เกาะบูเว (อังกฤษ: Bouvet; นอร์เวย์: Bouvet?ya) เป็นเกาะอาณานิคมของประเทศนอร์เวย์ และเป็นเกาะที่ไกลที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ที่จุดพิกัด 54?25.8?S 3?22.8?E? / ?54.4300?S 3.3800?E? / -54.4300; 3.3800พิกัดภูมิศาสตร์: 54?25.8?S 3?22.8?E? / ?54.4300?S 3.3800?E? / -54.4300; 3.3800 โดยเกาะนี้เป็นเกาะที่ห่างที่สุดในโลก เพราะห่างจากแหลมกู๊ดโฮปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 1,600 กิโลเมตร (1,000 ไมล์) และห่างจากแอนตาร์กติกาทางทิศใต้ 1,600 กิโลเมตร (994 ไมล์) เกาะมีพื้นที่ 49 ตร.กม. โดยร้อยละ 93 ของเกาะปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง
เกาะบูเวถูกค้นพบครั้งแรกในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1739 โดย ฌอง-บาติสต์ ชาร์ลส์ บูเว เดอ โลเซน ซึ่งเขาทำการบันทึกพิกัดของเกาะที่คลาดเคลื่อนไปทำให้ไม่มีใครพบเห็นเกาะแห่งนี้อีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1808 มันจึงถูกค้นพบอีกครั้งโดย เจมส์ ลินด์ซีย์ และครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่เกาะแห่งนี้มีมนุษย์ลงไปเหยียบย่าง ในปี ค.ศ. 1898 และประเทศนอร์เวย์ปกครองเกาะบูเวในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1927 ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 แต่เกาะถูกประเทศอังกฤษอ้างความเป็นเจ้าของ ในปี ค.ศ. 1927 แล้วประเทศนอร์เวย์ก็อ้างความเป็นเจ้าของเกาะแห่งนี้และอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนควีนมอดแลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยของดินแดน จนเกิดความขัดแย้งกับประเทศอังกฤษ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1930 เกาะแห่งนี้ถึงได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ
เกาะบูเวเป็นเกาะภูเขาไฟโดยมีหิมะและธารน้ำแข็งปกคลุมอยู่โดยมีพืชและสัตว์บางชนิดอาศัยอยู่ เช่น ไลเคน, นกเพนกวิน และแมวน้ำ
กัวเดอลุป ? เกาะกลีแปร์ตอน ? แซงปีแยร์และมีเกอลง ? แซ็ง-บาร์เตเลมี ? แซ็ง-มาร์แต็ง ? นิวแคลิโดเนีย ? เฟรนช์เกียนา ? เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนส์ (เกาะแซ็ง-ปอล ? เกาะอัมสเตอร์ดัม ? หมู่เกาะกระจายในมหาสมุทรอินเดีย ? หมู่เกาะแกร์เกแลน ? หมู่เกาะครอแซ ? อาเดลีแลนด์) ? เฟรนช์โปลินีเซีย ? มายอต ? มาร์ตีนิก ? เรอูว์นียง ? วาลลิสและฟุตูนา
เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ? เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา ? บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี ? บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี ? เบอร์มิวดา ? มอนต์เซอร์รัต ? หมู่เกาะเคย์แมน ? หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส ? หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ? หมู่เกาะพิตแคร์น ? หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ? แองกวิลลา