อุตสาหกรรม (อังกฤษ: Industry) เป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อผลิตสิ่งของ หรือ จัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ในยุควิกตอเรีย นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการผลิตเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มากมาย และ ทำให้อุตสาหกรรมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังเกี่ยวของกับลัทธิสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ (ลัทธิมาร์กซ) อีกด้วย
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์อย่างยิ่ง ด้วยว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาการผลิตสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน หรือเรียกรวมว่าปัจจัยสี่ โดยสิ่งที่สามารถผลิตปัจจัยสี่ให้ดี มีคุณภาพและไม่ก่ออันตราย หรือก่ออันตรายให้กับร่างกายและทรัพย์สินน้อยที่สุดคือการผลิตจากอุตสาหกรรม
1.อุตสาหกรรมครัวเรือน คืออุตสาหกรรมการผลิตง่ายๆ เล็กๆ มักทำกันในครอบครัวหรือหมู่บ้าน ไม่ใช้แรงงาน ทุนและปัจจัยมาก แต่มักจะได้กำไรต่ำ อุตสาหกรรมจำพวกนี้มีตัวอย่างเช่น หัตถกรรมจักสาน เซรามิก ถ้วยโถโอชามต่างๆ รวมไปถึงสินค้าประเภทอาหารบรรจุถุงหรือหีบห่อที่มียี่ห้อบางชนิด เป็นต้นด้วย และสินค้าโอทอป (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) บางชนิดเองก็ถือเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนด้วย
2.อุตสาหกรรมโรงงาน คืออุตสาหกรรมที่ผลิตในโรงงาน สินค้ามักมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่แตกต่างกันมากนัก พบมากในเขตเมืองหรือเขตที่มีความเจริญต่างๆ สินค้าพวกนี้มักเป็นสิ่งอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ เช่นกระดาษทิชชู บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง เครื่องนุ่งห่ม สุรา บุหรี่ เป็นต้น และสินค้าบางประเภทมีการโฆษณาส่งเสริมการขายด้วย
ในปีค.ศ. 1765 เจมส์ วัตต์ นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชาวสกอตแลนด์ ได้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำแบบเก่าให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และจดสิทธิบัตรในชื่อเครื่องสันดาปแยก (separate condenser) สิ่งนี้เปลี่ยนโลกใหม่ทั้งหมด ซึ่งมันทำให้ช่างฝีมือที่ผลิตสินค้าด้วยมือหลายๆคนต้องตกงาน เพราะเกิดอุตสาหกรรมโรงงานโดยใช้เครื่องจักรขึ้น และทำให้เจ้าของบริษัทต่างๆพากันร่ำรวยขึ้น เนื่องจากใช้เครื่องจักรผลิต จึงผลิตได้ในจำนวนมาก มีคุณภาพดีกว่าสินค้าทำด้วยมือ และมีราคากับค่าจ้างที่ถูกกว่าอีกด้วย โดนเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในสมัสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย และค่อยๆขยายการปฏิวัตินี้ไปยังฝั่งทวีป และทั่วโลกตามลำดับ
หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ปีค.ศ. 1789แล้ว อำนาจของกษัตริย์ ขุนนางและบาทหลวงชั้นสูง (ชนชั้นฐานันดร) ก็หมดไป ชนชั้นที่ 3ของฝรั่งเศสก็ก้าวขึ้นมาแทนที่ โดยพวกเขาก็คือสามัญชนที่มีเงินทอง หรือมีความรู้มากๆและเป็นตัวหนุนประชาชนให้ปฏิวัติ เพื่อให้พวกตนมีอำนาจบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสมัยจักรพรรดินโปเลียน พวกชนชั้นที่ 3 ก็กุมอุตสาหกรรมทั้งหมดไว้ และเริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรมตามอย่างอังกฤษบ้าง จนจากชนชั้นที่เรียกว่าบูร์ชัว (bourgeois หรือชนชั้นที่ 3) กับประชาชน (citizen) กลายเป็นนายทุน กับแรงงานหรือกรรมกร ซึ่งทำให้นายทุนเหล่านี้มีอำนาจและใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยไม่ต่างจากชนชั้นสูง แต่กรรมกรกลับยากจน ได้ค่าแรงต่ำและถูกนายทุนข่มเหง หากมีการพยายามประท้วง หรือคัดค้านนายทุน จะถูกไล่ออกอย่างไม่ใยดี หรือนำอาวุธของทหารตำรวจมาขู่ ทำร้าย หรือฆาตกรรม
กระทั่งคาร์ล มาร์กซ์ นักปรัชญาชาวปรัสเซียเดินทางเข้ามาในฝรั่งเศส และเริ่มจุดไฟความไม่พอใจนายทุนของเหล่ากรรมกร จนเกิดเหตุการณ์ที่กลุ่มคนงานได้เข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1848 และมีการจัดการสิ่งที่ไม่เป็นธรรมทั้งหมดเสีย พร้อมกันนั้นยังมีการเสนอให้เปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์เสีย จนกระทั่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรก (และเป็นครั้งเดียวที่มีการเลือกตั้ง) ของฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1848(รู้จักกันในชื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2391 หรือค.ศ. 1848) และเสียงส่วนใหญ่สนับสนุนให้ หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 หลานของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1) เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปีเดียวกัน