ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เคมีวิเคราะห์

เคมีวิเคราะห์ (อังกฤษ: Analytical chemistry) คือสาขาของวิชาเคมีที่ว่าด้วยการวิเคราะห์สารตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงองค์ประกอบ และโครงสร้างทางเคมีของวัสดุนั้นๆ

เคมีวิเคราะห์อาจนิยามความหมายได้อย่างกว้างขวางขึ้นอยู่กับขอบเขตที่ศึกษา หรือจุดประสงค์ของการวัดวิเคราะห์ หรือกระบวนการดำเนินการทดสอบโดยอาศัยความรู้ทางเคมี เมอร์เรย์ (Murray, 1994) ได้นิยามเคมีวิเคราะห์แบบง่าย ๆ แต่แฝงด้วยความหมายและความสำคัญอันลึกซึ้งของเคมีวิเคราะห์ตามคำกล่าวของไรเลย์ (Charles Reilley) ที่กล่าวไว้ในปี ค.ศ. 1965 ซึ่งกล่าวไว้ว่า “Analytical chemistry is what analytical chemists do.” การกำหนดนิยามอย่างใดอย่างหนึ่งอาจไม่ครอบคลุมถึงแนวคิดพื้นฐานของเคมีวิเคราะห์ได้ทั้งหมด

1)    การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (qualitative analysis) คือ การวิเคราะห์ที่สนใจทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างว่ามีองค์ประกอบใด มีสารที่สนใจรวมอยู่หรือไม่ เป็นสารบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น ต้องการทราบว่าในตัวอย่างผงสีขาวเป็นเกลือแกงหรือไม่ จึงต้องทดสอบเพื่อยืนยันโดยอาศัยสมบัติทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ทดสอบการละลาย ทดสอบโดยเปลวไฟ เป็นต้น คำตอบของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะระบุเป็นเพียงใช่หรือไม่ใช่ มีหรือไม่มี แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับปริมาณของสารที่สนใจ

2)   การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis) คือ การวิเคราะห์ที่ต้องการทราบระดับปริมาณของสารที่สนใจในสารตัวอย่าง เช่น ต้องการทราบปริมาณของแข็งทั้งหมด (total solid) ในตัวอย่างน้ำ ต้องการทราบปริมาณแร่ธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ในดินหรือปุ๋ย ต้องการทราบปริมาณสารหนู (As) ในข้าว ต้องการทราบปริมาณออกซิเจนละลาย (dissolved oxygen; DO) ในน้ำทิ้งหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น การหาคำตอบจะต้องทำการทดลองตามขั้นตอนการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้คำตอบเป็นปริมาณสารที่สนใจในสารตัวอย่างอย่างถูกต้อง และต้องมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์สารที่สนใจในสารตัวอย่างหนึ่ง ๆ อาจจำเป็นต้องดำเนินการทั้งวิเคราะห์เชิงคุณภาพและการวิเคราะห์เชิงปริมาณควบคู่กัน โดยวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะเป็นการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับการมีอยู่ของสารที่สนใจก่อนจะทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณ แต่โดยส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์ทางเคมีวิเคราะห์มักจำเป็นต้องการคำตอบที่เป็นปริมาณสารที่สนใจในสารตัวอย่าง ถึงกระนั้นไม่ได้หมายความว่าการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะสามารถทำได้ง่ายกว่าการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และในบางกรณีอาจทำได้ยากกว่าเสียอีก เช่น การที่จะระบุว่าคุณภาพน้ำตัวอย่างจัดเป็นน้ำเสียหรือไม่ เนื่องจากต้องทำการวิเคราะห์ตามดัชนีที่ใช้เป็นเกณฑ์บอกระดับคุณภาพน้ำจึงจะสามารถระบุได้ว่าเป็นน้ำเสียหรือไม่เป็นน้ำเสีย หรือการทดสอบว่าสารที่สงสัยเป็นสารใดนั้นอาจจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการตรวจสอบหลายวิธีจึงจะสามารถตอบได้ ซึ่งต่างกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณที่ดำเนินการวิเคราะห์เพื่อบ่งชี้ระดับความเข้มข้นของสารที่สนใจเท่านั้น

