ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เกษตรสมบูรณ์

อำเภอเกษตรสมบูรณ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิในจำนวน 16 อำเภอ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวจังหวัดตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2037 ชัยภูมิ – แก้งคร้อ – ภูเขียว – เกษตรสมบูรณ์ ระยะทาง 102 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรืออีกเส้นทางหนึ่งได้ตามทางหลวงแผ่นสาย 2037 ชัยภูมิ – หนองบัวแดง – เกษตรสมบูรณ์ ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร หรือประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ทางรถยนต์ ห่างจาก กรุงเทพมหานคร 432 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อทิศเหนือ จด อ.คอนสาร อ.ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ทิศตะวันออก จด อ.ภูเขียว อ. แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ทิศใต้ จด อ.เมือง อ.หนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และเทือกเขาภูแลนคา ทิศตะวันตก จด อ.หนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และเทือกเขาภูเขียว

อำเภอเกษตรสมบูรณ์เป็นชุมชนเก่าแก่ มีประวัติการตั้งถิ่นฐานยาวนาน มีโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ มีทรัพยากรป่าไม้ ภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ มีบุคคลสำคัญที่ชาวเกษตรฯเคารพเทิดทูน รวมถึงมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจแก่ชาวเกษตรสมบูรณ์ตลอดมา จากหลักฐานที่พบบนหลักศิลาจารึกที่มีการค้นพบ จำนวน 2 หลัก (ปัจจุบันหลักศิลาจารึกได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา) และได้รับการพิสูจน์โดยกรมศิลปากรแล้ว พบว่าหมู่บ้าน/ชุมชนหลายแห่งในพื้นที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ในปัจจุบัน เป็นพื้นที่ที่มีการตั้งหลักแหล่งมาแต่โบราณ จากการสืบค้นพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยทวาราวดีหรือเมื่อประมาณ พ.ศ. 1800 และในต้นสมัยรัตนโกสินทร์ บริเวณนี้ถูกเรียกขานว่า "เมืองยาง" มีผู้คนอยู่อาศัยตั้งหลักแหล่ง มีวัฒนธรรมพื้นบ้านและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดฯ ให้หลวงไกรสิงหนาท มาตั้งเมืองหน้าด่านที่เมืองยาง ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ต่อมาหลวงไกรสิงหนาทได้รับพระพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระไกรสิงหนาทเป็นเจ้าเมืองคนแรก เจ้าเมืองท่านนี้ไม่มีบุตร เมื่อเข้าสู่วัยชรา ได้ตั้งนายฦาชา เป็นบุตรบุญธรรม และได้เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมา เมืองนี้ได้เจริญขึ้นโดยลำดับ มีการสร้างวัดวาอารามเพิ่มขึ้นหลายแห่ง มีการค้นพบซากปรักหักพังของพระธาตุเจดีย์ 3 องค์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอ เรียกว่า "ธาตุท่าเลิง" ปัจจุบันเป็นเขตธรณีสงฆ์ ในสมัยโบรณ บริเวณเมืองยางหรืออำเภอเกษตรสมบูรณ์ในปัจจุบัน เคยเป็นชุมชนทางผ่านอีกเส้นทางหนึ่งที่ติดต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับกรุงเวียงจันทน์ ขบวนส่งส่วยหรือกองทัพมักพักค้างแรมบริเวณนี้ มีหลักฐานร่องรอยการตั้งทัพหรือการหยุดพักปรากฏบริเวณที่ชาวบ้านเรียก "ท่าหลวง" ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2452 พระยาจ่าแสง ได้มาตรวจราชการที่เมืองผักปังหรือเมืองภูเขียว เห็นว่าเมืองภูเขียวกับเมืองยางตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก จึงได้ยุบเมืองยางไปขึ้นการปกครองกับเมืองภูเขียว ต่อมาได้จัดตั้งเป็น "กิ่งอำเภอบ้านยาง" มีขุนราษฎร์(กอง บุนนาค)เป็นปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งคนแรก ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อ 1 มีนาคม 2481 ชื่อ "อำเภอเกษตรสมบูรณ์" มีขุนนิกรนันทกิจ(อ๊าต วัฒนสุข)เป็นนายอำเภอคนแรก

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราว ร.ศ.28 (พ.ศ. 2352) ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมืองเกษตรสมบูรณ์มีเจ้าเมืองปกครองชื่อว่า “หลวงไกรสิงหนาท” เมืองนี้ขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ขึ้นต่อเมืองชัยภูมิ หรือเมืองโคราช

การส่งส่วยเครื่องราชบรรณาการนั้น หลวงไกรสิงหนาทจัดส่งเป็น 2 ทาง คือส่งส่วยผ้าขาวไปยังเวียงจันทน์ ส่งดอกไม้ธูปเทียนเงินทอง ไปยังพระเจ้ากรุงสยาม (กรุงเทพฯ) ด้วยสาเหตุที่มีการส่งส่วยผ้าขาวไปยังลาวเวียงจันทน์นี้เอง เจ้าเมืองและราษฎรในถิ่นนี้จึงได้ถูกเรียกว่า “ส่วยผ้าขาวลาวเวียงจันทน์” ติดปากมาจนเท่าทุกวันนี้ จึงเป็นข้ออ้างอิง เป็นหลักฐานไว้ว่า “หลวงไกรสิงหนาท” เป็นคนที่มาจากลาวเวียงจันทน์ คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าต่อกันมาว่า ท่านเป็นลูกเจ้าเวียงจันทน์ เข้ามาในประเทศพร้อมกับเจ้าพระยาแลอดีตเจ้าเมืองชัยภูมิ

หลวงไกรสิงหนาท เป็นผู้มีวาสนา ไม่มีเจ้าเมืองใดมารบกวนได้ ท่านได้มารวบรวมผู้คนในท้องถิ่นเป็นปึกแผ่น ปกครองบ้านเมืองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความร่มเย็นเป็นสุข มีความดีความชอบเป็นผู้จงรักภักดีต่อเจ้ากรุงสยามมาก จึงได้รับการยกย่องได้เลื่อนขั้นบรรดาศักดิ์จากหลวงไกรสิงหนาท เป็น “พระไกรสิงหนาท” จามลำดับ

พระไกรสิงหนาท คนที่ 1 ไม่มีบุตร - ธิดา ที่จะสืบตระกูลต่อไป ได้พิจารณาตนเองแล้วว่าอายุมากหากล้มตายไป เกรงจะเกิดความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันเป็นใหญ่ได้พิจารณาเห็นว่า “นายฤๅชา” ผู้เป็นหลานชาย ซึ่งรับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยตนเองอยู่แล้ว ประกอบเห็นว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นที่ไว้วางใจได้ อยากจะมอบตำแหน่งให้หลานชาย จึงได้ทำใบบอก (รายงาน) ไปยังกรุงรัตนโกสินทร์ ขอแต่งตั้งให้นายฤๅชา เป็นเจ้าเมืองแทน ให้มีบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงไกรสิงหนาท โดยอ้างเหตุผลดังกล่าว

สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทรงเห็นชอบด้วย จึงแต่งตั้งให้นายฤๅชา เป็นเจ้าเมืองเกษตรสมบูรณ์ ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงไกรสิงหนาท” ต่อมาหลายปี ได้ทำความดีความชอบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง ซื่อสัตย์สุจริต จึงได้เลื่อนบรรดาศักด์เป็นพระไกรสิงหนาท

พระไกรสิงหนาท คนที่ 2 (นายฤๅชา) มีบุตรชาย 3 คน คือ คนที่ 1 ชื่อท้าวบุญมา คนที่ 2 ชื่อท้าวบุญคง คนที่ 3 ชื่อท้าวบุญจัน

ในสมัยนั้นเมืองเกษตรสมบูรณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่า (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์)ต่อมามีพลเมืองเพิ่มมากขึ้น เห็นว่าบ้านเมืองเก่าคับแคบและอยู่ห่างลำน้ำพรม จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านกุดเงือก (กุดเกวียนที่ตั้งถังน้ำประปาของอำเภอเกษตรสมบูรณ์ปัจจุบัน) คือบ้านยางขณะนี้

