ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย คือ เครื่องดนตรี ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามศิลปวัฒนธรรมดนตรีของไทย ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนไทย โดยนิยมแบ่งตามอากัปกิริยา ของการบรรเลง เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า

เครื่องดนตรีไทยเกิดจากชนชาติไทยเองและการเลียนแบบชนชาติอื่นๆ ที่อยุ่ใกล้ชิดโดยเริ่มตั้งแต่สมัยโบราณที่ไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาจักรฉ่องหวู่ดินแดนของประเทศจีนในปัจจุบัน ทำให้เครื่องดนตรีไทยและจีนมีการแลกเปลี่ยนเลียนแบบกัน นอกจากนี่ยังมีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิด ที่ชนชาติไทยประดิษฐ์ขึ้นใช้ก่อนที่จะมาพบวัฒธรรมอินเดีย ซึ่งแพร่หลายอยู่ทางตอนใต้ของแหลมอินโดจีน สำหรับชื่อเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยจะเรียนตามคำโดดในภาษาไทย เช่น เกราะ โกร่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ ขลุ่ย พิณเปี๊ยะ ซอ ฆ้องและกลอง ต่อมาได้มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีให้พัฒนาขึ้น โดยนำไม้ที่ทำเหมือนกรับหลายอันมาวางเรียงกันได้เครื่องดนตรีใหม่ เรียกว่าระนาดหรือนำฆ้องหลาย ๆ ใบมาทำเป็นวงเรียกว่า ฆ้องวง เป็นต้น

ผสมผสานกับวัฒนธรรมทางดนตรีของอินเดีย มอญ เขมร ในแหลมอินโดจีนที่ไทยได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ ได้แก่ พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับปี่ จะเข้ โทน(ทับ) เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ไทยได้นำบทเพลงและเครื่องดนตรีบางอย่างของประเทศเพื่อนบ้านมาบรรเลงในวงดนตรีไทย เช่น กลองแขกของชวา กลองมลายูของมลายู เปิงมางของมอญ และกลองยาวของไทยใหญ่ที่พม่านำมาใช้ รวมทั้งขิม ม้าล่อ และกลองจีน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของจีน เป็นต้น ต่อมาไทยมีความสัมพันธ์ชาวกับตะวันตกและอเมริกา ก็ได้นำกลองฝรั่ง เช่นกลองอเมริกัน และเครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น ไวโอลีน ออร์แกน มาใช้บรรเลงในวงดนตรีของไทย

จากประวัติเครื่องดนตรีไทยดังกล่าว สามารถแบ่งประวัติศาสตร์ของเครื่องดนตรีไทยได้เป็น 4 สมัย ดังนี้

ชาวไทยมีความสนุกสนานกับการเล่นดนครีและร้องเพลงกันมากดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ว่า "ดบงคมกลอง ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน" ซึ่งแลดงถึงการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า ดีด และสี คือ กลอง ปี่ พิณ และเครื่องดนตรีทีมีสายไว้สีได้ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานของล้านนาไทยที่มีศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกันในหลักศิลาจารึกในวัดพระยืน จังหวัดลำพูน ที่จารึกไว้ว่า "ให้ถือกระทงข้างตอกดอกไม้ไต้เทียน ตีพาทย์ดังพิณฆ้องกลอง ปี่สรไนพิสเนญชัยทะเทียดกาหลแตรสังมาลย์กังสดาล มรทงค์ดงเดือด เสียงเลิศเสียงก้อง อีกทั้งคนร้องโห่อื้อดาสรท้านทั่งทั้งนครหริภุญชัย แล" ซึ่งแสดงถึงเครื่องดนตรีบรรเลงในวงดนตรี และประชาชนนำมาเล่นเพื่อความสนุกสนานครึกครื้นกัน ดังนั้นจึงสามารถกล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยได้จากวงดนตรีไทยในสมัยนั้น ได้แก่ วงแตรสังข์ ที่ใช้บรรเลงในพระราชพิธีต่าง ๆ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีแตรฝรั่ง แตรงอน ปี่ไฉนแก้ว กลองชนะ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบด้วย ปี่ใน ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีเช่น พิณ และซอสามสาย อยู่ในสมัยนั้นอีกด้วย

เป็นช่วงที่บ้านเมืองมีศึกสงครามอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ดนตรีไทยไม่เจริญก้าวหน้ามากนัก ยังคงมีเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ เครื่องห้าเท่าเดิม จนมาเพิ่มระนาดเอกภายหลังในตอนปลายสมัยอยุธยา ส่วนวงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ได้แก่ วงมโหรี ที่บรรเลงโดยผู้หญิง เพื่อขับกล่อมถวายแด่พระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี กระจับปี่ ซอสามสาย โทน(ทับ) กรับ รำมะนา ขลุ่ยและฉิ่ง แต่ต่อมาได้นำจะเข้ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของมอญมาประสมแทนกระจับปี่ เพื่อให้ทำนองได้ละเอียดลออและไพเราะกว่า และวงเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ย โทน(ทับ) และฉิ่ง