เทคนิคในการวิเคราะห์ คือ หลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของวิธีการในการวัดสารที่สนใจในสารตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) การวิเคราะห์แบบแผนเดิม (classical method) คือ การวิเคราะห์ที่อาศัยเทคนิคพื้นฐานทางการวัดโดยอาจไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนมากนัก ได้แก่

·  การวิเคราะห์โดยน้ำหนัก (gravimetric method) ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักสารที่สนใจกับสารตัวอย่าง โดยอาศัยการเกิดตะกอนที่ละลายน้ำได้น้อยระหว่างสารที่สนใจกับตัวตกตะกอน โดยน้ำหนักตะกอนที่เกิดขึ้นหรือตะกอนที่ทำให้บริสุทธิ์จะสัมพันธ์กับสารตัวอย่างตามปริมาณสัมพันธ์ เช่น การวิเคราะห์แบเรียม (Ba2+) โดยตกตะกอนเป็น BaSO4 ดังสมการ

·  ปริมาตรวิเคราะห์ (volumetric method) ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์ที่อาศัยการเกิดปฏิกิริยาสมมูลกันระหว่างสารที่สนใจกับสารละลายมาตรฐานตามปริมาณสัมพันธ์ โดยวิธีที่นิยมใช้คือ การไทเทรต (titration) จึงอาจเรียกอีกชื่อว่า ไททริเมตรี (titrimetry) เช่น การวิเคราะห์หาปริมาณร้อยละกรดแอซีติก (CH3COOH) ในตัวอย่างน้ำส้มสายชูกลั่น โดยไทเทรตกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่ทราบความเข้มข้นแน่นอนโดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ เรียกจุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีว่า จุดยุติ (end point) ซึ่งปริมาตรของสารละลาย NaOH ที่ใช้ในการไทเทรตสามารถใช้คำนวณน้ำหนักของกรดแอซีติกโดยอาศัยปริมาณสัมพันธ์ได้

2) การวิเคราะห์แบบแผนใหม่ (modern method) คือ การวิเคราะห์ที่อาศัยหลักพื้นฐานทางเคมี และการพัฒนาการวัดด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ หรือที่เรียกว่า วิธีวิเคราะห์โดยเครื่องมือวิเคราะห์ (instrumental method) ซึ่งวิธีนี้อาศัยการวัดสมบัติทางกายภาพ และ/หรือ สมบัติทางเคมีของสารที่สนใจ หรือการวัดสัญญาณตอบสนองอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกิดขึ้นระหว่างการวัด ซึ่งสัญญาณตอบสนองที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับปริมาณของสารที่สนใจในสารตัวอย่าง การวิเคราะห์แบบแผนใหม่อาจแบ่งได้ตามลักษณะเฉพาะ ได้แก่

2.1) เทคนิคการวิเคราะห์ทางเคมีไฟฟ้า (electrochemical techniques) เป็นวิธีวิเคราะห์โดยวัดสมบัติทางไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับชนิดหรือปริมาณสารที่สนใจ เช่น

·    เทคนิคโพเทนชิออเมตรี (potentiometry) เป็นเทคนิคการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าซึ่งสัมพันธ์กับความว่องไว (activity) ของไอออนตามสมการเนินสต์

·    เทคนิคแอมเพอโรเมตรี (amperometry) เป็นเทคนิคที่ให้ศักย์ไฟฟ้าที่คงที่กับขั้วไฟฟ้าใช้งานที่เพียงพอทำให้เกิดปฏิกิริยาของสารตัวอย่างที่ผิวหน้าของขั้วไฟฟ้าได้ แล้ววัดค่ากระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่สัมพันธ์กับเวลา ซึ่งค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จะแปรผันโดยตรงกับความเข้มข้นของสารที่เกิดปฏิกิริยา

·    เทคนิคคูลอเมตรี (coulometry) เป็นการวัดปริมาณประจุไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ทำให้สารตัวอย่างเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์อย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณประจุไฟฟ้ากับจำนวนกรัมสมมูลของสารนั้นตามกฎฟาราเดย์

