ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อำเภออรัญประเทศ

อรัญประเทศ เป็นอำเภอชายแดนทางด้านตะวันออกของประเทศไทย มีแนวชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา เดิมเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกบินทร์บุรี ภายหลังถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรี (เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468) ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลัง (เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536)

อำเภออรัญประเทศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

อำเภออรัญประเทศ เดิมชื่อ บ้านหินแร่ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เมืองอรัญประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อ พ.ศ. 2393 ได้รับเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นอำเภอในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 มีขุนเหี้ยมใจหาญเป็นนายอำเภอ โดยยุบวัฒนานครเดิมชื่อบ้านแขยกเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภออรัญประเทศ

เดิมเชื่อกันว่าแท้จริงแล้วชาวอรัญประเทศเป็นกลุ่มไทยย้อชาวเวียงจันทน์หรือท่าอุเทนที่อพยพมา หลังจากเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์เพื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวย้อได้อพยพมาอยู่ที่ดงอรัญ เขตบ้านสวาย (ต่อมายกขึ้นเป็นเมืองศรีโสภณ) ขณะนั้นกัมพูชาเป็นประเทศราชของสยาม ภายหลังโยกย้ายเข้ามาในเขตอำเภออรัญประเทศ ที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตตำบลคลองน้ำใส ตำบลเมืองไผ่ ตำบลท่าข้าม ตำบลผ่านศึก และในเขตเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ ยกเว้นในตลาดอำเภออรัญประเทศ

พื้นที่อำเภออรัญประเทศมีถนนโบราณสายหนึ่งตัดผ่านจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ทางทิศเหนือหมู่บ้านอรัญประมาณ 400 เมตร มีคนเล่าต่อกันมาว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้สร้างไว้ ต่อมาจึงมีผู้ตั้งชื่อว่า ถนนเจ้าพระยาบดินทรเดชา สันนิษฐานว่า สถานีอรัญประเทศ เป็นจุดปลายทางของรถไฟสายตะวันออกซึ่งสร้างลงบน “ฉนวนไทย” หรือทางราบที่ใช้ติดต่อระหว่างที่ราบลุ่มเจ้าพระยากับที่ราบลุ่มทะเลสาบเขมรมาแต่โบราณ เส้นทางรถไฟจากปราจีนบุรีจนถึงอรัญประเทศน่าจะซ้อนทับลงบนทางเดินบกโบราณจากภาคกลางของไทยไปสู่ที่ราบลุ่มทะเลสาบของเขมรที่เรียกกันว่า ฉนวนไทย มีแหล่งโบราณคดีใหญ่น้อยกระจายตัวกันตามลำน้ำอันเป็นต้นสายแม่น้ำบางปะกงคือแควหนุมานกับแควพระปรง และยังมีด่านพระจารึก ซึ่งปรากฏชื่อในเอกสารพงศาวดารสมัยอยุธยาว่าเป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์บนเส้นทางสายนี้ด้วย

ดังนั้น เส้นทางรถไฟจากชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีต่อไปจนถึงศรีโสภณ พระตะบอง จึงน่าจะสร้างลงบนทางเดินโบราณนี้ด้วยเช่นกัน เจ้าพระยาบดินทรเดชาคงสร้างขึ้นเมื่อคราวยกทัพกลับจากตีเขมรและญวน

อำเภออรัญประเทศได้ยกฐานะขึ้นจากกิ่งอำเภออรัญประเทศในปี พ.ศ. 2456 อาชีพหลักของคนในอำเภออรัญประเทศแต่เดิมได้แก่ การค้าขายและเกษตรกรรม โดยในอดีตนิยมปลูกข้าว และมันสำปะหลัง ปัจจุบันนิยมปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงาน และเป็นแหล่งส่งเสริมการปลูกแคนตาลูปเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

เมื่อ พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครหลังจากเสด็จประพาสไซ่ง่อน เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยรถยนต์พระที่นั่งถึงอำเภออรัญประเทศ ได้ประทับบนสถานีรถไฟอรัญประเทศประมาณ 30 นาที แล้วจึงเสด็จขึ้นประทับรถไฟขบวนพิเศษจากอรัญประเทศเข้าพระนคร ในครั้งยังเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จจึงมีเฉพาะชาวอรัญเท่านั้น เนื่องจากการคมนาคมยังไม่สะดวก การติดต่อข่าวสารยังล่าช้า

พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ ณ วัดหลวงอรัญญ์ อำเภออรัญประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนกระทั่งเวลา 12.00 น. โดยประมาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากค่ายสุรสิงหนาทถึงยังหน้าพระอุโบสถ ทรงถวายผ้าพระกฐิน มีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จชมพระบารมีนับหมื่น หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จต่อไปยังนิคมสร้างตนเองคลองน้ำใสในเวลาประมาณ 13.30 น.

