ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เกาะนาแวสซา

เกาะนาแวสซา (อังกฤษ: Navassa Island) หรือ ลานาวาซ (ฝรั่งเศส: La Navase) เป็นเกาะร้างขนาดเล็กในทะเลแคริบเบียนอยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกาผ่านองค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ (US Fish and Wildlife Service) นอกจากนั้นเฮติได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้เช่นเดียวกัน

เกาะนาแวสซามีขนาดประมาณ 2 ตารางไมล์ (5.2 ตารางกิโลเมตร) โดยเกาะตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ห่างจากฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวกวนตานาโม ในคิวบาประมาณ 100 กิโลเมตรหรือ 90 ไมล์ทะเล ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสี่ของระยะทางจากจาเมกาไปยังเฮติ โดยจุดที่สูงที่สุดสูงประมาณ 77 เมตรอยู่ห่างจากประภาคารนาแวสซาไอแลนด์ไลต์ (Navassa Island Light) ไปทางใต้ประมาณ 100 เมตร

ลักษณะภูมิประเทศของเกาะนาแวสซาส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยหินปูนและยอดของแนวปะการังที่โผล่พ้นน้ำ โดยชายฝั่งของเกาะเป็นหน้าผาสูง 15 เมตร แต่บนเกาะเองก็มีทุ่งหญ้าที่ใหญ่พอที่จะให้ฝูงแพะมาอาศัยอยู่ได้ นอกจากนี้บนเกาะยังมีต้นไม้ตระกูลมะเดื่อและกระบองเพชรขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป โดยทั่วไปแล้วลักษณะภูมิประเทศและนิเวศวิทยาของเกาะนาแวสซาคล้ายคลึงกับเกาะโมนา ซึ่งเป็นเกาะหินปูนขนาดเล็กอยู่ในช่องแคบโมนาที่ตั้งอยู่ระหว่างเฮติกับสาธารณรัฐโดมินิกัน นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ของทั้งสองเกาะนี้ยังคล้ายคลึงกันมากอีกด้วย กล่าวคือ ทั้งสองเกาะเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกา เคยผ่านการทำเหมืองกัวโนมาแล้ว และปัจจุบันนี้ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตคุ้มครองธรรมชาติเหมือนกัน นอกจากชาวประมงเฮติและคนอื่น ๆ ที่มักแวะเวียนมาพักบนเกาะนี้ เกาะนาแวสซาไม่มีผู้คนอาศัยอยู่แต่อย่างใด ดังนั้นบนเกาะจึงไม่มีท่าเรืออยู่เลย ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเดียวของเกาะ คือ ปุ๋ยขี้นก (guano) ที่นิยมมาใช้ทำปุ๋ย กิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ประกอบไปด้วยการประมงขนาดเล็กและการลากอวนเชิงพาณิชย์เท่านั้น

ในปี ค.ศ. 1504 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งในขณะนั้นติดอยู่บนเกาะจาเมกา ได้ส่งลูกเรือไปยังเกาะฮิสปันโยลาเพื่อขอความช่วยเหลือ ระหว่างทางพวกเขาพบเกาะขนาดเล็ก และเมื่อทำการสำรวจก็พบว่าไม่มีน้ำจืดบนเกาะเลย ดังนั้นลูกเรือจึงขนานนามให้เกาะว่า "นาบาซา" (Navaza) มาจากคำว่า "นาบา" (nava) ซึ่งในภาษาสเปนแปลว่าที่ราบ ไม่มีต้นไม้ใหญ่ หลังจากนั้นเกาะแห่งนี้ก็ถูกหลีกเลี่ยงโดยชาวเรือต่อมาอีกกว่า 350 ปี

