เขาโรไรมา (สเปน: Monte Roraima [?monte ro??aima]) หรือรู้จักกันในชื่อเทปุยโรไรมาหรือเซอโรโรไรมา (โปรตุเกส: Monte Roraima [?m?t?i ?o????jm?]) เป็นเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาพากาไรมา ของที่ราบสูงเทปุย ในทวีปเมริกาใต้ :156 นักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ เซอร์วอลเทอร์ ราเล ได้บรรยายไว้เป็นคนแรกว่า พื้นที่บนยอดเขากว่า 31 ตารางกิโลเมตร:156 ประกอบขึ้นจากหน้าผารอบด้านซึ่งสูงถึง 400 เมตร (1,300 ฟุต)เขาแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง 3 ประเทศอันได้แก่ประเทศเวเนซุเอลา, บราซิล และกายอานา:156
เขาโรไรมา ตั้งอยู่บนหินฐานทวีปกายอานา ทางมุมตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่ 30,000 ตารางกิโลเมตร (12,000 ตารางไมล์) ของอุทยานแห่งชาติคาไนมา ซึ่งก่อให้เกิดยอดสูงสุดในที่เขตที่ราบสูงกายอานา ภูเขารูปโต๊ะของอุทยานได้รับการพิจารณาว่าเป็นการก่อตัวทางธรณีวิทยาที่เก่าแก่ที่สุดบนโลก มีอายุถึง 2 พันล้านปีนับตั้งแต่ยุคพรีแคมเบรียน
จุดสูงสุดในกายอานาและรัฐโรไรมาของบราซิล ตั้งอยู่เขตพื้นที่ที่ราบสูง แต่เวเนซุล่าและบราซิลยังมีเขาสูงแห่งอื่นอีก พิกัดของเส้นแบ่งเขตแดนของ 3 ประเทศนี้อยู่ที่ 5?12?08?N 60?44?07?W? / ?5.20222?N 60.73528?W? / 5.20222; -60.73528 แต่จุดสูงสุดของเขาแห่งนี้คือ มาเวอริคร็อค สูงถึง 2,810 เมตร (9,219 ฟุต) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของที่ราบสูงและทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ของเวเนซุเอลา
ในเขตที่ราบสูง พืชหลายสายพันธุ์พบเฉพาะในเขาโรไรมาเท่านั้น เช่น พิชเชอร์แพลนท์ (ฮีเลียมโฟรา) แคมปานูลา (เบลฟลาวเวอร์) หรือพืชหายากอย่างต้นหญ้า ราปาที ก็พบได้ทั่วไปตามสันเขาและยอดเขา:156–157 มีฝนตกเกือบทุกวัน พื้นผิวเกือบทั้งหมดบนยอดเขาเป็นหินทรายเปล่า ๆ มีพุ่มไม้ปกคลุมเพียงเล็กน้อย (บอนเนเทียโรไรโม) และพบสาหร่ายด้วย:517:464:63 พืชหายากอื่น ๆ สามารถพบได้ในบ่อทรายที่กระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นหินบนยอดเขา:517สารอาหารในดินโดนชำระล้างไปตามกระแสน้ำที่ไหลตกจากขอบผา เกิดเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง
มีตัวอย่างสัตว์หายากมากมายบนยอดเขาโรไรมา เช่น Oreophrynella quelchii เรียกกันทั่วไปว่าคางคกพุ่มไม้โรไรมา เป็นสัตว์หากินกลางวัน พบได้ในพื้นหินที่เปิดโล่งหรือป่าพุ่มไม้ เป็นคางคกในตระกูล Bufonidae และสืบพันธุ์แบบ direct development คางคกสายพันธุ์นี้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวให้ทราบความสำคัญของปัญหานี้ และไม่ให้รบกวนพวกมัน การเฝ้าระวังจำนวนประชากรอย่างใกล้ชิดก็จำเป็นเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อสัตว์สายพันธุ์นี้ถูกพบแต่ที่ี่นี่แห่งเดียว สัตว์ชนิดนี้ได้รับการคุ้มครองใน Monumento Natural Los Tepuyes ในเวเนซุเอลา และ Parque Nacional Monte Roraima ในบราซิล