มีวงดนตรี 3 ประเภท เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย แต่มีเครื่องดนตรีของชาติต่างๆ เข้ามาในประเทศไทยหลายชนิด ดังปรากฏในหมายกำหนดการของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นว่า “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ มโหรีไทย ฝรั่ง มโหรีญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช 2 เดือนกับ 12 วัน” ในงานสมโภชพระแก้วมรกตเป็นต้น

เนื่องจากในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ 15 ปี และประกอบกับเป็นสมัยแห่งการก่อร่างสร้างเมือง และการป้องกันประเทศเสียโดยมาก วงดนตรีไทยในสมัยนี้จึงไม่ปรากฏหลักฐานไว้ว่า ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้น สันนิษฐานว่า ยังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของ ดนตรีไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

มีความก้าวหน้าทางดนตรีมาก เริ่มจากสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เพิ่มกลองทัดขึ้นในวงปี่พาทย์เป็น 2 ลูก และเพิ่มระนาดในวงมโหรีปี่พาทย์อีก 1 ราง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 เริ่มมีปี่พาทย์บรรเลงประกอบเสภา จึงได้นำเปิงมางมาติดข้างสุกถ่วงเสียงให้ต่ำลง เรียกว่าสองหน้า ใช้ประกอบการบรรเลงประกอบเสภา และได้เพิ่มฆ้องวงในวงมโหรีด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีผู้สร้างระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กขึ้นมา ทำให้เกิดวงปี่พาทย์เครื่องคู่ขึ้นในสมัยนั้น ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีระนาดทีเปลี่ยนชื่อเป็นระนาดเอก เพื่อให้เข้าคู่กับระนาดแบบใหม่ ที่เพิ่มราง 1 ราง และสร้างขนาดใหญ่เรียกว่า ระนาดทุ้ม และฆ้องวงใหญ่ เพื่อให้เข้าคู่กับฆ้องวงเล็กที่สร้าง ขนาดเล็กลงเรียกว่า ฆ้องวงเล็ก นอกจากนี่ยังมีการนำปี่นอกเข้ามาผสมเข้าคู่กับปี่ใน และเครื่องดนตรีเดิม คือ ตะโพน กลองทัดและฉิ่งเช่นเดิม รวมทั้งมีวงมโหรีเครื่องคู่เกิดขึ้น โดยมีการนำระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก และขลุ่ยหลีบ ให้เข้าคู่กับเครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิม ในสมัยรัชกาลที่ 4 วงปี่พาทย์มีความเจริญมาก โดยเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ ต่างก็มีวงปี่พาทย์ประจำบ้านกัน และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระราชดำริให้นำลวดเหล็กเล็ก ๆ ที่ทอดพระเนตรจากนาฬิกาตั้งโต๊ะที่กลไกข้างในมีลวดเส้น เล็ก ๆ สั้นบ้างยาวบ้าง ปักเรียงกันถี่ ๆ เป็นวงกลมคล้ายหวีตรงกลางมีแกนหมุนและเหล็กเขี่ยเส้นลวดเหล็กเหล่านั้นผ่านไปโดยรอบที่พระองค์ทรงเรียกว่า นาฬิกาเขี่ยหวี ซึ่งมีเสียงดังกังวานมาสร้าง เป็นระนาดทุ้มเหล็ก และระนาดเหล็กที่เล็กกว่าและมีเสียงสูงกว่า มาเพิ่มเข้าในวงปี่พาทย์ และเรียกวงปี่พาทย์นี้ว่า วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เพิ่มเครื่องดนตรี ระนาดทุ้มเหล็กและระนาดเอกเหล็กที่ทำด้วยทองเหลืองเรียกว่า ระนาดทอง และนำซอด้วงและซออู้มาผสมในวงมโหรีด้วยเรียกว่า มโหรีเครื่องใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงปรับปรุงขึ้นเพื่อบรรเลงประกอบละครวงปี่พาทย์นี้มีชื่อเสียงไพเราะนุ่มนวลกว่า เพราะได้ดัดเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังมาก เสียงสูงและเสียงเล็กแหลมออกจนหมด และระนาดเอกก็ตีด้วยไม้นวม รวมทั้งยังนำฆ้องชัยหรือฆ้องหุ่ยมา 7 ลูก เทียบเสียงเรียงลำดับตีห่างๆ คล้ายกับ เบสของฝรั่ง เพิ่มเข้ามา ในสมัยรัชกาลที่ 6 การดนตรีมีความเจริญขึ้นมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งกรมมหรสพ กรมบัญชาการ กรมโขนหลวง กรมพิณพาทย์หลวงกลองเครื่องสายฝรั่งหลวง และกรมช่างมหาดเล็ก สำหรับสร้างและซ่อมสิ่งที่เป็นศิลปะต่าง ๆ และพระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องปี่พาทย์ประดับมุกและประดับงาขึ้น 2 ชุด ประดับเป็นลวดลายวิจิตร มีอักษรพระปรมาภิไธย ม.ว. ซึ่งงดงามมีค่ายิ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งวงเครื่องสาย ส่วนพระองค์ขึ้น โดยพระองค์ทรงซอด้วง และพระบรมราชินีทรงซออู้ พร้อมทั้งเจ้านายอีกหลายพระองค์ อยู่ในวงนั้น นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์ เพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรละออองค์ เถา และเพลงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น ต่อมาเมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 การดนตรีไทยได้ค่อย ๆ เสื่อมลง จนมาถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปแล้ว จึงได้มีการฟื้นฟูดนตรีไทยขึ้นใหม่ จนมาถึงปัจจุบันนี้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระปรีชาสามารถทางดนตรีสากล และพระราชนิพนธ์เพลงขึ้นหลายเพลงด้วย แต่พระองค์ยังทรงสนพระทัยการดนตรีไทย โดยพระราชทานทุน ให้พิมพ์เพลงไทยเป็นโน้ตสากลออกจำหน่ายจนเป็นที่นิยมของวงการดนตรีทั่วไป

