ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อำเภอไชยปราการ

ไชยปราการ (คำเมือง: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 128 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สล้บที่ราบเชิงเขา เป็นอำเภอที่มีภูเขาล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม

อำเภอไชยปราการจัดตั้งเป็นเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยแยกออกจากอำเภอฝาง เนื่องจากปัญหาความห่างไกลตัวเมืองฝาง จึงจัดตั้ง "กิ่งอำเภอไชยปราการ" ประกอบด้วยตำบลปงตำ ตำบลศรีดงเย็น ตำบลแม่ทะลบ และตำบลหนองบัว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531

อำเภอไชยปราการตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

วัดถ้ำตับเต่า อยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 120 และ 121 แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเต่า มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเต่านี้แยกออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา มีน้ำตกให้เที่ยวหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่เส้นทางยังไม่สะดวกนัก เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างพัฒนาพื้นที่ น้ำตกที่เดินทางเข้าถึงสะดวกที่สุดคือ น้ำตกห้วยทรายขาว ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีแอ่งน้ำให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำได้แต่ในช่วงฤดูแล้งน้ำจะน้อยมาก จะมีน้ำเยอะช่วงเดือนพฤษภาคมแต่น้ำจะขุ่น น้ำจะใสช่วงหลังฝน ชั้นบนของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและมีทรายอยู่เนื่องจากน้ำพัดเอาทราย มาจากการกัดกร่อนของหินทราย ชั้นบน อากาศบริเวณน้ำตกชื้นจนทำให้มีมอสจับอยู่ มีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกแม่ฝางหลวง น้ำตกดอยเวียงผา น้ำตกห้วยหาน และจุดชมวิวดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 583 ตารางกิโลเมตร สภาพป่าในพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ นอกจากนี้ยังมีป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าสนเขา นกที่พบ เช่น นกกินปลี และนกพญาไฟ สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่จะเป็นขนาดกลางและสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ กระรอก กระต่าย หมูป่า อีเห็น เก้ง เลียงผา เสือไฟ เม่น หมีควาย เป็นต้น

