ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ฮอโลคอสต์

ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (อังกฤษ: The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: ?????), Churben (ภาษายิดดิช: ?????) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน

นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวาห์ และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี"

การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก๊ส

คำว่า การล้างชาติ ในภาษาอังกฤษคือ "holocaust" มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีกว่า hol?kauston ซึ่งแยกได้เป็นสองคำ คือ (holos) "อย่างสิ้นซาก" และ (kaustos) "เผา" ซึ่งมีความหมายถึงการบูชายัญต่อพระเจ้า ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 11 คำดังกล่าวได้ถูกใช้ในภาษาละตินว่า holocaustum ใช้บรรยายถึงการสังหารหมู่ชาวยิวโดยเฉพาะ และเมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า holocaust ใช้ในความหมายว่า ความหายนะหรือความล่มจม

ส่วนคำในพระคัมภีร์ไบเบิล คำว่า Shoah (????) (หรืออาจจะสะกดว่า Sho'ah และ Shoa) หมายถึง "ความหายนะใหญ่หลวง" เป็นคำในภาษาฮีบรูที่ใช้บรรยายถึงการล้างชาติโดยนาซีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 ชาวยิวได้ใช้คำว่า Shoah ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกันรวมไปถึงใจความของคำว่า "holocaust" ที่มีความหมายไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากเป็นการบรรยายถึงวัฒนธรรมนอกรีดของชาวกรีกโบราณ

คำว่า holocaust ได้เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ในความหมายถึง "การตายของคนกลุ่มใหญ่อย่างรุนแรง" ยกตัวอย่างเช่น นายวินสตัน เชอร์ชิลล์และเหล่านักเขียนในยุคก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สองได้ใช้คำดังกล่าวในการบรรยายถึงการพันธุฆาตชาวอาร์เมเนียนในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่หลังจากคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา คำดังกล่าวถูกจำกัดวงมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ คำดังกล่าวเป็นคำวิสามานยนามที่ใช้อธิบายถึงการล้างชาติโดยนาซีเท่านั้น

คำว่า holocaust เป็นการแปลความหมายมาจากคำว่า Shoah ซึ่งเป็นคำในภาษาฮีบรูในความหมายว่า เหตุหายนะใหญ่หลวง ความฉิบหาย มหันตภัยและการทำลายล้าง ซึ่งปรากฏในหนังสือที่มีชื่อว่า Sho'at Yehudei Polin ในกรุงเยรูซาเลม ซึ่งต่อมาได้แปลเป็น การล้างชาติโดยนาซีต่อชาวยิวในโปแลนด์ ส่วนก่อนหน้านั้น คำว่า Shoah เป็นคำที่ใช้บรรยายถึงพรรคนาซีว่าเป็นความหายนะใหญ่หลวง

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซ์ฟอร์ด เห็นพ้องต้องต้องกันว่า คำว่า holocaust หมายความถึง ลักษณะการกระทำของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่มีต่อชาวยิวในปี พ.ศ. 2485 ความหมายนี้ยังไม่ได้ถูกยอมรับอ้างอิงจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 จึงเป็นที่ยอมรับ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคำคำนี้จะแปลโดยสามัญว่าเป็นการฆ่าล้างชาติที่กระทำโดยพรรคนาซี แต่คำว่า holocaust ก็แปลได้หลายทางเช่นกัน

ขบวนการล้างชาติของพรรคนาซี มีสาเหตุมาจากการแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างพวกชนชาติเชื้อสายอารยันและพวกที่ไม่มีเชื่อสายอารยันโดยมุ่งเป้าหมายหลักไปยังชาวยิวที่อยู่อาศัยในทวีปยุโรป การทำลายล้างชนชาติยิวเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อพรรคนาซีได้ขึ้นนำประเทศเยอรมันเมื่อฮิตเลอร์ขึ้นปกครองประเทศโดยชอบธรรมตามกฎหมายในปีค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์โยนความผิดและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในเยอรมันในเวลานั้นว่าเป็นความผิดของชาวยิว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ เหตุการณ์ไฟไหม้ การที่เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และปัญหาต่างๆอีกร้อยพันประการ

ชาวยิวในเวลานั้นถูกกดขี่ข่มเหงในทุกรูปแบบ พรรคนาซีออกกฎหมายกว่า 400 มาตราเพื่อริดรอนสิทธิชาวยิว เช่นชาวยิวไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินเพาะปลูกในเยอรมันได้ กิจการร้านค้าของชาวยิวโดนรัฐบาลเยอรมันสั่งปิด นอกจากนี้นาซียังออกกฎหมายสั่งปลดประชากรเชื้อสายที่ไม่ใช่ชาวอารยันออกจากงาน ในเวลานั้นชาวยิวหลายคนที่อยู่ผิดที่ผิดเวลาโดนทุบตีทำร้ายจนบางครั้งถึงเสียชีวิต ชาวยิวจำนวนหนึ่งอพยพหนีความรุนแรงกลับไปยังปาเลสไตน์