เครื่องดนตรีแต่ละภาคเป็นดนตรีพื้นบ้านที่ถ่ายทอดกันมาด้วยวาจาซึ่งเรียนรู้ผ่านการฟังมากกว่าการอ่าน และเป็นสิ่งที่พูดต่อกันมาแบบปากต่อปากโดยไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงเป็นลักษณะการสืบทอดทางวัฒนธรรมของชาวบ้านตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นกิจกรรมการดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงาน และช่วยสร้างสรรค์ความรื่นเริงบันทิงเป็นหมู่คณะและชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ซึ่งจะทำให้เกิดความรักสามัคคีกันในท้องถิ่นและปฏิบัติสืบทอดต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้น ๆ สืบต่อไป

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า โดยเครื่องดีด ได้แก่ จะเข้และจ้องหน่อง เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วงและซออู้ เครื่องตีได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทอง ระนาดทุ้มเล็ก ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบและกรับ เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ยและปี่ ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์ของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมีการพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และหลวง

ในยุคแรกจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ท่อนไม้กลวง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่า เจ้าเขา จากนั้น ได้มีการพัฒนาโดยนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียกว่ากลอง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไป เช่น กลองที่ขึงปิดด้วยหนังสัตว์เพียงหน้าเดียว ได้แก่ กลองรำมะนา กลองยาว กลองแอว และกลองที่ขึงด้วยหนังสัตว์ทั้งสองหน้า ได้แก่ กลองมองเซิง กลองสองหน้า และตะโพนมอญ นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เช่น ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ย่ะเอ้ ปี่แน ปี่มอญ ปีสรไน และเครื่องสี ได้แก่ สะล้อลูก 5 สะล้อลูก 4 และ สะล้อ 3 สาย และเครื่องดีด ได้แก่ พิณเปี๊ยะ และซึง 3 ขนาด คือ ซึงน้อย ซึงกลาง และซึงใหญ่ สำหรับลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีภาคเหนือ คือ มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า มาผสมวงกันให้มีความสมบูรณ์และไพเราะ โดยเฉพาะในด้านสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ ผสมทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ และยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในราชสำนักทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรีได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและวัง และแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

มีวิวัฒนาการมายาวนานนับพันปี เริ่มจากในระยะต้น มีการใช้วัสดุท้องถิ่นมาทำเลียนสียงจากธรรมชาติ ป่าเขา เสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงน้ำตก เสียงฝนตก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงสั้นไม่ก้อง ในระยะต่อมาได้ใช้วัสดุพื้นเมืองจากธรรมชาติมาเป่า เช่น ใบไม้ ผิวไม้ ต้นหญ้าปล้องไม้ไผ่ ทำให้เสียงมีความพลิ้วยาวขึ้น จนในระยะที่ 3 ได้นำหนังสัตว์และเครื่องหนังมาใช้เป็นวัสดุสร้างเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะและรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น กรับ เกราะ ระนาด ฆ้อง กลอง โปง โหวด ปี พิณ โปงลาง แคน เป็นต้น โดยนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่มีลักษณะเฉพาะตามพื้นที่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ และอีสานกลางจะนิยมดนตรีหมอลำที่มีการเป่าแคนและดีดพิณประสานเสียงร่วมกับการขับร้อง ส่วนกลุ่มอีสานใต้จะนิยมดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นดนตรีบรรเลงที่ไพเราะของชาวอีสานใต้ที่มีเชื้อสายเขมร นอกจากนี้ยังมีวงพิณพาทย์และวงมโหรีด้วยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะบรรเลงดนตรีเหล่านี้กันเพื่อ ความสนุกสนานครื้นเครง ใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ลำผีฟ้า ที่ใช้แคนเป่าในการรักษาโรค และงามศพแบบอีสานที่ใช้วงตุ้มโมงบรรเลง นับเป็นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านอีสานที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ http://www.youtube.com/watch?v=wm9AJSz39CY&feature=share

มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่าจะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม้ไผ่ลำขนาด ต่าง ๆ กันตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนรา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่าเช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะการแสดงและดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคร ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นล้วนได้รับอิทธิพลมาจากภาคกลางบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบการละเล่นแสดงต่างๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีต้าร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดน ไทย- มาเลเซีย ดังนั้นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น อิแอิแอิแอิแอิ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301