ต่อมาพระไกรสิงหนาท (นายฤๅชา) จับช้างเผือกได้หนึ่งเชือก แต่คนในท้องถิ่นขณะนั้นไม่รู้จักช้างเผือกคิดว่าเป็นช้างธรรมดา แต่มีสีประหลาดกว่าช้างทั้งหลาย เขตจับช้างได้นี้เป็นพื้นที่ราบอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทุกอย่าง มีบึงหนองมากพอสมควร ต่อมาประชาชนเห็นว่าเป็นพื้นที่ดีเหมาะแก่การทำไร่ ทำนาดี จึงชวนกันไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตบริเวณป่าที่จับช้างได้นั้น จึงได้ชื่อบ้านที่ไปอยู่ใหม่ว่า “บ้านสีประหลาด” (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอภูเขียว)

เมื่อจับช้างเผือกได้แล้ว พระไกรสิงหนาท ได้นำไปถวายพระเจ้ากรุงสยาม ต่อมาพระไกรสิงหนาทแก่ชราลงอยากจะมอบการปกครองและตำแหน่งเจ้าเมืองให้แก่บุตรของตน จึงได้ทำใบบอก(รายงาน) ไปยังสมเด็จพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์ ขอแต่งตั้งให้ท้าวบุญมา บุตรคนที่ 1 เป็นเจ้าเมืองแทน พระเจ้ากรุงรัตนโกสินทรืได้มีใบแต่งตั้งท้าวบุญมา เป็นเจ้าเมืองแทนบิดา และได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงไกรสิงหนาท ส่วนบิดาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากพระไกรสิงหนาท เป็น “พระยาภักดีฦาชัยจางวาง”

เมื่อ ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) หลวงไกรสิงหนาท (บุญมา) ซึ่งอยู่ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) หลังจากได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วได้ย้ายเมืองจากบ้านกุดเงือก (บ้านยาง) ไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านโนนเสลา (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอภูเขียว) เพราะเห็นว่าเป็นที่เหมาะสมอยู่กึ่งกลางพอดี เหมาะแก่การปกครองท้องที่และการเก็บส่วยภาษีของราษฎร เพราะอาณาเขตในเมืองเกษตรสมบูรณ์กว้างใหญ่มาก (เขตอำเภอแก้งคร้อ อำเภอบ้านแท่น อำเภอภูเขียว อำเภอคอนสาร อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง และอำเภอภักดีชุมพล ทั้ง 7 อำเภอนี้ อยู่ในเขตเมืองเกษตรสมบูรณ์สมัยนั้น)

สมัยที่หลวงไกรสิงหนาทเป็นเจ้าเมืองนี้ ท่านไม่ได้เก็บส่วยภาษีจากราษฎรโดยตรง เพราะเห็นว่าราษฎร อดๆ อยากๆ แต่เจ้สเมืองได้มอบให้กรมการเมืองนำราษฎรไปขุดร่อนเอาทองคำที่พืดเขาพระยาฝ่อ(ในเขตท้องที่ตำบลนางแดด อำเภอหนองบัวแดงในปัจจุบัน) บ่อทองบ่อนั้นเรียกว่าบ่อโขโหล หรือบ่อขี้โหล ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับถ้าบัวแดง ปัจจุบันยังมีร่องรอยในการขุดอยู่ แต่ได้ถูกน้ำกัดเซาะกลายเป็นลำห้วยไปแล้ว เมื่อได้ทองคำมาแล้ว หลวงไกรสิงหนาทจึงได้เจ้าหน้าที่หลอมทองคำนั้นเป็นแท่งๆ ส่งถวายแก่เจ้ากรุงสยามเป็นเครื่องราชบรรณาการทุกปี

ด้วยความดีความชอบ จึงได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็น “พระไกรสิงหนาท” คนที่ 3 พร้อมได้ย้ายเมืองจากบ้านโนนเสลาไปตั้งที่บ้านลาดสามหมื่น (ปัจจุบันชื่อว่าบ้านลาด อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว) แล้วทำให้ท้องที่หนองบัวแดงและตำบลนางแดด (เขตอำเภอหนองบัวแดงปัจจุบัน) ห่างไกลยากแก่การติดต่อราชการ พระไกรสิงหนาทจึงได้ย้ายเมืองกลับมาอยู่บ้านยาง (ที่ตั้งอำเภอเกษตรสมบูรณ์ปัจจุบัน) ตามเดิม ได้ให้กรมการเมืองปลูกสร้างจวนอย่างใหญ่โต ยาวประมาณ 3 เส้นปลูกต้นตาลไว้เป็นแถวสำหรับผูกช้าง มีการสร้างกำแพงเมืองโดยเอาท่อนไม้ซุงตัดเป็นท่อนๆ ฝังเป็นพืดล้อมรอบจวนของเจ้าเมือง

