ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซีดอน (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (อังกฤษ: Alexander III of Macedon หรือ Alexander the Great, กรีก: ????? ??????????, M?gas Al?xandros) เป็นกษัตริย์กรีกจากแคว้นมาซิโดเนีย ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาซิโดเนีย เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก

พระเจ้าฟิลิปทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาซิโดเนีย โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อฟิลิปสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์ดาริอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด1 พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม

อเล็กซานเดอร์สวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปีที่ 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาซิโดเนีย แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน2

อเล็กซานเดอร์ประสูติเมื่อวันที่ 20 (หรือ 21) กรกฎาคม ปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล, ที่เมืองเพลลา เมืองหลวงของราชอาณาจักรมาซิดอน เป็นโอรสของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 มารดาเป็นภริยาคนที่ 4 ของฟิลิปชื่อนางโอลิมเพียสแห่งเอพิรุสเป็นธิดาของ นีโอโทเลมุสที่ 1 แห่งเอพิรุส นครรัฐกรีกทางเหนือ แม้ฟิลิปจะมีชายาถึง 7-8 คน แต่นางโอลิมเพียสก็ได้เป็นชายาเอกอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์อาร์กีด อเล็กซานเดอร์จึงถือว่าสืบเชื้อสายมาจากเฮราคลีสผ่านทางกษัตริย์คารานุสแห่งมาซิดอน4 ส่วนทางฝั่งมารดา เขาถือว่าตนสืบเชื้อสายจากนีโอโทลีมุส บุตรของอคิลลีส5 อเล็กซานเดอร์เป็นญาติห่างๆ ของนายพลพีร์รุสแห่งเอพิรุส ผู้ได้รับยกย่องจากฮันนิบาลว่าเป็นแม่ทัพผู้เก่งกาจที่สุด หรืออันดับที่สอง (รองจากอเล็กซานเดอร์) เท่าที่โลกเคยประสบพบเจอ

ตามบันทึกของพลูตาร์ค นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ในคืนวันก่อนวันวิวาห์ของนางโอลิมเพียสกับฟิลิป โอลิมเพียสฝันว่าท้องของนางถูกสายฟ้าฟาดเกิดเปลวเพลิงแผ่กระจายออกไป "ทั้งกว้างและไกล" ก่อนจะมอดดับไป หลังจากแต่งงานแล้ว ฟิลิปเคยบอกว่า ตนฝันเห็นตัวเองกำลังปิดผนึกครรภ์ของภรรยาด้วยดวงตราที่สลักภาพของสิงโต พลูตาร์คตีความความฝันเหล่านี้ออกมาหลายความหมาย เช่นโอลิมเพียสตั้งครรภ์มาก่อนแล้วก่อนแต่งงาน โดยสังเกตจากการที่ครรภ์ถูกผนึก หรือบิดาของอเล็กซานเดอร์อาจเป็นเทพซูส นักวิจารณ์ในยุคโบราณมีความคิดแตกแยกกันไปว่าโอลิมเพียสประกาศเรื่องเชื้อสายอันศักดิ์สิทธิ์ของอเล็กซานเดอร์ด้วยความทะเยอทะยาน บางคนอ้างว่านางเป็นคนบอกอเล็กซานเดอร์เอง แต่บางคนก็ว่านางไม่สนใจคำแนะนำทำนองนี้เพราะเป็นการไม่เคารพ

ในวันที่อเล็กซานเดอร์เกิด ฟิลิปกำลังเตรียมตัวเข้ายึดเมืองโพทิเดียซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งคาลกิดีกี (Chalkidiki) ในวันเดียวกันนั้น ฟิลิปได้รับข่าวว่านายพลพาร์เมนิออนของพระองค์ได้ชัยชนะเหนือกองทัพผสมระหว่างพวกอิลลีเรียนกับพาอิเนียน และม้าของพระองค์ก็ชนะการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ยังเล่ากันด้วยว่า วันเดียวกันนั้น วิหารแห่งอาร์เทมิสที่เมืองเอเฟซัส อันเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ถูกไฟไหม้ทลายลง เฮเกเซียสแห่งแม็กนีเซียกล่าวว่า ที่วิหารล่มลงเป็นเพราะเทพีอาร์เทมิสเสด็จมาเฝ้ารอการประสูติของอเล็กซานเดอร์

