อิเล็กโตรเนกาติวิตี (อังกฤษ: Electronegativity, ::?{\displaystyle \chi }) เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถของอะตอมในการที่จะดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองเมื่อเกิดพันธะเคมี (chemical bond) ทั้งนี้ มีการเสนอวิธีการแสดงอิเล็กโตรเนกาทิวิตีหลายวิธี อาทิ เพาลิง สเกล (Pauling scale) ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1932 มูลลิเกน สเกล (Mulliken scale) ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1934 และ ออลล์เรด-โรโชสเกล (Allred-Rochow scale)
เมื่อ พลังงานพันธะ, Ed ของพันธะ A–B, A–A และ B–B ในหน่วย อิเล็กตรอนโวลต์, ค่า (eV)–? แสดงเพื่อเลี่ยงการพิจารณาหน่วย เช่น ความต่างของอิเล็กโทรเนกาทิวิตีโดยเพาลิงระหว่างไฮโดรเจนและโบรมีน เท่ากับ 0.73 (พลังงานพันธะ: H–Br, 3.79 eV; H–H, 4.52 eV; Br–Br 2.00 eV)
ธาตุเคมี แต่ละตัวจะมีคุณลักษณะที่มีค่า อิเล็กโตรเนกาติวิตี่ ระหว่าง 0 ถึง 4 โดย เพาลิง สเกล ธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาทิวิตี มากที่สุด คือ ฟลูออรีน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.98 และธาตุที่มี อิเล็กโตรเนกาติวิตีน้อยที่สุด แฟรนเซียม เท่ากับ 0.7 โดยทั่วไประดับขั้นของ อิเล็กโตรเนกาทิวิตี จะลดลงตามหมู่ของธาตุในตารางธาตุ และเพิ่มขึ้นตามคาบในตารางธาตุ ดังตารางธาตุ ดังแสดงข้างล่างนี้