ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อียิปต์โบราณยุคราชวงศ์

สมัยราชวงศ์ (อังกฤษ: Dynastic Period) นับตั้งแต่สมัยที่อียิปต์ได้รวมกันเข้าเป็นอาณาจักรใหญ่ๆ 2 แห่ง คือ อียิปต์สูงและอียิปต์ล่าง ต่อมาใน 3,200 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เมเนสได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่ 1 ขึ้นปกครองประเทศอียิปต์ นับจนถึงสิ้นสุดยุคอียิปต์โบราณ

ยุคเริ่มราชวงศ์นี้ ยังไม่นับว่าเป็นยุคสมัยราชวงศ์อย่างเต็มตัว เพราะว่ายังไม่มีหลักฐานที่มากพอที่จะสามารถบอกได้

ประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์แบ่งเป็นสองราชอาณาจักร คือ อียิปต์บน และอียิปต์ล่าง ทั้งสองอาณาจักรรวมกันสมัยพระเจ้านาเมอร์ (กรีกเรียกเมเนส) และสมัยพระเจ้าอหา มีเมืองหลวงชื่อเมมฟิส (กำแพงขาว)

ในปี 2850-2650 ก่อนคริสตกาล สมัยธินิส (ราชวงศ์ที่ 1 และ 2) อียิปต์เป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ มีการสู้รบกับพวกเบดวงจากคาบสมุทรไซนาย เพื่อแย่งชิงเหมืองทองแดงมีการติดต่อทางเรือกับเมืองไบบลอส (ในเลบานอนปัจจุบัน) เพื่อซื้อไม้ซีดาร์มาใช้ในการก่อสร้างและทำโลงศพของฟาโรห์ (กษัตริย์) มีการก่อสร้างหลุมศพสำหรับเจ้าเรียกว่า มาสตาบา

อักษรบนจารึกนั้นมีสามแบบ คือ อักษรฮีโรกลีฟฟิค อักษรเดโมติก (Demotic) และอักษรคอปติก (Coptic) นอกจากนั้นบันทึกบนแผ่นปาปิรุส (Papyrus) กระดาษของชาวอียิปต์โบราณซึ่งทำจากต้นอ้อก็ได้ช่วยคลี่คลายเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับชาวอียิปต์ในสมัยโบราณ

ประวัติศาสตร์ของอียิปต์สมัยราชวงศ์ที่มีหลักฐาน นานถึงสามสิบศตวรรษอาจสรุปได้เป็น 3 สมัย ดังนี้

สมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) ประมาณ 3,200 - 2,300 ปีก่อนคริสตกาล เป็นสมัยที่อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของอียิปต์เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ฟาโรห์เมเนสได้ทรงรวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกันและสถาปนาราชวงศ์ที่ 1 ขึ้นเมื่อประมาณ 3,200 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยอาณาจักรเก่านี้มีฟาโรห์ปกครองทั้งสิ้นรวม 6 ราชวงศ์จนกระทั่งถึง 2,300 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างสองศตวรรษแรกมีเมืองหลวงคือธีบส์ (Thebes) ในอียิปต์บน ในราชวงศ์ที่สามย้ายมาอยู่ที่เมืองเมมฟิส และอยู่นานถึง 5 ศตวรรษ เรียกว่าสมัยเมมฟิส (Memphis period) ในสมัยนี้มีการสร้างปิรามิดมาก จึงมีผู้เรียกยุคนี้ว่ายุคปิรามิด (Pyramid Age) ในสมัยนี้มีฟาโรห์ทรงพระนามว่า ซีนุตเรต (Senusret) ได้โปรดให้ขุดคลองจากแม่น้ำไนล์ไปเชื่อมกับทะเลแดง สมัยอาณาจักรเก่าเริ่มเสื่อมในสมัยราชวงศ์ที่ 6 ข้าหลวงที่ฟาโรห์ส่งไปปกครองมณฑลต่างๆก็กระด้างกระเดื่อง ก่อให้เกิดจลาจล ชิงอำนาจความเป็นใหญ่อยู่ประมาณ 200 ปี ระยะเวลาของความระส่ำระส่ายที่มากั้นระหว่างอาณาจักรเก่า (Old Kingdom) กับอาณาจักรกลาง (Middle Kingdom) เรียกว่ายุคฟิวดัล (Feudal Age) ของอียิปต์