เมื่อยังเล็ก ผู้เลี้ยงดูอเล็กซานเดอร์คือนางอภิบาล ลาไนกี พี่สาวของเคลอิตุสซึ่งในอนาคตได้เป็นทั้งเพื่อนและแม่ทัพของอเล็กซานเดอร์ ครูในวัยเยาว์ของอเล็กซานเดอร์คือลีโอไนดัสผู้เข้มงวด ซึ่งเป็นญาติทางฝ่ายมารดา และไลซิมาคัส

เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 10 ปี พ่อค้าม้าคนหนึ่งจากเมืองเทสสะลีนำม้ามาถวายฟิลิปตัวหนึ่ง โดยเสนอขายเป็นเงิน 13 ทาเลนท์ ม้าตัวนี้ไม่มีใครขี่ได้ ฟิลิปจึงสั่งให้เอาตัวออกไป ทว่าอเล็กซานเดอร์สังเกตได้ว่าม้านี้กลัวเงาของตัวมันเอง จึงขอโอกาสฝึกม้านี้ให้เชื่อง ซึ่งต่อมาเขาสามารถทำได้สำเร็จ ตามบันทึกของพลูตาร์ค ฟิลิปชื่นชมยินดีมากเพราะนี่เป็นสิ่งแสดงถึงความกล้าหาญและความมักใหญ่ใฝ่สูง เขาจูบบุตรชายด้วยน้ำตา และว่า "ลูกข้า เจ้าจะต้องหาอาณาจักรที่ใหญ่พอสำหรับความทะเยอทะยานของเจ้า มาซิดอนเล็กเกินไปสำหรับเจ้าแล้ว" แล้วพระองค์จึงซื้อม้าตัวนั้นให้แก่อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานเดอร์ตั้งชื่อม้านั้นว่า บูซีฟาลัส หมายถึง "หัววัว" บูซีฟาลัสกลายเป็นสหายคู่หูติดตามอเล็กซานเดอร์ไปตลอดการเดินทางจนถึงอินเดีย เมื่อบูซีฟาลัสตาย (เนื่องจากแก่มาก ตามที่พลูตาร์คบันทึกไว้ มันมีอายุถึง 30 ปี) อเล็กซานเดอร์ได้ตั้งชื่อเมืองแห่งหนึ่งตามชื่อมัน คือเมืองบูซีฟาลา

เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 13 ปี ฟิลิปตัดสินพระทัยว่าอเล็กซานเดอร์ควรได้รับการศึกษาขั้นสูงขึ้น จึงเริ่มเสาะหาอาจารย์ดีให้แก่บุตร เขาเปลี่ยนอาจารย์ไปหลายคน เช่น ไอโซเครตีส และ สพีอุสสิปัส ซึ่งเป็นผู้สืบทอดของเพลโตที่วิทยาลัยแห่งเอเธนส์ ซึ่งขอลาออกเองเพื่อไปรับตำแหน่ง ในที่สุดฟิลิปเสนองานนี้ให้แก่ อริสโตเติล ฟิลิปยกวิหารแห่งนิมฟ์ที่มีซาให้พวกเขาใช้เป็นห้องเรียน ค่าตอบแทนในการสอนหนังสือแก่อเล็กซานเดอร์คือการสร้างเมืองเกิดของอริสโตเติล คือเมืองสตาเกราที่ฟิลิปทำลายราบไปขึ้นใหม่ และให้ฟื้นฟูเมืองนี้โดยซื้อตัวหรือปลดปล่อยอดีตพลเมืองของเมืองนี้ที่ถูกจับตัวไปเป็นทาส และยกโทษให้แก่พวกที่ถูกเนรเทศไปด้วย

