อำเภอเขมราฐ แปลว่า ดินแดนแห่งความเกษมสุข เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ริมแม่น้ำโขง อำเภอเขมราฐ เป็นอำเภอเก่าแก่ที่ตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงเทพ อยู่ริ่มแม่น้ำโขงเป็นระยะทางยาวกว่า 40 กิโลเมตร ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต (สะหวันนะเขต) ของประเทศลาว เขมราฐมีทัศนียภาพแม่น้ำโขงที่สวยงาม หาดทรายที่มีชื่อเสียงคือ หาดทรายสูง และ จะมีการแข่งเรือยาวอำเภอเขมราฐซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
"ต้นตำรับรำตังหวาย ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์น้ำใจงาม สุดเขตแดนสยาม มะขามหวานหลายหลาก กล้วยตากรสดี ประเพณีแห่เทียนพรรษา แข่งนาวาสองฝั่งโขง"
อำเภอเขมราฐตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัด 105 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 750 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังนี้
ตั้งอยู่ หมู่ 1 ถนนนอรุณประเสริฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปตามถนนอุบลฯ-ตระการฯ-เขมราฐ ระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร จากถนนหมายเลข 202 (ถนนอรุณประเสริฐ) อีก 1 เส้นทาง
เมื่อปี พ.ศ. 2357 เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 ได้มีใบบอกลงไปกราบทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขอพระราชทานตั้งบ้านโคกก่งดงพะเนียง เป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโคกก่งดงพะเนียง เป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี มีฐานะเทียบเท่าหัวเมืองชั้นเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ตามที่พระพรหมวรราชสิริยวงศากราบทูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดก่ำ บุตรชายคนโตของพระวอจากเมืองอุบลราชธานี มาเป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี ได้รับสถาปนาเป็นพระเทพวงศา (ก่ำ) (2357-2369)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 เกิดศึกระหว่างกรุงเทพมหานครกับกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ได้ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี ขอให้พระเทพวงศา (ก่ำ) เข้าร่วมด้วย แต่พระเทพวงศาไม่ยอมจึงถูกจับประหารชีวิต
พระเทพวงศา (ก่ำ) มีบุตร 4 คน คือ 1.พระเทพวงศา (บุญจันทร์)(2371-2395), 2.พระเทพวงศา (บุญเฮ้า)(2396-2408) , 3. ท้าวชำนาญไพรสณฑ์ (แดง) มียศเป็นพระกำจรจาตุรงค์ ได้เป็นเจ้าเมืองวารินชำราบ(บ้านนากอนจอ) 4.นางหมาแพง , พระเทพวงศา (บุญจันทร์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวบุญสิงห์ และท้าวบุญชัย ต่อมา ท้าวบุญสิงห์ได้เป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี ลำดับที่ 4 มียศเป็นพระเทพวงศา (บุญสิงห์)(2408-2428)(ต้นตระกูล อมรสิน และ อมรสิงห์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวเสือและท้าวพ่วย ซึ่ง ท้าวพ่วย ได้รับแต่งตั้งเป็น ท้าวขัตติยะ และเป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี ลำดับที่ 5 ที่ตำแหน่ง พระเทพวงศา (พ่วย)(2428-2435) ส่วน ท้าวเสือ ได้รับยศเป็น ท้าวจันทบุฮมหรือจันทบรม และได้รับโปรดเกล้า เป็น พระอมรอำนาจ เจ้าเมืองอำนาจเจริญ ในปี พ.ศ. 2401
ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ มณฑลอีสานถูกแบ่งเป็น 8 บริเวณ เมืองเขมราฐ มี พระเขมรัฐเดชนารักษ์เป็นผู้ว่าราชการเมือง และมีอำเภออยู่ในการปกครอง 6 อำเภอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 เมืองเขมราฐถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อเมืองยโสธร จนปี พ.ศ. 2455 จึงถูกย้ายมาขึ้นกับกับจังหวัดอุบลราชธานีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน