ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เครือจักรภพอังกฤษ

เครือจักรภพแห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Commonwealth of England) คือรัฐบาลสาธารณรัฐที่ปกครองอังกฤษ รวมทั้งเวลส์ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1660 หลังจากการสำเร็จโทษของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 เครือจักรภพอังกฤษกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติประกาศอังกฤษเป็นเครือจักรภพโดยรัฐสภารัมพ์ (Rump Parliament) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1649 รัฐบาลระหว่างช่วงเวลานี้เรียกว่า รัฐผู้พิทักษ์ (The Protectorate) ปกครองโดยตรงโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และริชาร์ด ครอมเวลล์ลูกชายของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์หลังจากที่ครอมเวลล์เสียชีวิต ในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector)

คำว่า “เครือจักรภพ” เป็นคำที่ใช้กว้าง ๆ สำหรับรัฐบาลที่ปกครองอังกฤษระหว่างช่วงเวลาที่เรียกกันว่า “สมัยไร้กษัตริย์อังกฤษ” (English Interregnum) ในระหว่างปีค.ศ. 1649 ถึงค.ศ. 1660 ซึ่งเป็นคนละความหมายกับ “เครือจักรภพแห่งชาติ” (Commonwealth of Nations) หรือ “เครือจักรภพอังกฤษ” ซึ่งเป็นองค์การก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นเครือจักรภพแห่งชาติ

รัฐสภารัมพ์ ก่อตั้งขึ้นหลังจากการยึดรัฐสภาของไพรด์จากสมาชิกของรัฐสภายาว (Long Parliament) ซึ่งเคยมีมติไม่สนันสนุนการมีตำแหน่งทางการเมืองเป็น "แกรนดี" ของกองทัพตัวอย่าง ซึ่งก่อนและหลังจากการสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 รัฐสภารัมพ์ได้มีมติผ่านร่างรัฐบัญญัติหลายร่างซึ่งเป็นพื้นฐานการปกครองแบบสาธารณรัฐ รวมถึงการยกเลิกระบอบกษัตริย์, สภาองมนตรี, และสภาขุนนาง ซึ่งรัฐสภารัมพ์นั้นจึงอยู่ในสภาพที่ไม่ต้องรับการตรวจสอบใดๆ รวมถึงมีอำนาจในการตรากฎหมายอีกด้วย

จากนั้นได้มีการตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ (Council of State) ซึ่งมีหน้าที่แทนสภาองคมนตรี มีหน้าที่ดูแลโดยตรงต่ออำนาจการบริหารของพระมหากษัตริย์ ซึ่งสมาชิกสภาแห่งนี้ถูกแต่งตั้งโดยรัฐสภารัมพ์ และสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม รัฐสภารัมพ์นั้นสามารถยืนอยู่ได้ด้วยการสนับสนุนของกองทัพซึ่งความสัมพันธ์นั้นก็ไม่ได้เป็นที่ราบรื่นนัก และภายหลังการสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 สภาสามัญชนก็ได้ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์, สภาขุนนาง และคริสตจักรแห่งอังกฤษ และประกาศให้ประเทศอังกฤษเป็น "สาธารณรัฐ" ภายใต้ชื่อว่า "เครือจักรภพแห่งบริเตน" ภายใต้การนำของ "โอลิเวอร์ ครอมเวลล์"

จากเหตุการณ์การยึดรัฐสภาของไพรด์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ประกอบด้วยนักการเมืองที่ถือนิกายเพรสไบทีเรียนเป็นส่วนใหญ่) ส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยถึงความจำเป็นที่จะนำพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1เข้าสู่การพิจารณาคดีนั้นได้ถูกถอดถอนและกักกัน ดังนั้นสภารัมพ์จึงมีจำนวนไม่ถึงสองร้อยคนเท่านั้น (ซึ่งยังน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาสามัญชนในสมัยรัฐสภายาว) รวมถึงผู้สนับสนุนศาสนาอิสระต่างๆที่ไม่อยากให้มีการบังคับการถือศาสนาประจำชาติ และบุคคลที่เห็นด้วย (โดยเฉพาะผู้นับถือนิกายเพรสไบทีเรียนที่พร้อมจะสนับสนุนการพิจารณาคดีสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในภายหลังยังมีการสนับสนุนเพิ่มเติมของสมาชิกสภาที่ไม่เห็นด้วยต่อร่างสนธิสัญญานิวพอร์ตกับพระองค์ ซึ่งไม่เป็นผลสำเร็จ