วัดพระเจ้าพรหมมหาราช (วัดป่าไม้แดง) พระราชประวัติพระเจ้าพรหมมหาราช ในรัชสมัยของพระเจ้าพรหมมหาราชทรงครองราชย์อยู่ ณ เมืองไชยปราการนั้น บ้านเมืองในแว่นแคว้นโยนกเจริญรุ่งเรืองเต็มไปด้วยความวัฒนาผาสุก พระเกียรติยศของพระองค์รุ่งเรืองปรากฏไปทั่วทุกทิศ เหล่าปัจจามิตรก็มิอาจหล้ามาราวีด้วยเกรงในพระบรมเดชานุภาพและบุญญาธิการของพระองค์ ดูเหมือนพระองค์จะทรงถือกำเนิดมาเพื่อปราบยุคเข็ญในยามที่บ้านเมืองกำลังตกอยู่ในเงื้อมมือของคนต่างชาติ พระองค์ทรงถือกำเนิดมาเพื่อกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยโดยแท้ เพราะในสมัยที่พระองค์ทรงถือกำเนิดปฏิสนธิมานั้น คือในปี พ.ศ. 1461 พระเจ้าพังคราชพระราชบิดาและพระมเหสีผู้เป็นมารดาของพระองค์ต้องถูกพวกขอมเนรเทศให้ออกจากอาณาจักรโยนกไปอยู่เมืองเล็กเมืองหนึ่ง เมืองนี้มีชื่อว่า “เวียงสีทวง” (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) ใกล้ๆ ชายแดนพม่าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านปางห่าประมาณ 6 กิโลเมตร มีชื่อใหม่ว่า “บ้านเวียงแก้ว” แต่เดิมเรียกว่า “สี่ตวง” เป็นเมืองออกของไทย ปกครองโดยพวกลัวะ พอถึงปีที่ต้องนำทองคำสี่ตวงลูกมะตูมมาส่งให้เป็นบรรณาการ นานเข้าเรียกเพี้ยนเป็นเวียง “สี่ตวง” เมื่ออยู่เวียงสี่ตวงได้ 1 ปี ก็ได้พระราชโอรสองค์แรกจะเป็นด้วยกำลังอยู่ในระหว่างตกทุกข์ได้ยาก จึงได้ตั้งพระนามพระโอรสว่า “ทุกขิตราชกุมาร” แต่ทุกขิตราชกุมารนี้ไม่ทรงสมบูรณ์ คือมีพระกำลังอ่อนแอ พระกายก็เกือบทุพพลภาพไม่แข็งแรง ครั้นอยู่ต่อมาอีกสองปี จึงได้พระราชโอรสองค์ที่สองนี้ เมื่อประสูติออกมานั้นมีพระวรกายงดงามทรงตั้งพระนามว่า “พรหมราชกุมาร” เพราะมีวรรณะผุดผ่อง สิริรูปงดงามประหนึ่งพรหมพระองค์ประสูติในวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 เหนือ (คือเดือน 4 ใต้) ปีมะเส็ง พ.ศ. 1461 เหตุอัศจรรย์ คือขณะที่พระมเหสีทรงครรภ์ราชโอรสองค์นี้ได้ 7 เดือน ได้กราบทูลพระสวามีว่า ขอให้นำเอาศาตราวุธมาให้ดูว่ามีอะไรบ้าง ที่ใช้ในราชการสงคราม พระสวามีก็แสวงหามาตกแต่งไว้ในห้องให้พระมเหสีทอดพระเนตรทุกวัน ในที่สุดก็ประสูติพระราชโอรสในตำนานโยนกได้ กล่าวถึงอิทธิปาฏิหาริย์อันเกิดจากบุญญาบารมีของพระองค์ว่า เมื่อพระชนม์ได้ 7 พรรษาก็ทรงมีน้ำพระทัยองอาจกล้าหาญชอบเรียนวิชาเพลงอาวุธและตำรับยุทธวิธีสงคราม เมื่อพระราชกุมารทรงพระเจริญวัยขึ้นมีพระชนม์ 13 พรรษา คืนหนึ่งทรงพระสุบินว่ามีเทวดามาบอกพระองค์ว่า ถ้าอยากได้ช้างเผือกคู่พระบารมีสำหรับทำศึกสงครามแล้วไซร้ วันพรุ่งนี้ตอนเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นให้ออกไปที่ฝั่งแม่น้ำโขง แล้วคอยดูจะมีช้างเผือกล่องน้ำมาตามแม่น้ำโขง 3 ตัวด้วยกัน ถ้าจับได้ตัวใดตัวหนึ่งก็จะใช้เป็นพาหนะทำศึกสงคราม ถ้าจับได้ตัวที่หนึ่งจะปราบได้ทั้งสี่ทวีป ถ้าจับได้ตัวที่สองจะปราบได้ทั่วชมพูทวีป ถ้าจับได้ตัวที่สามจะดินแดนแคว้นลานนาไทยได้ทั้งหมด สิ้นสุบินนิมิตรแล้ว เจ้าพรหมราชกุมารตื่นจากบรรทม ไม่ทันสรงพระพักตร์ไปเรียกมหาดเล็กของท่าน ซึ่งเป็นลูกทหารแม่ทัพนายกองจำนวน 50 คน ให้ไปตัดไม้รวกเป็นขอตามคำเทวดาบอก ให้ใช้ขอไม้รวกและเกาะคอช้างจะได้ลากขึ้นฝั่ง แล้วพากันไปที่ฝั่งแม่น้ำโขง ไปล้างหน้าล้างตา ยังไม่เสวยอาหารเลย