ต่อมาพระไกรสิงหนาท ได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ตำบลหนองบัวแดงและตำบลนางแดด ยังห่างไกลยากแก่การติดต่อราชการจึงได้ทำใบบอก(รายงาน) ไปยังกรุงรัตนโกสินทร์ ขอแต่งตั้งให้พระชุมพลภักดี ปกครองท้องที่ตำบลหนองบัวแดงและตำบลนางแดดซึ่งเป็น่วนหนึ่งของเมืองเกษตรสมบูรณ์ สถานที่ทำงานอยู่ดอนกำแพงคือทางทิศเหนือของบ้านเหมือดแอ่ (บ้านหนองบัวแดง) และบ้านโนนงิ้วดอนกำแพงขณะนี้ยังมีซากกำแพงอยู่กลางทุ่งนา เรียกว่าตำบลคูเมือง ต่อมาประมาณ ร.ศ.117 (พ.ศ. 2441) ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองชั้นนอกใหม่ให้เป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ทางราชการได้แต่งตั้งให้ร้อยโทขุนแผ้ว พลภักดี(โต๊ะ) มากำกับราชการเมืองภูเขียว เป็นข้อสันนิษฐานว่าภูเขียวคงจะเป็นเมืองแยกออกมาอีกในลักษณะการปกครองใหม่ในปีนั้นเอง ขุนแผ้ว พลภักดี ต้องการความดีความชอบได้ฟ้องร้องกล่าวหาพระไกรสิงหนาท ในข้อหาซ่องสุมผู้คนคิดการกบฏ โดยรายงานไปยังมณฑลนครราชสีมาและกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองนครราชสีมาได้ส่งทหารโดยปลอมตัวเป็นโจรมาปล้นจวนของพระไกรสิงหนาท เพื่อจับตัวไป เมื่อค้นจวนไม่พบสืบทราบว่าพระไกรสิงหนาทนำองค์กฐินไปทอดที่วัดบ้านแท่น (อำเภอบ้านแท่นในปัจจุบัน) โจรที่ปลอมมานั้นก็ถือโอกาสปล้นเอาเงินทองของใช้ที่มีค่าไป และจุดไฟเผาจวนไม้หมดสิ้น แล้วตามไปจับตัวพระไกรสิงหนาทที่บ้านแท่น พระไกรสิงหนาทยอมให้จับตัวแต่โดยดี เพราะตนไม่มีความผิดอันใด พระไกรสิงหนาทถูกควบคุมขังอยู่ที่มณฑลนครราชสีมา เพื่อต่อสู้คดี ผลคดีถึงที่สุด การกล่าวหาไม่มีมูลความจริงความจริงเป็นการกลั่นแกล้งของขุนแผ้ว พลภักดี ศาลมณฑลนครราชสีมายกฟ้องแล้วปล่อยตัวไป

พระไกรสิงหนาท ได้เดินทางเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เพื่อรายงานให้ทราบ แต่แล้วก็เกิดเป็นโรคท้องร่วงอย่างรุนแรงโดยกะทันหันได้ถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงรัตนโกสินทร์ โดยที่บุตรภริยา ลูกหลานไม่มีโอกาสได้รับรู้เห็นขณะป่วย ไม่สามารถนำศพคืนมาบ้านได้ เพราะการคมนาคมไม่สะดวกอย่างปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้คนส่วนมากได้พากันเข้าใจว่าหายสาบสูญไปตั้งแต่ถูกจับไป

พระไกรสิงหนาท ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์มาก เป็นเจ้าเมืองที่ปกครองประชาชนด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ตามประวัติของท่านที่กล่าวมานี้ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นคนซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ สนใจในพระพุทธศาสนา

