ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เขตตะนาวศรี

ภูมิภาคตะนาวศรี (พม่า: ??????????????????????, ตะนี้นตายี; มอญ: ?????? หรือ ???????) เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศพม่า

ในหลักศิลาจารึกมีบันทึกว่า ดินแดนของอาณาจักรไทยทางฝั่งตะวันตกในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้แผ่ขยายไปจนถึงหงสาวดีจดอ่าวเบงกอล และในบันทึกของมิชชันนารีที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในด้านประวัติศาสตร์ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัย และอยุธยา สยามสมัยพระนารายณ์มหาราชมีอาณาเขตแผ่ถึงปัตตานี ลาว ภูเขียว เขมร อังวะ พะโค และมะละกา มีเมืองท่าสำคัญคือมะริดและภูเก็ต และมีหัวเมืองสำคัญคือ พิษณุโลก ตะนาวศรี กรุงเทพมหานคร และเพชรบุรี ในอดีตที่ผ่านมา เช่นในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองมะริดและตะนาวศรี ถือมีความสำคัญมากของไทย เนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้าต่างประเทศทางอินเดีย และยุโรปนำสินค้าจากทางเรือขึ้นมาค้าขายในเมืองไทย ถึงกับมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองที่มีความรู้ความสามารถให้ปกครองดูแล และด้วยความสำคัญทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ในอดีตไทยกับพม่าจึงมักมีศึกชิงเมืองมะริดและตะนาวศรีกันบ่อยครั้ง เมืองตะนาวศรียังถือเป็นหนึ่งในพระยามหานคร 8 เมือง ที่ต้องเข้ามาถือน้ำพิพัฒน์สัตยา คือ เมืองพิษณุโลก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรี และทวาย ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งไทยและพม่า ได้ผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทั้ง 3 นี้ แม้บางช่วงจะอยู่ในฐานะหัวเมืองที่ไม่ขึ้นกับใครโดยตรง

ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2302 สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ รัชกาลสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ได้ยกกองทัพมาตีเมืองทวายซึ่งขณะนั้นแข็งเมืองอยู่ และได้ยกพลตามมาตีเมืองมะริดและตะนาวศรี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พยายามยกทัพไปตีเมืองทวายคืนจากพม่า แม้จะไม่สำเร็จ แต่ในอีก 4 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2334 เมืองทะวาย ตะนาวศรี และมะริด ก็มาขอขึ้นกับไทย

ในปี พ.ศ. 2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย

ภายหลังในปี พ.ศ. 2408 จึงได้ส่งข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียมาติดต่อกับรัฐบาลไทยเพื่อขอให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษเป็นการถาวร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในช่วงปี พ.ศ. 2408 – 2410 มีการตั้งคณะข้าหลวงปักปันเขตแดน เพื่อดำเนินการร่วมสำรวจและชี้แนวเขตแดนของตนตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงจังหวัดระนอง โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหม ผู้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้เฉียงตะวันตก เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม และมีเจ้าพระยายมราช (ครุฑ) พระยาเพชรบุรี และพระยาชุมพร(กล่อม) รับผิดชอบตั้งแต่เขตจังหวัดกาญจนบุรี ถึงจังหวัดระนอง ส่วนอังกฤษได้ตั้ง Lieutenant Arthur Herbert Bagge เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม

เมื่อการสำรวจทำแผนที่ และทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับที่หมายเขตแดนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมจัดทำอนุสัญญาขึ้นที่กรุงเทพ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 และได้มีการให้สัตยาบันกัน ที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 ภายหลังจากฝ่ายไทยได้ตรวจสอบเห็นว่าแผนที่ The Map of Tenasserim and the adjacent provinces of the Kingdom of Siam ที่อังกฤษจัดทำขึ้นใหม่นั้นถูกต้องแล้ว นับแต่นั้นแนวพรมแดนระหว่างไทยกับพม่าตั้งแต่สบเมยถึงปากแม่น้ำกระบุรี จึงได้เปลี่ยนจากเส้นเขตแดนที่ยอมรับโดยพฤตินัย มาเป็นเส้นเขตแดนที่กำหนดขึ้นโดยอนุสัญญา[ต้องการอ้างอิง] บัญชีที่หมายเขตแดนแนบท้ายอนุสัญญา และแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา

ในอนุสัญญาได้ระบุเส้นเขตแดนตรงแม่น้ำกระบุรีว่า “..ตั้งแต่เขาถ้ำแดงตามเขาแดนใหญ่มาจนถึงปลายน้ำกระใน เป็นเขตแดนจนถึงปากน้ำปากจั่น ลำแม่น้ำเป็นกลาง เขตแดนฝ่ายละฟาก เกาะในแม่น้ำปากจั่นริมฝั่งข้างอังกฤษเป็นของอังกฤษ ริมฝั่งข้างไทยเป็นของไทย เกาะขวางหน้ามลิวันเป็นของไทย แม่น้ำปากจั่นฝั่งตะวันตกเป็นของอังกฤษ ตลอดจนถึงปลายแหลมวิคตอเรีย ฝั่งตะวันออกตลอดไปเป็นของไทยทั้งสิ้น...”

สรุปว่า ในครั้งนั้นกำหนดให้แม่น้ำเป็นกลาง ให้ฝั่งเป็นเขตแดน ฝั่งด้านตะวันตกเป็นของพม่า ฝั่งด้านตะวันออกเป็นของไทย สำหรับเกาะในแม่น้ำถ้าชิดฝั่งตะวันตกก็ให้เป็นของอังกฤษ ถ้าชิดฝั่งตะวันออกก็ให้เป็นของไทย สำหรับเกาะขวางให้เป็นของไทย

กล่าวได้ว่า ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2379 แม่น้ำปากจั่นที่กั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดระนองของประเทศไทย กับเขตตะนาวศรีของประเทศพม่าเปลี่ยนทางเดิน รัฐบาลไทยจึงได้ขอปรับปรุงเส้นเขตแดนนี้กับอังกฤษ ซึ่งทำให้ไทยเสียดินแดนที่เป็นเกาะไปประมาณ 100 ไร่ แต่ได้คืนมา 186 ไร่ และดินแดนที่ได้คืนมานี้ประชากรส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย

หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1948 ดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้รับการจัดตั้งเป็นรัฐกะเหรี่ยง ต่อมาใน ค.ศ. 1974 ดินแดนทางตอนเหนือที่เหลือของเขตตะนาวศรีก็ได้รับการจัดตั้งเป็นรัฐมอญ แต่เดิมเมืองเอกของเขตตะนาวศรีคือเมืองเมาะลำเลิง (มะละแหม่ง) แต่เมื่อมีการจัดตั้งเป็นรัฐมอญแล้ว เมืองเมาะลำเลิงจึงตกอยู่ในการปกครองของรัฐมอญ ต่อมาจึงมีการจัดตั้งเมืองทวายเป็นเมืองเอกของเขตตะนาวศรีแทนเมืองเมาะลำเลิงที่อยู่ในเขตของรัฐมอญ ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 ทางการพม่าได้ทำการเปลี่ยนแปลงการสะกดชื่อเขตตะนาวศรีในอักษรโรมัน โดยจากเดิมสะกดว่า Tenasserim เปลี่ยนเป็น Tanintharyi และออกเสียงเป็นภาษาพม่าเป็น ตะนี้นตายี นั่นเอง

ภูมิภาคตะนาวศรีมีการปกครองแบบภูมิภาคไม่ใช่รัฐ ไม่ได้มีกองกำลังแบ่งแยกดินแดนเหมือนชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ การปกครองของภูมิภาคตะนาวศรีมี 3 อำเภอ 10 ตำบล 328 หมู่บ้าน