ฟาโรห์โจเซอร์มีพระราชโองการให้อิมโฮเทป ผู้เป็นแพทย์และสถาปนิก เป็นผู้สร้างปิรามิดซัคคาราขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังพระศพ ของพระองค์ปิรามิดซัคคารา ประกอบด้วยมาสตาบา 6 หลังซ้อนกัน

ราชวงศ์ที่ 4: จำนวนกษัตริย์ผู้สร้างปิรามิดมีมากมาย ที่มีชื่อเสียง เช่น สเนฟรู (ปิรามิดดาห์ชูร์และแมดูม) เคออปส์ (คูฟู), คาเฟรน, ไมเซรินุส (ปิรามิดกิซา ทางตะวันตกของเมืองไคโร)

ราชวงศ์ที่ 5: ศาสนาประจำชาติ คือการนับถือเทพเจ้าเร (เรแห่งเมืองเฮลิโอโปลิส) เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ มีการสร้างวิหารให้เทพเจ้าองค์นี้และสร้างเสาหินสูง

รัฐ ตำแหน่งฟาโรห์ (บ้านใหญ่) เป็นตำแหน่งสืบทอดฟาโรห์ มีอำนาจสูงสุด เช่น ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย เรามักเห็นอยู่ในรูปของเทพเจ้า-เหยี่ยวฮอรัส (เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) นับจากราชวงศ์ที่ 4 เป็นต้นมา ฟาโรห์ เปรียบเสมือนบุตรของเทพเจ้าเร หรือเทพเจ้า-พระอาทิตย์

การบริหารส่วนกลาง ข้าราชการหรือสคริบอยู่ใต้คำบังคับบัญชา ของรัฐมนตรี ล้วนมาจากครอบครัวชนชั้นสูง ภาษีจ่ายเป็นข้าวสาลีและ สัตว์ใช้งาน เช่น วัว ประชาชนทุกคนมีสิทธิในศาล มีสัมพันธไมตรีกับประเทศซีเรียและพุนท์ (โซมาเลีย) ทำสงครามกับประเทศลิเบียและชนเผ่าต่างๆในดินแดนปาเลสไตน์

การศาสนา เริ่มแรกนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์มากมาย ซึ่งมีอยู่ในรูปร่าง และหัวสัตว์ สมัยประวัติศาสตร์ คนนับถือพระอาทิตย์มาก มีการสร้าง วิหารที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วิหารของเทพเจ้าอาตุม-เรที่เฮลิโอโปลิส วิหารของเทพเจ้าพทาห์ที่เมมฟิส วิหารของเทพเจ้าธอทที่เฮอร์โมโปลิส เทพเจ้าโอซิริสที่เคยเป็นเทพเจ้าแห่งพืชพันธุ์ไม้ กลายมาเป็นเทพเจ้า ของคนตาย คนอียิปต์เชื่อเรื่องเวรกรรม คนตายไปแล้วจะได้รับกรรมที่ทำไว้ และเชื่อเรื่องชาติหน้า

อักษรเฮียโรกลีฟ มีลักษณะเป็นรูปสัญลักษณ์หนึ่งเท่ากับคำหนึ่ง จากนั้นเป็นกลุ่มพยัญชนะ พยัญชนะโดดๆ ไม่มีสระ ใช้ในทางศาสนา ต่อจากอักษรเฮียราติก (ภาษาที่ใช้ทั่วไป) เป็น อักษรเดโมติก (ราว 700 ปีก่อนค.ศ.) เป็นภาษาประจำวัน ปฏิทินอียิปต์มี 365 วัน (12 x 30 + 5) วันแรกของปีเริ่มกลางเดือนกรกฎาคม ตรงกับที่แม่น้ำไนล์ล้นฝั่ง ปีที่มี 366 วันไม่มีปรากฏใช้ สมัยต่อมา การนับปีถือเอาเทพเจ้าซิริอุส (โซธิส) เป็นหลัก คือ หนึ่งปีโซธิสมี 365 วันและอีกเศษหนึ่งส่วนสี่

สมัยอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom) ประมาณ 200-1580 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากที่เกิดความระส่ำระส่ายและบรรดาขุนนางที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ต่างรบพุ่งแย่งชิงความเป็นใหญ่กันจนอ่อนกำลังลงแล้ว ฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ที่ 12 ได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ รวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เนื่องจากพระองค์ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากประชาชนอียิปต์ส่วนใหญ่ พระองค์จึงได้แต่งตั้งประชาชนอียิปต์ให้ดำรงตำแหน่งต่างๆในรัฐบาล สมัยนี้เป็นสมัยหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นประชาธิปไตยที่สุด เรียกกันว่า “ยุคทองของอียิปต์” ต่อมาอำนาจของฟาโรห์เริ่มเสื่อมลง ในที่สุดได้ถูกพวกฮิกซอส (Hyksos) ซึ่งเป็นพวกเรเร่อนทางตะวันตกของทวีปเอเชียเข้ามารุกรานและยึดครองนานเกือบ 200 ปี เป็นผลให้อียิปต์ลืมความแตกแยกภายในอย่างสิ้นเชิง กลับมาผนึกกำลังกันขับไล่พวกฮิกซอสให้ออกจากประเทศได้ก่อน 1580 ปีก่อนคริสตกาล

สมัยจักรวรรดิกลาง อยู่ในระหว่างปี 2052 - 1570 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากที่อียิปต์ผ่านสงครามภายในมาหลายปี พระเจ้าเมนทูโฮเทปที่ 2 ทรงรวม อียิปตบนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกัน และทรงย้ายเมืองหลวงจากเมมฟิสไปที่ธีบส์

1991 - 1786 ตรงกับราชวงศ์ที่ 12 อำนาจการปกครองมารวมอยู่ที่เมืองหลวงอีก เชื้อพระวงศ์ตามเมืองต่างๆหมดอำนาจ มีการก่อสร้างวัดขนาดใหญ่หลายหลังที่คาร์นัก เมืองที่ถือว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าองค์ใหม่ ชื่ออาโมส อียิปต์เจริญสูงสุดในสมัยของ

ฟาโรห์เจ้าเซโซสทริสที่ 3 (1878-1841 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) อียิปต์มีอิทธิพลถึงนิวเบีย (ซูดาน) ทางตอนกลางเพราะที่นี่มีเหมืองทองคำ มีการสร้างทางติดค้าไปทะเลแดง ซีนาย และพุนท์ (โซมาเลีย) เกาะครีตและเมืองไบบลอส (ในเลบานอน) รัชกาลพระเจ้าอัมเมเนแมสที่ 3 จัดการใช้พื้นที่แถวทะเลสาบมัวริส (ฟายุม) ให้เป็นประโยชน์ สร้างปิรามิดและวัดฮา อูอาราสำหรับคนตาย (Labyrinthe) งานประติมากรรมมีการทำรูปพระเจ้าเซโซสทริสที่ 3 และพระเจ้าเมเนแมสที่ 3 ตอนวัยชรา การทำรูปสฟิงซ์มีหน้าเป็นกษัตริย์ กำเนิดประติมากรรมแบบใหม่ คือ รูปคนท่ายกเข่า สวมเสื้อผ้ายาวจดเท้า ด้านวรรณคดีมีการแต่ง \"คำสอนของพระเจ้าอัมเมเนแมสที่ 1\" และ \"ประวัติศาสตร์ซินูเฮ\"

1778 - ประมาณ 1610 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นช่วงคั่นระหว่างสองสมัย (ราชวงศ์ที่ 13-14) สงครามภายในทำให้มีศัตรูจากภายนอกรุกราน การรุกรานของพวกฮิกโซส ประมาณ 1650 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พวกฮิกโซส มาจากชนเผ่าฮูไรท์และเซมิติก (ทางเอเซีย) การรุกรานเป็นผลมาจากการอพยพของพวกอินโด-ยุโรเยน ราวปี 2,000 ก่อนคริสต์ศักราช พวกฮิกโซสมีอำนาจเหนือดินแดนอียิปต์ตอนบน พวกเขาเป็นคนชั้นสูงและถิ่นที่เขาอยู่ที่อาวาริส (ทางเดลต้าตะวันออก) ถือว่าเจริญมากของอียิปต์ เนื่องจากเทคนิคอารยธรรมที่เหนือว่าตนเข้าไว้ด้วย