แม้ว่าทางการเฮติจะได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้มาก่อนแล้ว แต่เกาะนาแวสซาก็ถูกสหรัฐอเมริกาอ้างสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1857 โดยปีเตอร์ ดังกัน (Peter Duncan) กัปตันเดินเรือชาวอเมริกัน และกลายเป็นเกาะแห่งที่สามที่ถูกสหรัฐอเมริกาอเมริกาเข้าครอบครองภายใต้รัฐบัญญัติกลุ่มเกาะปุ๋ยขี้นก (Guano Islands Act) ที่ถูกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1856 โดยสาเหตุที่อเมริกาเข้าครอบครองเกาะแห่งนี้ก็เป็นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของปุ๋ยขี้นกนั่นเอง หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ขุดปุ๋ยขี้นกไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1865 ถึง ค.ศ. 1898 แม้ว่าเฮติจะคัดค้านการผนวกดินแดนของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ แต่สหรัฐอเมริกาก็ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ของเฮติมาตลอด และในปี ค.ศ. 1857 ก็ครอบครองเกาะแห่งนี้ในฐานะดินแดนที่ถูกผนวกโดยสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ถูกรวมเข้ากับรัฐใดรัฐหนึ่ง และไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นคอยปกครอง (unincorporated unorganized territory)

ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปุ๋ยขี้นกฟอสเฟตเป็นเป็นปุ๋ยที่การเกษตรของอเมริกาใช้เป็นหลัก ดังกันได้โอนย้ายกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้ค้นพบไปยังนายจ้าง ซึ่งเป็นพ่อค้าปุ๋ยขี้นกชาวอเมริกันในจาเมกา ซึ่งได้ขายต่อให้กับบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งนามว่า บริษัทฟอสเฟตนาแวสซา (Navassa Phospate Company) ในบอลทิมอร์ ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกา บริษัทได้สร้างเหมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งประกอบไปด้วยค่ายสำหรับจุคนงานผิวดำจากรัฐแมริแลนด์จำนวน 140 คน บ้านสำหรับหัวหน้างานผิวขาว ร้านช่างเหล็ก คลัง และโบสถ์ 1 หลัง การทำเหมืองเริ่มขึนในปี ค.ศ. 1865 โดยคนงานจะขุดปุ๋ยขี้นกโดยใช้ระเบิดและพลั่วเจาะ (pickaxe) จากนั้นจะลำเลียงโดยรถรางไปยังอ่าวลูลู (Lulu) เพื่อลำเลียงปุ๋ยขี้นกลงเรือของบริษัทนามว่า เอสเอส โรแมนซ์ (SS Romance) ต่อไป โดยบริเวณที่พักอาศัยในอ่าวลูลูถูกเรียกว่า ลูลูทาวน์ ซึงเป็นเมืองที่เคยปรากฏอยู่ในแผนที่ในสมัยนั้น ต่อมาได้มีการขยายรางให้เข้าไปในเกาะมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากการขนส่งปุ๋ยขี้นกเป็นงานที่ใช้แรงคนเพียงอย่างเดียว เป็นการทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ร้อนจัด ประกอบกับสภาวะแวดล้อมโดยทั่วไปของเกาะก็ไม่อำนวยอยู่อาศัย ทำให้ในที่สุดคนงานได้ก่อการจลาจลบนเกาะในปี ค.ศ. 1889 ส่งผลให้มีหัวหน้างานเสียชีวิตไป 5 คน ภายหลังการจลาจลเรือรบของสหรัฐอเมริกาได้ขนส่งคนงาน 18 คนกลับไปยังบอลทิมอร์เพื่อขึ้นศาลในข้อหาฆาตกรรมใน 3 คดี โดยสมาคมลับชาวผิวดำนามว่า The Order of Galilean Fisherman ได้ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือคนงานในการต่อสู้คดีในชั้นศาล โดยแก้ต่างว่าคนงานได้กระทำลงไปเพื่อเป็นการป้องกันตนเองหรือเกิดจากการบันดาลโทสะ และยังได้โต้แย้งว่าสหรัฐอเมริกาไม่มีอำนาจตุลาการที่เหมาะสมในการตัดสินคดีความใด ๆ ที่เกิดขึ้นบนเกาะ ท้ายที่สุดแล้วคดีก็ได้ไปถึงชั้นศาลสูงสุดในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1890 ซึ่งศาลมีคำตัดสินว่ารัฐบัญญัติกลุ่มเกาะปุ๋ยขี้นกนั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และให้ประหารชีวิตคนงานเหมือง 3 คนในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1891 ภายหลังการตัดสินของศาล ได้มีการยื่นฎีกาโดยโบสถ์ชาวผิวดำทั่วประเทศและลูกขุนผิวขาวสามคนจากทั้งสามคดี ไปยังประธานาธิบดีเบนจามิน แฮร์ริสัน ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงคำตัดสินให้เหลือเพียงการจำคุกในที่สุด

