อุทยานแห่งชาติกุยบุรี หรือ ผืนป่ากุยบุรี เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำกุยบุรี และ แม่น้ำปราณบุรี หล่อเลี้ยงชีวิตของคนจังหวัดในประจวบคีรีขันธ์ ได้ถูกประกาศให้เป็น “อุทยานแห่งชาติ” มีวัตถุ ประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติที่ปรากฏในพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ศึกษาวิจัย และการประกอบกิจกรรมนันทนาการของประชาชน โดยได้รับประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2542 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ของประเทศ มีอาณาเขตครอบคลุม 4 อำเภอ คือ อำเภอปราณบุรี อำเภอสามร้อยยอด อำเภอกุยบุรี และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
ป่ากุยบุรีมีความหลากหลายทางระบบนิเวศทางชีวภาพสูง ประกอบด้วย สังคมพืช ที่มีความโดดเด่นได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไป ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ป่าดิบเขา พบกระจายเป็นพื้นที่เล็กๆตามสันเขา ยอดเขาสูงชันทางด้านทิศตะวันตก ป่าดิบชื้นพบตามริมลำห้วย ป่าผสมผลัดใบพบกระจายบางพื้นที่ทางด้านตะวันออก ส่วนตอนกลางของพื้นที่ของบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่กร.1 (ป่ายาง) เป็นพื้นที่ฟื้นฟูสภาพป่า ปลูกพืช อาหารสัตว์ และพื้นที่จัดการทุ่งหญ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์ป่า มีการสร้างแหล่งน้ำทั้งในรูปฝายเก็บน้ำ และฝายต้นน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้ผืนป่าตามโครงงานการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริจากการที่เป็นผืนป่ารอยต่อระหว่างภาคใต้และภาคกลาง ทั้งยังอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรีจึงมีความหลากหลายของพืชพรรณสูงมากแห่งหนึ่งอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่แห่งนี้ พบเหรียงหรือต้นกะเหรี่ยงไม้สกุลสะตอ ได้บริเวณป่าดิบแล้งไม้ภาคใต้ในป่าดิบชื้นทางตอนเหนือออกฝักช่วงฤดูฝน ถิ่นกำเนิดไม้หอมหลายชนิด เช่น ไม้จันทร์หอม ไม้หอมในพระราชพิธีสำคัญ ไม้มหาพรหมไม้ป่า ดอกไม้สวยงาม ไม้ยางนา ไม้ยางแดง มะด่าโมง ตะเคียนทอง มะปรางป่าตอนเหนือของอุทยานฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธ์หวายธรรมชาติ เช่นหวายตะเค้าทองกล้วยไม้กว่า 60 ชนิด ส่วนใหญ่พบออกดอกในช่วงเดือนกุมพาพันธ์ถึงมิถุนายน กล้วยเด่นหวายแดงประจวบคีรีขันธ์ เอื้องวนิลา ไม้ดอกหอมที่พบกระจายพันธุ์เฉพาะถิ่นใต้ กล้วยไม้หางช้างว่านเพชรซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติกุยบุรียังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่มีความสำคัญอนุรักษ์ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก เช่น ช้างเอเชีย (Elephas maximus) , เสือโคร่ง (Panthera tigirs) , วัวแดง (Bos javanicus) , กระทิง (Bos gaurus) , สมเสร็จ ( Topirus indicus) , เก้งหม้อ (Muntiacus teae) , หมีควาย (Ursus Thibetanus) , เสือลายเมฆ (Neofells nebulosa) , เสือไฟ (Capricornis temminickki) เสือดำ, เสือดาว (Panthera pardur), เสือปลา (Prionailurus viverrinus) , หมีหมา (Ursus malayanus) , หมาใน (Cuon alpinus), ชะมดแปลงลายแถบ (Prionodon linsang), เลียงผา (Capricornis sumatraensis), นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Rhyticeros subruficollis), ไก่ฟ้าหน้าเขียว (Lophura ifnita) ซึ่งล้วนอยู่ในวิกฤติของการสู พันธ์ทางธรรมชาติ และพันธ์พืช เช่น ต้นจันทน์, ต้นยางนา, ต้นเหรียง, ต้นเปล้าน้อย, หวายตะค้าทอง, ต้นเอื้องวนิลา เป็นต้น
จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีในต้นปีที่แล้วนี้มีช้าง จำนวน 109 ตัวแบ่งเป็นสองโขลง โขลงใหญ่มี 70 กว่าตัว อาศัยและหากินในป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรีในท้องที่ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ส่วนอีกโขลง 30 กว่าตัว อาศัยและหากินในป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรีท้องที่บ้านตำบลหาดขามบ้านหุบบอน และบ้านย่านซื่อ ตำบลหาดขาม ภาพประกอบเรื่องบันทึกเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2542 ช้างป่ากุยบุรีลงมาหาอาหารกินที่เชิงป่าชายเขาท้องที่บ้านรวมไทย นี่เป็นส่วนหนึ่งของโขลงช้างที่ต้องประสพกับปัญหาขาดแคลนอาหารในช่วงหน้าแล้ง ต้องเสี่ยงชีวิตพาลูก ๆ ลงมาหาอาหารยังเชิงเขาและที่เพาะปลูกของชาวบ้าน อันนำมาซึ่งปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างช้างป่ากับชาวบ้านและนายทุน