สมัยจักรวรรดิ (The Empire) ประมาณ 1580-1090 ปีก่อนคริสตกาล ผู้เป็นกำลังในการขับไล่พวกฮิกซอสคือ ฟาโรห์อาห์โมสที่หนึ่ง (Ahmos I) ได้สถาปนาราชวงศ์ที่ 18 ขึ้น ทรงเป็นฟาโรห์ที่ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ของอียิปต์ อาณาจักรอียิปต์เป็นปึกแผ่นยิ่งกว่าสมัยใดทั้งสิ้น พระองค์ยังทรงตีได้ดินแดนใกล้เคียงเข้ามาอยู่ใต้จักรวรรดิอีกเป็นจำนวนมาก ทรงทำให้อียิปต์มีความรู้สึกรักชาติและสามารถผนึกกำลังขับไล่พวกฮิกซอสออกไปได้สำเร็จ ในสมัยจักรวรรดินี้มีฟาโรห์ปกครองอยู่ 3 ราชวงศ์ จนถึงราชวงศ์ที่ 20 เป็นสมัยที่อียิปต์ทำสงครามแผ่ขยายอำนาจ เนื่องจากมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพมาก ฟาโรห์อาห์โมสได้ยกกองทัพเข้าไปยังดินแดนปาเลสไตน์และประกาศยึดครองประเทศซีเรีย

สมัยจักรวรรดิรุ่งโรจน์ที่สุดในสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่สาม (Thutmos III) ทรงขึ้นครองราชสมบัติใน 1479 ปีก่อนคริสตกาล ทรงขยายดินแดนอียิปต์ออกไปจนถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำยูเฟรติสและลงมาถึงบริเวณแก่งน้ำตกทางตอนใต้สุดของแม่น้ำไนล์ พวกฟินิเซียน คานาอัน ฮิตไทต์ (Hittites) และแอสซิเรียนต้องถวายเครื่องบรรณาการยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของพระองค์

ในสมัยราชวงศ์ที่ 19 (1350-1200 ปีก่อนคริสตกาล) อียิปต์ต้องประสบภัยจากการรุกรานที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยพวกฮิตไทต์เป็นพวกนักรบซึ่งอยู่แถบเอเชียไมเนอร์ ได้ขยายตัวลงมาทางใต้เพื่อไปรุกรานดินแดนซีเรียและปาเลสไตน์ ในสมัยฟาโรห์รามเสสที่สอง (Rameses II, 1292-1225 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ได้เข้าร่วมทำสงครามกับพวกฮิตไทต์ เพื่อรักษาพระราชอาณาจักรเป็นเวลาถึง 16 ปี แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ ทั้งสองฝ่ายต่างอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ จึงได้ตกลงเปิดการเจรจายุติสงคราม ทำสนธิสัญญาแบ่งดินแดนซีเรียกับชาวฮิตไทต์ (สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นฉบับที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งได้เกิดมีขึ้นระหว่างประเทศ เมื่อ 1272 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงสร้างสิ่งก่อสร้างมากมาย ที่มีชื่อเสียงในความใหญ่โตหรูหราในการสร้างมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือ “The Great Temple” และ “The Small Temple” เป็นวัดซึ่งพระเจ้ารามเสสโปรดให้สร้างสำหรับพระองค์และพระมเหสี คือพระนางเนเฟอร์ตารี (Nefertari) รัชสมัยของฟาโรห์รามซิสยาวนานถึง 67 ปี และสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นสมัยที่มีการก่อสร้างมากที่สุดในอียิปต์

รามเสสที่สาม (Rameses III, 1198-11167 ปีก่อนคริสตกาล) ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ เป็นฟาโรห์ที่มีพระนามเด่นเป็นองค์สุดท้าย หลังจากนั้นอาณาจักรอียิปต์ได้เสื่อมลงทุกปี หลังจาก 945 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีฟาโรห์ราชวงศ์ต่างชาติขึ้นปกครองเรื่อยมา เช่น ราชวงศ์ลิบเบียน (Libyian, ราชวงศ์ที่ 22-24 เมื่อ 945-712 ปีก่อนคริสตกาล) แอสซิเรียน (Assyrian,ราชวงศ์ที่ 25 เมื่อ 670 ปีก่อนคริสตกาล) เปอร์เซียน (Persian,ราชวงศ์ที่ 27-29 เมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล)