ท้ายที่สุดพรรคนาซีสร้างไล่ต้อนชาวยิวให้ไปอยู่อาศัยในบริเวณกักกัน(The Ghettos) พวกเขาโดนใช้งานหนักในโรงงานที่ถูกสร้างขึ้นข้างๆรั้วของบริเวณกักกันเพื่อให้ชาวเยอรมันได้รับผลประโยชน์จากแรงงานชาวยิวโดยไม่เสียเงิน ชาวยิวมากมายในสถานกักกันตายเพราะความหิวโหย เนื่องจากปริมาณอาหารที่รัฐบาลหยิบยื่นให้นั้นมีไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากร รวมทั้งโรคระบาดและความหนาวได้คร่าชีวิตประชากรชาวยิวมากมายในบริเวณกักกัน ชาวยิวที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องมารับเคราะห์โดยที่ไม่รู้ว่าพวกนาซีต้องการอะไรกันแน่ ชาวยิวบางคนฆ่าตัวตายเพราะความหมดหวังในการมีชีวิตอยู่ต่อไปในสถานที่ที่เปรียบเสมือนนรก

ในช่วงแรกๆนั้น ชาวยิวตายวันหนึ่งมีจำนวนน้อยเกินไป จึงได้มีการใช้ก๊าซพิษหลากชนิด ตั้งแต่ไซคลอน บี(เป็นสารไซยาไนต์แบบระเหยได้)ในช่วงแรก ไปจนถึงซารินที่ร้ายแรงกว่ามาก

จำนวนที่แน่นอนของผู้ที่เสียชีวิตจากน้ำมือของนาซีอาจจะไม่มีใครล่วงรู้ แต่เชื่อว่ามีจำนวนผู้เคราะห์ร้าย ดังนี้[ต้องการอ้างอิง] :

รูล ฮิลเบิร์ก เจ้าของผลงานหนังสือ The Destruction of the European Jews (การสังหารชาวยุโรปเชื้อสายยิว) คาดว่ามีชาวยิวทั้งหมด 5.1 ล้านคนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์การล้างชาติของนาซี จากสถิติกล่าวไว้ว่า มากกว่า 8 แสนคน เสียชีวิตจากบริเวณเกท-โทและความขาดแคลน, 1.4 ล้านคนเสียชีวิตเพราะถูกยิงทิ้งกลางแจ้ง และมากกว่า 2.9 ล้านคน เสียชีวิตอยู่ในค่ายกักกันนั้นเอง ฮิลเบิร์กประมาณการว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตในประเทศโปแลนด์เป็นจำนวนมากกว่า 3 ล้านคน ตัวเลขที่ฮิลเบิร์กนำมาพิจารณานี้ได้มาจากบันทึกเท่าที่หาได้ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ

หลายๆ คนอาจคิดว่า เป็นอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แต่โดยความจริงแล้ว เรื่องนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เพราะตอนที่ฮิตเลอร์ยังเรียนอยู่ ก็มีขบวนการต่อต้านยิวอยู่แล้ว

ชาวยิวในประเทศบัลแกเรีย หรือแม้แต่พลเรือนและทหารที่อยู่ในเขตการปกครองของประเทศมาซิโดเนียและทางตอนเหนือของประเทศกรีซ ก็ถูกเนรเทศเข้าสู่ประเทศบัลแกเรียของเยอรมนี ประเทศบัลแกเรียก็ไม่ได้ขัดขวางการเนรเทศผู้คนของเยอรมนี ซึ่งชาวยิวที่ถูกเนรเทศเหล่านี้จะถูกนำตัวไปยังค่ายกักกัน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีปกครองด้วยระบอบเผด็จการแบบฟาสซิสต์ นำโดยเบนิโต มุสโสลินี ผู้นำจอมเผด็จการ ซึ่งร่วมกับพรรคนาซีในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองชาวยิว ส่งผลให้กลุ่มชนชาวยิวมีฐานะตกต่ำลง ลดฐานะเป็นพลเมืองชั้นรอง ถึงแม้ว่ามุสโสลินีจะไม่เคยเนรเทศชาวยิวไปยังค่ายกักกัน แต่หลังจากที่มุสโสลินีหมดอำนาจลงแล้ว อิตาลีก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นสังคมนิยมประชาธิปไตย ชาวยิวที่รอดมาจากค่ายกักกันได้กว่าพันคนก็กลับเข้ามาสร้างค่ายเล็กๆ มากมายในอิตาลีเรียกกันว่า ริเซียราดิซันซาบบา (Risiera di San Sabba) เป็นสถานที่ปลงศพชาวยิว 2,000 ถึง 5,000 คนที่ถูกสังหารที่นั่น

ประเทศโรมาเนียภายใต้การปกครองของลอน อันโตเนสโค (Lon Antonescu) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีชาวยิวเสียชีวิตระหว่าง 280,000 - 380,000 คน และมีรายการจากคณะรัฐบาลโรมาเนียว่า