สมาชิกส่วนใหญ่ของสภารัมพ์นั้นถือเป็นผู้สืบตระกูลขุนนางชั้นสูง (Gentry) และถือว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับในสมัยรัฐสภาเก่า ซึ่งส่วนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสภานี้เป็นเหล่าผู้ที่สนับสนุนการสำเร็จโทษพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ดังนั้นจึงทำให้สภาแห่งนี้ค่อนข้างจะมีความคิดทางอนุรักษนิยมซึ่งยังคงห่วงผลประโยชน์ของการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินรวมถึงระบบกฎหมาย และจึงเป็นการยากที่จะให้รัฐสภาแห่งนี้สนับสนุนการปฏิรูปอย่างจริงจัง

ในช่วงสองปีแรกของการบริหารประเทศ รัฐสภารัมพ์ได้เผชิญหน้ากับปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจ และยังมีปัจจัยเสี่ยงถูกรุกรานจากสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ (ในปีค.ศ. 1653 ครอมเวลล์ และกองทัพของเขาได้มีส่วนในการกำจัดปัจจัยนี้ลงได้)

ภายในสภารัมพ์เองก็มีปัญหาด้านความเป็นเอกภาพ ซึ่งบางกลุ่มนั้นสนับสนุนการเป็นสาธารณรัฐอย่างเต็มตัว และบางกลุมนั้นยังคงอยากให้มีการรักษาการปกครองในระบอบกษัตริย์ไว้เพียงบางส่วน ขุนนางเก่าซึ่งเป็นชนชั้นปกครองของอังกฤษส่วนใหญ่นั้นถือว่ารัฐสภารัมพ์เป็นรัฐบาลอย่างผิดกฎหมายซึ่งสร้างขึ้นจากกลุ่มต่อต้านกษัตริย์ และยังทราบดีว่าสภาแห่งนี้จะนำมาซึ่งการปกครองแบบเผด็จการทางทหารในที่สุด ภาษีที่มีอัตราสูงเพื่อใช้ในการทหารเป็นหลักนั้นสร้างความไม่พอใจอย่างมากในเหล่าผู้สืบตระกูลขุนนางชั้นสูง การปฏิรูปต่างที่จำกัดแต่เริ่มต้นนั้นได้สร้างความไม่พึงพอใจชนชั้นปกครองเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้มากเพียงพอที่จะทำให้คนรากหญ้านั้นพึงพอใจเลยทีเดียว

ถึงแม้ว่ารัฐสภารัมพ์จะไม่เป็นที่น่ายกย่องภายในอังกฤษ แต่ก็ถือว่าสภาแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับระบอบเก่าอยู่มาก และช่วยให้ประเทศอังกฤษนั้นพยุงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคงภายหลังจากวิกฤตการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยในปีค.ศ. 1653 ประเทศฝรั่งเศสและสเปนได้ยอมรับรัฐบาลใหม่ของอังกฤษอย่างเป็นทางการ

ถึงแม้ว่าคริสตจักรแห่งอังกฤษจะรอดพ้นจากการยุบลง แต่การปกครองโดยคณะสงฆ์นั้นได้ถูกยุบลงและพระราชบัญญัติสมานฉันท์ (Act of Uniformity)นั้นถูกยกเลิกลงในปีค.ศ. 1650 ตามความความเรียกร้องของกองทัพแล้ว คริสตจักรอิสระต่างๆนั้นยังคงทนอยู่ได้ถึงแม้ว่าประชาชนจะยังคงต้องจ่ายภาษีบางส่วนให้กับคริสตจักรแห่งอังกฤษก็ตาม

นอกจากนี้ยังการปรับปรุงหลายอย่างที่ดีต่อกฎหมายและพิธีการศาล ตัวอย่างเช่น การว่าความและพิจารณาคดีนั้นสามารถทำได้ในภาษาอังกฤษแทนที่ภาษาฝรั่งเศสหรือลาติน

แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการปฏิรูปกฎหมายคอมมอนลอว์อย่างแพร่หลาย ซึ่งกรณีนี้นั้นถือว่าไม่เป็นประโยชน์ใดๆต่อชนชั้นสูงซึ่งล้วนมองว่าคอมมอนลอว์นั้นเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงฐานะและสิทธิต่อสมบัติต่างๆของพวกเขา

รัฐสภารัมพ์ยังผ่านร่างกฎหมายหลายฉบับซึ่งใช้บังคับพฤติกรรมและจริยธรรม อาทิเช่น การปิดโรงมหรสพและโรงละครต่างๆ รวมถึงการบังคับทางศาสนาในทุกวันอาทิตย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งกฎหมายต่างๆเหล่านี้นั้นล้วนไม่เป็นมิตรต่อชนชั้นสูงในสมัยนั้น

ครอมเวลล์ ด้วยความช่วยเหลือของนายพลโธมัส แฮร์ริสัน ได้ใช้กำลังในการยุบรัฐสภารัมพ์ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1653 ด้วยเหตุผลที่ยังไม่ชัดแจ้ง โดยหนึ่งในทฤษฎีนั้นคือ เพราะความเกรงกลัวว่ารัฐสภารัมพ์นั้นจะตั้งตนเป็นรัฐบาลเสียเอง หรือไม่ก็กำลังจะวางแผนการเลือกตั้งซึ่งอาจจะนำผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับการปกครองแบบเครือจักรภพนี้กลับมามีเสียงส่วนใหญ่ได้ ซึ่งต่อมาอดีตสมาชิกรัฐสภารัมพ์นั้นได้ถือตนว่าเป็นเพียงผู้ที่ถูกต้องและมีสิทธิ์อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น นอกจากนี้สภาแห่งนี้ยังไม่ตกลงที่จะยุบสภาเองตามที่เคยร้องขอโดยครอมเวลล์ ซึ่งนำมาจากหลักกฎหมายเหมือนกับในกรณีของรัฐสภายาวในสมัยก่อนหน้าสงครามกลางเมือง ซึ่งถือว่าสภามีสิทธิตามกฎหมายที่จะไม่มีการยุบสภา ยกเว้นแต่สภาจะตกลงกันแล้วเท่านั้น

ภายหลังจากการยุบสภารัมพ์ลงนั้นตามมาด้วยช่วงเวลาสั้นซึ่งครอมเวลล์ และกองทัพเป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยโดยรวม ในขณะนั้นยังไม่มีบุคคลใดที่มีอำนาจทางรัฐธรรมนูญเพียงพอที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นได้ และครอมเวลล์ก็ยังไม่อยากใช้การปกครองแบบเผด็จการทหาร เขาจึงปกครองผ่านทาง"คณะบุคคลซึ่งเป็นตัวแทน" ซึ่งเขาคิดว่าเป็นการง่ายตอการควบคุมโดยกองทัพ เนื่องจากนายทหารทั้งหลายนั้นเป็นผู้คัดเลือกตัวแทนดังกล่าว

รัฐสภาแบร์โบนส์นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างมากโดยอดีตสมาชิกรัฐสภารัมพ์ และยังถูกเย้ยหยันโดยเหล่าชนชั้นสูงว่าเป็นศูนย์รวมของบุคคลที่ "ต่ำต้อยกว่า" แต่กระนั้นสภาแห่งนี้ยังประกอบด้วยสมาชิกกว่า 110 คน จากทั้งหมด 140 คน ที่เป็นผู้ที่ถือเป็นชนชั้นสูง และมีสถานะทางสังคมที่สูงกว่า (ยกเว้นแต่เพียงคนขายหนังและนักเทศน์ที่เรียกกันว่า “เพรส-กอด แบร์โบน” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเล่นของรัฐสภาชุดนี้) รวมทั้งยังมีการศึกษาที่ค่อนข้างดีอีกด้วย

