ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ฮายาโซฟีอา

ฮายาโซฟีอา (อังกฤษ: Hagia Sophia), อายาโซเฟีย (ตุรกี: Ayasofya), ฮากีอาโซพีอา (กรีกโบราณ: ???? ?????) หรือ ซางก์ตาซาปีเอนเตีย (ละติน: Sancta Sapientia) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนานิกายออร์ทอดอกซ์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง จุดเด่นอยู่ที่ยอดโดมขนาดมหึมากลางวิหาร และนับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ ฮายาโซฟีอาเคยเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานเกือบพันปี จนกระทั่งอาสนวิหารเซบียาสร้างเสร็จในปี 1520

สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างให้เป็นโบสถ์ในระหว่างปี ค.ศ. 532-537 โดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และเป็นโบสถ์หลังที่สามถูกสร้างขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ (โบสถ์สองหลังแรกถูกทำลายในระหว่างการจลาจล) โบสถ์นี้เป็นศูนย์กลางของนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เป็นเวลาเกือบ 1,000 ปี

ในปี 1453 หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันพิชิตจักรวรรดิไบแซนไทน์ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงดัดแปลงโบสถ์ให้กลายเป็นสุเหร่า เช่นย้ายระฆัง แท่นบูชา รูปปั้นต่าง ๆ ออก และสร้างสัญลักษณ์ทางอิสลาม เช่นเสามินาเรต แทน สุเหร่าโซฟีอาเป็นสุเหร่าหลักของอิสตันบูลมากว่า 500 ปี และเป็นต้นแบบของสุเหร่าออตโตมันอีกหลายแห่ง เช่นสุเหร่าสุลต่านอาเหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน), สุเหร่าเซห์ซาเด, สุเหร่าซือเลย์มานิเย และสุเหร่ารืสเตม ปาชา ในปี 1935 ฮายาโซฟีอาก็ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์โดยรัฐบาลตุรกีจนถึงปัจจุบัน

อีกชื่อหนึ่งของฮายาโซฟีอาคือเซนต์โซฟีอา ซึ่งมาจากชื่อเต็มในภาษากรีก "???? ??? ????? ??? ???? ??????" แปลว่า โบสถ์แห่งปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ โดยคำว่า "โซฟีอา" มาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่า "ปัญญา" จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับนักบุญที่ชื่อโซฟีอาแต่อย่างใด

โบสถ์หลังแรกที่ถูกสร้างขึ้นมีชื่อว่า "Meg?l? Ekkl?s??" ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใช้ต่อมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ฮายาโซฟีอา" หลังถูกชาวออตโตมันเติร์กยึดครองในปี 1453

เหตุการณ์เกี่ยวกับโบสถ์แห่งนี้ถูกบันทึกโดยโสกราตีสแห่งคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 380-440) ผู้ซึ่งบันทึกไว้ว่าโบสถ์ฮายาโซฟีอาถูกสร้างโดยคอนสแตนตินมหาราช โบสถ์ถูกสร้างขึ้นติดกับบริเวณที่กำลังสร้างพระราชวัง และติดกับโบสถ์ฮายาไอรีนซึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ถูกใช้เป็นโบสถ์หลักจนกระทั่งฮายาโซฟีอาสร้างเสร็จ จักรพรรดิคอนสแตนติอุสที่ 2 เปิดฮายาโซฟีอาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 360 โบสถ์ทั้งสองกลายเป็นโบสถ์ที่สำคัญของจักรวรรดิไบแซนไทน์

โบสถ์หลังที่สองสร้างขึ้นโดยจักรพรรดิธีโอโดซิอุสที่ 2 และถูกเปิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 405 โบสถ์หลังที่สองถูกไฟไหม้ที่เกิดขึ้นระหว่างการจลาจลนิกา (Nika riots) ในวันที่ 13-14 มกราคม ค.ศ. 532

หินอ่อนบางส่วนจากโบสถ์หลังที่สองยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และถูกแสดงไว้ในสวนของโบสถ์ปัจจุบัน (หลังที่สาม) หินอ่อนเหล่านี้เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางเข้าด้านหน้าซึ่งถูกขุดพบในปี 1935

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 532 หลังจากที่โบสถ์หลังที่สองถูกทำลายไปไม่นาน จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ตัดสินใจให้สร้างโบสถ์หลังที่สามให้ยิ่งใหญ่และสวยงามกว่าโบสถ์หลังก่อน ๆ จักรพรรดิจัสติเนียนเลือกให้นักฟิสิกส์ อิสิโดโรสแห่งมิเลตุส และนักคณิตศาสตร์ แอนเทมิอุสแห่งทราเรสเป็นสถาปนิก แต่แอนเทมิอุสเสียชีวิตลงในปีแรก มีการนำวัสดุก่อสร้างมาจากทั่วทั้งอาณาจักร เช่น เสาแบบเฮเลนิสติกจากวิหารอาร์ทีมิส เมืองเอเฟซุส หินขนาดใหญ่ถูกนำมาจากเหมืองหินที่อยู่ไกลออกไป เช่น หินเนื้อดอกจากอียิปต์ หินอ่อนเขียวจากแคว้นเทสซาลี หินดำจากแถบบอสฟอรัส และหินเหลืองจากซีเรีย ในการก่อสร้างใช้แรงงานมากกว่าหมื่นคน จักรพรรดิและสังฆราชยูติชิอุสทำการเปิดโบสถ์ใหม่ในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 537 แต่การตกแต่งภายในโบสถ์ด้วยโมเสกนั้นต่อเนื่องจนถึงสมัยจักรพรรดิจัสตินที่ 2

แผ่นดินไหวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 553 และวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 557 ทำให้เกิดรอยแตกในโดมหลักและโดมทางตะวันออก โดมหลักพังลงมาทั้งหมดเพราะแผ่นดินไหวในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 558 จักรพรรดิจัสติเนียนจึงสั่งให้ทำการซ่อมแซมในทันที โดยมอบหมายให้อิโสโดรุสซึ่งเป็นหลานของอิสิโดโรสแห่งมิเลตุส ในการซ่อมแซมครั้งนี้ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเดิมและยกให้โดมสูงขึ้นอีก 6.25 เมตร ทำให้อาคารมีความสูงเท่ากับปัจจุบันคือ 55.6 เมตร การซ่อมแซมครั้งนี้เสร็จในปี 562

ในปี 726 จักรพรรดิลีโอที่ 3 ออกกฎต่าง ๆ ที่ต่อต้านการบูชารูปเคารพ และสั่งให้กองทัพทำลายรูปเคารพทั้งหมด ภาพและรูปปั้นทางศาสนาจึงถูกย้ายออกจากฮายาโซฟีอาทั้งหมด ในสมัยของจักรพรรดินีไอรีน (797-802) มีคำสั่งให้หยุดการทำลายไประยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นลัทธิทำลายรูปเคารพก็กลับมาอีกครั้ง จักรพรรดิทีโอฟิลุส (829-842) ได้รับอิทธิพลจากศิลปะศาสนาอิสลามซึ่งต่อต้านรูปเคารพเป็นอย่างมาก เขาสั่งให้ติดอักษรสัญลักษณ์ของเขาไว้ที่ประตูทางทิศใต้

ตัวโบสถ์ถูกทำลายอย่างหนักด้วยไฟไหม้ในปี 859 และแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 8 มกราคม 869 ซึ่งทำให้โดมเล็กหักไปข้างหนึ่ง จักรพรรดิบาซิลที่ 1 มีคำสั่งให้ซ่อมแซมโบสถ์ หลังจากนั้นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 989 ซึ่งทำให้โดมใหญ่เสียหาย จักรพรรดิบาซิลที่ 2 แห่งไบแซนไทน์จึงสั่งให้สถาปนิกชาวอาร์เมเนีย ทริแดท ซึ่งสร้างโบสถ์แห่งอานี เป็นผู้ซ่อมโดม ทริแดทซ่อมส่วนอาร์ชด้านตะวันตกและส่วนหนึ่งของโดม ความเสียหายอย่างหนักของโบสถ์ทำให้การซ่อมแซมต้องใช้เวลานานถึง 6 ปี โบสถ์ถูกเปิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 994


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301