หลังจากนั้นก็ได้มีการทำเหมืองปุ๋ยขี้นกบนเกาะนาแวสซาอีกครั้ง แต่ในขนาดที่เล็กลงมาก สงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1898 ส่งผลให้บริษัทต้องอพยพคนออกจากเกาะและเข้าสู่ภาวะล้มละลายในที่สุด เจ้าของใหม่ของเกาะตัดสินใจที่จะคืนเกาะให้กลับคืนสู่ธรรมชาติในปี ค.ศ. 1901

เกาะนาแวสซากลับมามีความสำคัญอีกครั้งภายหลังการเปิดคลองปานามาในปี ค.ศ. 1904 ซึ่งส่งผลให้การเดินเรือระหว่างชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกากับคลองปานามาต้องผ่านช่องแคบเวสต์เวิร์ด (Westward Passage) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคิวบากับเฮติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีประภาคารบนเกาะนาแวสซาซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการเดินเรือผ่านช่องแคบแห่งนี้ ในที่สุดสำนักงานประภาคารแห่งสหรัฐ (US Lighthouse Service) ก็ได้สร้างประภาคารนาแวสซาไอแลนด์ไลต์ สูง 162 ฟุต (46 เมตร) ขึ้นบนเกาะในปี ค.ศ. 1917 ที่ระดับความสูง 395 ฟุตหรือ 120 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยมีผู้ดูแลและผู้ช่วยสองคนคอยทำหน้าที่ดูแลรักษาอยู่บนเกาะ จนกระทั่งได้มีการติตตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติให้กับประภาคารในปี ค.ศ. 1929 จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีผู้ดูแลประภาคารคอยประจำอยู่บนเกาะ และภายหลังจากที่สำนักงานประภาคารถูกยุบรวมเข้ากับหน่วยป้องกันชายฝั่งแห่งสหรัฐ (US Coast Guard) หน่วยป้องกันชายฝั่งจึงกลายเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลซ่อมแซมประภาคารแห่งนี้ โดยมีการตรวจสภาพปีละสองครั้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งหน่วยสังเกตการณ์บนเกาะ และหลังจากสิ้นสุดสงคราม กองทัพเรือได้ถอนกำลังออกไป และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่มีผู้อาศัยอยู่บนเกาะ ในปี ค.ศ. 1930 ได้มีการสำรวจทางวิทยาศาสตร์โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อศึกษาชีวิตบนเกาะและในทะเลโดยรอบ

ในช่วงปี ค.ศ. 1903 ถึง 1917 เกาะแห่งนี้เป็นดินแดนที่ขึ้นอยู่กับฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาในอ่าวกวนตานาโม และในช่วง ค.ศ. 1917 ถึง ค.ศ. 1996 เกาะได้ถูกโอนมาให้หน่วยป้องกันชายฝั่งเป็นผู้ดูแล ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 1996 เกาะได้รับการดูแลโดยกระทรวงกิจการภายในของสหรัฐอเมริกา โดยในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1996 หน่วยป้องกันชายฝั่งได้รื้อประภาคารออกเพื่อโอนการดูแลไปยังกระทรวงกิจการภายใน

ภายหลังจากการสำรวจทางวิทยาศาสตร์โดยศูนย์อนุรักษ์ทางทะเล (Center of Marine Conservation) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เกาะนาแวสซาได้รับการยกย่องให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลแคริบเบียน ส่งผลให้ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1999 องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐได้เข้าควบคุมดูแลเกาะแห่งนี้ และได้กลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในที่สุด


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406