เมื่อการปกครองเปลี่ยนแปลงหัวเมืองชั้นนอกมาเป็นมณฑลจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านในเขตท้องที่เมืองเกษตรสมบูรณ์ยุบเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอผักปัง (อำเภอภูเขียว) เมืองเกษตรสมบูรณ์เดิมเป็นกิ่งอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นกิ่งอำเภอบ้านยาง และกิ่งอำเภอบ้านยางได้ยกฐานะเป็นอำเภอเกษตรสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2481

ตอนกลางของพื้นที่อำเภอ เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินมีลำน้ำสายสำคัญได้แก่ "ลำน้ำพรม" ไหลผ่าน ลำน้ำสายนี้ถือเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชาวชัยภูมิตอนบนเกือบทุกอำเภอ และเป็นลำน้ำสาขาของน้ำพอง พื้นที่เป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การปลูกข้าว ตอนเหนือของพื้นที่อำเภอเป็นที่ราบสลับเนิน เหมาะแก่การปลูกพืชไร่และเลี้ยงสัตว์ ทิศใต้และทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าไม้และภูเขา มีภูเขาสูงสลับซับซ้อน โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก มีเทือกเขาภูเขียวซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ(International Wetland)ตามสนธิสัญญาแรมซาร์ สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันสลับเทือกเขา มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะ "ภูคิ้ง" เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด มีความสูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว(ทุ่งกะมัง) สำหรับด้านทิศใต้เป็นเขตภูเขาภูแลนคา มียอด "ภูเกษตร" เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด โดยมีความสูงประมาณ 996 เมตรจากระดับน้ำทะเล และบางส่วนเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติตาดโตน สภาพดิน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สภาพดินทิศตะวันออกจะเป็นดินปนกรวดและดินลูกรัง คุณภาพดินไม่สู้ดีนัก ยกเว้นบริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางและบริเวณใกล้ลำน้ำพรม

ชุมชนของอำเภอเกษตรสมบูรณ์เป็นสังคมชนบทส่วนใหญ่ เป็นชุมชนดั้งเดิมเกือบทุกหมู่บ้านตั้งมาอย่างน้อย 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ตั้งมามากกว่า 100 ปี หรือบางหมู่บ้านมีประวัติการตั้งหมู่บ้านมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น บ้านกำแพง บ้านเมืองเก่า เป็นต้น การเป็นชุมชนดั้งเดิมทำให้ชาวเกษตรสมบูรณ์อยู่กันด้วยความสงบไม่ค่อยมีปัญหาความขัดแย้งทางสังคมที่รุนแรงมากนัก

พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบ และพื้นที่ป่าไม้และภูเขาอย่างละเกือบเท่ากัน โดยเป็นพื้นที่ป่าไม้และภูเขา ประมาณ 420,053 ไร่ จากพื้นที่ทั้งสิ้น 820,476 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 51.20 ของพื้นที่อำเภอ ที่เหลือประมาณ 400,423 ไร่ เป็นพื้นที่ราบ การใช้ประโยชน์จากที่ดินเป็นดังนี้

นับเป็นความโชคดีของพื้นที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ทำให้เอื้อต่อฐานะ อาชีพ ความเป็นอยู่ และวีถีชีวิตของขาวเกษตรสมบูรณ์ แม้ว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดยังขาดการจัดการที่ดีและถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาขึ้นบ้างก็ตาม

ดิน ตามที่กล่าวไปบ้างแล้วว่าพื้นที่ของอำเภอส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และพื้นที่ราบสูงมีภูเขาล้อมรอบ สภาพดิน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ดินด้านทิศตะวันออกจะเป็นดินปนกรวดและดินลูกรัง คุณภาพดินไม่สู้ดีนัก ยกเว้นบริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางและบริเวณใกล้ลำน้ำพรม

