ์
สำหรับคำนำหน้าสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าและทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษให้ใช้คำว่า "ท่านผู้หญิง" ยกเว้น สตรีในราชสกุลตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไปให้ใช้คำนำพระนามตามเดิม
ส่วนสตรีที่สมรสแล้วและรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทุติยจุลจอมเกล้า ตติยจุลจอมเกล้า และจตุตถจุลจอมเกล้าใช้คำนำหน้าว่า "คุณหญิง" ยกเว้นสตรีในราชสกุลตั้งแต่หม่อมหลวงขึ้นไปให้ใช้คำนำนามตามเดิม
ส่วนสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไป ให้ใช้คำนำนามว่า "คุณ"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านั้น แตกต่างจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นตรงที่สามารถมีการสืบตระกูลเครื่องราชอิริยาภรณ์ได้ โดยถ้าเป็นบุตรสืบตระกูลบิดา จะได้รับพระราชทาน "ตติยจุลจอมเกล้า" แต่ถ้าเป็นหลานสืบตระกูลปู่ จะได้รับพระราชทาน "ตติยานุจุลจอมเกล้า" ลักษณะการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีดังต่อไปนี้
ผู้สืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น จะเป็นบุตรชายคนโตที่มีชีวิตอยู่ในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม หากบุตรชายคนโตไม่สมควรจะได้รับการพระราชทาน บิดาสามารถขอพระราชทานให้บุตรชายคนรองลงมาก็ได้ แต่การสืบตระกูลจะสิ้นสุดลงเพียงชั้นนี้เท่านั้น นอกจากนี้ ถ้าบุตรชายคนโตวิกลจริตหรือเสียชีวิตลงก่อนได้รับพระราชทาน ก็จะพระราชทานแก่หลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายคนโตก่อน แต่ถ้าไม่มีหลานซึ่งเป็นบุตรของบุตรชายคนโตก่อนแล้ว ก็จะพระราชทานแก่บุตรชายคนต่อไป
พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า ลักษณะเป็นตรางารูปกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7.2 เซนติเมตร สูง 9.8 เซนติเมตร ลายภายในเป็นรูปสายสร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เป็นรูปวงกลม ภายในวงกลมเป็นรูปดาราอยู่เบื้องบน เป็นรูปตราจุลจอมเกล้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังอยู่เบื้องล่าง ที่วงขอบมีอักษรว่า "คณาธิบดี ของตรา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าสำหรับตระกูล" พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ใช้สำหรับประทับประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า ในปัจจุบัน พระราชลัญจกรนี้พ้นสมัย และเก็บรักษาอยู่ที่กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันจะประทับพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์กำกับพระปรมาภิไธยแทน
พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ลักษณะเป็นตรางารูปกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7.2 เซนติเมตร สูง 9.6 เซนติเมตร ลายภายในเป็นรูปสายสร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เป็นรูปวงกลม ภายในวงกลมเป็นรูปดาราอยู่เบื้องบน เป็นรูปตราจุลจอมเกล้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังอยู่เบื้องล่าง ที่วงขอบมีอักษรว่า "มหาสวามินี ของตรา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าสำหรับตระกูล" พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ใช้สำหรับประทับประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า ในปัจจุบัน พระราชลัญจกรนี้พ้นสมัย และเก็บรักษาอยู่ที่กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันจะประทับพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์กำกับพระปรมาภิไธยแทน เช่นเดียวกับฝ่ายหน้า
ราชมิตราภรณ์ • มหาจักรีบรมราชวงศ์ (รายนาม) • นพรัตนราชวราภรณ์ (รายนาม) • จุลจอมเกล้า (รายนาม ป.จ., ท.จ.ว.) • รามาธิบดี (รายนาม) • ช้างเผือก • มงกุฎไทย • ดิเรกคุณาภรณ์ (รายนาม ป.ภ.) • รามกีรติ • รัตนวราภรณ์ (รายนาม) • วัลลภาภรณ์ (รายนาม) • วชิรมาลา
รามาธิบดี (รามมาลา เข็มกล้ากลางสมร • รามมาลา) • กล้าหาญ • ดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ • ชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน • สงครามมหาเอเชียบูรพา • สงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี • การรบ ณ สาธารณัฐเวียดนาม •) • พิทักษ์เสรีชน • ราชนิยม • ปราบฮ่อ • งานพระราชสงครามทวีปยุโรป • พิทักษ์รัฐธรรมนูญ • ศานติมาลา
ดุษฎีมาลา (เข็มราชการแผ่นดิน, เข็มศิลปวิทยา) • ช่วยราชการเขตภายใน • ราชการชายแดน • ช้างเผือก • มงกุฎไทย • ดิเรกคุณาภรณ์ • จักรมาลา • จักรพรรดิมาลา • ศารทูลมาลา • บุษปมาลา • ลูกเสือสรรเสริญ • ลูกเสือสดุดี • ลูกเสือยั่งยืน
สตพรรษมาลา • รัชฎาภิเศกมาลา • ประพาสมาลา • ราชินี • ทวีธาภิเศก • รัชมงคล • รัชมังคลาภิเศก • บรมราชาภิเษก • ชัย • พิธีเฉลิมพระนคร 150 ปี • งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ • การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป • รัชดาภิเษก • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร • สนองเสรีชน • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี • สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี • เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ • รัชมังคลาภิเษก • กาญจนาภิเษก • เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ • ฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี • เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ) • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (5 รอบ 60 พรรษา • 6 รอบ 72 พรรษา ) • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี • กาชาด
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า