·    เทคนิคโวลแทมเมตรี (voltammetry) เป็นเทคนิควิเคราะห์ที่ให้ศักย์ไฟฟ้าแก่วงจร เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีของสารตัวอย่าง การจัดเซลล์ของวงจรเป็นแบบเซลล์ อิเล็กโทรไลต์และการไหลของกระแสอยู่ภายใต้สภาวะการเกิดโพลาไรเซชันที่ขั้วไฟฟ้า แล้ววัดกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ณ ศักย์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ให้แก่วงจร

2.2) เทคนิคทางสเปกโทรเมตรี (spectrometric techniques) หรือที่เรียกว่า วิธีทางแสง (optical method) ซึ่งอาศัยหลักการเกิดอันตรกิริยา (interaction) ระหว่างสสารของอนุมูลสารที่สนใจกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า โดยอันตรกิริยาที่เกิดขึ้นจะเป็นสมบัติเฉพาะของสสารกับพลังงานของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น

·   การดูดกลืน (absorption) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการดูดกลืนรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าของสสาร เช่น วิธียูวี-วิสิเบิลสเปกโทรเมตรี (UV-visible spectrometry; UV-vis) วิธีอะตอมมิกแอบซอร์บชันสเปกโทรเมตรี (atomic absorption spectrometry; AAS) วิธีอินฟราเรดสเปกโทรเมตรี (infrared spectrometry; IR) วิธีรามานสเปกโทรเมตรี (Raman spectrometry) วิธีนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ (nuclear magnetic resonance; NMR)  เป็นต้น

·    การเปล่งออก (emission) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการเปล่งพลังงานออกมา เมื่ออนุมูลของสารที่สนใจเกิดอันตรกิริยากับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น เทคนิคอะตอมมิกอีมิสชันสเปกโทรเมตรี (atomic emission spectrometry; AES) เทคนิคอินดักทีฟลีคัปเปิล-พลาสมาออพติคอลอีมิสชันสเปกโทรเมตรี (inductively coupled plasma optical emission spectrometry; ICP-OES) เทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรเมตรี (X-ray fluorescence; XRF) และเทคนิคลูมิเนสเซนต์สเปกโทรเมตรี (luminescence spectrometry) เป็นต้น

·    การหักเหของรังสี (refraction) ใช้หลักการหักเหเมื่อรังสีผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน เช่น เทคนิครีแฟรกโตเมตรี (refractometry)

·    การเลี้ยวเบนของรังสี (diffraction) อาศัยหลักการเลี้ยวเบนของรังสีเมื่อกระทบกับตัวอย่าง เช่น การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ของเทคนิคเอกซเรย์ดิฟแฟรกโตเมตรี (X-ray diffractometry) เป็นต้น

2.3) เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการแยก (separation techniques) โดยส่วนใหญ่จะอาศัยวิธีโครมาโทกราฟี (chromatography) เป็นหลัก โดยอาศัยหลักการแยกสารที่สนใจออกจากสารตัวอย่าง อันเนื่องมาจากสารมีปฏิกิริยากับสองวัฏภาค (phase) ที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ระหว่างวัฏภาคของแข็งกับของเหลว (solid/liquid) ของเหลวกับของเหลว (liquid/liquid) และของเหลวกับแก๊ส (liquid/gas) ตัวอย่างวิธีวิเคราะห์ เช่น

·    เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (GC) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับแยกสารตัวอย่างที่เป็นสารผสมที่สามารถระเหยเป็นไอได้ โดยไอระเหยที่เกิดขึ้นจะถูกนำเข้าสู่คอลัมน์โดยอาศัยการพาของวัฏภาคเคลื่อนที่ (mobile phase) ที่เป็นแก๊ส และไอสารตัวอย่างถูกแยกด้วยวัฏภาคคงที่ (stationary phase) ในคอลัมน์ โดยสารตัวอย่างจะถูกแยกเป็นส่วนในคอลัมน์ ตามสมบัติทางเคมี โครงสร้าง น้ำหนักโมเลกุล จุดเดือด เป็นต้น

·    เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลว (LC) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับแยกสารตัวอย่างที่เป็นสารผสมโดยอาศัยการพาของวัฏภาคเคลื่อนที่ที่เป็นของเหลว และสารตัวอย่างถูกแยกด้วยวัฏภาคคงที่ในคอลัมน์ที่เป็นของแข็ง หรือของเหลว

