ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เครื่องบินทิ้งระเบิด

เครื่องบินทิ้งระเบิด คือ อากาศยานทางการทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจการโจมตีเป้าหมายทางภาคพื้นดินและทางทะเล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้การปล่อยลูกระเบิดลงมาเพื่อทำลายเป้าหมาย ซึ่งระเบิดที่ถูกทิ้งลงมามีหลากหลายชนิด เช่น ระเบิดนาปาล์ม ระเบิดทำลายบังเกอร์ ระเบิดอัจฉริยะ ระเบิดนิวเคลียร์ เป็นต้น

เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ถูกออกแบบมาเพื่อทำภารกิจโจมตีระยะไกลด้วยการระดมทิ้งระเบิดใส่จุดยุทธศาสตร์ของเป้าหมาย อย่าง ฐานเสบียง สะพาน โรงงาน อู่ต่อเรือ และเมือง เพื่อสร้างความเสียหายให้กับฝ่ายศัตรู ตัวอย่างสำหรับเครื่องบินประเภทนี้ได้แก่ เอฟโร แลงแคสเตอร์ ไฮน์เคล เอชอี-111 ยุงเกอร์ส เจยู 88 บี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรส บี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส บี-36 บี-47 บี-52 สตราโตฟอร์เทรส เจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ-111 ตูโปเลฟ ตู-16 ตูโปเลฟ ตู-160 ตูโปเลฟ ตู-95 และโกธา จี

เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธวิธีเป็นเครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่าซึ่งทำหน้าที่ในระยะที่ใกล้ โดยทั่วไปแล้วจะทำงานร่วมกับทหารราบบนพื้นดิน บทบาทนี้มีเครื่องบินหลายแบบที่ถูกสร้างออกมา ในปัจจุบันเครื่องบินทางทหารลำใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์จะถูกจัดว่าเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธวิธี

เครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินหรือ"เครื่องบินสนับสนุนทางอากาศระยะใกล้"ถูกออกแบบมาเพื่อบินตระเวนอยู่เหนือสมรภูมิรบและเข้าโจมตีเป้าหมายทางยุทธวิธี อย่าง รถถัง เบี่ยงความสนใจของทหารราบ เป็นต้น ตัวอย่างของเครื่องบินประเภทนี้ได้แก่ ยุงเกอร์ส เจยู 87 อิลยูชิน อิล-2 เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 และซุคฮอย ซู-25

เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด (หรือเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธี เครื่องบินจู่โจม และเครื่องบินโจมตี) เป็นเครื่องบินทางทหารที่มีหลากหลายบทบาทซึ่งสามารถทำการโจมตีได้ทั้งแบบอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้น เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดจำนวนมากถูกออกแบบมาให้เข้าต่อสู้ทางอากาศได้ในทันทีหลังจากที่โจมตีเป้าหมายบนพื้นดินแล้ว เครื่องบินต่อสู้หลายบทบาทในปัจจุบันถูกออกแบบให้ทำหน้าที่ได้อย่างหลากหลายมากขึ้นเนื่องจากงบประมาณที่จำกัดและพวกมันก็มักจะมีประโยชน์มาก ตัวอย่างเช่น เจียงดู เจ-10 เซียน เจเอช-7 เอฟ-4 แฟนทอม 2 เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ซุคฮอย ซู-34 มิราจ 2000 และพานาเวีย ทอร์นาโด

เครื่องบินทิ้งระเบิดเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับเครื่องบินขับไล่ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในตอนแรกนั้นมันถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิด มันถูกใช้โดยอิตาลีเมื่อพวกเขาทำการรบที่ลิเบียในปีพ.ศ. 2454 เมื่อปีพ.ศ. 2455 นักบินของกองทัพอากาศบัลแกเรียชื่อคริสโต ทอปรัคชิฟได้แนะนำให้มีการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดในตำแหน่งของตุรกี ร้อยเอกเพโทรฟได้พัฒนาแนวคิดและได้สร้างต้นแบบออกมามากมายโดยใช้ระเบิดที่แตกต่างกันไปและเพิ่มความจุ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมพ.ศ. 2455 ผู้สังเกตการณ์ชื่อโพรแดน ทารัคชิฟได้ทิ้งระเบิดสองลูกใส่ทางรถไฟของตุรกีโดยใช้เครื่องอัลบาทรอส เอฟ.2 ที่บินโดยราดัล มิคอฟ

