อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม
อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้วย
อ่าวไทยมีพื้นที่ 300,858.76 ตารางกิโลเมตร เขตแดนของอ่าวไทยกำหนดด้วยเส้นที่ลากจากแหลมกาเมาหรือแหลมญวนทางตอนใต้ของเวียดนาม ไปยังเมืองโกตาบารูในชายฝั่งมาเลเซีย ซึ่งอยู่ห่างกัน 381 กิโลเมตร โดยจุดเหนือสุดของอ่าวไทย ตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมเรียกกันว่า "อ่าวประวัติศาสตร์รูปตัว ก" ซึ่งต่างชาติเรียก "อ่าวกรุงเทพฯ"
ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยทอดยาว 1,840 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 58 เมตร (190 ฟุต) จุดที่ลึกที่สุด 85 เมตร (279 ฟุต) จึงทำให้การแลกเปลี่ยนระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็มเป็นไปอย่างเชื่องช้า น้ำจืดจำนวนมากที่ไหลมาจากแม่น้ำต่าง ๆ ทำให้น้ำทะเลในอ่าวไทยมีระดับความเค็มต่ำประมาณร้อยละ 3.05-3.25 และมีตะกอนสูง แต่บริเวณที่ลึกกว่า 50 เมตร มีความเค็มสูงกว่านี้ประมาณร้อยละ 3.4% ซึ่งเกิดจากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาจากทะเลจีนใต้
อาณาเขตของอ่าวไทยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลักเรื่องดินแดนตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่ง หยุด แสงอุทัย ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า
"ประมวลกฎหมายอาญาได้วางหลักเกณฑ์ไว้โดยใช้หลักดินแดน...'หลักดินแดน' หมายความว่า กฎหมายของรัฐใด ย่อมใช้บังคับแก่การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นภายในเขตของรัฐนั้น ทั้งนี้...เพราะรัฐทุกรัฐมีอธิปไตยเหนืออาณาเขตของตน"
ตามกฎหมายไทยแล้ว มีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ว่า "ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย" และ ววรรคสองว่า "การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร" ดังนั้น "ราชอาณาจักรไทย" ตามประมวลกฎหมายอาญาจึงหมายความถึง
พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502 เป็นพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเมื่อ 23 กันยายน พ.ศ. 2502 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอนที่ 92 หน้าที่ 430 วันที่ 29 กันยายน ปีเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ เนื่องจากเขตจังหวัดต่าง ๆ ทางทะเลในอ่าวไทยตอนในยังไม่เป็นที่ชัดแจ้ง เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติบางประการจึงควรจะได้กำหนดเสียให้เป็นที่ชัดแจ้ง เพื่อประโยชน์ในการปกครองและความสะดวกของประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
จากจุดอักษร ก. ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 49 องศา-47 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก; แล้วขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข , ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวัออก
จากจุดอักษร ค. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดสมุทรสาครไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ค. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดสมุทรสาครไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ง. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดธนบุรีไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ง. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดธนบุรีไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร จ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดสมุทรปราการ ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร จ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดสมุทรปราการ ขนานกับเส้นลองจิจูดไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ฉ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงจุดหมายเลข ละติจุด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ฉ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ช. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดชลบุรีไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ช. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดชลบุรีไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ซ. แหลมบ้านช่องแสมสาน ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-57 ลิปดา-45 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดหมายเลข ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปถึงจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
แม่น้ำสายหลักที่น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนที่แยกสาขาออกมา แม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่อ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปีที่ไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
น้ำอุ่นในอ่าวไทยทำให้เกิดแนวปะการังที่สวยงาม โดยสถานที่ดำน้ำที่ได้รับความนิยม เช่น เกาะสมุย และเกาะเต่า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรียงทวนเข็มนาฬิกาจากชายแดนกัมพูชาที่จังหวัดตราด วกขึ้นอ่าวไทยตอนตัว ก แล้วลงไปจนจรดชายแดนมาเลเซียที่จังหวัดนราธิวาส
ทุกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 15 พฤษภาคม ของทุกปี อันเป็นช่วงที่สัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยเฉพาะปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ วางไข่ เลี้ยงตัวในวัยอ่อนและเจริญเติบโต เป็นฤดูปิดอ่าว กรมประมงจะประกาศควบคุมการทำประมงตั้งแต่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร
การประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ถ้าชาวประมงรายใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