"ในบรรดาพันธมิตรของนาซีเยอรมันทั้งหมด โรมาเนียต้องแบบภาระความรับผิดชอบในการตายของชาวยิวมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เข้าร่วมกับเยอรมัน ทั้งการสังหารใน การสังหารหมู่ไอซี่ (Iasi pogrom) , โอเดสซา (Odessa) , บ็อกดานอฟก้า (Bogdanovka) , โดมานอฟก้า (Domanovka) และเปซิโอรา (Peciora) เพื่อเป็นตัวอย่างแก่พวกที่น่าขยะแขยงมากที่สุดและจะปฏิบัติเช่นนี้อีกกับยิวทุกแห่งหนจนกว่าจะถึงการฆ่าล้างชาติ"

จากการเป็นสมาชิกในการช่วยเหลือทางการทหารให้กับเยอรมนีและยูเครน โรมาเนียได้สังหารชาวยิวร้อยละ 10 ที่เมืองเบสซาราเบีย ทางตอนเหนือของเมืองบูโกวินาและเมืองทรานสนิสเตรีย ส่วนการสังหารครั้งใหญ่มีอีกหลายครั้ง อาทิ ชาวยิว 54,000 ศพที่บ็อกดานอฟก้า ชุนนุมชาวโรมาเนียที่ค่ายบั๊ก ริเวอร์ เมืองทรานสนิสเตรีย ระหว่างวันที่ 21-31 ธันวาคม พ.ศ. 2484, ชาวยิวเกือบ 100,000 ศพที่อาศัยในเมืองโอเดสซา , มากกว่า 10,000 ศพในเมืองไอซี่ พ็อกรอม และมีการสังหารชาวยิวจำนวนมากที่เมืองโดมานอฟก้าและค่ายกักกันอัคเมตเชตก้า (Akhmetchetka) อีกด้วย

ประเทศฮังการีในยุคของไมคลอส อองรี เดอ นากีบานย่าเป็นผู้นำ มีการเนรเทศชาวยิวไปทั้งสิ้น 20,000 คนจากโรงเรือนใหญ่ของกองกำลังยูเครนในปี พ.ศ. 2484 ไปที่คาเมียเนส-โพดิสกี้ (Kamianets-Podilskyi) ในเขตการครองครองของเยอรมนีในยูเครน เพื่อให้พวกพันธมิตรของเยอรมันสังหารโดยยิงเป้า กองทัพทหารและตำรวจฮังการีได้ทำการสังหารชาวยิวและชาว]เซิร์บกว่าพันคนที่เมืองโนวี่ แซด (Novi Sad) เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2485 อย่างไรก็ตามอองรีก็ยังขัดขวางความต้องการของเยอรมนีที่ให้เนรเทศชาวยิวในฮังการี (ประมาณ 725,000 คน) และส่วนใหญ่ก็มีชีวิตอยู่รอดถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 ซึ่งนาซีได้เข้าครอบครองฮังการี ปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2487 ชาวยิวครึ่งหนึ่ง (ประมาณ 381,661 คน) ในฮังการีถูกกวาดไปอยู่ที่ค่ายกักกันเอาส์ชวิตส์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2487 รัฐบาลฮังการีภายใต้การเป็นหุ่นเชิดของนาซี ชาวยิวก็ถูกกวาดต้อนกลับมายังบ้านเกิด แต่นี่ก็แค่ชั่วคราวเท่านั้น ต่อมาชนชาวยิวก็กลับมาถูกกลั่นแกล้งดังที่เป็นมา

อองรีกลับมาอีกครั้งในนามพรรคแอร์โรว ครอส (Arrow Cross Party : Arrow แปลว่า ลูกศรหรือลูกดอก , Cross แปลว่า กากบาท) ก่อตั้งโดยเฟอเรนซ์ สซาเลซี่ (Ferenc Sz?lasi) ในช่วงปลายสงครามซึ่งสัญญาณความพ่ายแพ้ของเยอรมนีเริ่มปรากฏ ทั้งนี้กองกำลังของฮังการีมีอยู่ในกองกำลังเอสเอสของนาซีมากมายไม่น้อย ซึ่งกองกำลังนี้ได้ไล่ล่าชาวยิวเพื่อนำตัวเข้าสู่ค่ายกักกันซึ่งเป็นสถานที่สังหารชาวยิวกว่า 437,000 คน ยิ่งไปกว่านั้น ชาวยิวในกรุงบูกาเปรส เมืองหลวงของประเทศฮังการี 20,000 คนถูกยิงทิ้งที่แม่น้ำดานูบโดยคำสั่งของพรรคแอร์โรว ครอส นอกจากนี้ฮังการีภายใต้อิทธิพลของพรรคนาซีได้นำชาวยิว 70,000 คนข้ามไปยังประเทศออสเตรีย กว่าพันคนตายเพราะถูกยิง อีกกว่าพันคนตายเพราะความอดอยากและอื่นๆ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944