สมาชิกของสภาที่ถูกคัดเลือกเข้ามานั้นสะท้อนถึงความคิดอันแตกต่างของนายทหารที่เป็นผู้คัดเลือก โดยแบ่งเป็นสามพวกใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มหัวรุนแรง (The Radicals) ประมาณ 40 คน เป็นกลุ่มที่รวมถึงสมาชิกหัวรุนแรงของกลุ่มราชาธิปไตยที่ห้า (Fifth Monarchists) ซึ่งต้องการที่จะกำจัดระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ และกำจัดการความคุมทางศาสนาทั้งหมด กลุ่มเป็นกลาง (The Moderates) ประมาณ 60 คน เป็นกลุ่มที่ต้องการเห็นการปรับปรุงภายในระบบที่เป็นอยู่ และอาจจะพร้อมที่จะสนันสนุนฝั่งหัวรุนแรง และฝั่งอนุรักษนิยมได้ตามสถานการณ์ และกลุ่มอนุรักษนิยม (The Conservatives) ประมาณ 40 คน เป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง โดยสนับสนุนในระบบที่เป็นอยู่ (เนื่องจากระบบคอมมอนลอว์ได้เป็นกลไกสำคัญในการปกป้องสิทธิในสมบัติของเหล่าชนชั้นสูง รวมถึงสิทธิในการเก็บภาษี และการมีสิทธิเสนอชื่อแต่งตั้งพระสงฆ์ในเขตปกครองด้วย)

ครอมเวลล์เห็นว่าสภาชุดนี้นั้นเป็นเหมือนสภานิติบัญญัติแบบชั่วคราวซึ่งเขาหวังว่าจะเป็นผู้เริ่มการปฏิรูปและพัฒนารัฐธรรมนูญสำหรับเครือจักรภพฯ อย่างไรก็ตามสมาชิกต่างๆล้วนแบ่งเป็นกลุ่มตามแต่ละหัวข้อหลักๆ ซึ่งสมาชิกสภาจำนวนเพียง 25 คนเท่านั้นที่เคยผ่านงานรัฐสภา บางส่วนนั้นเคยผ่านการอบรมกฎหมายต่างๆ แต่ก็ไม่มีใครเลยที่เป็นทนายความมืออาชีพ ซึ่งดูเหมือนเขาจะหวังว่าสมาชิกรัฐสภาสมัครเล่นชุดนี้จะสร้างการปฏิรูปโดยปราศการการจัดการหรือทิศทางที่แน่ชัดได้ แต่เมื่อกลุ่มในสภาหัวรุนแรงมีเสียงสนับสนุนมากพอที่จะล้มร่างกฎหมายซึ่งจะดำรงสถานะเดิมของศาสนาในขณะนั้นอยู่ เป็นผลให้กลุ่มอนุรักษนิยม รวมถึงกลุ่มเป็นกลางนั้นได้รวมตัวกันยอมจำนนมอบอำนาจแก่ครอมเวลล์ในการส่งทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ในสภาทั้งหมด ถือเป็นจุดสิ้นสุดของสภาแบร์โบนส์

ในช่วงที่อังกฤษปกครองในระบบเครือจักรภพฯนั้นปกครองโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาและรัฐสภา ซึ่งถูกคั่นสองสมัยด้วยการปกครองโดยตรงจาก "เจ้าผู้พิทักษ์" หรือเรียกว่า "รัฐในอารักขา" ซึ่งปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญที่ระบุให้อำนาจเขาเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาซึ่งมีอายุทุก ๆ สามปี

ในปีค.ศ. 1653 โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับการสาบานตนเป็น "เจ้าผู้พิทักษ์" ของอังกฤษและต่อมาเป็นบริเตนใหญ่ เป็นคนแรกของรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ฉบับที่สอง และฉบับสุดท้ายที่รู้จักกันในชื่อของ "ฏีกาถ่อมตนและข้อแนะนำ พ.ศ. 2200" (Humble Petition and Advice of 1657)

หลังจากการถึงแก่กรรมของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ในปี ค.ศ. 1658 บุตรชายของเขา ริชาร์ด ครอมเวลล์ เป็นผู้สืบตำแหน่งเป็นเจ้าผู้พิทักษ์คนที่สอง แต่สถานการณ์การแบ่งแยกภายในพรรครีพับลิกันได้นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของเขา ถือเป็นการปิดฉากลงของการปกครองโดยเจ้าผู้พิทักษ์ ทำให้เครือจักรภพนั้นกลับไปสู่การปกครองร่วมโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาและรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301