ล้างหน้าล้างตาเสร็จแล้วก็คอยดู พอได้สักครู่ใหญ่ๆ ท้องฟ้าก็สว่าง ในขณะนั้นมีงูใหญ่ตัวหนึ่งสีเหลืองเลื่อมเป็นมันระยับตัวใหญ่โตประมาณ 3 อ้อม ยาว 10 กว่าวา ลอยมาตามแม่น้ำโขง เข้ามาใกล้ฝั่งที่พระองค์และมหาดเล็กอยู่นั้น เจ้าพรหมราชกุมารและมหาดเล็กเห็นเข้าก็ตกใจกลัวจนตัวสั่นหน้าซีด มิอาจเข้าไปใกล้ได้ เจ้างูนั้นก็เลยล่องผ่านไป พออีกสักครู่ใหญ่ๆ ก็มีงูลอยมาอีกตัวเล็กกว่าเก่า ขนาดก็สั้นกว่าตัวเก่านิดหน่อยเป็นงูอย่างเดียวกันก็ลอยล่องไปอีก เจ้าพรหมไม่กล้าทำอะไรพอตัวที่สองนี้ผ่านไปได้ครู่ใหญ่ๆ ก็นึกว่าเทวดาบอกว่าจะมีช้างเผือกลอยมา 3 ตัว ไม่เห็นช้างเผือกลอยมาสักตัวเห็นแต่งูลอยมาสองตัวแล้ว ถ้าหากว่ามีอีกตัวหนึ่งต้องเป็นช้างเผือกแน่ ตัวที่สามนี้อย่างไรก็ต้องเอาละเพราะเป็นตัวสุดท้ายแล้ว พอเจ้างูตัวที่ 3 ลอยมา เจ้าพรหมก็ลงน้ำและบุกน้ำลงไป ไปถึงก็เอาไม้รวกเกาะคองูนั้น พอขอไม้รวกเกาะคองู งูก็แปรสภาพเป็นช้างเผือกทันที รูปร่างอ้วนพีงามดียิ่งนัก มหาดเล็ก 50 คน ก็ช่วยกันเอาขอไม้รวกเกาะคอช้างจะเอาขึ้นฝั่งทำอย่างไรมันก็ไม่ยอมขึ้นฝั่ง เดินไปเดินมา อยู่ในน้ำนั่นเอง เจ้าพรหมราชกุมาร ก็ใช้ให้มหาดเล็กไปกราบทูลพระราชบิดาว่าได้ช้างเผือกแล้ว แต่ไม่ยอมขึ้นฝั่ง เมื่อพระเจ้าพังคราชทรงทราบเช่นนั้นก็เรียกโหรหลวงมาถาม โหรหลวงก็ทูลว่า ให้เอาทองคำประมาณยี่สิบตำลึงมาตีพางอันหนึ่ง (พางคือระฆังหรือกระดิ่งผูกคอช้าง) แล้วบอกว่าให้พระราชโอรสองค์ใหญ่เอาพางไปที่ฝั่งแม่น้ำ และเอาไม้ตีพางเข้าพอพางดังช้างจะขึ้นฝั่งเอง พระเจ้าพังคราชก็มีรับสั่งให้ทำพางขึ้นและนำไปที่ฝั่งแม่น้ำโขง และไม้เคาะที่พางก็มีเสียงดังเหมือนระฆัง ช้างก็ขึ้นมาจากฝั่ง เจ้าพรหมกุมารก็นำช้างเข้าเมือง พระราชบิดาก็สร้างโรงช้างเผือกเข้าเลี้ยงบำรุงไว้ที่นั่น ช้างก็เลยได้ชื่อว่า “ช้างเผือกพางคำ” แล้วเจ้าพรหมกุมารก็ได้โปรดให้สร้างเมืองขึ้นที่นั่น โดยขุดคูเอาน้ำจากแม่น้ำสายมาเป็นคูเมืองและให้ชื่อว่า “เมืองพานคำ” (ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายตรงที่สำนักงานไร่ยาสูบ อ.แม่สายในปัจจุบันนี้) และทรงใช้เวียงพานคำนี้เป็นแหล่งชุมนุมไพร่พล เพราะเวียงพานคำมีอาณาเขตเป็นที่ราบกว้างอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารเหมาะแก่การประชุมพล นับแต่นั้นมาก พระองค์ก็ฝึกซ้อมทหารให้ชำนาญในยุทธวิธี และสะสมเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้มากมาย ทรงทราบว่าบ้านเมืองของพระองค์ถูกพวกขอมย่ำยีจนต้องตกเป็นประเทศราช พระบิดาต้องส่งส่วยให้ขอมทุกปี ก็ทรงพระดำริที่จะกอบกู้เอกราช โดยประกาศแข็งเมืองไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการให้แก่กษัตริย์ขอมดำ การสงครามระหว่างไทยกับขอมดำก็เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ปรากฏว่า คราวนี้ขอมพ่ายแพ้แก่กองทัพไทย ตีหัวเมืองที่อยู่ในอำนาจของขอมกลับคืนหมด จากนั้นพระเจ้าพรหมราชกุมารก็ทรงดำริต่อไปว่า หากปล่อยให้ขอมดำมีถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่อาณาเขตติดต่อกันเช่นนี้ ไม่ช้าสงครามก็จะเกิดขึ้นอีก และถ้าเผลอก็จะตกเป็นทาสของขอมอีก พระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพของชาติไทย ในปี พ.