ในที่สุดเมื่อประมาณ 332-323 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ตกอยู่ใต้อำนาจของกรีกในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งจักรวรรดิมาซิโดเนีย (336-323 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งได้สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นฟาโรห์ เมื่อสิ้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แล้ว แม่ทัพของพระองค์นามว่าทอเลมี (Ptolemy) ได้ปกครองอียิปต์ต่อมา สถาปนาราชวงศ์ทอเลมีที่ 30 ขึ้นเมื่อ 305 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์องค์แรกๆแห่งราชวงศ์นี้ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่สร้างเมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) ขึ้นเป็นศุนย์กลางการค้าและศิลปวิทยา ทอเลมีที่สองฟิลาเดลฟุส (Ptoleme II Pheladephus, 285-246 ปีก่อนคริสตกาล) ได้โปรดสร้างพิพิธภัณฑ์และหอสมุดใหญ่ที่มีชื่อเสียงขึ้น

ราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ทอเลมีที่ปกครองอียิปต์คือพระนางคลีโอพัตราที่หก (Cleopatra VI, 51-31 ปีก่อนคริสตกาล) พระนางได้ปลงพระชนม์ทอเลมีที่สิบสาม (Ptolemy XIII) ซึ่งเป็นพระสวามีและพระอนุชาของพระองค์เอง ต่อมาได้ยอมเป็นสนมของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ประมุขแห่งกรุงโรม จนกระทั่งซีซ่าร์ถูกลอบปลงพระชนม์ใน 44 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นพระนางได้มาร์คแอนโทนี (Mark Antony) นักรบคนสำคัญของโรมันเป็นพระสวามีใหม่ โดยพระนางคิดว่าคงจะได้ครองบัลลังค์ต่อจากจูเลียส ซีซาร์ แต่มาร์ค แอนโทนีก็ต้องปราชัยแก่ออกัสตุส (Augustus) ซึ่งเป็นทายาทอีกผู้หนึ่งของจูเลียส ซีซาร์ ในการรบที่เมืองแอคเทียม (Actium) ตามเรื่องที่ปรากฏในนิยายรักของทั้งคู่นั้น มาร์ค แอนโทนีได้ฆ่าตัวตายก่อนที่ออกุสตุสจะจับตัวได้ และร่างของมาร์คได้ถูกส่งไปให้พระนางคลีโอพัตราทอดพระเนตร พระนางเองก็ต้องการหลีกเลี่ยงจากการที่ถูกออกัสตุสจับกุม จึงชิงปลงพระชนม์พระองค์เองโดยจับงูเห่าใส่เข้าไปในฉลองพระองค์ให้พิษงูเข้าสู่ร่างกาย

จักรวรรดิใหม่ อยู่ในระหว่างปี 1570 - 715 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอโมซิสทรงขับไล่พวกฮิกโซสออกจากอาวาริสไปจนถึงดินแดนปาเลสไตน์แล้ว ทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ (ราชวงศ์ที่ 18) กษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อมา เช่น ฟาโรห์ อาเมโนฟิสที่ 1 และ ธุทโมซิสที่ 1 ทรงทำให้อียิปต์มีอำนาจมากมีการยกทัพไปเอเซีย (แถวแม่น้ำยูเฟรติส) และนิวเบีย สมัยที่อียิปต์เจริญสูงสุดคือสมัยพระนางฮัทเชปสุต

พระนางฮัทเชปสุต (1501-1480) ทรงดำเนินนโยบายแบบสันติ สัมพันธไมตรีกับประเทศพุนท์ มีการก่อสร้างมากมายที่สำคัญ คือวัดที่แดร์ เอล-บาห์รี ที่ก่อสร้างภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีคนโปรดของพระนาง ชื่อ เซอเนนมุท เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ พระสวามีขึ้นครองราชต่อ

1480-1488 ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 เป็นระยะเวลาที่ประเทศอียิปต์มีอาณาเขตกว้างไกลถึงแม่น้ำยูเฟรติส (ในอิรัก)

1480 พระองค์ทรงรบชนะซีเรีย ปาเลสไตน์และเฟนีเซีย ด้วยกองทัพทหารรับจ้างและกองทัพรถม้า อาณาจักรมิตานี (ปัจจุบัน คือ อิรักตอนเหนือ) กลายมาเป็นประเทศเพื่อนบ้าน กษัตริย์องค์ต่อๆมาล้วนประสบความสำเร็จในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศทั้งสิ้น

