อำเภอองครักษ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ที่มาของชื่ออำเภอองครักษ์มีตำนานว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสต้นแถบนี้ และได้พักประทับแรม ณ บริเวณริมแม่น้ำนครนายกซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อองครักษ์ในปัจจุบัน ระหว่างประทับแรมอยู่นั้นนายทหารราชองครักษ์ได้ป่วยและเสียชีวิตลง จึงโปรดฯ ให้ตั้งศาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ อำเภอแห่งนี้จึงได้รับการเรียนขานว่า อำเภอองครักษ์
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตพิเศษให้แก่บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามซึ่งมีหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ เป็นผู้รับมอบ ให้จัดการขุดคลองซอยตัดท้องทุ่งระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก โดยให้สิทธิ์แก่บริษัทฯ ในการขายที่ดินทั้งสองฝั่งคลองเพื่อจัดเป็นที่นาได้ บริษัทฯ ได้ขุดคลองสายกลางขึ้นสายหนึ่งจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทะลุแม่น้ำนครนายกพร้อมตัดคลองซอยจากทั้งสองฝั่งคลองสายกลางนี้ โดยได้รับพระราชทานนามว่า "คลองรังสิตประยูรศักดิ์" ประตูน้ำปิด-เปิดด้านแม่น้ำเจ้าพระยาได้พระราชทานนามว่า "ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์" ส่วนประตูน้ำทางด้านแม่น้ำนครนายกนั้นพระราชทานนามว่า "ประตูน้ำเสาวภาผ่องศรี"
ตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำนครนายก ในเขตตำบลทรายมูล บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อองครักษ์นี้เป็นวังน้ำวน น้ำไหลเชี่ยวมากสำหรับทางราชการถือว่าน้ำตรงวังน้ำเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ จึงได้นำไปทำพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก เมื่อคราวประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ตั้งอยู่ที่คลองสิบห้า เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์พืช ทั้งไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับจากที่นี่จะจัดส่งไปยังแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ ทั่วประเทศ และที่ศูนย์สาธิตการตลาดหมู่ที่ 11 มีวัสดุเพาะชำต้นไม้ขายในราคาถูก