เป็นเวลานานก่อนนักสำรวจชาวยุโรปจะเข้ามา เขาโรไรมาเป็นถิ่นฐานสำคัญของชนพื้นเมืองในท้องถิ่น เป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อและตำนานต่างๆ ชาวเพมอน และชาวคาพอน ชนเผ่าพื้นเมืองของแกรนซาบานา ถือเขาโรไรมาว่าเป็นตอของต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งรวมผลไม้และหน่อพืชผักทุกชนิดในโลก แต่เมื่อถูกโค่นลงโดยมาคุไนมา นักหลอกลวงตามตำนาน ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ก็ล้มลงสู่พื้นดิน ก่อให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ Roroi ในภาษาเพมอนแปลว่า สีน้ำเงินเขียว ส่วน ma แปลว่ายิ่งใหญ่[ต้องการอ้างอิง]
ในปี 2006 เขาโรไรมาคือจุดหมายของสารคดีชนะรางวัล เป็นรายการที่ออกอากาศ 2 ชม.ทางโทรทัศน์ของบริษัทกริฟฟอนโปรดักชัน ชื่อเดอะเรียลลอสต์เวิร์ล รายการนี้ออกฉายทางช่อง แอนิมอลแพลเน็ต, ดิสคัฟเวอรีเอชดีเธียเตอร์ และโอแอลเอ็น (แคนาดา) กำกับโดย ปีเตอร์ วอน พัทคาเมอร์nสารคดีท่องเที่ยว/ผจญภัยชุดนี้โดดเด่นด้วยคณะนักสำรวจรุ่นใหม่ ประกอบไปด้วย ริค เวสต์, ดร.ฮาเซล บาร์ตัน,เซธ ฮีลด์, ดีน ฮอริสัน และ ปีเตอร์ สเปราต์ พวกเขาเดินตามรอยนักสำรวจชาวอังกฤษอิม เธิร์น และ แฮรี่ เพอร์คิน ผู้ออกตามหาพรรณพืช และสัตว์ในเขาโรไรมาเมื่อช่วงกลางศตวรรษที่ 19 การผจญภัยของนักสำรวจเหล่านั้นอาจเป็นแรงบันดาลใจให้อาเธอร์ โคแนน ดอยล์ เขียนหนังสือเกี่ยวกับคนและไดโนเสาร์ คือเรื่องเดอะลอสต์เวิร์ล ตีพิมพ์ในปี 1912:156 ในปี 2006 คณะถ่ายทำ เดอะเรียลลอสต์เวิร์ล เป็นคณะสำรวจแรกที่เข้าไปสำรวจถ้ำในเขาโรไรมา หลายถ้ำถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ภายในถ้ำพวกเขาได้ค้นพบการก่อตัวของหินรูปแครอทที่งอกอยู่ในถ้ำซึ่งมีอายุกว่า 2 พันล้านปี ดร.ฮาเซล บาร์ตันกลับมาที่ถ้ำแห่งนี้อีกครั้งในปี 2007 คณะสำรวจซึ่งสนับสนุนโดยองค์การนาซ่า เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเติบโตต่างๆ บนผนังและเพดาน เช่น หลักฐานจากจุลินทรีย์ เอกซ์ตรีมโมไฟล์ ซึ่งกัดกินกำแพงที่มีพื้นฐานเป็นซิลิกา คงเหลือไว้แต่ฝุ่นผงที่ทับถมอยู่บนใยแมงมุมดึกดำบรรพ์ และก่อตัวเป็นหินย้อยที่รูปทรงเฉพาะตัว
ในปี 2009 เขาโรไรมาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อใช้เป็นฉากสำคัญในภาพยนตร์แอนิเมชันของค่ายดิสนีย์/พิกซาร์ เรื่อง อัพ ปู่ซ่าบ้าพลัง ในภาพยนตร์เวอร์ชันแผ่นบลูเรย์ มีภาพยนตร์เบื้องหลังสั้น ๆ (ชื่อเรื่อง Adventure Is Out There) เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคณะถ่ายทำของพิกซาร์ เดินทางขึ้นไปยังเขาโรไรมาเพื่อหาแรงบันดาลใจและความคิดเพื่อสร้างสรรค์ภาพยนตร์เรื่องนี้