1413-1377 ฟาโรห์อเมนโฮเตปที่ 3 มีมเหสีมาจากบุคคลธรรมดาถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองมาก ทรงมีนโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศด้วยการอภิเษกสมรส เป็นสมัยที่อียิปต์ ต้อนรับทูตจากต่างประเทศมาก และมีการค้าขายอย่างเป็นล่ำเป็นสัน กับอาณาจักรมิตานี บาบิโลเนีย ครีต อัสซีเรีย อาณาจักรฮิตไทต์ และหมู่เกาะในทะเลอีเจียน (แผ่นดินเหนียวที่พบที่เมืองอมาร์นา จารึกเป็นภาษาอัคคาเดียน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในทางการทูตสมัยนั้น)

1377-1358 ฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 (ฟาโรห์อเคนาเตน) ทรงมีมเหสีที่รู้จักกันดี คือ พระนางเนเฟอร์ตีติ กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นผู้นำการนับถืออาเตน หรือ การนับถือดวงอาทิตย์เป็นพระเจ้าองค์เดียวให้แก่อียิปต์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อาเค อเตน (เอล-อามาร์นา) ทรงเปลี่ยนพระนามของพระองค์ใหม่เป็น อเคนาเตน พระองค์ไม่สนพระทัยในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ดังนั้นประเทศอียิปต์จึงค่อยๆ สูญเสียดินแดนในเอเซีย เมื่อทรงสิ้นพระชนม์ชนชั้น นักบวชถือโอกาสนำประเทศกลับมาใช้ระบบเดิม พระราชบุตรเขย ทั้งหลายพร้อมใจกันย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ที่ธีบส์ตามเดิม หนึ่งในราชบุตรเขย มีตุตันคามุน ที่นักโบราณคดีพบหลุมฝังศพเต็มไปด้วยของมีค่าเมื่อ ค.ศ. 1922 โฮเรมเฮบ นายทหารของอาเคนาตอนขึ้นครองราชย์ ทำสงคราม ชนะพวกฮิทไทท์ในซีเรียและจัดระเบียบการปกครองใหม่ให้เข้มงวดกว่าเดิม ทรงทะนุบำรุงศาสนานำพิธีนับถือพระเจ้าแบบเก่ามาใช้ปนกับวิธีของเอล-อมาร์นา

1345 - 1200 ราชวงศ์ที่ 19 พระเจ้าเซติที่ 1 และฟาโรห์รามเสสที่ 2 ทรงชนะพวกฮิทไทต์และมีอำนาจเหนือซีเรียอีกประมาณ 1275 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เกิดสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างฟาโรห์รามเสสที่ 2 กับฮัตทูชิลีที่ 3 กษัตริย์ของพวกฮิทไทท์ ซีเรียสามารถอยู่อย่างสงบ อียิปต์ตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เดลต้า ชื่อ พีรามเสส แปลว่าเมืองของรามเสส

1234 - ประมาณ 1220 ฟาโรห์เมเนปทาห์ยกกองทัพไปทำสงคราม กับปาเลสไตน์ (ปรากฏชื่ออิสราเอลเป็นครั้งแรกในจารึก) และได้ต่อสู้กับชนชาวทะเล (มีพวกกรีกและฟีลิสติน แถวกาซาปัจจุบัน) แต่มีสัมพันธไมตรีกับลิเบีย

1197-1165 ฟาโรห์รามเสสที่ 3 ทรงต่อสู้กับชนชาวทะเลและลิเบียที่มารุกราน แต่ถูกพระองค์ทรงขับไล่ออกไปทรงสร้างคุกไว้ที่เดลต้า กษัตริย์ต่อจากพระองค์ทรงให้วัดเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

ศิลปกรรม มีการสร้างวัดขนาดใหญ่ เช่น วัดพระเจ้าอามอนที่คาร์นัค ลุกซอร์ เมดิเนท์-ฮาบู ศิลปกรรมที่เมืองอามาร์นา (เศียรของอาเคนาตอนและเนเฟอร์ติติ รูปประติมากรรมของครอบครัว) ในรัชกาลของพระเจ้ารามเสส นิยมสร้างห้องขนาดใหญ่ที่คาร์นัค สร้างวัดที่เจาะเข้าไปในหิน ผนังเต็มไปด้วยภาพวาดแบบที่อาบู ซิมเบล ภายนอกมีรูปสลักขนาดมหึมา และนิยมสร้างวัดสำหรับเป็นที่ไว้ศพอย่างเช่นที่เมดิเนท์-ฮาบูหลังจากที่สู้รบกับพวกพระอามอน ที่ธีบส์และกับนายทหารจ้างของลิเบียแล้ว

