ในอดีต เราใช้เวลาสุริยคติท้องถิ่น (สังเกตจากดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทำให้เวลาแต่ละเมืองที่ติดกันแตกต่างกันเล็กน้อย เมื่อมีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ ความแตกต่างเริ่มกลายเป็นปัญหาทีละน้อย เขตเวลามีส่วนช่วยแก้ปัญหาโดยกำหนดให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกันตามเวลาสุริยคติกลางของเขต โดยทั่วไปเขตเวลาจะตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนตามลองจิจูดต่างๆ ซึ่งจะมีช่วงห่างกัน 15? ส่งผลให้เขตเวลาที่อยู่ติดกันมีเวลาต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่ได้แบ่งเขตตามเวลาที่ต่างกัน 1 ชั่วโมง จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าแต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ
ทุกๆ เขตเวลามีความสัมพันธ์กับเวลาพิกัดสากล จุดอ้างอิงของเขตเวลาคือเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0?) ซึ่งพาดผ่าน Royal Greenwich Observatory ในกรีนิช (กรีนิช) กรุงลอนดอนแห่งสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้จึงมักพบการใช้คำว่า เวลามาตรฐานกรีนิช เพื่อแสดงเวลาพื้นฐานซึ่งมีความสัมพันธ์กับเขตเวลาต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ใช้ UTC เป็นหน่วยเวลาอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความแตกต่างจากวิธีการดั้งเดิมของกรีนิชที่ใช้การอ้างอิงเวลาตามหลักดาราศาสตร์
ทั้งนี้เวลา GMT (UTC) จะเป็นเวลาประจำกรีนิชเฉพาะในช่วง 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ถึงเวลา 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ส่วนในช่วงเวลาที่เหลือของปีเวลาของกรีนิชจะเป็น UTC+1 ซึ่งในประเทศอังกฤษจะเรียกเวลานี้ว่า (BST - British Summer Time)
พื้นที่ที่มีสัญลักษณ์ * หรือ ** กำกับ คือบริเวณที่ใช้เวลาออมแสง กล่าวคือในช่วงฤดูร้อนจะมีการปรับเวลาไปข้างหน้าให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง (* ใช้กับบริเวณซีกโลกเหนือ ** ใช้กับบริเวณซีกโลกใต้)
เนปาลใช้เวลา UTC + 5:45 เนื่องจากเป็นช่วงเวลา 1/4 ของขั้วโมลที่ใกล้ที่สุดกับ เวลากลางท้องถื่น (local mean time) ของเมืองหลวงกาฏมัณฑุ ซึ่งอยู่ที่ 85?19' ตะวันออก หรือ UTC + 5:41:16 ก่อนถึงช่วงทศวรรษที่ 90 เวลาของเนปาลคือ UTC + 5:40
ทั้งหมดของจีนใช้เขตเวลาเดียว ทำให้เขตเวลานี้กว้างมาก ในตะวันตกสุดของจีน ดวงอาทิตย์จะอยู่จุดสูงสุดในเวลา 15:00 ตามเวลาท้องถิ่น ส่วนทางตะวันออกสุดจะเป็นเวลา 11:00 นอกจากนี้ ยังทำให้การเปลี่ยนเวลาที่ชายแดนกับอัฟกานิสถาน (ซึ่งยาวเพียง 76 กม.) คือ 3 ชั่วโมง 30 นาที