มีซา เป็นเหมือนโรงเรียนประจำสำหรับอเล็กซานเดอร์และบรรดาบุตรขุนนางหรือเชื้อพระวงศ์ของมาซิดอน เช่น ทอเลมี และ แคสแซนเดอร์ นักเรียนที่เรียนพร้อมกับอเล็กซานเดอร์กลายเป็นเพื่อนของเขาและต่อมาได้เป็นแม่ทัพนายทหารประจำตัว มักถูกกล่าวถึงด้วยคำว่า "สหาย" อริสโตเติลสอนอเล็กซานเดอร์กับบรรดาสหายในเรื่องการแพทย์ ปรัชญา ศีลธรรม ศาสนา ตรรกศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ด้วยการสอนของอริสโตเติลทำให้อเล็กซานเดอร์เติบโตขึ้นมาด้วยแรงบันดาลใจอย่างสูงในงานเขียนของโฮเมอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง อีเลียด อริสโตเติลมอบงานเขียนฉบับคัดลอกของเรื่องนี้ให้เขาชุดหนึ่ง ซึ่งอเล็กซานเดอร์เอาติดตัวไปด้วยยามที่ออกรบ

เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 16 ปี การร่ำเรียนกับอริสโตเติลก็ยุติลง พระเจ้าฟิลิปยกทัพไปทำสงครามกับไบแซนเทียมและแต่งตั้งให้อเล็กซานเดอร์รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ระหว่างที่ฟิลิปไม่อยู่ พวกแมดีในเทรซก็แข็งเมืองต่อต้านการปกครองของมาซิโดเนีย อเล็กซานเดอร์ตอบโต้อย่างฉับพลัน บดขยี้พวกแมดีและขับไล่ออกไปจากเขตแดน แล้วผนวกเมืองนี้เข้ากับอาณาจักรกรีก ตั้งเมืองใหม่ขึ้นให้ชื่อว่า อเล็กซานโดรโพลิส

หลังจากฟิลิปกลับมาจากไบแซนเทียม พระองค์มองกองกำลังเล็กๆ ให้แก่อเล็กซานเดอร์เพื่อไปปราบปรามกบฏทางตอนใต้ของเทรซ มีบันทึกว่าอเล็กซานเดอร์ได้ช่วยชีวิตของบิดาไว้ได้ระหว่างการรบครั้งหนึ่งกับนครรัฐกรีกชื่อเพรินทุส ในขณะเดียวกัน เมืองแอมฟิสซาได้เริ่มการทำลายสถานสักการะเทพอพอลโลใกลักับวิหารแห่งเดลฟี ซึ่งเป็นโอกาสให้ฟิลิปยื่นมือเข้าแทรกแซงกิจการของกรีซ ขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองเทรซ ฟิลิปสั่งให้อเล็กซานเดอร์รวบรวมกองทัพสำหรับการรณยุทธ์กับกรีซ เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ว่านครรัฐกรีกอื่นๆ จะยื่นมือเข้ามายุ่ง อเล็กซานเดอร์จึงแสร้งทำเสมือนว่ากำลังเตรียมการไปโจมตีอิลลีเรียแทน ในระหว่างความยุ่งเหยิงนั้น อิลลีเรียถือโอกาสมารุกรานมาซิโดเนีย แต่อเล็กซานเดอร์ก็สามารถขับไล่ผู้รุกรานไปได้

ปีที่ 338 ก่อนคริสตกาล ฟิลิปยกทัพมาร่วมกับอเล็กซานเดอร์แล้วมุ่งหน้าลงใต้ผ่านเมืองเทอร์โมไพลีซึ่งทำการต่อต้านอย่างโง่ๆ ด้วยกองทหารชาวธีบส์ ทั้งสองบุกยึดเมืองเอลาเทียซึ่งอยู่ห่างจากเอเธนส์และธีบส์เพียงชั่วเดินทัพไม่กี่วัน ขณะเดียวกัน ชาวเอเธนส์ภายใต้การนำของดีมอสเทนีส ลงคะแนนเสียงให้เป็นพันธมิตรกับธีบส์เพื่อทำสงครามร่วมรบกับมาซิโดเนีย ทั้งเอเธนส์และฟิลิปพากันส่งทูตไปเพื่อเอาชนะใจธีบส์ แต่ทางเอเธนส์เป็นฝ่ายประสบความสำเร็จ ฟิลิปยกทัพไปแอมฟิสซา จับกุมทหารรับจ้างที่ดีมอสเทนีสส่งไป แล้วเมืองนั้นก็ยอมจำนน ฟิลิปกลับมาเมืองเอลาเทียและส่งข้อเสนอสงบศึกครั้งสุดท้ายไปยังเอเธนส์และธีบส์ แต่ทั้งสองเมืองปฏิเสธ