950 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าเชช องค์ที่ 1 นายทหารจ้างลิเบียขยายอาณาเขตออกไปรอบๆ บูบาสติส พวกพระส่วนหนึ่งจึงอพยพไปอยู่นิวเบีย ที่ซึ่งพระองค์ต่อๆมา สร้างรัฐที่ปกครองโดยพระขึ้นมา มีเมืองนาปาตาเป็นเมืองหลวง (ราว 750 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ประมาณ 920 ปี ก่อนคริสต์ศักราช กองทัพของพระเจ้าเชชองค์ที่ 1 ยกทัพไปตีปาเลสไตน์และทำลายเมืองเยรูซาเล็ม

สมัยอียิปต์ต่ำ (715-332 ปีก่อนค.ศ.) 715-663 เอธิโอเปียมีอำนาจเหนืออียิปต์ แต่ไม่นานก็ถูกอัสซีเรีย รุกรานจนสูญเสียอำนาจนี้ไป พระเจ้าอัสซาราดดอนยกทัพมาถึงเมือง ธีบส์ปี 671 ก่อนค.ศ. แต่พวกเอธิโอเปียขับไล่ออกไปได้

662 พระเจ้าอัสสูร์บานิปาลได้รับชัยชนะเหนืออียิปต์ อียิปต์กลายเป็นเมืองหนึ่งของอัสซีเรีย ผู้ครองโนม (จังหวัด) เป็นเสมือนเจ้าครองเมืองของอัสซีเรียหนึ่ง ในจำนวนนี้มี พระเจ้าพซามเมติกที่ 1 (663-609) เป็นผู้ปลดปล่อยอียิปต์ให้เป็นอิสระ และให้พวกพระอามอนเป็นทหารจ้างลิเบียก่อตั้งหน่วย ทหารจ้างไอโอเนียนที่เดลต้าและตั้งสถานีการค้าไอโอเนียน (โนเครติส)

569-525 พระเจ้าอามาซิส เป็นรัชกาลที่อียิปต์รุ่งเรืองขึ้นอีกเป็นครั้งสุดท้ายเพราะ สามารถควบคุมสถานการณ์ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกได้และมีสัมพันธไมตรี กับเกาะต่างๆ ของกรีกและแม้แต่อาณานิคมกรีก อียิปต์ผูกไมตรีกับพระเจ้าเครซุสแห่งลิเดีย และกับพระเจ้าโปลีคราทแห่งซาโมสเพื่อต่อสู้กับพวกเปอร์เซีย

525 พระเจ้าพซามเมติกที่ 3 พระโอรสของพระองค์ถูกพระเจ้าคอมบิสแห่งเปอร์เซีย ฆ่าตายในการรบที่เปลุส อียิปต์กลายเป็นเมืองหนึ่งของเปอร์เซีย

332 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชชนะต่ออียิปต์ ตั้งแต่ปี 304 ก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมา เหล่ากษัตริย์ปโตเลมีของกรีกเฮเลนิสติกมาครองอียิปต์ 30 ปี ก่อนคริสต์ศักราชโรมันมาครองอียิปต์

ลักษณะสังคมของอียิปต์แบ่งพลเมืองออกเป็น 7 ชั้น ชั้นสูงสุดคือฟาโรห์และพวกราชวงศ์ของพระองค์ (ฟาโรห์คือตำแหน่งกษัตริย์อียิปต์โบราณ มาจากคำว่า Pero แปลว่า “Great house” หรือ “Royal house” หมายถึงพระราชวังอันเป็นที่ประทับของกษัตริย์หรือที่อยู่ของเทพเจ้า) ฟาโรห์ถือว่าเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ที่ทรงพระนามว่า รา (Re) และยังถือว่าฟาโรห์เป็นสื่อกลางระหว่างชาวอียิปต์และเทพเจ้า จึงห้ามเอ่ยพระนามของฟาโรห์ อำนาจสูงสุดในการปกครองตกเป็นของฟาโรห์แต่เพียงผู้เดียว มีรัชทายาทรับตำแหน่งมหาเสนาบดีหรือวิเซียร์ (Vizier) เพื่อเตรียมพระองค์ในการเป็นฟาโรห์ต่อไปในอนาคต