ศ. 1497 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่อาณาจักรโยนกหรือโยนกนาคพันธ์ ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอมมาเป็นเวลา 20 ปี ซึ่งเมื่อพระองค์แข็งเมืองขึ้นนั้นก็เป็นเหตุให้พวกขอมยกทัพใหญ่มาเพื่อจะทำการปราบปราม แต่พระองค์ก็หาได้เกรงกลัวแสนยานุภาพของขอมไม่ ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 16 พรรษาเท่านั้น แต่ด้วยความรักชาติบ้านเมือง รักในความเป็นอิสรเสรี และด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้าของพระองค์ในที่จะปลดแยกอาณาจักรโยนกออกจากการปกครองของพวกขอม พระองค์จึงยกกองทัพใหญ่ไล่จับพวกขอมที่เป็นชายฆ่าเสียเกือบหมด พวกที่รอดตายไปได้ คือพวกที่มาทางใต้ พระเจ้าพรหมฯ ตั้งพระทัยที่จะทำลายพวกขอมให้หมดสิ้น เป็นการขับไล่ชนิดที่เรียกว่า “กวาดล้าง” เลยทีเดียว เพราะพวกขอมมีหลายหัวเมืองด้วยกัน เช่น เมืองหริภุญชัย เมืองสุโขทัย เมืองละโว้ เมืองศรีสัชชนาลัย เมื่อขับไล่มาถึงเมืองศรีสัชชนาลัยแล้วกษัตริย์ขอมดำที่เป็นเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยไม่กล้าสู้ ยอมแพ้และยอมถวายพระราชธิดาองค์หนึ่ง ด้วยการรบอย่างรุนแรง เพื่อจะขจัดอิทธิพลของพวกขอมนั่นเอง ในตำนานโยนกจึงได้กล่าวถึงปาฏิหาริย์ที่จะยับยั้งมิให้พระองค์ทำการรุกไล่พวกขอมต่อไปว่า ร้อนถึงพระอินทร์เจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เล็งทิพย์เนตรมาเห็น ถ้าไม่ไปช่วยไว้ ขอมจะต้องตายหมด ชีวิตมนุษย์ก็จะเป็นอันตรายมากจำต้องช่วยป้องกันไว้ จึงมีเทวองค์การสั่งให้พระวิศณุกรรมเทพบุตรลงไปเนรมิตรกำแพงแก้ว ก็หยุดเพียงแค่นั้น ไม่ได้ไล่ตามต่อไป ที่ตั้งกำแพงแก้วนี้ ต่อมาเกิดมีเมืองขึ้นเมืองหนึ่งมีชื่อว่า “เมืองวชิรปราการ” แปลตามพยัญชนะว่า “กำแพงเพชร” คือจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบันนี้ ข้อความในตำนานนี้พอจะสันนิษฐานได้ว่าเมื่อพระเจ้าพรหมลุกไล่พวกขอมลงไปทางใต้เป็นระยะทางไกลพอสมควรแล้ว ทรงเห็นว่าพวกขอมที่แตกพ่ายไปอย่างไม่เป็นกระบวนนั้น คงไม่สามารถที่จะรวมกำลังยกกองทัพมารวบกวนได้อีก และประกอบกับบรรดาไพร่พลของพระองค์อิดโรยอ่อนกำลัง เพราะทำการสู้รบติดพันกันเป็นเวลานานถึง 1 ปีเศษ ได้อาณาเขตกว้างขวางมากอยู่พอแล้ว มีพระราชประสงค์จะหยุดพักไพร่พลเสียบ้างจึงได้ยกกองทัพกลับมายังบ้านเมือง คืออาณาจักรโยนกนคร ครั้นพระเจ้าพรหมเสด็จมาถึงโยนกนครแล้วก็ทรงอัญเชิญให้พระเจ้าพังคราชพระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติในนครโยนกตามเดิมและให้เจ้าทุขิตราชกุมารพระเชษฐาเป็นมหาอุปราช