หลังจากการทดสอบหลายครั้งเพโทรฟก็ได้สร้างแบบสุดท้ายออกมา มันมีระบบอากาศพลศาสตร์ หางรูปทรง X และชนวนจุดระเบิด รุ่นดังกล่าวถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยกองทัพอากาศบัลแกเรียในช่วงการโอบล้อมเออริน แบบสำเนาถูกขายให้กับเยอรมนีและระเบิดก็ถูกผลิตออมาเป็นจำนวนมากในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ระเบิดนั้นมีน้ำหนัก 6 กิโลกรัม เมื่อมันกระทบเป้าหมายจะสร้างรัศมีกว้าง 4-5 เมตรและหลุมที่ลึกลงไปประมาณ 1 เมตร

เยอรมันใช้เรือเหาะเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดเพราะพวกมันมีพิสัยและความจุที่มากพอจะไปถึงอังกฤษได้ ด้วยความก้าวหน้าในการออกแบบเครื่องบินและอุปกรณ์ พวกมันได้เข้าร่วมกับเครื่องบินปีกสองชั้นที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งสามารถทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ได้โดยเฉพาะในตอนกลางคืน การทิ้งระเบิดส่วนใหญ่ยังคงเป็นผลงานของเครื่องบินปีกสองชั้นเครื่องยนต์เดียวพร้อมลูกเรือหนึ่งหรือสองคน พวกเขาจะบินเพื่อทิ้งระเบิดในระยะสั้นเพื่อเข้าโจมตีแนวข้าศึกและส่วนที่ห่างจากตัวเมือง

เครื่องบินทิ้งระเบิดสี่เครื่องยนต์ลำแรกเป็นของรัสเซีย มันถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2457 และถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เมื่อสงครามโลกจบลงสหราชอาณาจักรได้รวบรวมเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักพร้อมความมุ่งมั่นที่จะเข้าโจมตีอุตสาหกรรมของเยอรมนี แต่สงครามก็จบลงเสียก่อน

ในอดีตเครื่องบินทิ้งระเบิดเป็นเครื่องบินที่ไม่เหมือนกับเครื่องบินแบบอื่นๆ และมักมันรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าเครื่องบินอื่นๆ สิ่งนี้ก็เพราะมันต้องมีเครื่องยนต์จำนวนมากเพื่อบรรทุกระเบิด มันส่งผลให้เกิดเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้นมาก เป็นเครื่องบินที่เหมาะกับบทบาท

ด้วยข้อจำกัดของกำลังเครื่องยนต์และความแม่นยำ เครื่องบินทิ้งระเบิดจึงถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง สิ่งนี้เริ่มขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งแบ่งออกเป็นดังนี้

เครื่องบินทิ้งระเบิดมีอาวุธสำหรับป้องกันตนเองจากเครื่องบินของข้าศึกเท่านั้น มันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำการต่อสู้กับเครื่องบินลำอื่น เหตุผลหลักนั้นก็เพราะว่ามันเชื่องช้าและมีขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าบางแบบจะมีขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นเครื่องบินขับไล่แบบพิเศษ เครื่องบินโจมตีมีขนาดเล็กกว่า เร็วกว่า และรวดเร็วกว่า แต่เมื่อติดอาวุธสำหรับโจมตีภาคพื้นดินมันก็ด้อยกว่าเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินโจมตีอาจขนอาวุธอากาศสู่อากาศ แต่โดยปกติจะเป็นอาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรดเพื่อป้องกันตัวเอง