คณะสงฆ์เป็นผู้ช่วยของฟาโรห์ในด้านการศาสนา นับเป็นชนชั้นที่ 2 ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ อำนาจของพวกพระมาจากความกลัวเกรงในเทพเจ้า ฟาโรห์และคณะสงฆ์แบ่งผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน และมีการอุดหนุนส่งเสริมกัน แต่ก็มีบางครั้งที่ที่หัวหน้าพระได้พยายามแย่งอำนาจการปกครองมาจากฟาโรห์เสียเอง

การบริการงานท้องถิ่น จัดแบ่งประเทศออกเป็น 40 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่าโนมิส เทียบได้กับจังหวัด มีข้าหลวงเรียกว่าโนมาร์ค แต่ละส่วนเรียกว่าชนชั้นสามในอียิปต์ ฟาโรห์ทรงเลือกแต่ผู้ใกล้ชิดและไว้วางพระทัยให้ปกครอง แต่ต่อมาขุนนางเหล่านั้นยึดตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นของสกุลแห่งตนและสืบสกุลจากบิดามาถึงบุตร เหมือนกับเป็นสิทธิส่วนตัว ในที่สุดเจ้าเมืองเหล่านั้นก็รวบอำนาจเข้ามาเป็นของตนมากขึ้นทุกที เป็นเหตุให้อำนาจของฟาโรห์อ่อนลง เจ้าเมืองบางคนยังแก่งแย่งอำนาจปกครอง ก่อให้เกิดจลาจลหลายหน โดยไปรวมกำลังกับพวกที่เข้ามารุกราน

ต่ำลงมาอีกชั้นหนึ่งของสังคมอียิปต์ก็คือ ผู้ที่เราอาจเรียกได้ว่าชนชั้นกลาง คือพวกช่างฝีมือและพ่อค้า ในประเทศอียิปต์ประมาณก่อน 2000 ปีก่อนคริสตกาล มีการค้าขายติดต่อกันกับเกาะครีท พวกฟินิเซีย ปาเลสไตน์และซีเรีย สินค้าที่ขายประกอบด้วย ข้าวสาลี ผ้าป่านลินินและไม้ซุง ส่วนสินค้าที่ส่งเป็นสินค้าออกประกอบด้วยข้าวสาลี ผ้าป่านลินินและเครื่องปั้นดินเผา สินค้าเข้ามีเงิน ทอง งาช้างและไม้ซุง ประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล พวกช่างฝีมือของอียิปต์ได้เริ่มทำอุตสาหกรรมต่อเรือ ทำเครื่องปั้นดินเผา ทำแก้วและเสื้อผ้าต่างๆ แต่ในสมัยจักรวรรดิ รัฐได้เข้ามาควบคุมธุรกิจของเอกชนทุกอย่าง

ชนชั้นต่อมาคือกสิกร เป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากและทำงานหนักที่สุด เพาะปลูกทั้งข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวมิลล์เลย์ ผัก ผลไม้ ป่านลินินและฝ้าย จนอียิปต์ได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลกในสมัยดึกดำบรรพ์

ชนชั้นล่างสุดของอียิปต์คือพวกทาสติดดินและเชลย ทำหน้าที่หาวัตถุดิบทุกอย่างในประเทศ เช่น หนังสัตว์ ต่อยและลำเลียงหินที่ใช้ในการก่อสร้าง ขุดคลอง สร้างปิรามิด เป็นต้น พวกนี้มีความเป็นอยู่ที่ลำบากมาก อาศัยอยู่ในกระท่อมมุงจากและสร้างด้วยอิฐที่ทำจากดินเหนียว

ฐานะของสตรี ชาวอียิปต์นิยมที่จะมีสามีและภรรยาเพียงคนเดียว แม้แต่ฟาโรห์ก็เช่นกัน ในสังคมอียิปต์ฝ่ายหญิงและเครือญาติของฝ่ายหญิงมีอำนาจ ภรรยาสามารถเป็นเพื่อนและไปไหนมาไหนกับสามีได้ สามารถไปงานพิธีต่างๆได้ มีสิทธิในกฎหมายเท่าเทียมชาย พระธิดาของฟาโรห์มีสิทธิสืบสันตติวงศ์ได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่ามีราชินีผู้สามารถหลายองค์ขึ้นครองราชย์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406