แต่ทรงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองชัยบุรี” บางทีเรียกว่า “ชัยบุรีเชียงแสน” หรือไม่ก็เรียกว่า “เมืองเชียงแสนชัยบุรี” เพราะว่าที่ตีมานี้ได้ชัยชนะ นอกจากนั้นพระเจ้าพรหมฯ กับพระราชบิดายังช่วยกันสร้างพระเจดีย์ขึ้นแห่งหนึ่งในราชอาณาจักร พระเจดีย์ที่ทรงสร้างขึ้นในประวัติศาสตร์เรียกว่า “เจดีย์จอมกิตติ” (เดี๋ยวนี้เรียกว่าพระธาตุจอมกิตติ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่บนเขาสูงบนฝั่งน้ำแม่โขง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนปัจจุบันไปทางซ้ายมือประมาณ 1 ก.ม. เป็นปูชนียสถานที่สำคัญเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไป) หลังจากที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงอัญเชิญให้พระราชบิดาคือพระเจ้าพังคราชเสด็จครองเมืองชัยบุรีเชียงแสนแล้ว พระองค์จึงเสด็จหาที่ตั้งราชธานีใหม่ ในที่สุดก็เสด็จมาถึงบริเวณแม่น้ำฝาง เห็นเป็นที่ทำเลเหมาะดี ก็ทรงสร้างนครขึ้นที่นั่น เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามเมืองว่า “เมืองไชยปราการ” แล้วพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ. 1480 เมืองนั้นอยู่ห่างจากเมืองชัยบุรีเชียงแสน ระยะทางประมาณ 300 ก.ม. (คือเชียงแสนกับฝางปัจจุบันนี้) เมืองไชยปราการที่กล่าวถึงนี้โปรเฟสเซ่อรแคมแมน นักสำรวจโบราณวัตถุแห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐเพ็นซิลวาเนีย อเมริกา ให้ข้อสันนิษฐานว่า เมืองไชยปราการที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงสร้างขึ้นนั้นมิใช่ตัวเมืองฝางปัจจุบันนี้ แต่เป็นเวียงริมน้ำฝางทางทิศตะวันออก อยู่ในท้องที่ตำบลแม่งอน ทางทิศใต้ของอำเภอฝาง มีระยะทาง 32 ก.ม. ยังปรากฏรากกำแพงเมือง ซุ้มประตู และซากพระราชฐาน พระราชวังอยู่โดยชัดแจ้ง ส่วนตัวเมืองฝางนั้นเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในภายหลัง ในรัชสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชเสด็จมาครองราชสมบัติ ณ เมืองไชยปราการนั้น แว่นแคว้นโยนก แบ่งออกเป็น 4 มหานคร คือ

ในครั้งนั้น แว่นแคว้นโยนกนับว่ามีกำลังแข็งแรงมาก จนเป็นที่เกรงขามแก่หริราชศัตรู พระเจ้าพรหมมหาราช ได้ทรงวางกำลังป้องกันพวกขอมไว้อย่างแข็งแรง จนพวกขอมไม่กล้ายกกองทัพมารบกวนอีกตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าพรหมมหาราช มีราชโอรสองค์เดียว คือพระเจ้าสิริไชยหรือไชยสิริ พระองค์ทรงปกครองราชบัลลังค์ได้ 60 ปี เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1538 เมื่อพระชนมายุ 77 ชัญษา เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชเสด็จสวรรคตแล้วมุขมนตรีก็อัญเชิญพระเจ้าสิริไชยราชโอรสขึ้นครองราชย์ปกครองบ้านเมืองเป็นกษัตริย์นครไชยปราการ อันดับที่ 2 สืบแทนต่อมา