น้ำ พื้นที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์นับเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำสายสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำพรม(สายน้ำสำคัญของพื้นที่ ปัจจุบันกำลังได้รับการวางแผนปรับปรุงระบบนิเวศ โดยความร่วมมือของส่วนราชการในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ได้รวมตัวกันเป็นองค์กร "ประชารัฐ" ทำหน้าที่เฝ้าระวัง เสนอแนะแผนงาน ให้ความรู้ทางวิชาการ เสนอความคิดเห็นต่อส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาลำน้ำพรม ลำน้ำประทาว(ต้นกำเนิดลำปะทาว สายน้ำที่สำคัญสำหรับอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์) ลำน้ำทิก(ลำน้ำสาขาของลำน้ำพรม) ลำห้วยหามแห(ลำน้ำสาขาของลำน้ำพรม)แม้ว่าจะมีแหล่งน้ำที่สำคัญในพื้นที่ แต่บางปีอำเภอเกษตรสมบูรณ์ยังคงมีปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมถึงน้ำเพื่อการเกษตร สาเหตุเนื่องมาจากการขาดระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ขาดการบริหารจัดการน้ำ ขาดแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อเป็นน้ำต้นทุนในฤดูแล้ง เป็นต้น นับเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ป่าไม้มากอีกอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ตามข้อมูลที่ได้นำเสนอไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของอำเภอมีขนาดและลักษณะการจัดการป่าโดยยึดกฎหมายเป็นหลัก ดังนี้

เขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นป่าที่มีการประกาศจัดตั้งตามพระราช บัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 รวม 2 แห่ง พื้นที่รวม ทั้งสิ้น 26,090 ไร่ ได้แก่

เขตป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย เป็นป่าที่ได้รับการประกาศจัดตั้งตามพระราช บัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า รวม 2 แห่ง ได้แก่

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว(ทุ่งกะมัง) ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของอำเภอ โดยมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตตำบลหนองข่า ตำบลบ้านบัว ตำบลบ้านยาง ตำบลโนนทอง และตำบลหนองโพนงาม เนื้อที่ 172 ตร.กม. (107,500 ไร่)

อุทยานแห่งชาติตาดโตน ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของอำเภอ ในเขตตำบล ซับสีทอง ตำบลบ้านหัน ตำบลสระโพนทอง ตำบลโนนกอก และตำบลบ้านเดื่อ

วัดป่าพระเจ้าองค์ตื้อ พระเจ้าองค์ตื้อพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ประมาณว่ามีอายุร่วม 2,000 ปี อยู่ที่บ้านท่าเดื่อ หมู่ 9 ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ องค์พระประธานก่อสร้างด้วยอิฐ ฉาบด้วยยางไม้ทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.5 เมตร ปรางค์ประทานพร เชื่อกันว่ามีพุทธคุณที่สูงยิ่ง แต่ละวันมีผู้เดินทางมาสักการะเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันผู้มีจิตศรัทธาได้ทาองค์ด้วยสีทองทั้งองค์ ในเดือนเมษายน แรม 8 ค่ำ ของทุกปี ชาวเกษตรสมบูรณ์ จัดให้มีการสรงน้ำพระเจ้าองค์ตื้อสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี( "องค์ตื้อ" แปลว่า องค์ใหญ่ อันหมายถึงพระพุทธรูปองค์ที่มีขนาดใหญ่)

อนุสาวรีย์พระไกรสิงหนาท เจ้าเมืองคนแรกของอำเภอเกษตรสมบูรณ์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวเกษตรสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง อนุสาวรีย์ตั้งอยู่ทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอเกษตรสมบูรณ์ห่างไปประมาณ 500 เมตร ที่ตั้งเป็นสวนสาธารณะ เนื้อที่ราว 3 ไร่ ทุกวันที่ 1 – 3 มีนาคม ของทุกปีชาวเกษตรสมบูรณ์จะพร้อมใจกันจัดพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณ และรำลึกถึงคุณงามความดีของอดีตเจ้าเมืองท่านนี้

ศาลพระไกรสิงหนาท ศาลพระไกรสีหนาทตั้งอยู่ที่คุ้มกลางนอก ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จ. ชัยภูมิ ในทุก ๆ ปีของวันที่ 1 มีนาคมจะมีการอัญเชิญพระไกรสีหนาทไปที่อนุสาวรีย์พระไกรสีหนาท

พระธาตุกุดจอก ลักษณะเป็นพระธาตุโบราณขนาดใหญ่เก่าแก่ มีอายุประมาณ 1,200 ปีตั้งอยู่ทางทิศใต้ บ้านยางน้อย ม.2 ต.บ้านยาง การก่อสร้างประณีต ยังมีสภาพสมบูรณ์ที่ประตูพระธาตุมีพระพุทธรูปไม้และสลักสูง 2 เมตรและมีพระธาตุอื่นๆกระจายอยู่ตามวัดต่างๆโดยรอบ เช่น พระธาตุจอบหมุบ พระธาตุพีพวย พระธาตุท่าลิง พระธาตุท่าคร้อ

