ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในเขตจังหวัดสตูล อุทยานประกอบไปด้วยเกาะจำนวน 51 เกาะ มีพื้นที่ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร มีชื่อเสียงที่โด่งดังทางด้านธรรมชาติ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทั่วไป อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย 51 เกาะ รวมเนื้อที่ประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร มีเกาะที่มีขนาดใหญ่ 7 เกาะด้วยกัน คือ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี โดยจัดแบ่งออกเป็นหมู่เกาะใหญ่ๆ ได้ 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะ ตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี เกาะตะรุเตา เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 152.01 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีความลาดชันสูง ยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 708 เมตร ส่วนชายฝั่งทางด้านตะวันออกของเกาะส่วนมากจะเป็นหน้าผาสูงชันสลับกับอ่าวและหาดทรายโคลน ทางด้านตะวันตกจะมีหน้าผาแต่เฉพาะทางด้านเหนือบริเวณแหลมตันหยงมะระ (ด้านหัวเกาะ) มีที่ราบอยู่เป็นหย่อมๆ ทางเทือกเขาหลังอ่าว อ่าวที่สำคัญได้แก่ อ่าวพันเตมะละกา อ่าวสน อ่าวมะขาม อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวตะโละวาว เป็นต้น อ่าวต่างๆ เหล่านี้มีคลองและลำธารไหล่ผ่านออกสู่ทะเล เกาะตะรุเตาประกอบด้วยหินยุค Lower Paleozoic Rocks ทางด้านฝั่งตะวันตกและใต้ของตัวเกาะ จะเป็นหินทรายสีน้ำตาลแดง มีชั้นของหินดินดานแทรกสลับ ในชุดหิน Tarutao Group มีอายุประมาณมหายุค Cambrian ส่วนทางด้านตะวันออกและเหนือของตัวเกาะจะเป็นหน้าผาสูงชันของพวกหินปูนสีเทา-ดำ มีลักษณะเป็นชั้นๆ ในหินชุด Thung Song Group มีอายุประมาณยุค Ordovician เกาะอาดัง-ราวี อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตร เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะบาตวง และเกาะหลีเป๊ะ เทือกเขาส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต และมีหิน ควอร์ตไซต์และหินดินดานประกอบอยู่ประปราย เกิดในยุค Cretacious โดยเกาะอาดังมีเนื้อที่ 29.78 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงครอบคลุมเนื้อที่เกือบทั้งหมดของเกาะ ยอดเขาสูงสุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 703 เมตร บริเวณโดยรอบริมเกาะเป็นหน้าผาสูงชัน มีที่ราบเฉพาะบริเวณเหนือชายหาดต่างๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับเกาะราวีมีเนื้อที่ 28.44 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลประมาณ 460 เมตร พื้นที่มีความลาดชันสูง มีที่ราบน้อย คุณสมบัติของดินในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตาสามารถจำแนกออกได้เป็น ในบริเวณเกาะตะรุเตา คุณสมบัติของดินเป็น ดินชุดระยอง ดินชุดรือเซาะ ดินชุดท่าจีน ดินชุดระนอง ดินสัมพันธ์ชุดคอหงส์กับชุดระนอง และดินบริเวณที่ลาดชัน (Slope Complex Soils) ซึ่งมีวัตถุต้นกำเนิดดินเป็นหินปูนและหินทราย ลักษณะของเนื้อดินส่วนใหญ่จะเป็นดินทราย โดยเฉพาะในตอนกลางของเกาะตะรุเตา ส่วนในตอนเหนือและตะวันออกของเกาะจะเป็นดินร่วน ซึ่งมีวัตถุต้นกำเนิดดินเป็นหินปูน ดินส่วนใหญ่มีการระบายน้ำดี ยกเว้นบริเวณคลองพันเตมะละกาซึ่งดินจะมีการระบายน้ำเลวเนื่องจากบริเวณนี้ชุดดินเป็นดินชุดท่าจีนซึ่งเป็นดินเค็มที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินถูกพัดพามาโดยน้ำเค็ม ในบริเวณเกาะอาดังคุณสมบัติของดินเป็น ดินชุดระนอง ดินชุดระยอง และดินบริเวณที่ลาดชันซึ่งมีวัตถุต้นกำเนิดดินเป็นหินควอร์ตไซต์ และวัตถุต้นกำเนิดดินเป็นหินแกรนิต ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วน มีดินทรายทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณแหลมตันหยงบากู และบริเวณชายหาดต่างๆ โดยดินมีคุณสมบัติในการระบายน้ำดีถึงดีมาก และ ในบริเวณเกาะราวี คุณสมบัติของดินเป็นดินชุดระยอง และดินบริเวณที่ลาดชันซึ่งมีวัตถุต้นกำเนิดดินเป็นหิน ควอร์ตไซต์ และวัตถุต้นกำเนิดดินเป็นหินแกรนิต โดยมีคุณสมบัติของดินโดยทั่วไปเช่นเดียวกับเกาะอาดัง

