อูนอูนออกเทียม (ละติน: Ununoctium; IPA: /?ju?n??n?kti?m/) เป็นชื่อชั่วคราวที่ตั้งโดยไอยูแพก สำหรับธาตุหลังแอกทิไนด์ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 118 และมีสัญลักษณ์ชั่วคราว คือ Uuo อูนอูนออกเทียมยังรู้จักกันในชื่อว่า เอคา-เรดอน หรือ ธาตุ 118 และบนตารางธาตุ มันถูกจัดให้อยู่ในบล็อก-p และเป็นธาตุตัวสุดท้ายบนคาบที่ 7 ปัจจุบัน อูนอูนออกเทียมเป็นธาตุสังเคราะห์เพียงตัวเดียวของธาตุหมู่ 18 มันยังเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมและมวลอะตอมมากที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน
อะตอมกัมมันตรังสีของอูนอูนออกเทียมมีความไม่เสถียรสูงมาก เนื่องด้วยค่ามวลที่สูง และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มีเพียงสามในสี่อะตอมของไอโซโทป 294Uuo ที่ถูกตรวจจับได้ แม้ว่านี่จะทำให้การสำรวจเพื่อระบุลักษณะสมบัติ และสารประกอบของธาตุเป็นไปได้ยาก แต่การคำนวณในทางทฤษฎีก็ไปตรงกับการทำนายจำนวนมาก รวมทั้งการคำนวณที่ไม่ได้ผลออกมาตรงกัน เช่น แม้ว่า อูนอูนออกเทียมจะอยู่ในหมู่ 18 มันอาจจะไม่ใช่แก๊สมีตระกูล ต่างกับธาตุอื่นๆในหมู่ 18 แต่เดิมมันถูกทำนายว่าเป็นแก๊ส ณ ภาวะมาตรฐาน แต่ปัจจุบัน มันถูกทำนายว่าจะเป็นของแข็ง เนื่องด้วยผลกระทบจากความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเคมี
ปลายปี พ.ศ. 2541 รอแบร์ต สมอลัญชุก นักฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ ตีพิมพ์ผลการคำนวณของการหลอมรวมของนิวเคลียสอะตอมที่เกิดขึ้นระหว่างการสังเคราะห์ธาตุเคมีหนักยิ่งยวด รวมถึง อูนอูนออกเทียม การคำนวณของเขาให้ผลออกมาว่าเป็นไปได้ที่จะสร้างอูนอูนออกเทียมขึ้นมาจากการหลอมรวมตะกั่วและคริปทอนเข้าด้วยกัน ภายใต้ภาวะที่ถูกควบคุมไว้อย่างดี
ในปี พ.ศ. 2542 นักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์เบิร์กลีย์ ใช้การทำนายนี้สร้างอะตอมขึ้นมา และประกาศการค้นพบลิเวอร์มอเรียม และอูนอูนออกเทียม ในหนังสือ Physical Review Letters ต่อมาไม่นาน ผลการค้นพบก็ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารไซเอินซ์ นักวิจัยรายงานว่าเขาสร้างด้วยปฏิกิริยานี้
ปีต่อมา นักวิจัยได้ตีพิมพ์เอกสารเพิกถอนการค้นพบ หลังจากที่นักวิจัยในห้องปฏิบัติการอื่น ไม่สามารถสร้างอะตอมได้ด้วยวิธีเดียวกันนี้ และที่ห้องปฏิบัติการเบิร์กลีย์เองก็ไม่สามารถสร้างอะตอมขึ้นมาได้อีกครั้ง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการได้ประกาศว่าการค้นพบธาตุสองตัวนั้น อยู่บนพื้นฐานของผลการวิจัยจากวิกเตอร์ นิมอฟ
อูนอูนออกเทียม คาดว่าเป็นสารบริสุทธิ์เสมอ และเป็นแก๊สที่ STP ไม่มีสี เป็นธาตุสังเคราะห์ เป็นธาตุกัมมันตรังสี และเป็นธาตุหนักยิ่งยวด (superheavy element)
ซึ่งเป็นผลผลิตจากการปะทะกันระหว่าง อะตอมของ แคลิฟอร์เนียม-249 กับ อิออนของ แคลเซียม-48 ดังสมการ
โอกาสการเกิดปฏิกิริยาฟิวชันน้อยมาก เพราะภาคตัดขวางพื้นที่ปฏิกิริยานิวเคลียร์เท่ากับ 0.5 pb (5?10?41 m2) มากกว่า อิออนของแคลเซียมซึ่งเท่ากับ 4?1019 m2 จึงเกิดปฏิกิริยาฟิวชันเพียง 3 ครั้งเท่านั้น
คณะวิจัยในดุบนาได้สังเกต การสลายตัวของอูนอูนออกเทียม-294 พบว่า มีครึ่งชีวิต 0.89 มิลลิวินาที โดยสลายตัวให้ รังสีแอลฟา แล้วกลายเป็น อูนอูนเฮกเซียม-290 เนื่องจากมีเพียง 3 นิวเคลียส เวลาครึ่งชีวิตจึงยังไม่แน่ชัด โดยมีความคลาดเคลื่อนในช่วง 0.89-0.31+1.07 ms
การระบุนิวเคลียสของ อูนอูนออกเทียม-294 ถูกพิสูจน์โดยสังเคราะห์แยกนิวเคลียสลูก อูนอูนเฮกเซียม-290 ตามสมมติฐาน โดยวิธีกระหน่ำยิงอะตอม คูเรียม-245 ด้วยอิออน แคลเซียม-48 ดังสมการ
แล้วตรวจว่า อูนอูนเฮกเซียม-290 สลายตัวสัมพันธ์กับลูกโซ่การสลายตัวของนิวเคลียส อูนอูนออกเทียม-294
นิวเคลียสลูก อูนอูนเฮกเซียม-290 ไม่เสถียรอย่างมาก โดยสลายตัวด้วยครึ่งชีวิต 14 มิลลิวินาที กลายเป็น อูนอูนควอเดียม-286 ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาฟิสชันด้วยตนเอง หรือไม่ก็สลายตัวให้รังสีแอลฟา กลายเป็น อูนอูนเบียม-282 ก่อนแล้วจึงเกิดปฏิกิริยาฟิสชันด้วยตนเอง
เมื่อ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (2006) คณะวิจัยจากสถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ ดุบนา สหพันธรัฐรัสเซีย ประกาศผลการค้นพบ ซึ่งเขาตรวจสอบทางอ้อมกับ นิวเคลียสทั้งสามของ อูนอูนออกเทียม-294 (นิวเคลียสแรก เมื่อ พ.ศ. 2545 (2002) และอีกสองนิวเคลียส เมื่อ พ.ศ. 2548 (2005) )