ตั้งอยู่ที่ พระธาตุกุดจอก บ้านยางน้อย ตำบลบ้านยาง พระธาตุกุดจอก ประกอบด้วยเจดีย์ก่ออิฐ 2 องค์ องค์แรกมรีเรือนธาตุกลวง ภายในมีพระพุทธรูปหินปูนขนาดใหญ่ และพระพุทะรูปหินทรายปางมารวิชัยยอดเจดีย์องค์นี้มีฐานสูงประมาณ 5 ชั้น เป็นมุขยื่นและเป็นมุมอย่างสวยงามลักษณะของธาตุเจดีย์ทั้งสององค์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบลาว มีอายุในราวพุทธศตวรรษ 19-20 ปัจจุบันมีสำนักสงฆ์อยู่บริเวณพระธาตุ มีพระจำพรรษาดูแลอยู่ ยอดเจดีย์หักพังลงมาเป็น่วนใหญ่ อยู่ห่างจากอำเภอเกษตรสมบูรณ์ประมาณ 3 กิโลเมตร โดยเดินทางจากอำเภอเกษตรสมบูรณ์ไปบ้านยางน้อยประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองชัยภูมิประมาณ 78 กิโลเมตร

พระธาตุท่าเลิง พระธาตุงูซอง หรือชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุท่าเลิง เป็นโบราณสถานซึ่งประกอบด้วยฐานวิหารก่ออิฐสอดิน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของวิหารนี้ ก่อเป็นปรางค์หรือธาตุด้วยอิฐ ปัจจุบันได้พังทลายลง ส่วนอื่นๆของธาตุชำรุดทรุดโทรมมาก บริเวณโดยรอบมีการบำรุงรักษาได้ดี และมีการกำหนดบริเวณที่แน่นอน การคมนาคมอยู่ห่างจากอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ไปทางอำเภอหนองบัวแดงประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง

พระธาตุพีพวย ตั้งอยู่ที่บ้านพีพวย ตำบลสระโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นธาตุเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐสอปูนประกอบด้วยส่วนของฐานและยอด ฐานมีลักษณะคล้ายเรือนเหนือ เรือนธาตุทำเป็นกลีบบัวหงายและก่อเป็นบอดเรียวแหลมขึ้นไป คล้ายกับส่วนยอดของพระธาตุ เจดีย์ธาตุองค์นี้ยังคงเหลือร่องรอยของการฉาบผิวนอกด้วยปูนให้เห็นอยู่บ้าง ส่วนวิหารนั้นก่อด้วยอิฐ ปัจจุบันพังทลายเหลือเพียงฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์มีลักษณะของศิลปลาวประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 ปัจจุบันอยู่ในที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุพระธาตุปัจจุบันทรุดโทรมพอสมควรและบริเวณรอบๆพระธาตุชาวบ้านเข้ามาทำไร่เต็มบริเวณอยู่ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิไปตามถนนสายหนองบัวแดง-เกษตรสมบูรณ์ประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางจากนั้นแยกซ้ายเข้าบ้านพีพวยเป็นถนนลูกรังประมาณ 2 กิโลเมตรก็ถึงที่ตั้งของพระธาตุพีพวย

พระธาตุบ้านเปือย ตั้งอยู่ที่บ้านเปือย ตำบลโนนกอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ธาตุบ้านเปือยเป็นธาตุก่อด้วยอิฐขนาดเล็ก มีฐานใหญ่ เรือนธาตุยอดสอบเข้าลักษณะเป็นแบบที่ได้รับอิฐพลจากศิลปลาวมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 ปัจจุบันชาวบ้านได้ช่วยกันพํฒนารอบบริเวณองค์ธาตุ และกำหนดขอบเขตบริเวณให้เป็ฯที่แน่ชัดและสวยงามธาตุบ้านเปือย อยู่ห่างจากที่ตั้งอำเภอเกษตรสมบูรณ์ประมาณ 13 กิโลเมตร