ฟิลิปยกทัพลงใต้ แต่ถูกสกัดเอาไว้บริเวณใกล้เมืองไคโรเนียของโบโอเทีย โดยกองกำลังของเอเธนส์และธีบส์ ระหว่างการสัประยุทธ์แห่งไคโรเนีย ฟิลิปบังคับบัญชากองทัพปีกขวา ส่วนอเล็กซานเดอร์บังคับบัญชากองทัพปีกซ้าย ร่วมกับกลุ่มนายพลซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของฟิลิป ตามแหล่งข้อมูลโบราณ ทั้งสองฟากของกองทัพต้องต่อสู้อย่างหนักเป็นเวลายาวนาน ฟิลิปจงใจสั่งให้กองทัพปีกขวาของตนถอยทัพเพื่อให้ทหารฮอพไลท์ของเอเธนส์ติดตามมา ทำลายแถวทหารของฝ่ายตรงข้าม ส่วนปีกซ้ายนั้นอเล็กซานเดอร์เป็นคนนำหน้าบุกเข้าตีแถวทหารของธีบส์แตกกระจาย โดยมีนายพลของฟิลิปตามมาติดๆ เมื่อสามารถทำลายสามัคคีของกองทัพฝ่ายศัตรูได้แล้ว ฟิลิปสั่งให้กองทหารของตนเดินหน้ากดดันเข้าตีทัพศัตรู ทัพเอเธนส์ถูกตีพ่ายไป เหลือเพียงทัพธีบส์ต่อสู้เพียงลำพัง และถูกบดขยี้ลงอย่างราบคาบ

หลังจากได้ชัยชนะที่ไคโรเนีย ฟิลิปกับอเล็กซานเดอร์เดินทัพต่อไปโดยไม่มีผู้ขัดขวางมุ่งสู่เพโลพอนนีส (Peloponnese) โดยได้รับการต้อนรับจากทุกเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงสปาร์ตา กลับถูกปฏิเสธ ทว่าพวกเขาก็เพียงจากไปเฉยๆ ที่เมืองโครินธ์ ฟิลิปได้ริเริ่ม "พันธมิตรเฮเลนนิก" (Hellenic Alliance) (ซึ่งจำลองมาจากกองทัพพันธมิตรต่อต้านเปอร์เซียในอดีต เมื่อครั้งสงครามเกรโค-เปอร์เซียน) โดยไม่นับรวมสปาร์ตา ฟิลิปได้ชื่อเรียกว่า เฮเกมอน (Hegemon) (ซึ่งมักแปลเป็น "ผู้บัญชาการสูงสุด") ของคณะพันธมิตรนี้ นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เรียกคณะพันธมิตรนี้ว่า สันนิบาตแห่งโครินธ์ (League of Corinth) ครั้นแล้วฟิลิปประกาศแผนของตนทำสงครามต่อต้านอาณาจักรเปอร์เซีย โดยเขาจะเป็นผู้บัญชาการเอง

หลังจากกลับมาเมืองเพลลา ฟิลิปตกหลุมรักกับคลีโอพัตรา ยูรีไดส์ แห่งมาซิดอน และต่อมาได้แต่งงานกัน นางเป็นหลานสาวของแอตตาลัส นายพลคนหนึ่งของเขา การแต่งงานครั้งนี้ทำให้สถานะรัชทายาทของอเล็กซานเดอร์ต้องสั่นคลอน เพราะถ้าหากคลีโอพัตรา ยูรีไดส์ให้กำเนิดบุตรชายแก่ฟิลิป เด็กนั้นจะเป็นทายาทที่มีเชื้อสายมาซิดอนโดยตรง ขณะที่อเล็กซานเดอร์เป็นเพียงลูกครึ่งมาซิโดเนีย ในระหว่างงานเลี้ยงฉลองพิธีวิวาห์ แอตตาลัสซึ่งเมามายได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์โดยอธิษฐานต่อเทพเจ้าขอให้การแต่งงานนี้สร้างทายาทอันถูกต้องตามกฎหมายให้แก่ราชบัลลังก์มาซิโดเนีย อเล็กซานเดอร์ตะโกนใส่แอตตาลัสว่า "อย่างนั้นข้าเป็นอะไรเล่า ลูกไม่มีพ่อหรือ?" แล้วขว้างแก้วใส่นายพล ฟิลิปซึ่งก็เมามากเช่นกัน ชักดาบออกมาแล้วเดินไปหาอเล็กซานเดอร์ ก่อนจะหกล้มคว่ำไป อเล็กซานเดอร์จึงว่า "ดูเถอะ ชายผู้เตรียมจะยกทัพจากยุโรปสู่เอเชีย ไม่อาจแม้แต่จะเดินจากเก้าอี้ตัวหนึ่งไปถึงอีกตัวหนึ่ง"

