พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ที่ หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) เรียบเรียงปรากฏที่เกี่ยวข้องกับเมืองเดชอุดม ดังนี้
ในระหว่างนั้น หลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย หลวงอภัย กรมการเมือง ศรีสะเกษ ร้องไม่สมัครที่จะทำราชการกับพระยาวิเศษภักดี เจ้าเมือง ศรีสะเกษ จึงอพยพครอบครัวไปอยู่บ้านโดมใหญ่ ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างเมืองจำปา ศักดิ์ เมืองอุบล เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ ต่อกันมีจำนวนเลข ฉกรรจ์ 606 คน สัมโนครัว 2,150 คน ครั้นวัน ปี มะเส็ง สัปตศก จุลศักราช 1207 (พ.ศ. 2388) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยก บ้านโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ตั้งหลวงธิเบศร์ เป็นพระศรีสุระเจ้าเมือง ให้หลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกกระบัตรรักษาราชการแขวง เมืองเดชอุดมทิศเหนือตั้งแต่ลำห้วยเท้าสารฝั่งใต้ ทิศตะวันตกตั้งแต่ลำห้วย เท้าสารไปถึงเชิงเขาเพียงลำน้ำซอง (ฤๅซอม) โอบตามเชิงเขาไปถึงโดมน้อย ทิศ ตะวันออกตั้งแต่ลำโดมน้อยฟากทิศตะวันตกไปจนถึงลำน้ำมูล คณะกรรมการเมืองก่อน นี้ประกอบด้วยเจ้าเมืองอุปฮาดราชบุตรแลราชวงศ์ เมื่อยุบเมืองมาเป็นอำเภอจึง เทียบตำแหน่งคล้ายคลึงกัน ดังนี้ เจ้าเมือง (นายอำเภอ) อุปฮาด (ปลัด ขวา) ราชวงศ์ (ปลัดซ้าย) และราชบุตร (สมุห์บัญชี) "
เจ้าเมืองเดชอุดมนั้นมีตำแหน่งเป็นพระศรีสุระทุกคน พอถึงสมัยเปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นระบอบเทศาภิบาล ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2450) เมืองเดชอุดมขึ้นกับมณฑล อีสาน พระสุรเดชอุดมมาภิรักษ์ (ทองปัญญา) เป็นผู้ว่าราชการเมือง จึงแบ่ง เมืองเดชอุดมออกเป็น 3 อำเภอ คือ 1. อำเภอปจิมเดชอุดม ตั้งที่ว่าการที่บ้านเมืองเก่า (บ้านเมืองเก่า) ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดมในปัจจุบัน) 2. อำเภอกลางเดชอุดม ตั้งที่ว่าการบ้านกลาง (บ้านกลาง ตำบลยาง อำเภอ น้ำยืน ในปัจจุบัน) 3. อำเภออุทัยเดชอุดม ตั้งที่ว่าการที่บ้านยางใหญ่ (บ้านยางใหญ่ ตำบลยาง อำเภอน้ำยืนในปัจจุบัน)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ให้ยุบเมืองเดชอุดม และอำเภอต่างๆ รวมเรียกว่า อำเภอ เดชอุดมขึ้นต่อจังหวัดศรีสะเกษ เพิ่งโอนมาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี ใน ปี พ.ศ. 2472 แรกเริ่มที่ว่าการอำเภอเดชอุดม ตั้งอยู่บ้านเมืองเก่าเป็น เมืองและอำเภอมาหลายปี บ้านเมืองเก่าพื้นที่ลุ่ม เวลาน้ำโดมไหลหลากมาจากทาง เหนือจะเกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรอยู่เสมอและมักจะเกิดน้ำท่วมกะทันหัน บ่อยๆ บางครั้งราษฎรไม่รู้ตัว ในที่ว่าการอำเภอต้องขนหนังสือราชการไปเก็บ ไว้บนขื่อ
พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ่ว บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานี เคยได้รับ เรื่องน้ำท่วมจากหนังสือราชการของเจ้าเมืองและนายอำเภอ และสั่งว่าควรจะย้าย ที่ว่าการอำเภอจากบ้านเมืองเก่าไปตั้งที่ใหม่ที่น้ำท่วมไม่ถึง นายอำเภอหลาย คนได้พยายามไปตั้งที่ว่าการใหม่หลายแห่งแต่ไม่สำเร็จ เพราะราษฎรไม่อยากย้าย จากที่เดิม จนกระทั่งในสมัยหลวงประชากรเกษม(เป้ย ส่งศรี) เป็นนายอำเภอสมุหเทศาภิบาล ได้สั่งการพยายามย้ายให้ได้ หลวงประชากรเกษมจึงปรึกษาข้าราชการ ราษฎร พ่อค้า ประชาชนทั้งหลายเห็นว่า บริเวณ " โนนขามป้อม " เป็นที่สูงน้ำท่าบริบูรณ์เหมาะสมที่จะเป็นที่ว่าการ อำเภอ จึงได้ทำพิธีย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่โนนขามป้อม ในวัน ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2464 เวลา 10.45 น. โดยมีขบวนแห่อัญเชิญพระบรมรูปพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ผู้ร่วมขบวนแห่มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน ประมาณ 100 คนเศษ ขบวนถึงที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ (อาคาร ชั่วคราว) เวลา 11.00 น. (อันเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน)
โรงเรียน ประถม สพฐ. โรงเรียนบ้านหนองแสง โรงเรียนอนุบาลนาคสมุทรเดชอุดม โรงเรียนดำรงสินอุทิศ