ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อินโดจีนฝรั่งเศส

อินโดจีนของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Indochine fran?aise, อังกฤษ: French Indochina) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพอินโดจีน (Union Indochinoise) เป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมกันเป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 จึงได้รวมเอาลาวเข้ามา อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงจนถึงปี พ.ศ. 2445 จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชีและยังถูกญี่ปุ่นรุกรานด้วย ในต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่าสงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้งรัฐเวียดนามซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เวียดมินห์ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยที่รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่

ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีมิชชันนารีคณะเยสุอิตนำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามเพิ่งจะเข้าครอบครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรจามปามาได้ไม่นานนัก ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับยุโรปจำกัดอยู่แค่เรื่องการค้าเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2330 ปีโญ เดอ เบแอนได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วยเหลือเหงียน อั๊ญ (ซึ่งภายหลังคือจักรพรรดิยา ลอง) ให้ได้ดินแดนที่สูญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา ปีโญเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้จนถึงปี พ.ศ. 2345 ฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวของกับเวียดนามอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิเช่น การปกป้องกิจการของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งเข้ามาเผยแผ่นิกายโรมันคาทอลิก การกระทำดังกล่าวทำให้ราชวงศ์เหงียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีที่เข้ามานั้นเป็นการคุกคามทางการเมือง

ในปี พ.ศ. 2401 ราชวงศ์เหงียนได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำได้สำเร็จโดยบุกโจมตีดานังของพลเรือเอกชาร์ล รีโกล เดอ เฌอนูยี ซึ่งทำให้คณะมิชชินนารีไม่ถูกขับไล่ ในเดือนกันยายนกองทัพผสมระหว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมของสเปนได้เข้าโจมตีท่าเรือตูรานที่ดานังและยึดเมืองสำเร็จในที่สุด

เดอ เฌอนูยีได้ล่องเรือลงไปทางใต้ และได้เข้าครอบครองไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402 ต่อมารัฐบาลเวียดนามถูกบังคับให้ยกเบียนหฮว่า ซาดิ่ญ และดิ่ญเตื่องให้กับฝรั่งเศส เดอ เฌอนูยีถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกถอดออกจากหน้าที่ในเดือนพศจิกายน พ.ศ. 2402 เพราะว่าเขาได้รับคำสั่งให้ปกป้องศาสนาคริสต์ ไม่ใช่เพื่อขยายอาณาเขต อย่างไรก็ดี นโยบายของฝรั่งเศสในช่วงเวลาสี่ปีถัดมากลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ดินแดนของฝรั่งเศสในเวียดนามค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. 2405 ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานท่าเรือสามแห่งในอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินไชนาจากจักรพรรดิตึ ดึ๊ก และต่อมาในปี พ.ศ. 2407 ฝรั่งเศสก็ประกาศดินแดนของฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2410 จังหวัดเจิวด๊ก (โชฎก) ห่าเตียน และหวิญล็องก็ตกเป็นของฝรั่งเศส

ในปี พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ได้ขอให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2410 สยามได้ประกาศยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชาและยอมรับสถานะกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส โดยแลกกับจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ

ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมเวียดนามเหนือหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามจีน-ฝรั่งเศสระหว่างปี พ.ศ. 2427 - 2428 ฝรั่งเศสได้รวมเอาดินแดนทั้งสี่แห่งเข้าไว้ด้วยกันเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2430 ส่วนลาวนั้นถูกผนวกเข้าภายหลังสงครามฝรั่งเศส-สยาม

โดยนิตินัย ฝรั่งเศสได้มอบอำนาจให้กับผู้ปกครองท้องถิ่นในรัฐในอารักขาทั้งสี่ ได้แก่ จักรพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชา และเจ้ามหาชีวิตลาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว อำนาจอยู่กับข้าหลวงใหญ่มากกว่าบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น โดยผู้ปกครองท้องถิ่นเป็นเหมือนหุ่นเชิดเท่านั้น ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2497

กองทหารฝรั่งเศสขึ้นฝั่งเวียดนามในปี พ.ศ. 2401 และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1880 ก็ได้แผ่ขยายเข้าไปในภาคเหนือของเวียดนาม ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2428 - 2438 ฟาน ดิ่ญ ฝุ่งได้นำการก่อจลาจลต่อต้านฝรั่งเศส แนวคิดชาตินิยมได้รุนแรงขึ้นในเวียดนาม โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหลังจากนั้นเป็นต้นมา แต่การลุกฮือและความพยายามทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้เกิดอะไรขึ้น