ใบเสมาบ้านพันลำ ตั้งอยู่ในวัดเทวฤทธิ์สุวิมลมังคลาราม บ้านพันลำ หมู่ 3 ตำบลสระโพนทอง ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรได้ตรวจสอบแล้ว คาดว่ามีอายุประมาณ 1,800 ปี ใบเสมาปรากฏเป็นภาพแกะสลักนูนต่ำ มีเทวรูปประดิษฐานอยู่ตรงกลางใบเสมา ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อเทวฤทธิ์” ชาวบ้านได้จัดพิธีทำบุญสรงน้ำพระธาตุเสมาหินพันปีในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี

ภูคิ้งและเขตรักษาพันสัตว์ป่าภูเขียว นับเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาภูเขียว มีระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปกติ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลโนนทอง ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาสูง มีธรรมชาติที่สวยงาม อากาศเย็น ร่มรื่นตลอดทั้งปี หน้าหนาวอากาศหนาวจัด มีลานหินรูปร่างแปลกตา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความสวยงามของธรรมชาติอย่างแท้จริง ความสวยงามของภูคิ้ง มีผู้เปรียบเปรยไว้ว่า "สี่ภูกระดึง ยังไม่เท่าหนึ่งภูคิ้ง" แต่การเข้าไปเที่ยวชม จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวก่อน

สวนรุกชาติ 100 ปีกรมป่าไม้ (ภูกุ้มข้าว) ตั้งอยู่บ้านโนนมะค่าง หมู่ 5 ตำบลกุดเลาะ มีลักษณะคล้ายคุ้มข้าว หรือกองข้าวขนาดใหญ่ หรืออาจมองดูคล้ายภูเขาไฟขนาดย่อม มีพระธาตุไม้เก่าแก่ และพระพุทธรูปอยู่บนยอดเขา เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม และศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของคนในตำบลกุดเลาะ และชาวเกษตรสมบูรณ์ทั่วไป ทุกปีในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 5 จะมีการทำบุญประเพณีที่เรียกว่า “เอาบุญกุ้มข้าว” เป็นประจำ

ภูกระแต ตั้งอยู่ระหว่างภูแลนคาและภูเขียว ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านเดื่อ ตำบลโนนกอกตำบลบ้านบัว และตำบลหนองข่า เป็นภูเขาเตี้ย ๆ และเป็นต้นกำเนิดของห้วยหามแห และห้วยกุดแซะ เป็นแนวกันชนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขียว มีเนื้อที่ประมาณ 6,700 ไร่ บนเชิงเขาจะมีถ้ำพระมีงานบุญประเพณี “งานสรงน้ำพระภูกระแต” ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นประจำทุกปี

น้ำตกทับแข้ ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหินลับ หมู่ 11 ตำบลหนองโพนงาม ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 36 ก.ม.เส้นทางสะดวกทั้งปี มีลักษณะเป็นน้ำตกชั้นเดียว มีน้ำไหลตลอดทั้งปี น้ำไหลมาจากลำห้วยทิก ซึ่งเป็นห้วยสาขาของลำน้ำพรม บริเวณชั้นล่างของน้ำตก เป็นอ่างกว้างขนาดประมาณ 10 ตารางเมตร เป็นที่ลงเล่นน้ำของนักท่องเที่ยว หรืออาจนั่งชมทิวทัศน์ที่ร่มรื่น น้ำตกจะมีน้ำมากในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม

เขื่อนชลประทานโนนเขวา – หาดน้ำพรม ตั้งอยู่บ้านโนนเขวา ตำบลโนนทอง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร มีทิวทัศน์สวยงาม มีจุดบริการอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งบริการล่องแพแลคิ้ง สามารถล่องชมบรรยากาศสองฝั่งลำน้ำพรมไปถึง บ้านโนนหนองไฮซึ่งเป็นทางขึ้นภูคิ้งและ Homestay ได้

เขื่อนห้วยกุ่ม เป็นเขื่อนที่ใช้น้ำในการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ที่มีทิวทัศน์สวยงามร่มรื่นอากาศเย็นสบาย และจุดพักรับประทานอาหารและชมวิวตั้งอยู่บ้านห้วยหินลับ ต.หนองโพนงาม ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 32 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาที


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406