อเล็กซานเดอร์รู้สึกเสียหน้ามากจากการหย่าร้างระหว่างพระชนกกับพระชนนีครั้งนี้ ประกอบกับภัยที่กำลังคุกคามการสืบทอดอำนาจของพระองค์ ทำให้เกิดการโต้เถียงกับพระชนกอย่างรุนแรง พระองค์(อเล็กซานเดอร์หนี)และพระชนนี โอลิมปีอัส หนีออกจากมาซิดอนโดยพามารดาไปด้วย ต่อมาเขาพานางไปฝากไว้กับน้องชายของนางที่โดโดนา เมืองหลวงของเอพิรุส, เขาเดินทางต่อไปถึงอิลลีเรีย โดยขอลี้ภัยอยู่กับกษัตริย์แห่งอิลลีเรียและได้รับการต้อนรับอย่างดีในฐานะแขกของชาวอิลลีเรีย ทั้งที่เมืองนี้เคยพ่ายแพ้เขาในการรบเมื่อหลายปีก่อน อเล็กซานเดอร์หวนกลับมาซิดอนอีกครั้งหลังการลี้ภัยอยู่เมืองนี้เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากปรับความเข้าใจกับกษัตริย์ฟิลิปได้ ด้วยความพยายามช่วยเหลือของสหายของครอบครัวผู้หนึ่ง คือ ดีมาราตุส ชาวโครินธ์ ซึ่งช่วยประนีประนอมให้ทั้งสองฝ่าย

ปีถัดมา พิโซดารุส เจ้าเมืองเปอร์เซียผู้ปกครองคาเรีย ได้เสนองานวิวาห์ระหว่างบุตรสาวคนโตของตนกับฟิลิป อาร์ริดาอุส ซึ่งเป็นพี่น้องต่างมารดาของอเล็กซานเดอร์ โอลิมเพียสกับเพื่อนอีกหลายคนของอเล็กซานเดอร์เห็นว่าสิ่งนี้แสดงถึงความตั้งใจของฟิลิปที่จะแต่งตั้งให้อาร์ริดาอุสเป็นรัชทายาท อเล็กซานเดอร์ตอบโต้โดยส่งเทสซาลุสแห่งโครินธ์ นักแสดงผู้หนึ่งไปแจ้งแก่พิโซดารุสว่าไม่ควรเสนอให้บุตรสาวของตนแต่งงานกับบุตรชายผู้ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทว่าควรให้แต่งงานกับอเล็กซานเดอร์มากกว่า เมื่อฟิลิปทราบเรื่องนี้ก็ตำหนิดุด่าอเล็กซานเดอร์อย่างรุนแรง แล้วเนรเทศสหายของอเล็กซานเดอร์ 4 คนคือ ฮาร์พาลุส นีอาร์คุส ทอเลมี และเอริไกอุส ทั้งให้ล่ามตรวนเทสซาลุสกลับมาส่งให้ตน

ปีที่ 336 ก่อนคริสตกาล ขณะที่ฟิลิปอยู่ที่ Aegae เข้าร่วมในพิธีวิวาห์ระหว่าง คลีโอพัตรา บุตรสาวของตนกับโอลิมเพียส กับอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งเอพิรุส ซึ่งเป็นน้องชายของโอลิมเพียส พระองค์ถูกลอบสังหารโดยนายทหารราชองครักษ์ของพระองค์เอง คือ เพาซานิอัสแห่งโอเรสติส7 ขณะที่เพาซานิอัสพยายามหลบหนี ก็สะดุดล้มและถูกสังหารโดยสหายสองคนของอเล็กซานเดอร์ คือ เพอร์ดิคคัสกับเลออนนาตุส อเล็กซานเดอร์อ้างสิทธิ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วยการสนับสนุนของกองทัพมาซิโดเนียและขุนนางแห่งมาซิดอนเมื่ออายุได้ 20 ปี