ข้อมูลภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาในรอบปีที่ผ่านมา (มกราคม – ธันวาคม 2544) พบว่า ฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน 594 มิลลิเมตร รองลงมาในเดือนตุลาคม 478 มิลลิเมตร และตกน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 15 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 2,908 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 39oC อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 19oC โดยอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนและต่ำสุดในเดือนมิถุนายน ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี เฉพาะบริเวณหมู่เกาะอาดัง - ราวี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 15 พฤศจิกายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาสามารถจำแนกออกได้เป็น 7 ประเภท ได้แก่ ป่าดงดิบ ประกอบด้วย หงอกค่าง ยางปาย ยางเสียน เคี่ยมคะนอง มังคาก หลุมพอ เสียดช่อ ตะเคียนหิน หมากนางลิง ระกำ ไพลดำ ข้าหลวงหลังลาย ลิ้นแรด เฟินก้านดำ และนาคราช ป่าผสมผลัดใบ/ป่าเขาหินปูน ประกอบด้วย รักขาว แคยอดดำ งิ้วป่า พลับดง ไทรย้อยใบทู่ ข่อย ส้มกบ สลัดไดป่า เปล้าน้ำเงิน เข็มขน เต่าร้างแดง แก้วหน้าม้า บุกหิน เปราะป่า เถาวัลย์ด้วน ขี้ไก่ย่าน เฟินราชินี หญ้าข้าวป่า และรองเท้านารีดอกขาว ป่าชายหาด ประกอบด้วย เสม็ดชุน เสม็ดขาว วา จิกเล กระทิง หูกวาง สนทะเล ตีนเป็ดทะเล หว้าหิน โกงกางหูช้าง ปอทะเล โพทะเล รักทะเล พุทราทะเล กระแตไต่ไม้ ผักบุ้งทะเล ถั่วคล้า เกล็ดนาคราช พลับพลึง ปรงทะเล ชุมเห็ดเล และลำเจียก ป่าพรุ ประกอบด้วย จิกนา จิกน้ำ ตีนเป็ดเล็ก เต่าร้างแดง หมากอาดัง กะลุมพี หญ้าสามคม กระจูด ผักแขยง กระถินนา หญ้าเข็ม ไส้ปลาไหล ผักขาเขียด ผักบุ้ง ป่าชายเลน ประกอบด้วย เหงือกปลาหมอดอกม่วง ฝาด ขลู่ ตาตุ่มทะเล หลุมพอทะเล ตะบูน เล็บมือนาง ถั่ว พังกาหัวสุม โปรง โกงกาง ลำพู ลำแพนทะเล แสมว แสมทะเล สำมะงา หวายลิง และจาก ไม้แคระ/ไม้พุ่ม ประกอบด้วย ปรงเขา ส้านใหญ่ ไกรทองหรือพิกุลทอง ชะแอง ขนหนอน ติ่งตั่ง หญ้าหนูต้น หญ้าหางนกยูง เอ็นอ้าน้อย และเนียมนกเขา ป่ารุ่นสอง ประกอบด้วย ทุ้งฟ้า ตีนเป็ด กระทุ่ม ตอกใบใหญ่ ติ้วขาว หว้าเขา ชันยอด ตองแตบ เพกา มังตาน ตีนนก หนาดใหญ่ พลับพลา ปอเต่าไห้ พุดน้ำ โคลงเคลงขี้นก ถอบแถบเครือ หมามุ้ย หญ้ายายเภา และสาบเสือ สัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาสามารถจำแนกออกได้เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จำนวนที่พบ 30 ชนิด ประกอบด้วย หมูป่า กระจง ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ นากใหญ่ขนเรียบ เม่นหางพวงใหญ่ อีเห็นธรรมดา บ่าง กระรอกบินแก้มสีแดง หนูท้องขาว และค้างคาวแวมไพร์แปลงเล็ก นก จำนวนที่พบ 268 ชนิด ประกอบด้วย นกยางเขียว นกยางทะเล นกออก นกเด้าดิน นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล นกจาบคาหัวเขียว นกตะขาบดง นกแก็ก นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกแอ่นบ้าน นกปรอดคอลาย นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกเขียวคราม นกเด้าลมดง นกอีเสือสีน้ำตาล นกขุนทอง นกกินปลีอกเหลือง นกเอี้ยงถ้ำ สัตว์เลื้อยคลาน จำนวนที่พบ 30 ชนิด ประกอบด้วย ตะกวด เหี้ย งูเหลือม งูจงอาง งูกะปะ งูเขียวตุ๊กแก งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูพังกา งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูเห่า งูปล้องทอง แย้ จิ้งจก ตุ๊กแกบ้าน จิ้งเหลน กิ้งก่า และเต่าหับ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประกอบด้วย กบน้ำกร่อย กบภูเขา กบหนอง อึ่งอ่างบ้าน ปาด เขียด คางคกบ้าน จงโคร่ง และคางคกไฟ แมลงและอื่นๆ ประกอบด้วย ผีเสื้อมรกตธรรมดา ผีเสื้อลายขีดเงินลายขอ ผีเสื้อสะพายขาวปีกโค้ง แมลงปอ หิ่งห้อย เห็บกวาง ตั๊กแตนตำข้าว จิงโจ้น้ำ บึ้ง มดตะนอย จั้กจั่น ปลวก มวน แมลงเต่าทอง ทาก ตะขาบ แมงมุม ไส้เดือน และกิ้งกือ พืชและสัตว์ที่พบในแหล่งน้ำ ได้แก่ สาหร่ายเห็ดหูหนู โลมาหัวขวดธรรมดา โลมาหัวขวดมลายู โลมาหัวบาตรครีบหลัง เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า ปลากระเบน ปลาการ์ตูน ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ปลาสิงโต ปลาโนรี ปลากะรัง ปลาปักเป้า ปลาอมไข่ ปลาทราย ปลาเก๋า ปลาข้างเหลือง ปลากระบอกหัวสิ่ว ปลากะพงแดงหางปาน ปลาเห็ดโคน ปลาสีกุนข้างเหลือง ปลาหางแข็งบั้ง ปลามงแซ่ ปลาฉลามหนูใหญ่ ปลาตีน หอยทับทิม หอยตาวัว หอยมือหี หอยสังข์ปีก หอยเบี้ย หอยมะระ หอยเต้าปูน หอยมวนพลู หอยวงเวียน หอยปีกนก หอยมือเสือ หอยตลับ หอยเสียบ หอยทราย หอยขี้กา หอยเจดีย์ หอยแมลงภู่ หมึกกระดอง หมึกกล้วย ปูหิน ปูเสฉวน ปูลม ปูก้ามดาบ ปูแสม กั้ง กุ้งมังกร และกุ้งนาง เป็นต้น ปะการังและสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่พบในอุทยานแห่งชาติทางทะเลได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังโต๊ะ ปะการังโขด ปะการังรังผึ้ง ปะการังสมอง ปะการังดาวใหญ่ ปะการังดอกเห็ด ปะการัง บูมเมอแรง ปะการังกาแล็กซี่ ปะการังแผ่นเปลวไฟ ปะการังเคลือบหนาม ปะการังจาน ปะการังถ้วยสีส้ม ปะการังไฟ ปะการังสีน้ำเงิน ปะการังร่องหนาม ปะการังอ่อน กัลปังหา ดากทะเล ลิ่นทะเล เพรียงหัวหอม แมลงสาบทะเล หนอนตัวแบน ปลาดาว อีแปะทะเล ปลิงสายสะดือ พลับพลึงทะเล หอยเม่นหนามดำ หอยเม่นหนามลาย ทากดิน ตาลปัดทะเล แมงกะพรุน บัวทะเล ดาวเปราะ และดาวหนาม เป็นต้น สัตว์น้ำจืด ได้แก่ ตะพาบน้ำ ปลาซิวใบไผ่ ปลาซิวควาย ปลากระดี่นาง ปลากระทิงดำ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาหัวตะกั่ว ปลาดุกคางขาว หรือปลาดุกด้าน ปลาดุกลำพัน ปลาหมอไทย ปลาช่อน ปลาก้าง ปลากริมข้างลาย ปลาตูหนา หรือปลาไหลหูดำ หอยโข่ง หอยขม ปูน้ำตก กุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย กุ้งน้ำตก เป็นต้น