·    เทคนิคไอออนโครมาโทกราฟี (ion chromatography; IC) เป็นเทคนิคที่ใช้แยกแคตไอออนหรือแอนไอออน โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนไอออน (ion exchange) ที่เกิดจากการดักจับไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามกับวัฏภาคคงที่ที่อยู่ภายในคอลัมน์ ซึ่งเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างประจุที่แตกต่างกัน

2.4) เทคนิคเกี่ยวข้องกับความร้อน (thermal analytical techniques) เป็นวิธีที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือทางกายภาพ เมื่อสารได้รับความร้อน เช่น วิธีการวิเคราะห์โดยน้ำหนักด้วยความร้อน (thermogravitric analysis; TGA) ซึ่งเป็นการวัดมวลที่เปลี่ยนแปลงเมื่อสารได้รับความร้อนที่ระดับอุณหภูมิแตกต่างกัน

2.5) เทคนิคเกี่ยวกับการวิเคราะห์มวล (mass analysis) เช่น เทคนิค แมสสเปกโทรสโกปี (mass spectroscopy) เป็นวิธีวิเคราะห์โดยอาศัยค่ามวลต่อประจุของไอออนที่เกิดการแตกตัวเป็นไอออนย่อย (fragment ion)

2.6) วิธีวิเคราะห์ทางจลนพลศาสตร์ (kinetic method) เป็นวิธีการวิเคราะห์อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การหาอันดับของปฏิกิริยา รวมทั้งศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วย และนำมาใช้ตรวจสอบความเข้มข้นของสารที่สนใจ

เคมีวิเคราะห์เป็นการบูรณาการความรู้พื้นฐานทางเคมี และประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐาน หรือพัฒนาองค์ความรู้เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบของสารที่สนใจในสารตัวอย่างทั้งเชิงคุณภาพ และ/หรือ เชิงปริมาณ โดยมีกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน คือ การพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นหรือเหตุผลในการวิเคราะห์สารที่สนใจ ชนิดสารตัวอย่าง การเลือกวิธีวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับชนิดและระดับความเข้มข้นของสารที่สนใจ วิธีการชักตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของตัวอย่างทั้งหมด การเก็บรักษาตัวอย่างเพื่อรักษาสภาพหรือสมบัติทางเคมีและกายภาพไม่ให้เปลี่ยนแปลงก่อนดำเนินการเตรียมตัวอย่างโดยวิธีที่เหมาะสมและก่อนดำเนินการวิเคราะห์สารที่สนใจ การวัดด้วยวิธีมาตรฐานหรือเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีความแม่นและความเที่ยงที่ยอมรับได้ และผู้ทดลองต้องสามารถแปรผลข้อมูล หรือสัญญาณตอบสนองที่ได้จากการทดลองเพื่อเป็นคำตอบที่ต้องการของสารที่สนใจที่สัมพันธ์กับตัวอย่าง เพื่อแสดงคำตอบที่แท้จริงในสารตัวอย่างนั้น ๆ ดังนั้น การวิเคราะห์นั้นต้องมีความแม่น เพื่อแสดงความใกล้กับค่าแท้จริงให้มากที่สุดและต้องคำนึงถึงความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการวิเคราะห์ในแต่ละขั้นตอน

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. 2563. เคมีวิเคราะห์: หลักการและเทคนิคการคำนวณเชิงปริมาณ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง ข้อความคาดการณ์จำนวนเฉพาะคู่แฝด ข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาช เอกลักษณ์ของออยเลอร์ ทฤษฎีบทสี่สี วิธีการแนวทแยงของคันทอร์ ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส ทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา ทฤษฎีข้อมูล กลศาสตร์ ทฤษฎีเกม คณิตศาสตร์การเงิน การวิเคราะห์เชิงตัวเลข คณิตศาสตร์ฟิสิกส์ วิทยาการเข้ารหัสลับ การคำนวณ คณิตศาสตร์เชิงการจัด วิยุตคณิต ทฤษฎีความอลวน สมการเชิงอนุพันธ์ แคลคูลัสเวกเตอร์ แฟร็กทัล ทอพอลอยี เรขาคณิตสาทิสรูป พีชคณิตเชิงเส้น ทฤษฎีกรุป ทฤษฎีจำนวน อนันต์

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24157