เมื่อต้นเดือนตุลาคมพ.ศ. 212 หรือ เมื่อ 333 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ยาตราทัพสู่อาณาจักรเปอร์เซีย เพื่อท้ารบกับกษัตริย์ดาไรอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย ที่เชื่อว่าเป็นผู้จ้างคนลอบสังหารพระเจ้าฟิลิปที่ 2 พระบิดาของพระองค์ ในศึกแห่งอิสซุส ทัพของทั้งคู่เผชิญหน้ากันที่กัวกาเมล่า (ในตะวันออกกลาง หรือพื้นที่ส่วนมากของประเทศอิรักในปัจจุบัน) โดยที่กองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชมีเพียง 20,000 เท่านั้น ขณะที่กองทัพเปอร์เซียมีนับแสน แต่ด้วยความกล้าหาญของทหารมาซิโดเนียทุกคน กับการวางแผนการรบที่ชาญฉลาดอเล็กซานเดอร์มหาราช ทำให้พระองค์ได้รับชัยชนะแม้จะสูญเสียเป็นจำนวนมากก็ตาม ในการรบครั้งนี้นับเป็นการรบที่มีชื่อของอเล็กซานเดอร์มหาราชที่สุด เนื่องจากพระองค์ทรงควบบูซาเฟลัสบุกเดี่ยวฝ่ากองป้องกันของทหารเปอร์เซียขว้างหอกใส่กษัตริย์ดาไรอุส ทำให้กษัตริย์ดาไรอุสตกพระทัย และหลบหนีขึ้นเขาไปในที่สุด ผลจากการรบครั้งนี้ทำให้อเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้าสู่นครเปอร์ซีโปลิส (Persepolis) ศูนย์กลางอาณาจักรเปอร์เซีย และได้เป็นพระราชาแห่งเอเชีย

เมื่อ พ.ศ. 216 พระองค์ได้ทะลุถึงกรุงตักกศิลา (Taxila) แคว้นคันธาระ เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ ณ ที่นี่พระเจ้าอัมพิราชา (Ambhiraja) ไม่ได้ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่า ตัวเองมีกำลังอำนาจไม่เข้มแข็ง พอที่จะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึงได้เปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไร เพียงแต่ให้ตักกศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาซิโดเนียเท่านั้นแล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักกศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาบ ๕,๐๐๐ คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม

การรบครั้งสุดท้ายที่มีผู้ต่อกรกับอเล็กซานเดอร์มหาราชอย่างจริงจัง เมื่อพระองค์ยกกองทัพเข้ามาทางภาคเหนือของอินเดียในปี พ.ศ. 217 โดยเข้าสู่บริเวณลุ่ม แม่น้ำสินธุ แล้วบุกตระลุยลงมาสู่เมืองนิเกีย (Nicaea) แคว้นปัญจาบ ในพระเจ้าโปรัสหรือพระเจ้าพอรุส (Porus) (หากใช้สำเนียงเอเซียจะเรียกว่าพระเจ้าเปารวะ) พระเจ้าเปารวะเป็นผู้เข้มแข็งในการรบ ซึ่งมีพระสมญาว่า "สิงห์แห่งปัญจาบ" ได้รับแจ้งข่าวกับบรรดามหาราชาแห่งอินเดียว่ามีข้าศึกชาวตะวันตกผมบรอนซ์ตาสีฟ้ายกทัพข้ามภูเขาฮินดูกูชเข้ามา ฝ่ายอินเดียระดมกำลังพลทหารราบ 40,000 ทหารม้า 4,000 รถศึกอีก 500 และกองทัพช้างมหึมาจำนวน 500 เชือกรอรับอยู่ กองทัพกรีกพร้อมทหารตักกศิลาเป็นพันธมิตร ที่มีกำลังพลจำนวน 17,000 โดยมีอเล็กซานเดอร์เป็นแม่ทัพกับกองทัพปัญจาบ ของฝ่ายอินเดียโดยมีพระเจ้าเปารวะเป็นแม่ทัพ โดยพระองค์ได้มองเห็นทัพพระเจ้าเปารวะตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามแม่น้ำวิตัสตะ อันเป็นสาขาของแม่น้ำสินธุ เมื่อถึงตอนกลางคืนทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ปะทะกันที่ฝั่งแม่น้ำ และเริ่มโจมตีอย่างฉับพลัน ทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ข้ามแม่น้ำสำเร็จโดยอาศัยธรรมชาติช่วย แต่ทหารม้าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เคยสู้รบกับช้าง ประกอบกับเกิดความสับสนอลหม่านจึงบังเกิดความแตกตื่นอลหม่านขึ้น ช้างศึกจึงอาละวาดเหยียบทั้งทหารตนเองและทหารกรีก และ ทหารหอกยาวนับหมื่นของพระองค์ก็ได้พยายามต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ นี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่รบมาเป็นเวลา 15 ปีที่กองทหารหอก (Phalanx) อันมีระเบียบวินัยในพระองค์บาดเจ็บจนบ้าเลือดบุกตะลุยไปทั่ว ทำร้ายไม่ว่าจะเป็นทหารจากฝ่ายใด การรบวันนั้นต้องสิ้นสุดลงด้วยการหย่าศึก เพราะบาดเจ็บล้มตายกับทั้งสองข้าง แต่ถึงอย่างไรพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ยังทรงได้รับชัยชนะอยู่ดี เพราะพระเจ้าเปารวะถูกลูกศรขณะที่ทรงช้างจนพระองค์บาดเจ็บสาหัส และทัพอินเดียของพระเจ้าเปารวะก็แพ้อย่างยับเยิน พร้อมกับถูกนายทหารกรีกจับตัวมาเฝ้าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในฐานะเชลยสงคราม เมื่อพระเจ้าเปารวะถูกจับมาเผชิญพระพักตร์กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราชตรัสถามว่า

"ต้องการให้ปฏิบัติเราอย่างกษัตริย์" แทนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะพิโรธกลับตรัสถามต่อไปว่า

ด้วยความกล้าหาญรักษาขัตติยเกียรติของพระเจ้าเปารวะทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชซึ่งมีพระทัยโปรดคนกล้าหาญ ได้พระราชทานคืนบ้านเมืองให้แล้วแต่งตั้งพระเจ้าเปารวะให้เป็นพระราชาตามเดิม แต่ดำรงในฐานประเทศราช

เสร็จศึกในครั้งนั้นอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้สดับความมั่งคั่งสมบูรณ์ของแคว้นมคธ และได้ตระเตรียมยาตราทัพมาตี แต่ทหารของพระองค์ที่ร่วมศึกกับพระองค์มาตั้งแต่เป็นพระยุพราชเป็นเวลา 15 ปีที่ไม่ได้กลับบ้านกลับเมือง พากันเบื่อหน่ายการรบ โดยให้ความเห็นว่าถ้าตีมคธได้ก็คงตีแคว้นอื่นต่อไปอีกไม่มีกำหนดสิ้นสุด ประกอบกับ ทหารบางคนลังเลและก่อกบฏไม่ยอมสู้รบอีกต่อไป อเล็กซานเดอร์มหาราชจึงต้องจำพระทัยเลิกทัพกลับ ช่วงนิวัตกลับอเล็กซานเดอร์มหาราชแบ่งกองทัพออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งให้กลับทางบก ส่วนพระองค์นิวัตโดยทางชลมาร์คลงมาตามแม่น้ำสินธุอย่างผู้พิชิตพร้อมด้วยทหารฝ่ายที่เหลือ รวมเวลาที่อเล็กซานเดอร์มหาราชรบอยู่ในอินเดีย 1 ปี กับ 8 เดือน พระองค์ได้เสด็จฯไปยังกรุงบาบิลอน โดยนำทัพย้อนกลับมาทางตะวันตกผ่านดินแดนแห้งแล้ง ทางตอนใต้ของอิหร่าน ในช่วงเส้นทางนี้มีทหารล้มตายหลายพันคน เนื่องจากแสงแดดแผดร้อน แห้ง และขาดน้ำ แต่ในท้ายที่สุด พระองค์ก็พาเหล่าทหารที่เหลือเดินทางมาจนถึงบาบิโลนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นนครเอกของโลกในเวลานั้น

