อุซเบกิสถาน (อังกฤษ: Uzbekistan; อุซเบก: O'zbekiston) หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (อังกฤษ: Republic of Uzbekistan; อุซเบก: O‘zbekiston Respublikasi) เป็นประเทศในทวีปเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศอัฟกานิสถานในทวีปเอเชียใต้ ประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลอารัล อุซเบกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดครองดินแดนของฮ่อเมื่อปี 367 ก่อนคริสตกาล ในภายหลังดินแดนนี้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนจะถูกยึดครองโดยจักรวรรดิมองโกลของเจงกีส ข่าน เมื่อ ค.ศ. 1220
ในศตวรรษที่ 13 ขุนศึกชื่อ ติเมอร์ (Timur; Tamerlane) ได้มีอำนาจเหนือมองโกลและตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นที่เมืองซามาร์คันด์ ซึ่งติเมอร์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างชาติอุซเบกิสถานในยุคปัจจุบัน
อุซเบกิสถานได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในสหภาพโซเวียต มีชื่อว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ก่อนจะได้รับอิสรภาพหลังจากการล่มสลายของโซเวียตเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991
เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2548 ได้มีการประท้วงรัฐบาลที่เมือง Andijan ราว 200 ก.ม.จากกรุงทาชเคนต์ และต่อมาที่เมือง Korasuv ในเขตหุบเขา Ferghana ทางภาคตะวันออกใกล้พรมแดนคีร์กีซสถาน ซึ่งเป็นเขตที่ถูกจับตามองจากทางการอุซเบกิสถาน เนื่องจากรัฐบาลเชื่อว่ามีกลุ่มมุสลิมที่ต่อต้านรัฐบาลและมีแนวความคิดที่จะแยกตัวเป็นอิสระ แหล่งข่าวต่างๆ เชื่อว่า การประท้วงมีสาเหตุจากความไม่พอใจการบริหารประเทศของประธานาธิบดี ที่ละเลยต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ในการปะทะกันของกองทัพของรัฐบาลและผู้ชุมนุมประท้วงเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตราว 750 คนและบาดเจ็บอีกนับพันคน (ตัวเลขทางการมีผู้เสียชีวิต 187 คน) ซึ่งรัฐบาลอุซเบกิสถานได้กล่าวหากลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง (Hizb ut-Tahrir) ว่าอยู่เบื้องหลังการก่อเหตุจลาจลดังกล่าว และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ศาลสูงสุดของอุซเบกิสถานได้ตัดสินจำคุกผู้ต้องหา 15 คน ซึ่งรัฐบาลกล่าวหาว่ามีส่วนก่อเหตุความไม่สงบที่เมือง Andijan ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดให้การสารภาพ โดยแหล่งข่าวต่างๆ เชื่อว่ากระบวนการตัดสินไม่โปร่งใส และน่าจะเป็นเพียงการจัดฉากของฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น
หลังจากที่สหรัฐฯ ลังเลที่จะแสดงท่าทีในเรื่องนี้ เนื่องจากความร่วมมือด้านการทหารที่มีอยู่ แต่ต่อมาสหรัฐฯ EU และ OSCE ได้เรียกร้องให้องค์การนานาชาติเข้าไปสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ประธานาธิบดี Karimov ปฏิเสธและยืนยันไม่ให้มีการสอบสวนดังกล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากองค์การสหประชาชาติที่สหรัฐฯ เป็นแกนนำได้ช่วยเหลือนำผู้ลี้ภัยชาวอุซเบกที่ลี้ภัยไปยังคีร์กีซสถานส่งต่อไปยังประเทศโรมาเนีย รัฐบาลของประธานาธิบดี Karimov ได้ออกคำสั่งให้ถอนฐานทัพของสหรัฐที่ประจำอยู่ที่เมือง Karshi-Khanabad ซึ่งเป็นเมือง หน้าด่านชายแดนติดกับอัฟกานิสถานออกจากอุซเบกิสถานภายในสิ้นปี 2548 เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ EU ได้มีมติให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับอุซเบกิสถาน โดยจะงด ค้าอาวุธ ลดเงินทุนช่วยเหลือและระงับโครงการบางส่วนของThe EU-Uzbek Partnership and Cooperation Agreement (PAC) รวมทั้งงดการตรวจลงตราแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอุซเบกิสถานอีกสิบสองคนด้วย ล่าสุด ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 มีมติให้ยกเลิกการระงับการให้วีซ่าเข้าสหภาพยุโรปแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอุซเบกิสถานจำนวน 4 คน จาก 12 คนที่สหภาพยุโรปเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์รุนแรงที่ Andijan
สำหรับรัสเซียได้แสดงการสนับสนุนอุซเบกิสถานในเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเชื่อว่าการจลาจลที่เมือง Andijan มีผู้อยู่เบื้องหลังไม่ใช่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจต่อรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างที่ประเทศส่วนใหญ่เข้าใจกัน โดยเมื่อวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2548 ประธานาธิบดี Karimov เยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการ โดยได้มีการลงนามความร่วมมือทางการทหารร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการอนุญาตให้ใช้อาวุธของตนในเขตแดนของกันและกัน และการช่วยเหลือทางการทหารต่อกันในกรณีที่ถูกรุกราน
ประเทศอุซเบกิสถานแบ่งออกเป็น 12 จังหวัด (provinces - viloyatlar) 1 สาธารณรัฐปกครองตนเอง* (autonomous republic - respublika) และ 1 นครอิสระ** (independent city - shahar) ได้แก่
อุซเบกิสถานมีจุดแข็งที่สำคัญคือเป็นตลาดขนาดใหญ่เป็นลำดับ 3 ของประเทศ CIS และมีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม อีกทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและน่าสนใจ ได้แก่ เมือง Samarkand , Bukara และ Khiva ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมบนเส้นทางสายไหมในอดีต
รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ การปฏิรูปการเกษตร การเปิดเสรีทางการค้าต่างประเทศและการเงิน การปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศเป็นธุรกิจผูกขาดที่ดำเนินการโดยเครือข่ายของบุคคลในตระกูลและกลุ่มผลประโยชน์ของบุคคลในรัฐบาล อีกทั้งระบบการจัดเก็บภาษียังไม่โปร่งใส ตลอดจนการกระจายรายได้ไม่ถึงประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้ประชากรยังประสบกับปัญหาความยากจน
ประชากร 27.7 ล้านคน (2549) ประกอบด้วยชาวอุซเบกร้อยละ 80 รัสเซียร้อยละ 5.5 ทาจิกร้อยละ 5 คาซัคร้อยละ 3 คาราคาลปักร้อยละ 2.5 ตาตาร์ร้อยละ 1.5 อื่นๆ ร้อยละ 2.5 รวมถึงชนกลุ่มน้อยมากมายหลายกลุ่ม แต่ที่มีจำนวนมาก คือ พวกคีร์ คาซัค อุซเบก ทาจิก เติร์กเมน รัสเซียน อาเซอรี และเคิร์ด