บ้านถ้ำง๊อบ ประวัติหมู่บ้านถ้ำง๊อบ บ้านถ้ำงอบ เป็นหมู่บ้านของอดีตทหารจีนคณะชาติ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมหมู่บ้านถ้ำง๊อบเป็นสถานที่ตั้งของกองทหารจีนคณะชาติ กองทัพที่ 3 หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กองพล 93" โดยมีนายพลหลี่ เหวิน ฮ้วน เป็นผู้นำ ก่อนที่กองกำลังทหารจีนคณะชาติจะได้อพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านถ้ำง๊อบแห่งนี้ สาเหตุมาจากจีนแผ่นดินใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงลัทธิการแกครองไปเป็นแบบคอมมิวนิตส์ ผู้นำของชาวจีนส่วนหนึ่งไม่สามารถทนต่อความกดขี่ของลัทธิคอมมิวนิตส์ได้ จึงได้อพยพพรรคพวกออกนอกประเทศ มาทางประเทศพม่า และเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยความเมตตากรุณาของรัฐบาลไทยและความเห็นอกเห็นใจจากประชาชนชาวไทย เมื่อ พ.ศ. 2495 ทำให้กลุ่มอดีตทหารจีนคณาชาติได้ตั้งหลักแหล่งเพื่อประกอบอาชีพอยู่บนดอยถ้ำง๊อบ โดยความควบคุมของ บก.04 กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ในสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2518 กลุ่มอดีตทหารจีนคณะชาติ กองทัพที่ 3 ได้ร่วมมือกับ รัฐบาลไทยดำเนินการสู้รบและต่อต้านผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิตส์ในเขตภาคเหนือจนได้รับความไว้วางใจและเห็นใจจากกองบัฐชาการทหารสูงสุดได้ให้ดอกาสอดีตทหารจีนคณะชาติที่ร่วมสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิตส์และไม่ประสงค์จะขอกลับไปประเทศไต้หวันตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้มีดอกาสโอนและแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย ซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพภาพเหมือนคนไทยทุกประการ นาบพลหลี่ เหวิน ฮ้วน ผู้นำของอดีตทหารจีนคณะชาติ กองทัพที่ 3 ได้โอนสัญชาติเป็นคนไทยและมีชื่อว่า นายชัย ชัยศิริ ปัจจุบันบ้านถ้ำง๊อบมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มบ้าน คือบ้านสินชัย ผาแดง และบ้านถ้ำง๊อบ สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ

วัดถ้ำผาผึ้ง เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานในถ้ำ มีพื้นที่ร่มรื่น สงบ ร่มเย็นมีมหาเจดีย์อรุสรณ์ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่บุญจันทร์ จนทวโร สร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือน ของหลวงปู่บุญจันทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานและเป็นสถานที่เก็บของใช้ส่วนตัว ของท่านหลวงปู่ ซึ่งเป็นนักปฏิบัติสายพระอาจารย์มั่น ถือว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตั้งอยู่ ณ บ้านถ้ำผาผึ้ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406