ในเรื่องของความรักของพระองค์ ผู้ซึ่งเป็นจักรพรรดิครองโลกในสมัยโบราณมาแล้วครึ่งโลก พระองค์เป็นชาวมาซีโดเนียมีพระปรีชาสามารถทางการรบเป็นอย่างสูง กล่าวกันว่าดวงพระชะตาของพระองค์ตั้งแต่ที่ได้ขึ้นครองราชย์มาล้วนไม่เคยแพ้ผู้ใด เว้นเสียแต่ว่าแพ้ใจตนเอง พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับสตรีสูงศักดิ์อยู่ประมาณ 2-3 ครั้ง แต่สาเหตุที่ทำการอภิเษกสมรสนั้นก็ล้วนเกิดจากปัจจัยทางการเมืองเป็นสำคัญ ดังที่คนส่วนใหญ่ทราบกันดี ว่าความสัมพันธ์ของพระองค์ที่ต่อทหารของพระองค์ล้วนลึกซึ่งเกินกว่าคำว่าเพื่อนสนิท หรือเจ้ากับข้า ครั้งหนึ่งจากความสูญเสียเฮฟีสเทียน พระองค์โทมมนัสนอนกอดศพของเฮฟีสเทียนและกันแสงอยู่สองวันสองคืน โดยที่ไม่ได้เสวยอะไรเลย เสียพระทัยจนถึงจะทรงทำอัตวินิบาตกรรม ทรงเสวยน้ำจัณฑ์ติดต่อกันหลายวัน ไม่ต้องพระทัยในพระราชกรณียกิจใดๆ พลูตาร์กได้บันทึกว่า ในปี พ.ศ. 220 ตรงกับฤดูใบไม้ผลิ เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชเสด็จฯไปถึงเมืองบาบิโลนเพื่อไปทอดพระเนตรสุสานที่เก็บศพเฮฟีสเทียนพระสหายสนิท แต่กลับยังสร้างไม่เสร็จ ปรากฏว่าพระองค์ทรงยกเลิกพิธีเคารพศพกลับมาเสวยน้ำจัณฑ์ติดต่อกันหลายวัน ด้วยเหตุที่เสวยน้ำจัณฑ์อย่างมากมาย พระวรกายจึงทรุดโทรมจนประชวรและสวรรคต อย่างไรก็ตาม สาเหตุการสวรรคตยังไม่เป็นที่แน่ชัด บ้างสันนิษฐานว่า ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยวางยาพิษในไวน์

เรื่องราวความรักของพระองค์นอกเหนือจากนี้เราสามารถหาอ่านได้จากงานเขียนของคาลลิสเธเนส ซึ่งเป็นนามแฝงของหลานชายอริสโตเติล, บันทึกของเอมีร์ คูสเรา, บันทึกของเนคตาเนเบส เป็นต้น

หมายเหตุ 1: ในเวลาที่อเล็กซานเดอร์สวรรคต พระองค์สามารถพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียทั้งหมด ผนวกดินแดนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมาซิโดเนีย หากพิจารณาตามนักเขียนยุคใหม่บางคน นั่นคือดินแดนเกือบทั้งหมดของโลกเท่าที่ชาวกรีกโบราณรู้จัก (ภาพทางด้านขวา)

หมายเหตุ 2: ตัวอย่างเช่น ฮันนิบาล ยกย่องอเล็กซานเดอร์ว่าเป็นแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดจูเลียส ซีซาร์ ร่ำไห้เมื่อเห็นอนุสาวรีย์ของอเล็กซานเดอร์ เพราะพระองค์ประสบความสำเร็จได้เพียงน้อยนิดขณะเมื่ออายุเท่ากันพอมพี แสดงตัวว่าเป็น "อเล็กซานเดอร์คนใหม่"นโปเลียน โบนาปาร์ต ก็เปรียบเทียบตนเองกับอเล็กซานเดอร์

หมายเหตุ 7: นับตั้งแต่ยุคสมัยนั้นก็มีข้อสงสัยมากมายอยู่ว่า เพาซานิอัสถูกว่าจ้างให้มาสังหารฟิลิป ผู้ต้องสงสัยว่าจ้างวานได้แก่อเล็กซานเดอร์ โอลิมเพียส รวมไปถึงจักรพรรดิเปอร์เซียที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ คือ พระเจ้าดาริอุสที่ 3 ทั้งสามคนนี้ล้วนมีแรงจูงใจที่ต้องการให้ฟิลิปสวรรคต


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301