ประชากรมี 1.2 ล้านคน และมีหลากหลายชาติพันธุ์ พวกที่ถือตัวเป็นชาวไทยส่วนใหญ่จะอาศัยทางใต้ของภูมิภาคตะนาวศรี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวไทยเชื้อสายลาวอพยพออกมาจากแดนไทยแถบจังหวัดราชบุรี ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2394 โดยหนีไปยังเมืองทวาย, เมาะลำเลิง, มะริด และตะนาวศรี และนำสินค้าเข้ามาค้าขายที่บ้านจางวางบัวโรย แขวงเมืองราชบุรี

หลังจากการเสียดินแดนบริเวณภูมิภาคตะนาวศรี ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จึงกลายเป็นประชาชนชาวพม่าไป โดยในปลายปี พ.ศ. 2549 ได้มีคนเชื้อสายไทยกว่า 3,000 คน อพยพเข้าสู่ฝั่งไทย แต่อย่างก็ตามพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่ได้รับสัญชาติไทย และใช้ชีวิตเช่นเดียวกับแรงงานชาวพม่าทั่วไป

ในอดีตนั้น ประชากรส่วนใหญ่ในดินแดนแถบนี้ใช้ภาษาไทย ภาษามอญ ภาษากะเหรี่ยง และภาษามลายู มะริดในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล (Township) คือ มะริด ปะลอ (Palaw) ตะนาวศรี บกเปี้ยน (Bokpyin) และมะลิวัลย์ (Maliwun) บกเปี้ยนมีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2444 ราว 7,255 คน ร้อยละ 18 พูดภาษาพม่า ร้อยละ 53 พูดภาษาสยาม ร้อยละ 20 พูดภาษามลายู ตำบลมะลิวัลย์มีประชากรประมาณ 7,719 คน ประกอบไปด้วยชาวสยาม ชาวจีน และมลายู ตำบลตะนาวศรีตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของอำเภอมะริด และอยู่ติดแดนสยาม ประชากรปี พ.ศ. 2434 มีประมาณ 8,389 คน เพิ่มขึ้นเป็น 10,712 คน ในปี พ.ศ. 2444

ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของภูมิภาคตะนาวศรีใช้ภาษาพม่าในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม และเป็นภาษาราชการ ส่วนทางใต้จะมีกลุ่มคนพูดภาษาไทย ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายูอยู่บ้าง ส่วนกลุ่มคนเชื้อสายไทยภาคตอนบนของภูมิภาคตะนาวศรี ใช้ภาษาไทยถิ่นอีสานในตำบลคลองใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดอุดรธานีตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และสืบทอดวัฒนธรรมจากอีสาน เช่น การทำประเพณีบุญบั้งไฟ และเลี้ยงปู่ตาหรือผีประจำหมู่บ้าน

ประชากรส่วนใหญ่ของตะนาวศรีส่วนมาก นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ส่วนศาสนาอิสลาม อยู่ในกลุ่มของชาวพม่าเชื้อสายมลายู, ชาวไทยมุสลิม, ชาวโรฮีนจา และชาวพม่าเชื้อสายอินเดียบางส่วน โดยเฉพาะทางตอนใต้ของภูมิภาคตะนาวศรีซึ่งมีอาศัยอยู่หนาแน่น ส่วนศาสนาคริสต์นั้นแม้จะมีประวัติศาสตร์มานานในดินแดนนี้ ตั้งแต่ก่อนสมัยอาณานิคม แต่ก็มีจำนวนน้อย โดยมีชุมชนเชื้อสายเวียดนามที่อพยพเข้ามาในภูมิภาคตะนาวศรีตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเข้ามาอาศัยในเมืองมะริด และตะนาวศรี โดยมีบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ฝึกสอนศาสนา และขณะเดียวกันก็ลี้ภัยทางศาสนาจากเวียดนามด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406