แม้ฝั่งลาดชัดของที่ราบสูงจะยากในการปีนขึ้นไป แต่มีบันทึกไว้ว่ามีผู้ที่พิชิตยอดเขารูปโต๊ะ นี้ได้เป็นคนแรก คือ เซอร์เอเวอราด อิม เธิน เขาเดินตามทางลาดแนวป่าเพื่อวัดขนาดที่ราบสูงแห่งนี้ในเดือนธันวาคมปี 1884 ปัจจุบันนักปีนเขาก็ใช้เส้นทางเดียวกันนี้
ทุกวันนี้ เขาโรไรมาเป็นจุดหมายของเล่านักเดินทางแบ็กแพ็ค นักเดินทางเกือบทั้งหมดจะปีนขึ้นเขาจากฝั่งประเทศเวเนซุเอล่า นักเดินทางส่วนใหญ่จะจ้างคนนำทางชาวอินเดียนเชื้อสายเพมอนจากหมู่บ้านพาไรเทปุย ซึ่งสามารถเข้าถึงโดยเดินทางผ่านถนนดินจากถนนสายหลักแกรนซาบานา ระหว่างกิโลเมตรที่ 88 และเมืองซานตาเอเลน่าเดอไวเรน แม้ว่าเส้นทางไต่เขาสู่ที่ราบสูงจะมีจุดสังเกตและเป็นเส้นทางยอดนิยม ก็สามารถหลงทางได้ง่ายเมื่อถึงยอดเขา เพราะมีร่องรอยให้สังเกตเพียงเล็กน้อย และมีเมฆปกคลุมยอดเขาอยู่ตลอด ทั้งยังมีหินรูปร่างประหลาดที่ยากคาดคะเนทางสายตา สามารถเดินทางถึงพาไรเทปุยได้อย่างง่ายดายโดยยานพาหนะขับเคลื่อนสี่ล้อ จะยากอย่างยิ่งถ้าเดินทางโดยรถยนต์ถ้าถนนซึ่งไม่มีทางลาดอยู่ในสภาพที่ไม่ปกติ และใช้เวลาเป็นวันถ้าเดินเท้า[ต้องการอ้างอิง]
จากพาไรเทปุย นักปีนเขาจะใช้เวลา 2 วันในการเดินทางถึงตีนเขา และอีก 2 วันเดินไปตาม"ลาแลมปา"หรือบันไดธรรมชาติ เพื่อขึ้นสู่ยอดเขา และมักจะต้องใช้เวลาอีก 2 วันเดินทางกลับ หลายคนจะเที่ยวอยู่บนยอดเขา 1 วัน 1คืน รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 6 วัน ถ้าเดินป่านานขึ้นจะสามารถไปถึงเทปุยทางด้านเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกายอานา ซึ่งถูกสำรวจน้อยกว่า และมีจุดท่องเที่ยวน่าสนใจ เช่น ทะเลสาบกลาดีส เส้นทางนี้จะเสี่ยงอันตรายมากกว่าเขาทางฝั่งใต้อันมีชื่อเสียง และเหมาะกับกลุ่มเดินทางที่เตรียมเสบียงไว้อย่างดีเท่านั้น ถ้าไม่ต้องการผจญภัยมากนัก และถ้าสภาพอากาศอำนวย สามารถเดินทางขึ้นเขาด้วยทัวร์เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีให้บริการอยู่ไม่ไกลจากเมืองซานตาเอเลนาเดอไวเรนของเวเนซุเอลา
เส้นทางเดียวสู่ยอดเขาโดยไม่ต้องพึ่งเทคนิคคือทางพาไรเทปุย แต่อาจจะต้องพึ้งอุปกรณ์ปีนเขา มีนักปีนเขาปีนขึ้นจากฝั่งประเทศกายอานาและบราซิลบ้างบางโอกาส แต่เพราะพรมแดนทั้งสองด้านล้วนเป็นหน้าผาขนาดหึมา ซึ่งประด้วยแง่งหินสูงชัน ทำให้เป็นเส้นทางที่เข้าถึงยากอย่างยิ่งและต้องชำนาญการไต่หินผา การปีนเขาแบบนี้ อาจต้องขออนุญาตเข้าพื้นที่หวงห้ามของอุทยานจากประเทศเหล่านั้นด้วย ตั้งแต่ปี 2009การปีนเขาจากฝั่งประเทศบราซิลเริ่มเกิดปัญหา เนื่องจากต้องเข้าผ่านทาง Raposa-Serra do Sol Amerindian reserve, ซึ่งมีความขัดแย้งทางระหว่างคนท้องถิ่นอยู่ บ่อยครั้งเป็นชาวนากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ[ต้องการอ้างอิง]