ข้อพิพาทดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีนจากการขยายอาณาเขตของอินโดจีน นำไปสู่สงครามระหว่างสยามและฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 ทางฝรั่งเศสได้ใช้ข้อขัดแย้งในเรื่องเขตแดนในการกระตุ้นวิกฤตขึ้นมา เรือปืนของฝรั่งเศสได้บุกเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครและเรียกร้องให้สยามส่งมอบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ แต่ทูตอังกฤษได้แนะนำให้ยอมทำตามคำร้องขอของฝรั่งเศส อังกฤษได้ทำข้อตกลงร่วมกับฝรั่งเศสว่าจะรับรองบูรณภาพของดินแดนส่วนที่เหลือสยาม โดยสยามจะต้องยอมยกดินแดนในรัฐฉานให้กับอังกฤษ และยกลาวให้กับฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสได้กดดันสยามอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2449-2450 ได้เกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ สยามต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบางและพื้นที่ทางตะวันตกของแขวงจำปาศักดิ์ในปัจจุบันเป็นของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน และเพื่อได้จันทบุรีกลับมา สยามต้องยอมยกตราดให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน ตราดกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยต้องแลกกับดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และ ปัจจันตคีรีเขตร์

ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สยามได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนที่เคยเป็นของสยามกลับคืน และในปี พ.ศ. 2481 ฝรั่งเศสก็ได้ตกลงที่จะส่งมอบนครวัด นครธม เสียมราฐ แสนปาง และบริเวณเกี่ยวเนื่องแก่สยาม ในขณะนั้น สยามก็เข้าครอบครองดินแดนที่ได้รับคืน โดยคาดหวังในสนธิสัญญาที่กำลังจะมีขึ้น ผู้ลงนามของทั้งสองประเทศได้เดินทางไปยังโตเกียวเพื่อลงนามในสนธิสัญญาส่งมอบดินแดนคืน

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ทหารเวียดนามได้ลุกฮือขึ้นในกองทหารรักษาการแห่งเอียนบ๊าย การจลาจลแห่งเอียนบ๊ายได้รับการสนับสนุนจากพรรคชาตินิยมเวียดนาม (Vi?t Nam Qu?c D?n ??ng) การปะทะกันครั้งนี้เป็นการก่อความไม่สงบครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่การก่อจลาจลของฟาน ดิ่ญ ฝุ่ง และขบวนการจักรพรรดินิยมเกิ่นเวืองในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จุดประสงค์ของการปฏิวัติคือเพื่อจะกระตุ้นให้การลุกฮือแผ่ขยายขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไปที่มีเป้าหมายที่จะล้มอำนาจเจ้าอาณานิคม ก่อนหน้านี้ พรรคชาตินิยมเวียดนามได้พยายามที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมลับที่จะบ่อนทำลายอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส แต่ก็ทำให้ฝรั่งเศสจับตามองการกระทำดังกล่าวและทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกับในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือ

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้โอกาสอ้างสิทธิในดินแดนที่เคยเป็นของตนขณะที่ฝรั่งเศสกำลังอ่อนแอ จึงเปิดสงครามระหว่างไทยและฝรั่งเศสขึ้นในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ในเดือนมกราคมกองทัพฝรั่งเศสสามารถเอาชนะกองทัพไทยได้ในการรบที่เกาะช้าง สงครามจบลงตามโดยมีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางในการเจรจา โดยที่ไทยได้รับดินแดนกลับคืนมาบางส่วน

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2483 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสเขตวีชีซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี ได้อนุญาตให้ญี่ปุ่นเข้ามาในตังเกี๋ย เพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถยกทัพเข้าไปในจีนได้สะดวกขึ้น เหตุการณ์นี้ทำให้ไทยถือโอกาสอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่เคยเสียไป ทำให้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสและไทยระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ในเวลาต่อมา

จากการประชุมที่จัดโดยรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอีก 12 ประเทศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 ข้อตกลงที่ประชุมได้รับการร่างและลงนามโดยประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้น ซึ่งเราเรียกข้อตกลงนี้ว่า อนุสัญญาเจนีวา เป็นอนุสัญญาฉบับแรก ซึ่งมีสาระสำคัญว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบ ซึ่งอนุสัญญานี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงจากการประชุมระหว่างประเทศในเวลาต่อมา การแก้ไขปรับปรุงครั้ง ล่าสุด คือการประชุมในปี พ.ศ. 2492 และได้ตกลงประกาศเป็นอนุสัญญาเจนีวาจำนวน 4 ฉบับ ได้ลงนามกันในปี พ.ศ. 2492 โดยมีหลักการมูลฐานสำคัญ 3 ประการ คือ มนุษยธรรม ความเสมอภาค และ ความไม่ลำเอียง และอนุสัญญาทั้ง 4 ฉบับมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้

นอกจากนี้ อนุสัญญาเจนีวาฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนให้พ้นจากภัยสงครามระหว่างประเทศและคุ้มครองแก่พวกกบฏให้พ้นจากการถูกทรมานในกรณีเกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศ รวมทั้งมีสาระอื่น ๆ อีก เช่น เงื่อนไขการลงโทษเพื่อคุ้มครองผู้ถูกต้องโทษ และการส่งตัวนักโทษสงครามกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน เป็นต้น

สนธิสัญญาเจนีวา ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 มีเป้าหมายให้การสงเคราะห์ทหาร และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยประสานงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406