เส้นทางรถไฟสายตะวันออกยังคงใช้แนวทางคมนาคมเก่าคือแม่น้ำลำคลองที่มีอยู่ก่อนหน้าเป็นสำคัญ

ทางรถไฟแยกออกจากทางสายหลักที่สถานีจิตรลดาไปทางทิศตะวันออกโดยล้อกับแนวคลองมหานาคซึ่งอยู่ทางใต้ คลองมหานาคนี้ขุดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แยกจากคูเมืองตรงวัดสระเกศเพื่อใช้เดินทางติดต่อกับชุมชนทางตะวันออกของกรุงเทพ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ขุดต่อออกไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าไข่ ฉะเชิงเทราเพื่อการส่งกำลังไปทำสงครามด้านตะวันออกคือเขมรและญวนในสมัยนั้น เรียกกันต่อมาว่าคลองแสนแสบ

จากคลองตัน ทางรถไฟข้ามคลองแสนแสบซึ่งหันเบนขึ้นไปทางเหนือ จากนี้ทางรถไฟก็จะเปลี่ยนมาใช้แนวคู่ขนานกับคลองประเวศบุรีรมย์ตรงบริเวณบ้านทับช้าง คลองประเวศฯขุดขึ้นในปี พ.ศ. 2423 แยกจากคลองพระโขนงไปทางตะวันออกเป็นเส้นตรงถึงแม่น้ำบางปะกงใต้เมืองฉะเชิงเทราเล็กน้อย ระหว่างที่ทางรถไฟใช้แนวคลองประเวศไปถึงฉะเชิงเทราก็จะข้ามคลองสำคัญหลายแห่งซึ่งไหลจากเหนือลงใต้อันเป็นคลองที่ระบายน้ำจากที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลมีทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุด เช่น คลองหลวงแพ่ง คลองอุดมชลจร คลองเปรง คลองแขวงกลั่น คลองบางพระ เข้าสู่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งในสมัยแรกสร้างนั้นรางรถไฟได้ไปสุดทางที่สถานีแปดริ้วริมแม่น้ำบางปะกง

ทางแยกไปอรัญประเทศคือรางรถไฟหัวมุมเลี้ยวขึ้นทิศเหนือเพื่อตามแนวแม่น้ำบางปะกงขึ้นไปแต่ใช้การตัดทางตรงผ่านที่ราบจนพบกับแม่น้ำโยทะกาไหลมาจากนครนายกลงแม่น้ำบางปะกง จุดนี้เองเป็นเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณที่ถูกกล่าวถึงเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไล่รบกับกองทัพพม่าแถบเมืองบางคางหรือปราจีนบุรี

ตั้งแต่ช่วงบ้านสร้าง ทางรถไฟโค้งไปทางตะวันออกล้อกับแม่น้ำบางปะกงที่เรียกตอนนี้ว่าแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งจะมีแนวเทือกเขาใหญ่ขนานอยู่ทางทิศเหนือ จนเข้าสู่เมืองปราจีนบุรี จากจุดนี้ทางรถไฟใช้การตัดทางใหม่ลัดเข้าสู่ต้นน้ำบางปะกง มีชุมชนโบราณที่เป็นด่านระหว่างทางบนลำน้ำ เช่น ประจันตคามหรือด่านกบแจะ กบินทร์บุรีหรือด่านหนุมานและพระปรง(เป็นจุดที่ทางรถไฟข้ามแควหนุมานและแควพระปรง ต้นน้ำบางปะกง) ต่อจากนั้นจึงใช้เส้นทางบกตัดลัดผ่านชุมชนที่ราบ เช่น สระแก้ว วัฒนานคร จนถึงอรัญประเทศและจุดผ่านแดนบ้านคลองลึกเข้าสู่ปอยเปตของกัมพูชา

แท้จริงแล้ว เส้นทางรุถไฟจากปราจีนบุรีจนถึงอรัญประเทศน่าจะซ้อนทับลงบนทางเดินบกโบราณจากภาคกลางของไทยไปสู่ที่ราบลุ่มทะเลสาบของเขมรที่เรียกกันว่า ฉนวนไทย มีแหล่งโบราณคดีใหญ่น้อยกระจายตัวกันตามลำน้ำอันเป็นต้นสายแม่น้ำบางปะกงคือแควหนุมานกับแควพระปรง และยังมีด่านพระจารึก ซึ่งปรากฏชื่อในเอกสารพงศาวดารสมัยอยุธยาว่าเป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์บนเส้นทางสายนี้ด้วย

ดังนั้น เส้นทางรถไฟจากชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีต่อไปจนถึงศรีโสภณ พระตะบอง จึงน่าจะสร้างลงบนทางเดินโบราณนี้ด้วยเช่นกัน

ของการจราจร ทั้งนักท่องเที่ยวและรถขนส่งสินค้า ไทยและกัมพูชาจึงมีแนวคิด แยกคนและสินค้า ออกจากกัน เน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ที่ตั้งบ้านหนองเอี่ยน ตำบลท่าข้าม จังหวัดสระแก้ว


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301