พื้นที่รอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ปรากฏเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรเป็นเวลานาน พืชที่มีการเพาะปลูกมากที่สุด คือ สับปะรด การขยายพื้นที่สับปะรดเริ่มต้นช่วงปี พ.ศ. 2510 เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจการผลิตของบริษัทสับปะรดที่เกาะฮาวายบวกกับนโยบายของรัฐบาลไทย ในยุคนั้นต้องการกำจัดลัทธิคอมมิวนิสต์ให้หมดไป จึงส่งเสริมให้ราษฎรออกจากป่าโดยจัดตั้งหมู่บ้านและ จัดสรรที่ดินทำกิน รวมถึงการเปิดพื้นที่ป่าเพื่อเป็นที่เกษตรกรรมแต่ขาดมาตรการควบคุมและขาดการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ปัญหาที่ตามมา คือ การบุกรุกพื้นที่ป่าอย่างรวดเร็วจน เกิดผลกระทบกับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ดั้งเดิม ต้องอพยพหลบหนีไปจากแหล่งอาศัยเดิม สิ่งที่ตามมา คือ การสนับสนุนส่งเสริมการตั้งโรงงานทำผลไม้กระป๋องในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนถึง 32 แห่ง เมื่อใดก็ตามที่สับปะรดราคาแพงจะมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปีต่อมาสับปะรดมีปริมาณเกินความต้องการของตลาด ราคาสับปะรดก็ลดลงจนไม่มีคุ้มกับการลง ทุนและเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ชาวบ้านทิ้งไร่โดยเฉพาะแปลงที่อยู่ไกลชุมชนและติดกับชายป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี สภาพดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ทำให้ช้างป่าออกมากินสับปะรดที่ถูกทิ้งร้างไว้ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการหากิน จนกลายเป็นปัญหาความขัดแย่งระหว่างคนกับช้างป่าและทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาสับปะรดปรับตัวสูงขึ้น
ช้างป่าต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง ซึ่งแต่เดิมใน ฃบริเวณป่าแถบนี้เป็นป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์มีสัตว์ป่าอยู่อาศัย ต่อมาป่าไม้ถูกทำลาย กลายเป็นที่ทำประโยชน์ของมนุษย์ ทำให้สัตว์ป่าและช้างป่าจำต้องถอยร่น พื้นที่ป่าที่เคยเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติก็ถูกลุกล้ำลิดรอน เมื่อเข้าฤดูแล้งช้างป่าขาดแคลนอาหารธรรมชาติ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ช้างต้องออกจากป่ามาหากินประทังชีวิตแถบถิ่นเดิมที่กลายมาเป็นที่ปลูกพืชไร่ของชาวบ้าน ก็เกิดปัญหาตามมา คือการเผชิญหน้าระหว่างช้างป่ากับชาวบ้าน จนเกิดเหตุการณ์กรณีที่ช้างป่าตายเพราะถูกวางยาพิษ
"2 ช้างป่าตายปริศนากลางไร่""ผ่าซากพิสูจน์ช้างโดนยาพิษ ฝีมือนายทุนใจทมิฬ " ข่าวหน้าหนึ่งเมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2540 กรณีช้างป่าถูกวางยาที่ป่ากุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่สื่อมวลชนติดตามข่าวโดยตลอด ผู้มีจิตเมตตาและองค์กรอนุรักษ์ภาครัฐและเอกชนต่างเคลื่อนไหวต่อกรณีช้างป่ากุยบุรี ที่กำลังประสพปัญหาเนื่องจากป่าที่เป็นที่อยู่ของช้างถูกทำลายกลายมาเป็นไร่สัปประรด เมื่อช้างลงมากิน จึงถูกวางยาพิษและจบชีวิต
ในช่วงฤดูแล้งช้างป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีอยู่ 100 กว่าเชือกจะออกจากป่ามาหากินตามชายป่าซึ่งเป็นอาณาบริเวณถิ่นที่อยู่เดิมของตนแต่ปัจจุบันกลายเป็นที่ปลูกพืชไร่ เช่นสับปะรดของชาวบ้านและนายทุน เพื่อแก้ไขปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างช้างป่ากับชาวบ้าน ทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้สนับสนุนให้ชาวบ้านรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาสาสมัครเพื่ออนุรักษ์ช้างในอุทยานแห่งชาติป่ากุยบุรี
นอกจากนั้นยังมีการประชุมหารือชาวบ้านแถบถิ่นนั้น เพื่อหาแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่าย และหาวิธีการผลักดันที่ไม่เกิดอันตรายต่อช้างป่า