เครื่องบิน จากกรุงเทพฯเดินทางมาสนามบินหาดใหญ่ การเดินทางเดินทาง 1. สามารถเดินทางโดยรถสองแถวออกมาที่ตลาดเกษตรค่าโดยสารประมาณ 20 บาท/คน เมื่อถึงตลาดเกษตรก็เดินทางโดยรถตู้ประจำทาง สายหาดใหญ่ - ปากบารา อัตราค่าโดยสาร 100 บาท/คน 2. เดินทางโดยเหมารถแท็กซี่ อัตราค่าโดยสารประมาณ 1,500 - 1,800 บาท/ คัน การเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชม.

เรือ การเดินทางโดยเรือโดยสารไปอุทยานแห่งชาติตะรุเตา คือ 1. เส้นทางท่าเรือปากบาราไปเกาะตะรุเตา (ขึ้นเกาะบริเวณท่าเรือพันเตมะละกา ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ) หรือไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ มีตารางการเดินเรือ ดังนี้

ท่าเรือปากบาราเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากท่าเรือปากบารา เวลา 11.30 น. และ 13.00 น. ค่าเรือ 700 บาท ไปกลับ

เกาะตะรุเตาเดินทางไปท่าเรือปากบารา เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 10.00 น. และ 12.00 น. (ค่าเรือ จากปากบารา ถึง เกาะอาดัง 1200 บาท ไปกลับ)

รถไฟ การเดินทางโดยรถไฟ จากกรุงเทพฯ ถึงหาดใหญ่ จากนั้นต้องเดินทางต่อจากหาดใหญ่ไปท่าเทียบเรือปากบารา จังหวัดสตูล เดินทางได้โดย 1) รถโดยสารประจำทางสายหาดใหญ่-ปากบารา หรือ 2) รถแท็กซี่ สายหาดใหญ่-ละงู ลงที่อำเภอละงู จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ 3) รถตู้ปรับอากาศ สายหาดใหญ่-ปากบารา

เมื่อเดินทางถึงท่าเทียบเรือปากบารา ต้องเดินทางต่อโดยเรือ เพื่อเดินทางไปเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณอ่าวพันเตมะละกา หรือจะเดินทางไปเกาะอาดัง ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณหาดแหลมสน

รถโดยสารประจำทาง มุ่งสู่ปลายทาง "ท่าเรือปากบารา" เพื่อเดินทางต่อโดยเรือมุ่งสู่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา 1) เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-สตูล ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ 2) เริ่มต้นที่จังหวัดตรัง เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายตรัง-สตูล ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ 3) เริ่มต้นที่อำเภอหาดใหญ่ เดินทางโดย รถโดยสารประจำทางสายหาดใหญ่-ปากบารา หรือ รถแท็กซี่ สายหาดใหญ่-ละงู ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ รถตู้ปรับอากาศ สายหาดใหญ่-ปากบารา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301