เมื่อเริ่มสงครามเย็นเครื่องบินทิ้งระเบิดนั้นมีหน้าที่เพียงแค่บรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ไปทิ้งใส่ศัตรและมีบทบาทในทฤษฏียับยั้ง (อังกฤษ: deterrence theory) ด้วยการปรากฏตัวของขีปนาวุธนำวิถี เครื่องบินทิ้งระเบิดได้เปลี่ยนไปเพื่อหลบหลีกการเข้าสกัดกั้น การบินด้วยความเร็วสูงและความสูงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลบจากการตรวจจับและโจมตี บางแบบอย่างอิงลิช อิเลคทริก แคนเบอร์ราสามารถบินได้เร็วหรือสูงกว่าเครื่องบินขับไล่ในสมัยเดียวกัน ขีปนาวุธพื้นสู่อากาศเป็นภัยคุกคามต่อเครื่องบินที่บินสูง และเครื่องบินทิ้งระเบิดก็ต้องบินเร็วในระดับต่ำแทนเพื่ออยู่ใต้การป้องกันทางอากาศ เพราะว่าระเบิดเป็นแบบที่ไม่เหมือนเก่าพวกมันจึงไม่ต้องบินเหนือเป้าหมายเพื่อทิ้งระเบิด แต่จะทำการยิงและหันกลับเพื่อหนีแรงระเบิดแทน เครื่องบินที่ใช้นิวเคลียร์จะทำจากเหล็กล้วนๆ หรือสีขาวเพื่อหลีลเลี่ยงผลกระทบ

การพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์เริ่มหยุดลงในช่วงท้ายของสงครามเย็นเพราะว่าราคาและขีปนาวุธข้ามทวีปซึ่งดีกว่า โครงการเอ็กซ์บี-70 วัลคีรีของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ถูกยกเลิกเพราะเหตุผลดังกล่าวในต้นปีพ.ศ. 2503 และต่อมาก็มีบี-1 แลนเซอร์และบี-2 สปิริทเข้าประจำการไม่นานกลังจากปัญหาทางการเมืองและการพัฒนาที่ยืดเยื้อ ราคาที่สูงหมายถึงมีจำนวนน้อยที่ถูกสร้างออกมาและบี-52 ยังคงถูกใช้ต่อไปในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวในในทางโซเวียตใช้ทิวโปเลฟ ทู-22เอ็มในปีพ.ศ. 2513 แต่โครงการมัค 3 ของพวกเขาก็ล้มเหลว มัค 2 ทิวโปเลฟ ทู-160 ถูกสร้างออกมาในจำนวนที่น้อยมาก ทำให้ทิวโปเลฟ ทู-16 และทิวโปเลฟ ทู-95 รุ่นก่อนหน้ายังคงถูกสร้างต่อจนถึงศตวรรษที่ 21 ในขณะเดียวกันกองกำลังเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหราชอาณาจักรก็มาถึงจุดจบด้วยการถูกเลิกใช้ มีเพียงประเทศเดียวที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ในปัจจุบัน นั่นก็คือสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีเครื่องทู-16 จำนวนมาก

ในกองทัพอากาศปัจจุบันความแตกต่างระหว่างเครื่องบินทิ้งระเบิด เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด และเครื่องบินทิ้งระเบิดเริ่มไม่ชัดเจน เครื่องบินโจมตีมากมายดูเหมือนเครื่องบินขับไล่มักทำการทิ้งระเบิดด้วยความสามารถเพียงเล็กน้อยในการต่อสู้ทางอากาศ อันที่จริงแล้วคุณภาพการออกแบบที่สร้างประสิทธิภาพให้กับเครื่องบินนั้นสร้างความแตกต่างจากเครื่องบินครองความเป็นจ้าวอากาศ ในทางตรงกันข้ามเครื่องบินขับไล่จำนวนมากอย่างเอฟ-16 มักถูกใช้ขนระเบิดถึงแม้ว่าจะถูกออกแบบมาเพื่อทำการต่อสู้ทางอากาศก็ตาม อาจเป็นไปได้ที่ในปัจจุบันความแตกต่างที่มากที่สุดคือด้านพิสัย เครื่องบินทิ้งระเบิดมักมีระยะทำการไกลในขณะที่เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดและเครื่องบินโจมตีมีขอบเขตในการบินที่จำกัดในสมรภูมิ แต่ข้อแตกต่างนั้นก็ไม่แน่ชัดเพราะว่าเครื่องบินมากมายสามารถทำการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศได้เพื่อเพิ่มระยะทำการ

แผนของสหรัฐฯ และรัสเซียสำหรับกองกำลังเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ยังคงเป็นเพียงโครงการในแผ่นกระดาษ และการเมืองกับทุนก็ทำให้พวกมันดูเหมือนจะเกิดขึ้นในอนาคต ในสหรัฐฯ มีแผนในปัจจุบันที่จะให้กองเครื่องบินทิ้งระเบิดยังคงอยู่ในประจำการจนถึงปีพ.ศ. 2563 พร้อมกับเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ในปีพ.ศ. 2561


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301